Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 แผนงานที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุด และจัดสรรทรัพยากร - Coggle Diagram
บทที่ 8 แผนงานที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุด
และจัดสรรทรัพยากร
แผนงานที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุด
และการบีบลดเวลาทำงาน
แผนงานที่ค่าใช้จ่าย ย่อมเป็นแผนงานที่
พึงปรารถนาของทั้งผู้ว่าจ้าง และผู้รับจ้าง
ค่าใช่จ่ายต่ำสุด อาจเกิดจากการบีบลดเวลา
หรือขยายเวลาก็เป็นได้
การหาแผนงานที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุด
มีสมมติฐานเบื้องต้น ดังนี้
1.เวลาตามแผนงานของแต่ละกิจกรรมจะ
อยู่ระหว่างเวลาปกติ และเวลาที่ถูกบีบบลด
2.ค่าใช้จ่ายตรงของแต่ละกิจกรรมผันแปรตรงระหว่างค่าใช้จ่ายตรงปกติกับค่าใช้จ่ายตรงกรณีบีบลด ซึ่งในทางปฏิบัติมักไม่เป็นจริง
3.ระหว่างดำเนินโครงการ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
จะผันแปรตรงต่อเวลา เช่น ต่อวัน
การบีบลดระยะเวลาของโครงการ ทำให้ต้องระดมหรือใช้ทรัพยากรมากขึ้น ค่าใช้จ่ายอื่นๆอาจลดลง แต่ค่าใช้จ่ายรวมอาจเพิ่มขึ้นกลับกัน
สิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับการบีบลดเวลา
แล้วเสร็จของโครงการ คือ
1.แต่ละกิจกรรมต้องทราบค่าใช้จ่ายตรงที่จะแล้วเสร็จกิจกรรมนั้นในเระยะวลาปกติและที่ค่าใช้จ่ายปกติ
2.เวลาต่ำสุด (น้อยกว่าหรือไม่เกินเวลาปกติ)
สำหรับทุกกิจกรรม เรียก Crash Duration
3.ค่าใช้จ่ายตรงของแต่ละกิจกรรม (สูงกว่าค่าใช้จ่ายปกติ) ที่สามารถจะแล้วเสร็จกิจกรรมนั้นๆ ภายในเวลาต่ำสุด และค่าใช้จ่ายนี้สอดคล้องกัน เวลาที่ถูกบีบลดเรียก Crash Cost
การเร่งรัดแผนงาน
มีแนวทาง ดังนี้
1.หาสายงานวิกฤติ (Critical path – อาจมีมากกว่าหนึ่งสายงานวิกฤติ) เพื่อลด ระยะเวลาของสายงานวิกฤติหรือเวลาของโครงการ
2.ไม่พิจารณากิจกรรม หรืองานที่ไม่
สามารถจะลดเวลาทำงาน
3.เลือกกิจกรรมวิกฤติที่มีความลาดชันต่ำสุด
4.คำนวณหาระยะเวลาใหม่ของโครงการ ค่าใช้จ่ายทั้งหมด (ค่าใช้จ่ายตรง+ค่าใช้จ่ายทางอ้อม)
5.ดำเนินการซ้ำจนกระทั่ง
ได้ค่าใช้จ่ายที่สมดุล
การติดตาม ตรวจสอบ รายงาน
ประเมิน และปรับปรุง
ระหว่างก่อสร้าง งานก่อสร้างก็จะต้องทำงานตามแผน
การบริหารจัดการงานก่อสร้าง จะต้องติดตาม ตรวจสอบ
ว่ากระบวนทำงาน เป็นไปตามสัญญา และแผน
ทรัพยากร และการจัดสรรทรัพยากร
ประโยชน์ของ
การจัดสรรทรัพยากร
1.ขนาดของกลุ่มแรงงานจะคงที่ ซึ่งหลีกเลี่ยงปัญหาความ ต้องการแรงงานมากกว่าที่มีหรือปล่อยให้แรงงานบางส่วนว่างงาน
2.มีการเรียนรู้สั่งสมประสบการณ์
ความเชี่ยวชาญ
3.เข้าใจปัญหาการเริ่มต้นทํางานหรือโครงการ ซึ่งหัวหน้างานจะมีภาระมาก กํากับดูแลแรงงานไม ทั่วถึง ทํางานไม่เต็มกําลัง หรือแม้กระทั่งว่างงาน จึงควรวางแผนเริ่มต้นด้วยจํานวนแรงงานเท่าที่จำเป็นแล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นโดยลําดับ
ได้วางแผนแก้ไขปัญหาติดขัดในช่วงที่งานจะแล้วเสร็จ หรืออาจเรียกว่า ปัญหาคอขวด ทั้งนี้ เนื่องจากปริมาณงาน และพื้นที่ทํางานเหลือน้อยลง ดังนั้น ช่วงที่งานใกล้จะแล้วเสร็จ จํานวนแรงงานควรค่อยๆ ลดลง