Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พยาธิสรีรวิทยาของทารกแรกเกิด - Coggle Diagram
พยาธิสรีรวิทยาของทารกแรกเกิด
ทารกแรกเกิด
ทารกแรกเกิด หมายถึง เด็กทารกที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 28 วันหลังคลอด ซึ่งเป็นระยะที่ทารกต้องเปลี่ยน แปลงจากภาวะที่อยู่ในครรภ์มารดา มาเป็นทารกที่ต้องพึ่งตนเองอยู่ภายนอกครรภ์มารดา แต่เนื่องจากอวัยวะต่างๆ ของทารกยังทําหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์และแตกต่างจากผู้ใหญ่ ซึ่งถ้าหากทารกได้รับการดูแลไม่ถูกต้อง จะทําให้การเจริญเติบโต (Growth) หรือการพัฒนาการ (Development) ของทารก หยุดชะงักหรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
สรีรวิทยาทารกแรกเกิด
ระบบหายใจ
ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาได้รับออกซิเจนทางรก ทันทีที่ทารกคลอดก็จะเริ่มหายใจเอง โดยปอดจะทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ ทารกปกติจะหายใจภายใน 1 นาทีหลังคลอด
1.1 ปัจจัยด้านการรับสัมผัส (Sensory stimuli) ทารกเปลี่ยนสภาวะจากในครรภ์ที่เงียบ สงบ ออกมาอยู่ในห้องซึ่งเต็มไปด้วยสิ่งกระตุ้น ได้แก่ อุณหภูมิที่เย็นกว่า แสง เสียง รวมทั้งการสัมผัส การจับต้องขณะทำคลอด
1.3 ปัจจัยด้านอุณหภูมิ (Thermal stimulus) เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิจากในครรภ์มารดา 37 องศาเซลเซียส มาสู่อุณหภูมิห้อง คือ 20-23 องศาเซลเซียส ทำให้ทารกต้องมีการปรับตัวเพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้กับร่างกายของตนเอง
1.4 ปัจจัยด้านกลศาสตร์หรือกายภาพ (Mechanic stimulus หรือ Physical stimulus) เนื่องจากขณะที่ทารกคลอดทางช่องกลอด ทรวงอกจะถูกบีบรัดด้วยช่องกลอด ทำให้น้ำคร่ำที่อยู่ในปอด ถูกบีบออก เมื่อคลอดออกมาแล้วปอดจะขยายตัวเพื่อกลับคืนสู่สภาพเดิม
เคสกรณีศึกษา ทารกหายใจสม่ำเสมอ อัตราการหายใจ 52 ครั้ง/นาที มีหยุดหายใจเป็นพักๆ แต่ไม่เกิน 5 นาที ริมฝีปากสีชมพู ไม่มีซีด มีปลายมือปลายเท้าเขียวทั้ง 2 ข้าง
1.2 ปัจจัยด้านเคมี (Chemical stimulus) การผูกรัดสายสะดือทำให้การไหลเวียนของเลือดผ่านรกหยุดลง มีผลให้ระดับออกซิเจนในกระแสเลือดลดลง และมีคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น เกิดภาวะเลือดเป็นกรด
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
2.1 การไหลเวียนโลหิต ขณะอยู่ในครรภ์ปอดยังไม่ทำงาน การไหลเวียนของโลหิตจะต้องอาศัยรกเมื่อทารกเกิดแล้วมีการหายใจด้วยปอด เลือดจะผ่านปอดจะเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 15 เท่า ดังนั้นเลือดจะไหลกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้ายเพิ่มขึ้น ทำให้ความดันในหัวใจห้องบนซ้ายมากกว่าความดันในหัวใจห้องบนขวา
2.2 ปริมาตรของเลือด การบีบตัวของตัวของมดลูกหลังจากที่ทารกเกิดออกมาแล้ว ซึ่งจะทำให้เลือดไหลจากรกไปยังทารกเพิ่มอีกประมาณ 50-125 มล.ถ้าตัดสายสะดือเร็วเกินไปจะทำให้ทารกไม่ได้รับเลือดจำนวนนี้
