Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การพยาบาลอาชีวอนามัย - Coggle Diagram
บทที่ 3 การพยาบาลอาชีวอนามัย
แนวคิดและหลักการ
ดำเนินงานอาชีวอนามัย
ขอบเขตงานบริการอาชีวอนามัย
3) การปกป้องคุ้มครอง (protection)
ผู้ประกอบอาชีพไม่ให้ทำงานในสภาพที่เสี่ยงอันตราย เป็นสาเหตุให้เจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุของผู้ประกอบอาชีพ เมื่อไม่สามารถจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยได้แต่คนงานต้องเขาไปปฏิบัติงาน ต้องหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายในการปกป้องคุ้มครองแรงงาน จากอันตรายนั้นๆ
4) การจัดงาน (placing)
ให้ผู้ประกอบอาชีพได้ทำงานที่เหมาะสมกับความสามารถของร่างกายและจิตใจของ ผู้ปฏิบัติงานนั้น เพราะงานบางอย่างไม่สามารถทำได้ทุกคนจึงต้องเลือกคนที่เหมาะสมกับงานนั้นๆเช่น คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบ ทางเดินหายใจ ไม่ควรทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่น เป็นต้น
2) การป้องกัน (prevention)
หมายถึง การป้องกันไม่ให้ผู้ประกอบอาชีพมีสุขภาพอนามัยเสื่อมโทรมหรือผิดปกติ อันมีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมทั้งการป้องกันอุบัติเหตุและโรคจากการทำงานเพื่อไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานต้องสัมผัส กับปัจจัยเสียงด้านต่างๆ
5) การปรับงาน (adaptation)
ให้เหมาะสมกับคน และการปรับคนให้เหมาะสมกับสภาพการทำงาน โดยนำปัจจัย ด้านต่างๆ ร่วมพิจารณา เช่น ปัจจัยด้านสรีระวิทยาของคนงาน โดยคำนึงสถานีงานที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นความสูง ระยะเอื้อม การวางแขน เก้าอี้ โต๊ะทำงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เหมาะสมกับคนงาน
1) การส่งเสริมและดำรงไว้ (promotion and maintenance)
ซึ่งความสมบูรณ์ที่สุดของสุขภาพร่างกาย จิตใจ และความเป็นอยู่ที่ดีในสังคมของผู้ประกอบอาชีพในทุกอาชีพ โดยกำหนดมาตรการในการดูแลคนงานและส่งเสริมสุขภาพของ คนงานให้มีสุขภาพดี ดังเช่นก่อนที่คนงานเข้ามาทำงาน
แนวคิด และ หลักการของการดำเนินงาน
REC
การคาดการณ์ล่วงหน้า (Anticipation)
การคาดคะเนเหตุการณ์ ไม่คาดฝันที่อาจสิ่งผล
ให้เกิดอันตรายจากการปฏิบัติงาน
การประเมิน (Evaluation)
ประเมินระดับของปัญหา เลือกใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์ในการประเมิน
การควบคุม (Control)
จัดทำมาตรการเพื่อลดหรือกำจัดอันตรายจาก
สิ่งแวดล้อมจากการทำงาน
การตระหนัก (Recognition)
ค้นหาหรือบ่งชี้อันตรายจากปัจจัย
สิ่งแวดล้อมในการทำงาน
“อาชีวอนามัยและความปลอดภัย”
Occupational Health and Safety
อนามัย/สุขภาพ(Health)
ความสมบูรณ์ทางร่างกาย จิตใจ และการดำรงชีวิตอยู่ ในสังคมด้วยดี ไม่ใช่เพียงแค่ปราศจากโรค หรือทุพพลภาพ เท่านั้น (WHO,2541)
ความปลอดภัย(Safety) -
การปราศจากภัยคุกคาม หรืออันตรายที่มีโอกาสจะ เกิดขึ้นในทุกๆ ด้าน การปราศจาก อุบัติเหตุ และ ความเสี่ยง หรือความ สูญเสียใดๆ
เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม ดูแล ภาวะสุขภาพ อนามัยของผู้ประกอบอาชีพให้มีสภาวะที่สมบูรณ์ทางร่างกาย จิตใจ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ดี มีความปลอดภัย จากภาวะคุกคามและอันตรายต่างๆ
อาชีวะ/อาชีพ(Occupational)
การเลี้ยงชีพ การประกอบอาชีพ หรือผู้ที่ประกอบ อาชีพทุกสาขาอาชีพ ทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ภาครัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจ ฯลฯ
อุบัติเหตุ (Accident)
หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดการณ์ ไว้ล่วงหน้า ซึ่งก่อให้เกิดการบาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิต และทำให้ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
ความเสี่ยง (Risk)
จากการทํางาน -ความเป็นไปได้ หรือโอกาสที่สิ่งคุกคามจะก่อให้เกิดอันตราย ต่อสุขภาพ หรือเกิดการบาดเจ็บต่อผู้ปฏิบัติงาน หรือเกิดความ สูญเสียต่อทรัพย์สิน ซึ่งการแสดงความเป็นอันตราย เริ่มตั้งแต่ ระดับเล็กน้อย จนถึงขั้นเสียชีวิต
สิ่งคุกคามสุขภาพ (Health Hazard) จากการทํางาน
สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ในสถานที่ทำงานที่มีศักยภาพก่อให้เกิด ผลกระทบต่อสุขภาพหรือการบาดเจ็บ
ภาวะคุกคามทางกายภาพ
รังสี (Radiation)
ความดันที่ผิดปกติ (Extreme Pressure)
ความดันบรรยากาศสูง
พบในผู้ที่ทำงานใต้น้ำ อาจเกิด ฟองก๊าซไนโตรเจนเข้าไปในกระแสเลือด และตามข้อ รวมถึงชั้นกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดตะคริวอย่างรุนแรง บางราย ไปอุดเส้นเลือดในสมองทำให้เสียชีวิตได้ เรียก ภาวะ " Cassion disease"
ความดันบรรยากาศต่ำ
พบในผู้ที่ทำงานในที่สูง เช่น บน เครื่องบิน บนภูเขา ทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เนื่องจากระดับออกซิเจนไปเลี้ยงสมองลดลง
เสียง (Noise)
ทำให้ สมรรถภาพการได้ยินลดลง สาเหตุของโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคกระเพาะ อาหาร บั่นทอนสุขภาพจิต ประสิทธิภาพการทำงานลดลง เกิดความผิดพลาดบ่อย ทำให้เกิดอุบัติเหตุ บาดเจ็บจากการทำงาน
การสั่นสะเทือน (Vibration)
ทำให้การไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงปลายมือขัดข้อง ทำให้เกิดเนื้อเยื่อขาดเลือดไปเลี้ยง มีอาการชา ปวด เนื้อเยื่อมีการตาย ภาวะ “Raynaud's Phenomenon
อุณหภูมิที่ผิดปกติ (Extreme Temperature)
ผลกระทบจากความร้อนต่อสุขภาพ
ได้แก่ ผดผื่น ตะคริว อ่อนเพลีย หน้ามืด วิงเวียน ลมแดด เสียชีวิต
อันตรายจากความเย็น
ได้แก่ เกิดผลึกน้ำแข็งในเซลล์ของเนื้อเยื่อ เกิดการอุดตันของระบบไหลเวียนเลือด ขัดขวางเมตาบอลิซึมของร่างกาย เลือดหยุดไหลเวียน
สภาพที่ทําให้เกิดอันตรายได้ เช่น โครงสร้างอาคาร
แสง (Light)
แสงสว่างน้อยเกินไป
ทำให้ ม่านตาเปิดกว้าง เมื่อยล้า ปวดตา มึนศีรษะ ภาวะตาไม่สู้แสง เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ
แสงสว่างที่มากเกินไป
ทำให้ เมื่อยล้า ปวดตา มึนศรีษะ กล้ามเนื้อหนังตากระตุก วิงเวียน นอนไม่หลับ การมองเห็นแย่ลง
แสงจ้า
จะทําให้ผู้ทํางานเกิดความไม่สบาย เมื่อยล้า ปวดตา มีนศีรษะ กล้ามเนื้อหนังตากระตุก วิงเวียน นอนไม่หลับ การมองเห็นแย่ลง ป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ
การให้บริการอาชีวอนามัย
การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
จากการทํางาน
เป็นกระบวนการระบุถึงสิ่งลุกลาม สุขภาพที่อาจ เกิดขึ้นจากการทํางาน ระบุระดับของความเสี่ยง ที่พบ และพิจารณากำาหนดมาตรการในการป้องกัน ควบคุม และ ลดความเสี่ยง
