Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนเเปลงสรีรวิทยามารดาในระบบต่าง ๆ ของระยะคลอด - Coggle Diagram
การเปลี่ยนเเปลงสรีรวิทยามารดาในระบบต่าง ๆ ของระยะคลอด
ระบบทางเดินอาหารเเละการเผาผลาญพลังงาน
ทฤษฎี
การทำงานของกระเพาะอาหารหยุดหรือไม่มีการเคลื่อนไหลเเละการดูดซึมของลำไส้ลดลง มีการคั่งค้างที่กระเพาะอาหาร
กรณีศึกษา
มารดาให้ข้อมูว่า "มีการขับถ่ายอุจจาระวันละ 1 ครั้ง มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน"
ระบบต่อมไร้ท่อ
ทฤษฎี
ระบบต่อมไร้ท่อทำงานมากขึ้น มีการหลั่ง estrogen ลดลง
ส่วน progesterone , prostaglandin เเละ oxytocin เพิ่มมากขึ้นรวมทั้งมีการเผาผลาญพลังงานเพิ่มขึ้น
กรณีศึกษา
ระบบสืบพันธุ์
ปากมดลูก
ทฤษฎี
ปากมดลูก cervix จะนุ่มเละเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ เรียกว่า Goodell's Sign ปากมดลูกจะขยายขนาด (hypertrophy) เเละเพิ่มจำนวนเซลล์มากขึ้น (hyperplasia) รวมทั้งมีการผลิตมูกเหนียวจำนวนมากอุดปากมดลูก เรียกว่า mucousplug ทำหน้าที่อุดไม่ให้โพงมดลูกติดกับภายนอกเนื้อยเยื่อของปากมดลูก เมื่อครร์ใกล้ครบกำหนดเเละระหว่างเจ็บครรภ์คลอดปากมดลูกจะหดสั้นเเละบางลง รวมทั้งมีการถ่างขยายของปากมดลูก
กรณีศึกษา
มีการถ่างขยายของปากมดลูกเมื่อเข้าสู่ระยะคลอดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ช่องคลอด
ทฤษฎี
อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกเเละช่องคลอดขยายใหญ่ขึ้น ผิวของผนังเยื่อบุช่องคลอดเปลี่ยนจากสีชมพูเป็นม่วง เรียกว่า Chadwick's sign เกิดขึ้นเมื่ออายุครรภ์ 8 สัปดาห์ ผนังช่องคลอดอ่อนนุ่มลง ระหว่างการตั้งครรภ์จะมีการขับสารคัดหลั่งของช่องคลอดเเละมดลูกเพิ่มขึ้น ช่องคลอดมีฤทธิ์เป็นกรด pH ระหว่าง 3.5-6 ซึ่งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อทางช่องคลอด
กรณีศึกษา
ช่องคลอดขยายขึ้น ผลกรตรวจ UA วันที่ 9 มกราคม 2566 ค่า pH 8
มดลูก
ทฤษฎี
มดลูก uterus มีการเปลี่ยนเเปลงทั้งขนาดเเละรูปร่าง น้ำหนัก มีความจุเพิ่มขึ้นประมาณ 1000 เท่า เเละมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 30 เท่าเมื่ออายุครรภ์ครบกำหนด กล้ามเนื้อผนังมดลูกจะหนาเเละเเข็ง จะค่อยๆบางลงเมื่ออายุครรภ์ครบกำหนด มดลูกจะมีลักษณะคล้ายชมพู่หรือลูกเเพ จะเปลี่ยนเป็นลักษณะกลมประมาณเดือนที่ 3 จากนั้นจะเจริญเติบโตตามเเนวยาวมากกว่าเเนวกว้างกลายเป็นวงรีการนอนหงายในขณะที่ตั้งครรภ์จะทำให้มดลูกไปกดทับกระดูกสันหลัง หลอดเลือดเเดง เเละหลอดเลือดดำ ทำให้การไหลคืนของโลหิตลดลง อาจมีผลต่อการไหลเวียนโลหิตของทารกในครรภ์เเละอาจทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ ส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์รู้สึกเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม
กรณีศึกษา
มดลูกมีขนาด 3/4 มากกว่าระดับสะดือ วัดความยาวได้ 42 cm. วัดรอบท้องได้ 103 cm.
เอ็นข้อต่อของกระดูก
ทฤษฎี
เอ็นยึดเเละข้อต่างๆ จะยืดขยายเเละนุ่มขึ้นกว่าเดิม เพื่อที่จะยืดขยายใหญ่ในขณะคลอด มีผลทำให้หญิงตั้งครรภ์รู้สึกปวดเมื่อยเเละเดินไม่ถนัด
กรณีศึกษา
มารดาให้ข้อมูลว่า "ปวดหลังเเละสะโพก ต้องเดินเเอ่นหลัง"
เต้านม
ทฤษฎี
เต้านม (breasts) จะมีขนาดโตขึ้นอย่ารวดเร็วในระยะ 8 สัปดาห์เเรก อาจโตขึ้นร้อยละ 25-50 หัวนมเเละลานนมมีสีคล้ำขึ้น เเละใหญ่ขึ้น อาจพบ montgomery glands ใหญ่ขึ้น จะเห็นเป็นตุ่มเล็ก ๆ บริเวณลานนม อาจรู้สึกตึงหรือเจ็บในช่วงตั้งครรภ์บางรายมีน้ำนมไหล เพราะ estrogen จะกระตุ้นต่อมน้ำนมให้เจริญขึ้น ในขณะที่ progesterone ไปกระตุ้นต่อมน้ำนมให้โตขึ้น มีเส้นเลือดบริเวณเต้านมมีการขยายเเละมีเลือดคั่งมาก อาจมีการเเตกของผิวหนังบริเวณเต้านมเป็นลายคล้ายลักษณะหน้าท้องลาย
กรณีศึกษา
เต้านมมีกาขยายขึ้นผิวหนังรอบหัวนมเเละลานนมมีสีเข้มเเละมีต่มเล็ก ๆ บริเวณลานนม
ระบบผิวหนัง
ทฤษฎี
ผิวหนังคล้ำ (hyperpigmentation) เป็นผลมาจาก melanocyte ที่สร้าง melatonin pigment เพิ่มขึ้น จากการกระตุ้นของ estrogen เเละ melanocyte stimulation hormone ทำให้ผิวหนังสีคล้ำขึ้น พบบ่อยบริเวณรอบสะดื้อ อวัยวะเพศ เเละข้อพับต่าง ๆ ถ้าเป็นบริเวณเเนวกลางท้อง เรียกว่า linea nigra ถ้าสะสมบริเวณใบหน้าเป็นฝ้าสีน้ำตาล เรียกว่า melisma หรือ mask of pregnancy ผิวหนังลาย striae gravidarum เกิดบริเวณท้อง เต้านม ก้นเเละต้นขา ลักษณะเป็นเเนวเส้นสีเเดง เเละจะเปลี่ยนเป็นสีเงินจาง ๆ หลังคลอด
กรณีศึกษา
มีเส้น linea nigra เเละ striae gravidarum บริเวณหน้าท้อง
ระบบขับถ่าย
ทฤษฎี
ไตมีอัตราการกรองเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมี cardiac output เพิ่มขึ้น ทำให้มีปัสสาวะมากเเละพบโปรตีนในปัสสาวะระดับ trace 1+ บางครั้งพบว่า ถ่าปัสสาวะลำบาก เนื่องจากกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะมีความตึงตัวลดลงเเละถูกมดลูกหรือทารกกดเบียดโดยเฉพาะในระยะที่ 1 ซึ่งส่วนนำของทารกเคลื่อนต่ำลงมาก การขับถ่ายอุจจาระในระยะที่ 1 จะรู้สึกอยากเบ่งถ่ายอุจจาระเนื่องจากส่วนนำของทารกไปกดเบียดทวารหนัก
กรณีศึกษา
ขณะตั้งครรภ์มารดาปัสสาวะวันละ 10 ครั้ง/วัน ซึ่งมากกว่าตอนตั้งครรภ์ ไม่มีปัสสาวะเเสบขัด
ระบบหัวใจเเละหลอดเลือด
ทฤษฎี
Cardiac output ในการหดรัดตัวของมดลูกเเต่ละครั้งจะมีเลือดจากมดลูกเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตของมารดาประมาณ 400 มิลลิลิตร ทำให้ cardiac output เพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์
