Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Theory of Learning Psychology, condition1, images, รูปภาพ16, ดาวน์โหลด, 0…
Theory of
Learning Psychology
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม
พฤติกรรมนิยม
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theories)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theories)
การแผ่ขยายพฤติกรรม (Generalization) มีการแผ่ขยายการตอบสนองที่วางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้า ที่คล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
การจำแนกความแตกต่าง (Discrimination) เมื่อให้สิ่งเร้าใหม่ที่แตกต่างจากสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข จะมีการจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้า และมีการตอบสนองที่แตกต่างกันด้วย
การฟื้นกลับหรือการคืนสภาพ ( Spontaneous Recovery ) เมื่อเกิดการดับสูญของการตอบสนอง (Extinction) แล้วเว้นระยะการวางเงื่อนไขไปสักระยะหนึ่ง เมื่อให้ CS จะเกิด CR โดยอัตโนมัติ
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory)
พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต
Respondent Behavior พฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งสิ่งมีชีวิตไม่สามารถควบคุมเองได้ เช่น การกระพริบตา
Operant Behavior พฤติกรรมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเป็นผู้กำหนดหรือเลือกที่จะแสดงออกมา เช่น การกอน นอน พูด
การเสริมแรงและการลงโทษ
เสริมแรง (Reinforcer)
ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcer) เป็นการให้สิ่งเสริมแรงที่บุคคลพึงพอใจ มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น
ตัวเสริมแรงลบ (Negative Reinforcer) เป็นการนำเอาสิ่งที่บุคคลไม่พึงพอใจออกไป มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น
การลงโทษ (Punishment)
การลงโทษทางบวก (Positive Punishment) เป็นการให้สิ่งเร้าที่บุคคลไม่พึงพอใจ มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมลดลง
การลงโทษทางลบ (Negative Punishment) เป็นนำสิ่งเร้าที่บุคคลพึงพอใจออกไป มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมลดลง
การปรับพฤติกรรมและแต่งพฤติกรรม
เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ มาเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์
บทเรียนสำเร็จรูป
เป็นบทเรียนโปรแกรมที่นักการศึกษา หรือครูผู้สอนสร้างขึ้น ประกอบด้วย เนื้อหา กิจกรรม คำถามและคำเฉลย
ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theories)
ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theory)
กฎแห่งผล ( Law of Effect ) ผลแห่งปฎิกิริยาตอบสนองใดที่เป็นที่น่าพอใจ อินทรีย์ย่อมกระทำปฎิกิริยานั้นซ็ำอีกและผลของปฎิกิริยาใดที่ไม่เป็นที่พอใจบุคคลจะหลีกเลี่ยงไม่ทำปฎิกิริยานั้นอีก
กฎแห่งการฝึก ( Law of Exercise )
ถ้าบุคคลพร้อมที่จะเรียนรู้แล้วได้เรียนรู้ จะเกิกความพึงพอใจ
ถ้าบุคคลพร้อมที่จะเรียนรู้แล้วไม่ได้เรียนรู้จะเกิดความน่ารำคาญใจ
ถ้าบุคคลไม่พร้อมที่จะเรียนรู้แล้วบังคับให้เรียนจะเกิดความรำคาญใจ
กฎแห่งความพร้อม ( Law of Readiness )
พฤติกรรมใดที่ไก้มีโอกาสกระทำซ้ำบ่อยๆ และมีการปรับปรุงอยู่เสมอ ย่อมก่อให้เกิดคล่องแคล่ชำนาญ สิ่งใดที่ทอดทิ้งไปนานย่อมกระทำได้ไม่ดีอาจทำให้ลืมได้
ทฤษฎีสัมพันธ์ต่อเนื่อง (S-R Contiguity Theory)
การรับรู้ (Perception) หมายถึง กระบวนการแปลความหมายจากการสัมผัสต่อสิ่งเร้า ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์เดิมด้วย
การหยั่งเห็น (Insight) เป็นการรู้แจ้ง เกิดความคิดความเข้าใจแวบเข้ามาทันทีทันใดขณะที่บุคคลกำลังเผชิญปัญหาและจัดระบบการรับรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม
ปัญญานิยม
Gestalt’s Theory
กฏแห่งความแน่นอนหรือชัดเจน The Law of Prägnanz (or Simplicity) ตาของมนุษย์มักจะมองหาความเรียบง่าย บนโครงสร้างที่ซับซ้อน ซึ่งเป็นข้อดีในการที่จะลดการประมวลข้อมูลของสมอง
กฏแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity) สิ่งเร้าใดที่มีลักษณะเหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกัน บุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน
กฎแห่งความใกล้เคียง (Law of Proximity) สิ่งเร้าที่มีความใกล้เคียงกันบุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน
กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closure) แม้สิ่งเร้าที่บุคคลรับรู้จะยังไม่สมบูรณ์ แต่บุคคลสามารถรับรู้ในลักษณะสมบูรณ์ได้ถ้าบุคคลมีประสบการณ์เดิมในสิ่งเร้านั้น
กฎแห่งความต่อเนื่อง สิ่งเร้าที่มีความต่อเนื่องกัน หรือมีทิศทางไปในแนวเดียวกัน บุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน หรือเรื่องเดียวกัน หรือเป็นเหตุผลเดียวกัน
กฏแห่งการสิ้นสุด (Law of Closure) เมื่อมีวัตถุุที่ยังสร้างไม่สมบรูณ์ ยังไม่เสร็จ หรือมีบางส่วนขาดหายไป สมองมนุษย์จะเติมส่วนที่ขาดนั้น
Levin’s Field Theory
สิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical environment)
สิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยา (Psychological environment) เป็นโลกแห่งการรับรู้ตามประสบการณ์ของแต่ละบุคคลซึ่งอาจจะเหมือนหรือแตกต่างกับสภาพที่สังเกตเห็นโลก หมายถึง Life space นั่นเอง
แนวคิดทฤษฎีสนามว่า หมายถึง ความสามารถที่จะวิเคราะห์แรงต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสภาวะการที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลง เป็นความพยายามที่จะให้กลุ่มเกิดการเปลี่ยน โดยแรงต่าง ๆ มีอิทธิพลต่อกันและกันจากแนวความคิดของLewin เชื่อว่า พฤติกรรมเป็นผลของแรง 2 ประเภท
แรงต้าน
แรงเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
นำทฤษฎีสนามไปประยุกต์ใช้
เพิ่มขนาดของแรงเสริม
ลดขนาดของแรงต้าน
เพิ่มขนาดของแรงเสริม ขณะเดียวกันก็ลดขนาดของแรงต้าน
แนวทางเพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลง
ละลายพฤติกรรมเดิม
การวิเคราะห์ปัญหา
การมีพฤติกรรมใหม่
การตั้งเป้าหมาย
การทำให้พฤติกรรมใหม่นั้นคงอยู่
Information Processing Model Theory
ขั้นรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส (Sensorimotor period) เป็นขั้นพัฒนาการในช่วง 0 -2 ปี ความคิดของเด็กวัยนี้ขึ้นกับการรับรู้และการกระทำเด็กยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง และยังไม่สามารถเข้าใจความคิดของผู้อื่น
ขั้นตอนปฏิบัติการคิด (Preopoerational period) เป็นขั้นการพัฒนาการในช่วงอายุ 2-7 ปี ความคิดของเด็กวัยนี้ยังขึ้นอยู่กับการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ ยังไม่สามารถที่จะใช้เหตุผลอย่างลึกซึ้ง แต่สารถเรียนรู้และใช้สัญลักษณ์ได้ การใช้ภาษา
ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่
กระบวนการทางสติปัญญา
การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์เรื่องราวและข้อมูลต่างๆเข้ามาสะสมเก็บไว้ เพื่อใช้เป็นประโยชน์ต่อไป
การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือกระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากัน เป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็น กระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล
Bruner’s Theory of Discovery learning
กระบวนการคิด
แรงจูงใจ (Motivation)
โครงสร้าง (Structure)
ลำดับขั้นความต่อเนื่อง (Sequence)
การเสริมแรง (Reinforcement)
ขั้นพัฒนาการคิดในการเรียนรู้ของมนุษย์
ขั้นการกระทำ (Enactive Stage) เด็กเรียนรู้จากการกระทำและการสัมผัส
ขั้นคิดจินตนาการหรือสร้างมโนภาพ (Piconic Stage) เด็กเกิดความคิดจากการรับรู้ตามความเป็นจริง และการคิดจากจินตนาการด้วย
ขั้นใช้สัญลักษณ์และคิดรวบยอด (Symbolic Stage) เด็กเริ่มเข้าใจเรียนรู้ความ สัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
แนวทางในการจัดการเรียนการสอน
ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจภายใน มีความอยากรู้ อยากเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว
โครงสร้างของบทเรียนซึ่งต้องจัดให้เหมาะสมกับผู้เรียน
การจัดลำดับความยาก-ง่ายของบทเรียนโดยคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน
การเสริมแรงของผู้เรียน
S-S learning or Sign learning
การคาดหมายรางวัล (reward expectancy) มีสาระสำคัญคือ การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการได้รับการตอบสนองรางวัลที่ตนเองคาดหมาย
ขณะที่ผู้เรียนจะพยายามไปให้ถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการ ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้เครื่องหมาย สัญลักษณ์ สถานที่ (place learning) และสิ่งอื่นๆที่เป็นเครื่องชี้ตามไปด้วย
ผู้ เรียนมีความสามารถที่จะปรับการเรียนรู้ของตนไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป จะไม่กระทำซ้ำๆ ในทางที่ไม่สามารถสนองความต้องการ หรือวัตถุประสงค์ของตน
การ เรียนรู้ที่เกิดขึ้นในบุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้น บางครั้งจะไม่แสดงออกในทันที อาจจะแฝงอยู่ในตัวผู้เรียนไปก่อนจนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสมหรือจำเป็นจึงจะ แสดงออก (latent learning)
ทฤษฎีการเรียนรู้ทาง
สังคมเชิงพุทธิปัญญา
ตัวแบบที่มีชีวิต (Live Model) ได้แก่ บุคคลในครอบครัว เพื่อนหรือผู้คนทั่วไป
ตัวแบบสัญลักษณ์ (Symbolic Model) ได้แก่ ภาพแม่แบบในสื่อสารมวลชนทั้งหลาย เช่น ในภาพยนต์
ตัวแบบในรูปคำสอน (Verbal Description or Instruction) การพูดหรือการบอกทางวาจา หรือเป็นคำสอนในภาษเขียน
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม
มนุษยนิยม
Maslow’s Hierarchy Needs
ความต้องการพื้นฐานทางด้านร่างกาย (Physiological Needs) เป็นความต้องการลำดับต่ำสุดและเป็นพื้นฐานของชีวิต ได้แก่ ความต้องการเพื่อตอบสนองความหิว ความกระหาย ความต้องการเพื่อความอยู่รอดของชีวิต เรียกง่ายๆ ก็คือ ปัจจัยสี่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ที่พักอาศัย รวมถึงสิ่งที่ทำให้การดำรงชีวิตสะดวกสบาย นั่นเอง
ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety Needs) เป็นความต้องการที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่ความต้องการทางร่างกายได้รับการตอบสนองจนเป็นที่พอใจแล้ว ความต้องการขั้นนี้ถึงจะเกิดขึ้น ได้แก่ ความต้องการความปลอดภัยมีที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ปราศจากความกลัว การสูญเสียและภัยอันตราย เช่น สภาพสิ่งแวดล้อมบ้านปลอดภัย การมีงานที่มั่นคง
ความต้องการความรักและสังคม (Belonging and Love Needs) เมื่อมีความปลอดภัยในชีวิตและมั่นคงในการงานแล้ว คนเราจะต้องการความรัก ความสัมพันธ์กับผู้อื่น มีความต้องการเป็นเจ้าของและมีเจ้าของ ความรักในรูปแบบต่างกัน เช่น ความรักระหว่าง คู่รัก พ่อ แม่ ลูก เพื่อน สามี ภรรยา ได้รับการยอมรับเป็นสมาชิกในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือหลายกลุ่ม
ความต้องการการได้รับการยกย่องนับถือในตนเอง (Esteem Needs) เมื่อความต้องการความรักและการยอมรับได้รับการตอบสนองแล้ว คนเราจะต้องการสร้างสถานภาพของตัวเองให้สูงขึ้น เด่นขึ้น มีความภูมิใจและสร้างความนับถือตนเอง ชื่นชมในความสำเร็จของงานที่ทำ ความรู้สึกมั่นใจในตนเองและมีเกียรติ ความต้องการเหล่านี้ เช่น ยศ ตำแหน่ง ระดับเงินเดือนที่สูง งานที่ท้าทาย ได้รับการยกย่องจากผู้อื่น มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในงาน โอกาสแห่งความก้าวหน้าในงานอาชีพ ฯลฯ
ความต้องการพัฒนาศักยภาพของตน (Self-actualization) เป็นความต้องการขั้นสูงสุดของมนุษย์และความต้องการนี้ยากต่อการบอกได้ว่าคืออะไร เราเพียงสามารถกล่าวได้ว่า ความต้องการพัฒนาศักยภาพของตนเป็นความต้องการที่มนุษย์ต้องการจะเป็น ต้องการที่จะได้รับผลสำเร็จในเป้าหมายชีวิตของตนเอง และต้องการความสมบูรณ์ของชีวิต
Roger’s Self Theory
ตนตามที่ตนมองเห็น หรืออัตมโนทัศน์ (Self Concept) ภาพที่ตนเห็นเองวา่ ตนเป็นอยา่ งไร มีความรู้ความสามารถลกัษณะเพราะตนอยา่ งไรเช่น สวยรวยเก่ง ต่า ตอ้ยข้ีอายฯลฯ การมองเห็นอาจจะไม่ตรงกบัขอ้เทจ็จริงหรือภาพที่คนอื่นเห็น
ตนตามที่เป็ นจริง (Real Self) ตัวตนตามข้อเท็จจริง แต่บ่อยคร้ังที่ตนมองไม่เห็นขอ้เทจ็จริง เพราะอาจเป็นสิ่งที่ทา ใหรู้้สึกเสียใจ ไม่เท่าเทียมกบั บุคคลอื่น เป็นตน้
ตนตามอุดมคติ (Ideal Self) ตัวตนที่อยากมีอยากเป็ น แต่ยงัไม่มีไม่เป็นในสภาวะปัจจุบนั เช่น ชอบเก็บตวั แต่อยากเก่งเขา้สังคม เป็นตน