Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เศรษฐศาสตร์, image, image, image, image - Coggle Diagram
เศรษฐศาสตร์
ความหมาย และ ความสําคัญ ของเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์หมายถึงศาสตร์ในการจัดการครอบครัว อัลเฟรด
มาแชลล์ : ให้ความหมายว่า วิชาที่ว่าด้วยการดำรงชีวิตโดยปกติของมนุษย์และสังคมในการให้ทรัพยากรเพื่อให้บรรลุถึงความกินดีอยู่ดี พอล แซงมวลซัน : ให้ความหมายว่า วิชาที่ศึกษาถึงวิธีการที่มนุษย์และสังคมตัดสินใจใช้ทรัพยากรที่หาได้ยากและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายๆ ทาง ไปผลิตสินค้าและบริการต่างๆ ตลอดจนการจำแนกแจกจ่ายสินค้าและบริการเหล่านั้นไปประยุกต์ต่างๆ ในสังคมทั้งในปัจจุบันและอนาคต นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายของเศรษฐศาสตร์
ความสําคัญของ เศรษฐศาสตร์ เอาไว้ศึกษาถึงการตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อสนองความต้องการอย่างไม่มีจำกัดของมนุษย์ สามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ประโยชน์ได้หลายทาง มาใช้ผลิตสินค้าและบริการอย่างประหยัดที่สุด หรืออย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และเพื่อให้เกิดความพอใจสูงสุด ทั้งนี้การศึกษาเพื่อตัดสินใจดังกล่าวมีทั้งระดับย่อยและระดับภาพรวม การศึกษาในระดับย่อยจะเป็นสาขาหนึ่งของวิชาเศรษฐศาสตร์ที่เรียกว่า เศรษฐศาสต์จุลภาค (Microeconomics) ที่มุ่งเน้นไปที่พฤติกรรมของผู้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจเพียงบางกิจกรรม เช่น การตัดสินใจในการเลือกดำเนินกิจกรรมของผู้บริโภค ผู้ผลิต และผู้ใช้แรงงาน เป็นต้น ส่วนการศึกษาในระดับภาพรวมจะเป็นอีกสาขาหนึ่งของวิชาเศรษฐศาสตร์ที่เรียกว่า เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) ซึ่งจะเน้นไปที่พฤติกรรมโดยรวมของผู้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น พฤติกรรมโดยรวมของผู้บริโภค ผู้ผลิต และผู้ใช้แรงงาน ส่งผลอย่างไรต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ เป็นต้น ตัวแปรทางเศรษฐกิจที่สนใจจึงเป็นลักษณะของตัวแปรในเชิงมวลรวม (Economic aggregate) เช่น ระดับการจ้างงานทั้งหมด รายได้ประชาชาติ ระดับรายได้เฉลี่ย ระดับราคาทั่วไป งบประมาณรัฐบาล การเงินการธนาคาร อัตราเงินเฟ้อ ฯลฯ
ขอบข่ายการศึกษา เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
1.2 ขอบข่าย เป้าหมายของการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์
การศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ที่ให้ความสำคัญกับความพึงพอใจของสังคมว่า การดำเนินกิจกรรมหรือการตัดสินใจหนึ่งๆ เป็นสิ่งที่ควรกระทำหรือไม่ เช่น ถ้าสินค้าชนิดหนึ่งมีราคาสูง ผู้ซื้อควรจะตัดสินใจอย่างไร หน่วยธุรกิจ จะผลิตอะไร หรือรัฐบาลควรจะดำเนินการอย่างไร เป็นต้น ดังนั้น สามารถจำแนกขอบข่ายออกได้เป็น 2 แนวทาง ดังนี้
จำแนกตามเนื้อหาของวิชาเศรษฐศาสตร์
1.1. เศรษฐศาสตร์จุลภาคหรือจุลเศรษฐศาสตร์ Microeconomics
1.2. เศรษฐศาสตร์มหาภาคหรือมหาเศรษฐศาสตร์ Macroeconomics
จำแนกตามการวิเคราะห์ปัญหา
2.1 เศรษฐศาสตร์ตามความเป็นจริง หรือ เศรษฐศาสตร์พรรณนา positive or descriptive economics
2.2 เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น หรือ เศรษฐศาสตร์นโยบาย normative or policy economics
1.1 เศรษฐศาสตร์จุลภาค Microeconomics
จุล - แปลว่า "เล็ก" + เศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์จุลภาค Microeconomics เป็นเศรษฐศาสตร์ สาขาหนึ่งซึ่งศึกษาพฤติกรรมของบุคคลและบริษัท ในด้านการตัดสินใจที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดและการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลและบริษัท หรือการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของหน่วยเศรษฐกิจใดหน่วยเศรษฐกิจหนึ่ง เช่น
การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภครายใดรายหนึ่งว่าจะมีการตัดสินใจในการเลือกบริโภคสินค้าและบริการอย่างไร จำนวนเท่าใด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความพอใจสูงสุดภายใต้ขีดจำกัดของรายได้จำนวนหนึ่ง
พฤติกรรมของผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งว่าจะตัดสินใจเลือกผลิตสินค้าอะไร จำนวนเท่าใด ด้วย วิธีการอย่างไร และจะกำหนดราคาเท่าไร จึงจะได้กำไรสูงสุด ศึกษาพฤติกรรมการลงทุน การออมของ บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ศึกษากลไกตลาดและการใช้ระบบราคาเพื่อการจัดสรรสินค้า บริการ และทรัพยากร อื่นๆ