Blood pressure ขณะมดลูกหดรัดตัวความดัน systolic เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10-15 mmHg ส่วน diastolic เพิ่มขึ้น 5-10 mmHg ขณะมดลูกคลายตัวความดันโลหิตเปลี่ยนเเปลงเล็กน้อย
Pulse ขณะมดลูกหัดรัดตัวชีพจรจะไม่เปลี่ยนเเปลงเมื่อยู่ในท่านอนตะเเคง ส่วนท่านอนหงายชีพจรจะลดลงเมื่อมดลูกหดรัดตัวระยะ increment ชีพจรจะเพิ่มขึ้นเมื่อมดลูกหดรัดตัวในระยะ acme เเละ decrement ส่วนระยะพัก ชีพจรจะสู่กว่าก่อนเข้าสู่ระยะคลอด โดยทั่วไปชีพจรจะอยู่ระหว่าง 80-90 ครั้ง/นาที
กรณีศึกษา
ความดันโลหิตขณะตั้งครรภ์ เวลา 10.00 น.
ระบบเลือดเเละเม็ดเลือด
ทฤษฎี
ปริมาตรเลือดเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 โดย plasma จะเพิ่มขึ้นตั้งเเต่อายุครรภ์ 6 สัปดาห์จนกระทั่งสูงสุดที่อายุครรภ์ 30-40 สัปดาห์ หลังจากนั้น red blood cell จะค่อยๆเพิ่มขึ้นตาม เเต่น้อยกว่า plasmavolume โดยเฉลี่ยปริมาณ 450 ml คิดเป็นร้อยละ 33 ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางจากการตั้งครรภ์ ระดับ Hemoglobin ในไตรมาสที่ 1 เเละ 3 ควรมากกว่า 11 g/dl ไตรมาสที่ 2 ควรมากกว่า 10.5g/dl Red blood cell เพิ่มขึ้นตอบสนองต่อการขาดธาตุเหล็กในระหว่างการตั้งครรภ์ซึ่งต้องการ 1000 mg หรือ 1 g ตลอดการตั้งครรภ์โดย 500 mg ใช้เพื่อสร้างเม็ดเลือด 300 mg ใช้เพื่อการเจริญเติบโตของทารกเเละอีก 200 mg เสียไปจากการขับถ่าย ปกติร่างกายมีธาตุเหล็กสะสมอยู่ 0.3 gซึ่งไม่เพียงพอในช่วงตั้งครรภ์จึงมีความจำเป็นต้องให้ธาตุเหล็กเสริม WBC จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเเละกลับมาปกติหลังคลอดในระยะคลอดอาจเพิ่มสูงขึ้น 14000-16000 cell/ml สัมพันธ์กับ granulocyte ที่เพิ่มขึ้น
กรณีศึกษา
ผลการตรวจ CBC วันที่ 9 มกราคม 2566 Hb 11.3 g/dl WBC 14910 cell/cu.m.m.
ระบบกระดูกเเละกล้ามเนื้อ
ทฤษฎี
มีการทำงานของกล้ามเนื้อมากขึ้นโดยเฉพาะกล้ามเนื้อมดลูกมีอาการปวดหลังเเละปวดตามข้อต่าง ๆ เนื่องจากมีการคลายตัวของเอ็นยึดกระดูกเเละอาจะเป็นตะคริวบริเวณขาเเละนิ้วเท้า
กรณีศึกษา
มีอาการปวดหลังเเละสะโพก
ระบบหายใจ
ทฤษฎี
อัตราการหายใจเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตลอดการคลอดขณะมดลูกหดรัดตัวเต็มที่ผู้คลอดบางรายอาจมีอัตราการหายใจเพิ่มขึ้น
กรณีศึกษา
อัตราการหายใจ 20 ครั้ง/นาที