Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 กิจกรรมก่อสร้าง แผนงาน และวิธีวิถีวิกฤต - Coggle Diagram
บทที่ 7 กิจกรรมก่อสร้าง แผนงาน และวิธีวิถีวิกฤต
ทั่วไป
กล่าวถึง กิจกรรมก่อสร้าง แผนงาน แนะวิธีวิถีวิกฤต ประกอบด้วย มูลค่า ลำดับ การทำงาน เวลาของแต่ละกิจกรรม แผนงาน วิธีวิถีวิกฤต การวัดปริมาณงาน และความก้าวหน้าของงาน การเร่งรัดงานหรือปรับปรุงแผนงานที่ใช้ในการสร้าง ติดตามและปรับปรุงแผนงาน เพื่อประโยชน์ในการจัดการ ควบคุม ประเมิน ปรับปรุงแก้ไขแผนงานหรือรายงาน
เครื่องวางแผนและควบคุมการก่อสร้างอื่นๆ
Software หรือ Application ที่ใช้ในการสร้าง ติดตาม และปรับปรุงแผนงาน เพื่อประโยชน์ในการจัดการ ควบคุม ประเมิน ปรับปรุงแก้ไขแผนงานหรือรายงาน มีพัฒนาการมาโดยลำดับ ทำให้มีแนวคิดที่จะผนวก การวางแผนการก่อสร้าง การติดตามความก้าวหน้า การประเมินผล การรายงานและการปรับปรุงแผนงานเข้าด้วยกัน โดยอาศัยภาพสามมิติ (3-D graphic) เข้ากับเวลาเป็นมิติที่สี่ และเป็น 4-D ปัญหาที่ประสบในขั้นต้นของการพัฒนา คือการใช้เวลาจริง (Real time) และการทำงานอัตโนมัติ
ปัจจุบัน Building Information Management - BIM ได้ผนวกเอาแนวคิดของ 4-D เข้ากับขั้นตอนการก่อสร้าง คือ การวางแผน ออกแบบ และเขียนแบบ (ให้รายละเอียด) การคำนวณปริมาณงาน (และช่วยในขั้นตอนประมาณราคา) ซึ่งมีพัฒนาการต่อไปอย่างสืบเนื่อง อย่างไรก็ตาม ทั้ง 4-D และ BIM ย่อมเป็นประโยชน์ต่อขั้นตอนหลังก่อสร้าง คือการใช้อาคาร ซ่อมบำรุง ฟื้นฟูบูรณะ ขยาย ต่อเติม หรือแม้แต่รื้อถอนอาคารและอื่นๆ
วิเคราะห์ศัพท์
แผนหรือแผนงาน หมายถึง วิธี หรือรายละเอียดในการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์
แผนงาน หมายถึง กำหนดการทำงาน ประกอบด้วย กิจกรรม ลำดับของกิจกรรม เวลาของแต่ละกิจกรรม และอาจหมายรวมถึงทรัพยากรที่ต้องใช้ในแต่ละกิจกรรม
การตรวจสอบ หมายถึง การสอบทาน (Review) การทำงานได้ ซึ่งหมายถึง การตรวจสอบ ปัจจัย (Input) กระบวน (Process) ผลลัพธ์ (Output) ปกติมักใช้กับการตรวจสอบทางการเงิน
หลักการและประโยชน์ของแผนงาน
ในการวางแผนงานก่อสร้าง มีหลักการว่า จะต้องกำหนดการทำงานให้เป็นไปตามลำดับ ขั้นตอน จะต้องใช้ทรัพยากรเท่าที่มีอยู่ จะต้องทำให้งานหรือกิจกรรมต่อเนื่องกัน ไม่หยุดชะงัก หรือรอคอย และจะต้องเริ่มงานที่วิกฤต หรือมีนัยต่อระยะเวลาก่อสร้างให้เร็วที่สุด
การวางแผนโดยวิธีต่างๆมีดังนี้
Bar Graph หรือ Bar Chart หรือ Gantt Chart (Gantt H.L.) ใช้แผนภูมิแท่งวาดแผนควบคุมการก่อสร้าง และกระบวนผลิตอุตสาหกรรมมีหลายรูปแบบ ขึ้นกับลักษณะงานใช้ง่ายแต่มีจำกัด