2.3 ความดันโลหิต ทารกแรกเกิดจะมีความดันโลหิตประมาณ 60/40 มม.ปรอท ในวันที่ 10 ความดันโลหิตจะเพิ่มขึ้นเป็น 100/50 มม.ปรอท
ระบบการเปลี่ยนแปลงของสารน้ำ และอิเล็กโทรไลด์
ทารกแรกเกิดมักจะเกิดความไม่สมดุลของสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์ ได้ง่ายเนื่องจากพื้นผิวของร่างกายมีมากเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว ทำให้สูญเสียน้ำจากร่างกายได้ง่าย
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ
โดยทั่วไปทารกจะขับถ่ายปัสสาวะในเวลาหลังเกิดไม่นาน ภายหลังเกิดปัสสาวะของทารกจะไม่มีสีและกลิ่น และเนื่องจากการกรองผ่าน Glomerulus มีขีดจำกัด จึงทำให้พบ Albumin และ Urates (เกลือของกรคยู่ริค) ในปัสสาวะได้ ระหว่างสัปดาห์แรก Urates ที่ออกมากับปัสสาวะ จะทำให้เห็นจุดสีแดงอิฐบนผ้าอ้อมของ ทารกซึ่งจะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นเลือดได้
เคสกรณีศึกษา หลังจากทารกกินนมมารดามีการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ 3-4 ครั้ง ลักษณะเป็นสีใส ส่วนอุจจาระมีลักษณะเป็นเนื้อเละๆสีเหลือง
ระบบทางเดินอาหาร
5.1 การเปลี่ยนแปลงขนาดของอวัยวะระบบทางเดินอาหาร พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของลำไส้และความจุของกระเพาะอาหาร โดยลำไส้ของทารกแรกเกิดจะยาวกว่าของผู้ใหญ่ เมื่อเทียบเป็นอัตราส่วนกับขนาดของร่างกาย ต่อมผลิตน้ำย่อย และพื้นที่ของลำไส้ที่ช่วยในการดูดซึมมีมากพอ จึงทำให้การทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้ในทารกแรกเกิดเป็นปกติทั้งในด้านการย่อยและการดูดซึม แต่ยังมีขีดจำกัดอยู่บ้างจากการที่น้ำย่อยบางชนิด
เคสกรณีศึกษา ทารกมีการตื่นกินนมทุก 2-3 ชั่วโมง และมารดาได้มีการปลุกทารกกินนมทุก 3 ชั่วโมง และกระตุ้นให้ทารกเรอหลังกินนมทุกครั้ง
5.2 ตับอ่อน ตับอ่อนยังสร้างอะไมเลส (Amylase) มาใช้ในการย่อยได้ไม่ดี ต้องใช้เวลาประมาณ 3 เดือน จึงจะมีมากพอ และต่อมน้ำลายยังไม่ทำงานจนกว่าอายุ 2-3 เดือน
5.3 ตับ เป็นอวัยวะที่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ ดังนั้นจึงทำหน้าที่หลายอย่างได้ไม่ดี
เคสกรณีศึกษา ทารกได้รับการฉีด Vit K (1 mg) 1 amp IM วันแรกหลังคลอด จะช่วยป้องกันภาวะเสี่ยงของภาวะเลือดออกง่ายได้
ระบบการขับถ่ายอุจจาระ
ทารกแรกเกิดปกติจะถ่ายขี้เทา (Meconium) ภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าไม่ถ่ายอาจเกิดจากการที่รูกันตัน (Imperforate anus) ประมาณวันที่ 3 หลังเกิดจะมีการถ่ายเป็นสีเหลืองปนเทา (Transitional stool) ประมาณวันที่ 4 หลังเกิดจึงจะมีลักษณะของสีอุจจาระปกติ (True stool) ตามลักษณะของนมที่ทารกได้รับ
เคสกรณีศึกษา ทารกได้มีการถ่ายขี้เทา ภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
ระบบการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