จะเห็นได้ว่าเศรษฐศาสตร์จุลภาคส่วนใหญ่จะเป็นการศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับราคาในตลาดแบบต่างๆ นักเศรษฐศาสตร์บางท่านจึงเรียกวิชาเศรษฐศาสตร์อีกชื่อหนึ่งว่า ทฤษฎีราคา (Price Theory)
เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจําวัน
ชาเศรษฐศาสตร์มีความจำกัดความอย่างสั้นๆว่า “เป็นวิชาที่ได้ศึกษาถึงการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการอันไม่สิ้นสุดของมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพและให้เกิดประโยชน์สูงสุด” หรืออาจกล่าวได้ว่า เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ให้ความสำคัญกับการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่านั่นเอง
การศึกษาหลักการเบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์ ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน รูปแบบต่างๆ ของระบบเศรษฐกิจ การทำงานของกลไกราคาในตลาด บทบาทของภาครัฐ ภาคเอกชนในระบบเศรษฐกิจ เงินตราและสถาบันการเงิน เน้นการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน ในเรื่องที่เกี่ยวข้องเป็นข้อมูลประกอบการศึกษา
ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ในการดำเนินชีวิตประจำวันในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ย่อมมีเรื่องที่ต้องคิดและตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ซึ่งมีให้พิจารณาอยู่มากมายหลายชนิด หลายราคา และหลายยี่ห้ออยู่ตลอดเวลาดังนั้น วิชาเศรษฐศาสตร์จึงสามารถนำมาประยุกต์ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ได้ โดยมีปัจจัยหลายประการเข้ามีบทบาทเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจดังกล่าว เช่น ราคาของสินค้า จำนวนเงินที่มีอยู่ รสนิยม ความพึงพอใจต่างๆ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจที่เหมาะสมตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์ รวมทั้งแสดงถึงรสนิยมที่เหมาะสมในการรู้จักเลือกบริโภค และยังเป็นการช่วยเหลือประเทศชาติในทางอ้อมอีกด้วย
ปัญหาพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์ text
ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ (Basic problems of Economics) What? --> ปัญหาว่าจะผลิตอะไร ปัญหานี้เกิดจากทรัพยากรหรือวัตถุดิบในการผลิตมีจากัด ไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่ไม่จากัดได้ทั้งหมด ผู้ผลิตจึงต้องเลือกว่าจะผลิตอะไรบ้าง จานวนเท่าใด ถึงจะได้ประโยชน์สูงสุด1 เม.ย. 2558
กิจกรรมทางด้านเศรษฐศาสตร์
การผลิต production หมายถึง การสร้างเศรษฐทรัพย์ขึ้นเพื่อบำบัดความต้องการของมนุษย์ คำว่า เศรษฐทรัพย์ หมายถึง สิ่งของ หรือบริการที่เป็น อรรถประโยชน์ Utility สามารถนำมาบำบัดความต้องการของมนุษย์ได้ เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค กระแสไฟฟ้าหรือพลังงาน และบริการต่างๆ เช่นการสอนหนังสือ การตัดผม การร้องเพลงหรือเล่นดนตรีบนเวทีการแสดง เป็นต้น แต่ถ้าเป็นสิ่งของที่มีอยู่มากมายโดยไม่ต้องซื้อหา เช่นน้ำ ในแม่น้ำ อากาศที่เราหายใจ เราเรียกว่า ทรัพย์เสรี ไม่ถือว่าเป็นเศรษฐทรัพย์
การผลิตที่ทำให้เกิดอรรถประโยชน์จากการเปลี่ยนรูป form utility การนำแท่งเหล็กมาตีเป็นมีด การนำดินเหนียวมาปั้นเป็น โอ่ง ไห แจกัน หรือทำเป็นเครื่องเรือน
การบริโภค consumption หมายถึง การกินหรือการใช้สินค้าหรือบริการเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์โดยตรง เช่นการรับประทานอาหาร การใช้บริการช่างตัดผม บริการของแพทย์ การใช้บริการรถประจำทาง เป็นต้น !
การกระจาย Distribution หมายถึง การจำหน่ายจ่ายแจกสินค้า หรือบริการที่ผลิตขึ้นมาไปยังผู้บริโภค และรวมถึงการนำรายได้จากการจำหน่ายจ่ายแจกสินค้าหรือบริการนั้นๆ มาแบ่งสรรปันส่วนให้แก่เจ้าของปัจจัยการผลิตที่มีส่วนร่วมในการผลิต
การแลกเปลี่ยน Exchange หมายถึงการเปลี่ยนความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือบริการระหว่างกัน ปัจจุบันเราจะสังเกตเห็นว่าชาวนาชาวไร่ไม่ได้ปลูกข้าวหรือเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคในครัวเรือนเท่านั้น แต่จะทำการผลิตเป็นจำนวนมากเพื่อนำไปใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนเอาสินค้าอื่นมาบำบัดความต้องการของตนด้วย จึงเกิดการแลกเปลี่ยนซึ่งเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจขึ้น