Line of Balance (LOB) ใช้วางแผนและควบคุมการทำงานที่ซ้ำๆกัน เป็นเส้นความสัมพันธ์เดียว แสดงช่วงเวลาของแต่ละกิจกรรม ให้อัตราการทำงานของแต่ละกิจกรรมสม่ำเสมอ สามารถทราบและติดตาม ความควบคุมก้าวหน้าได้ แต่จะไม่ทราบสายงานหรือวิถีวิกฤต
Liner Schedule Method (LSM) ใช้ความสัมพันธ์เส้นตรง ระหว่างเวลากับปริมาณงาน เหมาะกับงานที่ซ้ำๆหรือมีลักษณะต่อเนื่องโดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างเวลา (แกนนอน) กับหน่วยงานหรือกิจกรรมที่เสร็จแล้ว (แกนตั้ง) หรือหน่วยของงาน หรือกิจกรรม กับเวลา (แกนตั้ง)
Repetitive Schedule Method - RSM ใช่วางแผนงานที่มีการทำงานซ้ำๆกัน แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณงานที่แล้วเสร็จ สะสมกับเวลาโดยสามารถระบุกิจกรรมในสายงานวิกฤตได้
Critical Path Method CMP เป็นการวางแผนที่ควบคุมระยะเวลาทำงานและทรัพยากร โดยวิธีวิกฤต หรือกิจกรรมที่วิกฤต (Critical activities) ซึ่งกำหนดเวลาของการทำงานทั้งหมด หรือเวลาของโครงการ
Program Evaluation and review Technique PERT ใช้วางแผนควบคุมการพัฒนาอาวุธ ยุทโธปกรณ์ CPM และ PERT ใช้ Network Diagram แสดงกิจกรรมและความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรม หากแต่ PERT จะแตกต่างจาก CPM ที่ใช้หลักความน่าจะเป็น (Probability concept) กับความไม่แน่นอนในการประมาณระยะเวลาของกิจกรรม
S – Curve
S - Curve เปลี่ยนเส้นความสัมพันธ์ระหว่างเวลา (แกนนอน) กับงานที่แล้วเสร็จสะสม หรือเงินที่ได้จากงานที่แล้วเสร็จเบิกจ่ายสะสม โดยแสดงเป็นร้อยละ เทียบกับมูลค่างานทั้งหมด S - Curve สัมพันธ์กับแผนงานเนื่องจากแผนงานสัมพันธ์กับกิจกรรมที่ต้องทำ ปริมาณงานมูลค่า งานต่อหน่วยมูลค่างานทั้งหมด อัตราการทำงานหรือความสามารถในการทำงาน หรือผลิตภัณฑ์ภาพซึ่งขึ้นอยู่กับวัสดุ แรงงาน เครื่องจักร ปกติการวางแผนงานจะคำนึงถึงกรอบเวลาตามสัญญาจ้าง โดยรีบเริ่มต้นงานให้เร็วที่สุดและเสร็จเร็วที่สุดเพื่อจะประหยัดทรัพยากรเงินและเวลา ระหว่างทำงาน หากงานมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือผิดพลาด ล่าช้า ไม่เป็นไปตามแผนก็จะต้องปรับปรุงแผนงานซึ่งหมายถึง S - Curve ก็จะเปลี่ยนแปลงด้วย
PERT
ในการวางแผนก่อสร้าง มีความจำเป็นที่จะทราบความน่าจะเป็น หรือโอกาส ความเป็นไปได้ของแผนงานที่จะสัมฤทธิ์ผล PERT ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ CPM โดยใช้หลักการทางสถิติ หรือความน่าจะเป็นอธิบายแผนงาน ทั้งนี้ สมมุติการกระจายของเหตุการณ์เป็นแบบปกติ (Normal) มีช่วงที่เป็นไปได้ต่ำสุด (Optimistic) และสูงสุด (Pessemitic) มีมัธยฐานที่คาดหวัง (Most likely) และมีช่วงที่ยอมรับผลคาดหวังได้ (Anticipated range)