ทารกแรกเกิดมักจะมีความลำบากในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย เพราะทารกมีพื้นที่ผิวกาย (Surface area) กว้างกว่าผู้ใหญ่เมื่อเทียบตามน้ำหนักตัว ทารกมีไขมันใต้ผิวหนังน้อยจึงทำให้ความร้อนภายในร่างกายถ่ายเทให้สิ่งแวดล้อมได้ง่ายรวมทั้งศูนย์ควบคุมความร้อนซึ่งอยู่ที่ Hypothalamus ยังทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ จึงเป็นเหตุทำให้อุณหภูมิของร่างกายลดลงเกิดภาวะ Hypothermia ได้ง่าย
ระบบต่อมไร้ท่อ
ของทารกแรกเกิดเจริญดีแล้ว แต่การทำงานยังไม่สมบูรณ์ ทำให้ร่างกายของทารกแรกเกิดควบคุมหน้าที่บางอย่างได้ไม่สมดุลนักโดยเฉพาะการควบคุมสารน้ำและอิเล็กโทรไลด์
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ทารกแรกเกิดจะสามารถสร้าง Gamma globulin ได้เอง เมื่อย่างเข้าสู่เดือนที่ 2 ส่วนภูมิคุ้มกันที่มีอยู่นั้นได้รับจากมารดาขณะอยู่ในครรภ์ เป็นชนิด IgG ซึ่งได้แก่ ภูมิคุ้มกันโรคคอตีบ บาดทะยัก หัด คางทูม และฝีดาษ
สำหรับทารกที่ดูดนมมารดา อาจได้รับภูมิคุ้มกันชนิด IgA จาก Colostrum ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคไขสันหลังอักเสบ
-เคสกรณีศึกษา ทารกได้รับภูมิคุ้มกัน จากการดูดนมของมารดา ซึ่งช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงมีสารภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดี้เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีหน้าช่วยต่อสู้กับเชื้อโรค
ภูมิคุ้มกันโรคชนิด IgM เช่น โรคไอกรนนั้น ถ้าทารกได้รับจากมารดาไม่เพียงพออาจจะเป็นโรคไอกรนได้ตั้งแต่อายุต่ำกว่า 1 เดือน
ระบบประสาท
ทารกในครรภ์ที่มีอายุ 36 สัปดาห์ จะมีเซลล์ประสาทครบ หลังจากนั้นการเจริญเติบโตจะเป็นการขยายตัวเพิ่มน้ำหนัก
พัฒนาการของระบบประสาทสัมผัสของทารกแรกเกิด
10.1 การได้ยิน ทารกจะได้ยินทันทีหลังเกิด หรือทันทีที่น้ำคร่ำของมารดา ที่ค้างอยู่ในหูส่วนกลาง ไหลลงไปตามหลอดลม (Eustachian tube) ของทารกแล้ว แต่การได้ยินของทารกในระยะแรกๆ จะยังแบ่งทิศทางของเสียงไม่ได้
10.2 การมองเห็น ทารกจะมองเห็นตั้งแต่แรกเกิด แต่การมองเห็นของทารกแรกเกิดมีขอบเขตจำกัด คือจะมองเห็นวัตถุเฉพาะที่อยู่ตรงกลางหน้า (Midline) ในระยะทางภายใน 8 นิ้ว
เคสกรณีศึกษา ทารกมีการลืมตาและมองเห็น
เพียงตรงกลาง สบตาตรงหน้า และลืมตามองเมื่อมีการเช็ดทำความสะอาดร่างกาย
10.3 การสัมผัส ทารกแรกเกิดจะมีความรู้สึกต่อการสัมผัสของร่างกายเป็นอย่างดี โดยเฉพาะที่ปาก มือ และส้นเท้าจะมีความรู้สึกไวกว่าส่วนอื่น
เคสกรณีศึกษา เมื่อสอดนิ้วเข้าไปในปากของทารกพบว่า ทารกมีการดูด มี Sucking Reflex และเมื่อมารดาอุ้มทารกเงียบ ไม่ร้องงอแง
10.4 การรับรส ทารกแรกเกิดจะรู้รสเป็นอย่างดีและมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วประสาทรับรสของทารกอยู่ ที่ปลายลิ้น จะยอมรับอาหารเหลวรสหวานโดยจะดูดได้ดี อาหารที่มี รสเปรียวหรือขมซึ่งจะ แสดงออกโดยขมวดคิ้ว หรือใบหน้าแสดงถึงความโกรธ
10.5 การได้กลิ่น ทารกจะได้กลิ่นทันทีที่ดูดเมือกหรือน้ำคร่ำของมารดาออกจากจมูก สังเกตได้ว่าเมื่อทารกได้กลิ่นนมมารดา จะหันเข้าหาหัวนม หรือถ้าได้กลิ่นรสฉุน เช่น กลิ่นเหล้าก็จะหันหน้าหนี
เคสกรณีศึกษา มีการส่งเสริให้ทารกได้กินนมมารดาภายใน 1 ชั่วโมงหลังคลอด ทารกรกได้มีการหาเต้านมมารดา