Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Intussusception - Coggle Diagram
Intussusception
การรักษา
หากได้รับการรักษาภายใน 12-24 ชั่วโมง ทำให้ร้อยละ 50-80 จะทำให้ลำไส้คลายออกจากกัน แต่หากเกิน 24 ชั่วโมงจะทำให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและช็อคได้
รักษาด้วยแรงดัน (hydrostatic pressure reduction) วิธีที่นิยมได้แก่ การสวนคลายด้วย แบเรียม และสวนคลายด้วยแรงดันอากาศ ข้อห้ามในการรักษาด้วยวิธีนี้ คือ รายที่พบเยื่อบุช่องท้อง อักเสบ และสำไส้อุดตันนานๆ
ใช้มือบีบดันลำไส้ที่กลืนออกจากกัน surgical manipulation ดันส่วนที่กลืนกันออก (surgical resection with end-to-end anastomosis) แล้วต่อ ส่วนที่เหลือเข้าด้วยกัน (มักทำในรายที่ข้อ 2.1 ไม่สำเร็จ) หรือลำไส้ส่วนนั้นเน่าตาย (gangrene)
หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาช้า จะทำให้เสียชีวิตจากภาวะขาดน้ำ ช็อก และเยื่อบุช่องท้อง อักเสบ ร้อยละ 2-5 ของเด็กที่ป่วยด้วยโรคนี้มีโอกาสกลับเป็นซ้ำได้อีก
การรักษาโดยไม่ผ่าตัด
ทำ hydrostatic reduction โดยการสวนแบเรียมเข้าทางทวารหนัก หรืออาจใช้สารเหลวอื่นสวนแทน เช่น น้ำเกลือนอร์มัล เป็นต้น โดยให้หม้อใส่แบเรียมสูงกว่าลำตัว เด็กประมาณ 2.5-3.5 ฟุต เพื่อป้องกันการแตกทะลุของลำไส้ การสวนแบเรียมเป็นการดันให้ลำไส้ กลืนกันหลุดออกจากกัน โดยดันจุดนำให้ถอยร่นกลับไป มีข้อแนะนำว่าควรใช้วิธีนี้ในผู้ป่วยทุกราย ยกเว้น 2 กรณี คือมีการแตกทะลุของทางเดินอาหาร หรือเยื่อบุช่องท้องอักเสบแล้ว พิจารณาสถานการณ์ทางคลินิกอื่นๆ ที่แสดงว่าเด็กมีโอกาสน้อยที่จะได้รับความสำเร็จจากการ และอาจรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น มีอาการทางระบบทางเดินอาหารมานานกว่า 48 ชั่วโมง อายุน้อยกว่า 3 เดือน หรือมากกว่า 2 ปี
การรักษาโดยการผ่าตัด
ทําโดยการผ่าตัดเปิดหน้าท้องเด็ก แล้วใช้มือรูด (milking) จาก ด้านปลาย เพื่อดันส่วนนำให้ถอยออกไปจนลำไส้หายกลืนกัน (manual reduction) ซึ่งมักพบ ileum ส่วนปลายมีสีคล้ำคล้ายมีเลือดออก ผนังบริเวณจุดนำอาจพบก้อนของ Peyer's pacth มีขนาดเล็กลง ในกรณีที่ดันไม่ออกหรือผนังลำไส้มีการตาย (gangrene) แพทย์มักพิจารณาตัดลำไส้ที่กลืนกัน ออก และเชื่อมต่อปลายลำไส้เข้าหากัน (resection with end to end anastomosis) เพื่อป้องกันการ แตกทะลุและการติดเชื้อในช่องท้อง ถ้าพบพยาธิสภาพที่เป็นจุดนำให้รักษาตามลักษณะของ พยาธิสภาพนั้นๆ
อาการเเละอาการเเสดง
ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด (current jelly or mucous bloody stool) สีแดงสดเหมือนแยมที่ จากผลกระเจี๊ยบ (red jelly stool) หรือถ่ายเหลวเป็นน้ำ (watery stool)
-
ถ้าอาการแย่ลงจะมีอาเจียนมีน้ำดีสีเขียวปนเหลือง ท้องอืดมากและมีภาวะขาดน้ำ ( มีไข้ เยื่อบุช่องท้องอักเสบคือ ท้องอืดตึง หน้าท้องแข็งเกร็ง เสียงลำไส้เคลื่อนไหวลดลง ทำให้เกิด ช็อคได้จากลำไส้เน่าตายและทะลุได้ (dehydration)
-
-
-
การวินิจฉัยโรค
-
ตรวจร่างกายโดยการคลำหน้าท้อง ถ้าเป็นในระยะแรกๆ คลำได้ก้อนลักษณะเป็นลำยาว เหมือนไส้กรอก บริเวณท้องด้านขวา ถ้าเป็นนาน ท้องอืด ตึง กดเจ็บ มักคลำไม่ได้
การตรวจพิเศษต่างๆ ได้แก่ การถ่ายเอ็กซเรย์ช่องท้อง การตรวจอัลตร้าซาวด์ และการสวน แบเรียม (barium enema) เป็นทั้งการวินิจฉัยโรคและรักษา
จากประวัติ อาการเเละอาการเเสดง การตรวจร่างกาย การถ่ายภาพรังสีธรรมดา การสวนเเบเรียมทางทวารหนัก หรือทำการอัลตราซาวด์
-
สาเหตุ
เกิดจากการที่ลำไส้ส่วนต้นหรือทางเดินอาหารส่วนต้นเคลื่อนเข้าไปในลำไส้ส่วนปลาย หรือ ทางเดินอาหารส่วนปลายกว่า ตำแหน่งที่พบบ่อยคือลำไส้เล็กส่วนปลายไอเลียม (ileum)เคลื่อนตัวเข้าไปในลำใส่ใหญ่ colon ทำให้ลำไส้เกิดการบวม อักเสบ เกิดการอุดตันของลำไส้บางส่วนหรือทั้งหมดได้ โรคนี้พบบ่อยในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุไม่เกิน 2 ปี
-