ทำไมจึงต้องประเมินความเสี่ยง
นำาไปสู่การพิจารณาที่จะดำเนินการใดๆ เพื่อ
แก้ปัญหาความเสี่ยง
นั้นได้อย่างเหมาะสม
ให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความ
ตระหนัก
ถึงผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิด จากสิ่งคุกคามจากการทำงาน นำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง
ให้ทราบว่าในสถานที่ทำงาน/แผนกนั้นๆ มีโอกาสที่
สิ่งคุกคามต่างๆ
จะก่อให้เกิดอันตรายได้มากน้อยเพียงใด
นำไปสู่การ
ป้องกัน
แก้ไขปัญหาที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
นำไปสู่การ
เฝ้าระวังทางสุขภาพ
ตามความเสี่ยงจากการทำงาน
วิธีการประเมินสิ่งคุกคามสุขภาพ
และสภาพแวดล้อมการทำงาน
การประเมินเชิงคุณภาพ:
การอธิบายปรากฏการณ์เชิง สังคมศาสตร์และมนุษวิทยา โดยใช้แบบประเมิน เช่น RAH01, JSA (Job safety analysis), แบบสำรวจสถาน ประกอบการ ฯลฯ โดยการเดินสำรวจ (Walk-through suvery) + สังเกต สอบถาม
ตรวจวัดสภาพแวดล้อมการทำงานเชิงปริมาณ
เช่น แสงสว่าง, เสียง, ความร้อน, ฝุ่น, สารเคมี โดยใช้เครื่องมือ วิทยาศาสตร์
ระดับของความเสี่ยงจากการทำงาน
ความเสี่ยงปานกลาง (3, 4) ควรมีการควบคุมและเฝ้าระวังความเสี่ยง
ความเสี่ยงสูง (6) จำเป็นต้องมีการจัดการความเสี่ยง
และทำการเฝ้า ระวังความเสี่ยง
ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (2) ควรมีการเฝ้าระวังความเสี่ยง
ความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ (9) จำเป็นต้องมี1
องมีการจัดการความเสี่ยงที่มี ประสิทธิภาพ
พิจารณาได้จากองค์ประกอบ
(A) โอกาส/ความเป็นไปได้ของการเกิดอันตราย
พิจารณาจาก
มาตรการป้องกันควบคุมอันตรายที่มี
วิธีการทำงานที่มีความปลอดภัย
ความเคร่งครัดของผู้ปฏิบัติงานใน
การปฏิบัติงานตามวิธีการที่ กำหนด
การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
จํานวนผู้เกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใด
การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นในอดีต
(B) ความรุนแรงของความเป็นอันตราย
ความรุนแรง
พิจารณาจาก
ผลกระทบต่อทรัพย์สิน
ผลกระทบต่อคน
ผลกระทบต่อกระบวนการทำงาน
เช่น คุณภาพการให้บริการ, ชื่อเสียง
รุนแรงมาก
คน : แขนขาด ขาขาด สารพิษ มะเร็ง อายุสั้นลง ตาย
ทรัพย์สิน : เสียหายมูลค่ามากกว่า 100,000 บาท
หน่วยงาน : กระบวนการหยุดชะงักมากกว่า 4 ชั่วโมง
ความเป็นอันตราย
พิจารณาจาก
ความเป็นพิษที่มีอยู่ในตัวของสิ่งคุกคาม
เสียงดัง : รำคาญ, หูหนวกชั่วคราว, หูหนวกถาวร
ก๊าซเอทธิลีนออกไซด์ : คาดว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ มีผลต่อระบบสืบพันธ์
ลักษณะการเกิดผลกระทบที่มีลักษณะเฉพาะตัวของสิ่งคุกคามนั้นๆ
สารเบนซีน : มีผลต่อการเกิดมะเร็งเม็ดเลือด
ระดับของความเสียง = (A) x (B)
ความเสี่ยงเล็กน้อย (1) อาจไม่ต้องดำเนินการใดๆ
อุบัติเหตุจากการประกอบอาชีพ
(Occupational Accidents)
อุบัติเหตุ (Accident)
หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยมิได้ คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ซึ่งก่อให้เกิดความบาดเจ็บ พิการ หรือตาย และทำให้ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ (Near Miss)
หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วโดยลำพังยังไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อ ชีวิต และ/หรือทรัพย์สิน แต่ถ้าละเลยปล่อยให้สาเหตุดังกล่าวเกิดขึ้น บ่อยๆ หรือยังมีอยู่อย่างนั้น อาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุในที่สุด
สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ
การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act)
ขาดความรอบคอบในการทำงาน : ระมัดระวัง เครื่องป้องกันอันตราย จัดไว้ให้แต่ไม่ใช้
ท่าทาง หรือการทำงานที่ผิดวิธี : ยกของด้วยท่าทางที่ผิดธรรมชาติ ใช้ เครื่องมือไม่ถูกต้องกับลักษณะงานที่ทำ
การเคลื่อนไหวที่เกิดอันตราย : เช่น การเดิน การวิ่ง การกระโดด การปีนป่าย การหยอกล้อระหว่างทำงาน
สภาพของงานที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Condition)
การออกแบบโรงงานไม่สมบูรณ์ ระบบความปลอดภัยไม่มี ประสิทธิภาพ
ไม่มีอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย ขาดการบำรุงรักษาที่ดี
การจัดเก็บสารที่เป็นอันตรายไม่ปลอดภัย แสงสว่างน้อยเกินไป เสียงดัง ฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน สกปรก ขาดการระบายอากาศเป็นต้น
หลักในการปฏิบัติงานให้เกิด ความปลอดภัย
แต่งกายให้ถูกต้อง เหมาะสมกับการทำงาน
ใช้อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย ทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน
ใช้เครื่องมือให้ถูกวิธี ถูกกับงาน
งดการใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่ชำรุด เสียหาย หรืออยู่ในสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้งาน
ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบความปลอดภัยในการทำงานอย่างเคร่งครัด
กรณีเกิดอุบัติเหตุให้ได้รับการช่วยเหลือทันที
เก็บรักษาอุปกรณ์ และเครื่องมือให้เป็นระเบียบ
รักษาความสะอาด และติดป้ายบริเวณที่มีอันตรายให้ชัดเจน
ศึกษาตำแหน่งที่ติดตั้งเครื่องดับเพลิงตลอดจนวิธีใช้งาน
ปฏิบัติตามคำเตือนหรือเครื่องหมายแสดงอันตรายอย่างเคร่งครัด
ไม่หยอกล้อกันขณะทำงาน
บทบาทพยาบาลในงานอาชีวอนามัย
การสำรวจสถานประกอบการและการค้นหาปัจจัยเสี่ยง
การรักษาพยาบาลขั้นต้น/ การจัดการรายกรณี
การประเมินภาวะสุขภาพ/ สิ่งคุกคามด้านสุขภาพ
และการเฝ้าระวัง
การให้คำปรึกษา
การส่งเสริมสุขภาพ/ การป้องกันโรค
การบริหารจัดการ
การควบคุมกำกับด้านจริยธรรมและกฎหมาย
การวิจัย
การประสานงานในชุมชน
การจัดบริการสุขภาพในสถานประกอบการ
(Occupational Health Services (OHS))
วัตถุประสงค์
ปรับปรุงสภาพการทำงานให้เหมาะสมกับผู้ทำงาน
ส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้ทำงาน
ปกป้องและคุ้มครองสุขภาพของผู้ทำงานจากอันตราย
ในการทำงาน
รักษาและฟื้นฟูสภาพของผู้ทำงานจากการบาดเจ็บ
หรือป่วย เป็นโรคจากการทำงาน
ให้บริการทางสุขภาพทั่วไปแก่ผู้ทำงานและครอบครัว
กิจกรรมในการให้บริการอาชีวอนามัย
ดำเนินการในด้านความปลอดภัยในการทำงาน
ให้ความรู้และฝึกอบรมทางด้านอาชีวสุขศึกษา
รวมทั้งการจัดเตรียม อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลต่างๆ
ประเมินและเฝ้าระวังทางสุขภาพแก่ผู้ทำงาน
ปรับปรุงสภาพการทำงานให้เหมาะสมและสอดคล้องกับผู้ทํางาน
เฝ้าคุมและจัดการความเสี่ยงในการทำงาน รวมทั้งดูแล
ในเรื่อง สุขอนามัยอื่นๆ
สํารวจและประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการทํางาน