Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Nasolacrimal duct obstruction, f12-03-9780323613293 (1), 2317a1b6-eb92…
Nasolacrimal duct obstruction
สาเหตุ
อายุที่มากขึ้น
ภาวะหมดประจำเดือน
การติดเชื้อต่าง ๆ ของท่อน้ำตา
ติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย
อุบัติเหตุท่อน้ำตาหรือโพรงจมูก
เนื้องอกของท่อน้ำตา
การได้รับรังสีรักษาโรคมะเร็งในบริเวณจมูก จึงทำให้เกิดพังผืดของท่อน้ำตา
การผ่าตัดในบริเวณจมูกหรือดวงตา
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยหญิงอายุ 73 ปี
อาการ
อาจมีน้ำมูกเป็นเลือด บางครั้งอาจมีเลือดปนน้ำตา
บวมบริเวณหัวตาด้านข้างจมูก
อาจมีอาการบวมแดง ร้อน เจ็บ เมื่อมีอาการอักเสบร่วมด้วย
ต่อมน้ำตาอักเสบบ่อย
มีน้ำตาไหลตลอดเวลา
กรณีศึกษา:
S: ผู้ป่วยบอกว่า " มันมีตุ่มนูนแดง มีหัวหนอง ตนคิดว่าเป็นฝีที่มันสุกแล้ว ก็เลยไปบีบมันแตก พอมันแตกก็หนองไหลเต็มเลย " O: มีสะเก็ดรอยแผลบริเวณหัวตาด้านข้างจมูก
การวินิจฉัย
ผู้ป่วยสามารถลองทดสอบตัวเองได้
การกดที่หัวตาข้างสันจมูก คล้าย ๆ การนวดหัวตาเพื่อรักษาท่อน้ำตาตันในเด็ก ในบางรายที่มีท่อน้ำตาตันจะพบว่า มีน้ำตาทะลักออกมาทางหัวตาทางรูเปิดของท่อน้ำตา ซึ่งอาจจะเป็นน้ำตาที่เป็นเมือกหรือขี้ตาที่เป็นหนองทะลักออกมาก็ได้
ตรวจวินิจฉัยหลักโดยจักษุแพทย์
การใช้เข็มเล็กปลายตัดไม่คมแยงลงไปทางรูเปิดของท่อน้ำตาที่มีอยู่ที่หัวตาทั้งเปลือกตาบนและล่างแล้วฉีดน้ำลงไป ในผู้ที่ปกติจะรู้สึกถึงน้ำเค็ม ๆ ที่ไหลลงคอ แต่หากมีท่อน้ำตาตัน น้ำจะไหลเอ่อล้นกลับออกมาทางรูเปิดของท่อน้ำตาทั้งบนและล่างเลอะออกมาข้างแก้ม ซึ่งอาจมีขี้ตาออกมาด้วย
แนวทางการรักษา
การรักษาโรคท่อน้ำตาอุดตัน ได้แก่ การรักษาตามสาเหตุ เช่น การรักษาโรคมะเร็งเมื่อสาเหตุเกิดจากโรคมะเร็ง หรือการให้ยาปฏิชีวนะเมื่อเกิดการอักเสบ และการขยายท่อน้ำตา โดยใส่ท่อขยาย หรือการผ่าตัดขยายท่อน้ำตา เมื่อท่อน้ำตาตีบจากพังผิด
การผ่าตัด
Dacryocystorhinostomy (DCR)
Dacryocystectomy
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยเตรียมผ่าตัดแบบ Endo DCR
ภาวะแทรกซ้อน
Acute Dacryocystitis
สาเหตุ
คือ การที่ lacrimal sac มีการอักเสบติดเชื้อ โดยมากมักจะเกิดจากผู้ที่มี NLDO และมีน้ำตาคั่งค้างอยู่เป็นเวลานานจนมีการติดเชื้อตามมา
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยมีการอุดตันของท่อน้ำตา (Nasolacrimal duct obstruction) ส่งผลให้น้ำตาขังค้างในถุงน้ำตา จึงเกิดการอักเสบที่ถุงน้ำตาขึ้น มีหนองที่หัวตา แต่ผู้ป่วยบีบเพราะคิดว่าเป็นฝี หลังจากบีบพบหนองไหล
แนวทางการรักษา
การรักษาในช่วงที่มีการอักเสบนั้น ควรให้การประคบอุ่นร่วมกับยาปฏิชีวินะชนิดรับประทาน (ให้ยาปฏิชีวนะชนิดหยอดหรือไม่ก็ได้) หากเป็นหนองที่ใกล้ผิวหนังมากก็สามารถเจาะดูดหนองออกได้ และเมื่อหายอักเสบแล้ว ค่อยรักษา NLDO ในภายหลัง
กรณีศึกษา
แพทย์สั่งยา
Cravit Left eye qid
Augmentin 1.2 g vein drip in q 8 hr
Paracetamol (500) 2 tab po prn
การวินิจฉัย
การทำ irrigation โดยที่ไม่มีน้ำไหลลงจมูกและจะมีการไหลย้อนออกจากรู punctum ถ้ามีน้ำเกลือไหลลงจมูกและบางส่วนไหลลงคอได้แสดงว่าท่อน้ำตาไม่ได้อุดตัน แต่ถ้ามีน้ำไหลออกมาทางรูท่อน้ำตา แสดงว่าท่อน้ำตาตีบแคบหรืออุดตัน ถ้าอักเสบติดเชื้อ ขี้ตาที่ออกมานั้นจะมีลักษณะเป็นหนอง
ถ้ามี secondary infection ทำให้เกิด dacryocystitis ผู้ป่วยมักมีอาการน้ำตาคลอ ร่วมกับมีก้อนนูนบริเวณหัวตา อาจมี purulent discharge ออกมาจาก punctum
อาการ
บวม แดง และเจ็บในตำแหน่งของถุงน้ำตา (ตรงหัวตาด้านข้างติดกับจมูก)
น้ำตาไหลมาก เนื่องจากน้ำตาไหลลงท่อน้ำตาไม่ได้
อาจมีหนองที่หัวตาหรือบริเวณหนังตา ตื่นขึ้นมาหนังตาบนและล่างอาจติดกัน
โดยเฉพาะหัวตา มีหนองหรือเมือกออกมาทางหัวตาเมื่อใช้มือกดบริเวณถุงน้ำตา (บริเวณหัวตาที่บวม)
อาจมีไข้ ถ้าโรครุนแรง