Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ (Thorndike) - Coggle Diagram
ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ (Thorndike)
สรุปแนวคิดธอร์นไดค์
ธอร์นไดค์ได้สรุปว่า การลองผิดลองถูกจะนำไปสู่การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง และการเรียนรู้ ก็คือการที่มีการเชื่อมโยง (Connection) ระหว่างสิ่งเร้า (Stimuli) และการตอบสนอง ( Responses ) การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก มีใจความที่สำคัญว่า เมื่ออินทรีย์กระทบสิ่งเร้า อินทรีย์จะลองใช้วิธีตอบสนองต่อสิ่งเร้าหลาย ๆ วิธี จนพบกับวิธีที่เหมาะสมและถูกต้องกับเหตุการณ์และสถานการณ์ เมื่อได้รับการตอบสนองที่ถูกต้องก็จะนำไปต่อเนื่องเข้ากับสิ่งเร้า นั้น ๆ มีผลให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยมีหลักเกณฑ์ และลำดับขั้นที่จะนำไปสู่การเรียนรู้แบบนี้ คือ
มีสถานการณ์ที่เป็นปัญหาเป็นสิ่งเร้าให้อินทรีย์แสดงการตอบสนองหรือแสดงพฤติกรรมออกมา
อินทรีย์จะแสดงอาการตอบสนองหลาย ๆ อย่าง เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
ปฏิกิริยาตอบสนองที่ไม่ทำให้เกิดความพอใจจะถูกตัดทิ้งไป
เมื่อปฏิกิริยาตอบสนองที่ไม่ทำให้เกิดความพอใจถูกตัดทิ้งไป จนเหลือปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดความพอใจ อินทรีย์จะถือเอา กิริยาตอบสนอง ที่ถูกต้องและจะแสดงตอบสนองต่อสิ่งเร้า(Interaction)
ธอร์นไดค์ ได้ตั้งกฎแห่งการเรียนรู้ขึ้นอีก 3 กฎ คือ
กฎแห่งผล ( Law of Effect ) กล่าวว่าเมื่อการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับอาการตอบสนองนำความพอใจมาให้การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับอาการตอบสนองก็จะแน่นแฟ้นขึ้น ถ้าความสัมพันธ์นี้นำความรำคาญใจมาให้ความสัมพันธ์นี้ ก็จะคลายความแน่นแฟ้นลง หรืออาจจะกล่าวได้ว่า ถ้าจะให้ผู้เรียนรู้อะไรจะต้องมีรางวัลให้ (รางวัลมิได้หมายถึงสิ่งของแต่อย่างเดียว แต่รวมเอาทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกพอใจ เช่น การให้คำชมเชย เป็นต้น )
กฎแห่งการฝึก ( Law of Exercise ) จากการสังเกตเมื่อเอาแมวใส่กรงครั้งหลังแมวจะหาทางออกจากกรงได้เร็วขึ้น เมื่อทดลองนาน ๆ เข้า แมวก็สามารถออกจากกรงได้ทันที ตามลักษณะนี้ธอร์นไดค์อธิบายว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการ ตอบสนองได้สัมพันธ์แน่นแฟ้นขึ้น และความสัมพันธ์นี้จะแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นเมื่อมีการฝึกหัดหรือซ้ำบ่อย ๆ และความสัมพันธ์นี้จะคลายอ่อนลงเมื่อไม่ได้ใช้ และธอร์นไดค์เชื่อว่าการกระที่ไม่มีรางวัลเป็นผลตอบแทนหลังการตอบสนองนั้น ๆ สิ้นสุดลงจะต้องลงเอยด้วยความสำเร็จ
กฎแห่งความพร้อม ( Law of Readiness ) ธอร์นไดค์ตั้งกฎแห่งความพร้อมนี้เพื่อเสริมกฎแห่งผล และได้อธิบายไว้ในรูปของการเตรียมตัว และการเตรียมพร้อม ในการที่จะตอบสนองกิจกรรมที่ตามมาหลังจากการที่มีการเตรียมตัวพร้อมแล้ว เช่น ในสถานการณ์ของแมวในกรง แมวจะทำอะไรออกมานั้น แมวจะต้องหิว แมวสามารถเอาเท้าตะปบเชือกที่ห้อยแขวนอยู่นั้น ได้ และมีประสาทสัมผัสที่จะรับรู้ว่าได้รับผลพอใจหรือไม่พฤติกรรมที่แสดงออกไปแล้ว เป็นต้น
การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
ในการเรียนการสอนครูต้องให้ความสำคัญ และความเข้าใจในความแตกต่างของผู้เรียน ทั้งแตกต่างทางด้านอารมณ์ ด้านความชอบ ความสนใจ การตอบสนองได้ไม่เท่ากัน ต้องสร้างทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาที่เรียนให้กับผู้เรียน เช่น ชี้ให้เห็นประโยชน์ หาบุคคลตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ เป็นต้น
การวางเงื่อนไข ครูควรมีการวางเงื่อนไขในการเรียน เช่น หากผู้เรียนสอบหรือทำผลงานได้สำเร็จจะให้ทำกิจกรรมนันทนาการเพื่อคลายความเครียด เป็นต้น และควรใช้การวางเงื่อนไขที่แตกต่างกันไม่ใช่ใช้เพียงเงื่อนไขเดียว อาจจะเป็นการให้ผู้เรียนทำกิจกรรมสนุกๆ การเล่นเกม การพาไปทัศนศึกษา การให้ดูวิดีโอ
3.ในการสอน ควรมีการใช้การเสริมแรงทางบวกแก่ผู้เรียน เช่น การให้คะแนน การให้ของรางวัลการกล่าวคำชมเชย เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ และควรสังเกตว่าการเสริมแรง แบบใดที่ผู้เรียนชอบส่งผลต่อการตอบสนองพฤติกรรมที่ดี ควรมีการใช้การเสริมแรงที่หลากหลาย
ครูผู้สอนไม่ควรใช้การลงโทษที่รุนแรงเกินไป เพราะนอกจากจะไม่เกิดการเรียนรู้แล้วยังทำให้ผู้เรียนผู้เรียนเกิดความอคติอีกด้วย ควรใช้วิธีการงดการเสริมแรงเมื่อผู้เรียนมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
ก่อนดำเนินการสอนครูต้องคำนึงถึงความพร้อมของผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านอุปกรณ์การเรียน และครูผู้สอนต้องสร้างความพร้อมทางความรู้ให้กับผู้เรียนด้วย คือการอธิบายของความรู้เดิมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการจำได้ถึงเนื้อหาก่อนหน้าที่เคยศึกษาให้สามารถเชื่อมโยงความรู้ได้
ครูผู้สอนควรมีการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการฝึกหัด คือ การให้การบ้าน การให้ทำแบบฝึกหัดบ่อยๆ แต่ควรแบบฝึกหัดที่เป็นเรื่องเดียวกันแต่มีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อไม่ให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย
ประวัติของธอร์นไดค์
ธอร์นไดค์ (Edward L Thorndike) เป็นนักจิตวิทยาและนักการศึกษาชาวอเมริกัน เป็นเจ้าของทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (S) กับการตอบสนอง (R) เขาเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ต้องสร้างสิ่งเชื่อมโยงหรือพันธ ์(Bond) ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง จึงเรียกทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีพันธะระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง (Connectionism Theory) หรือ ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง