Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 งานชั่วคราว และการจัดการสถานที่ก่อสร้าง - Coggle Diagram
บทที่ 5 งานชั่วคราว และการจัดการสถานที่ก่อสร้าง
สถานที่ก่อสร้าง และงานชั่วคราว
วางแผนอำนวยการให้งานก่อสร้างเป็นไปอย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพ ทำงานได้เสร็จรวดเร็ว ลดการสูญเสียเวลาเคลื่อนย้ายวัสดุ เครื่องจักร หรือแรงงาน เว้นกรณีที่จำเป็น
ปัจจัยต่อการเตรียมงาน โดยเฉพาะสำนักงานสนาม หรือที่พัก กำหนดทางเข้าออก คำนึงถึงความสะดวกสบายในการเดินทาง ฤดูฝนอาจมีผลต่อการดำเนินงานก่อสร้างมาก ต้องระวัง
ผู้รับจ้างตอกเสาเข็ม มักเป็นคนละรายกับผู้รับจ้างก่อสร้างอาคาร ผู้ออกแบบควรให้รายละเอียดผังเสาเข็ม และฐานราก รายละเอียดฐานราก โดยเฉพาะระดับหัวเสาเข็มระยะฝังของหัวเสาในฐานราก ระดับหลังฐานราก เพราะมีผลต่อเวลา และค่าใช้จ่าย
อาศัยข้อมูลจากเอกสารสัญญา บัญชีแสดงปริมาณวัสดุ และราคา รวมถึงรายการก่อสร้าง มาใช้ในการเตรียมงาน
กระบวนการเตรียมงานต้องทำให้เสร็จก่อนก่อสร้างทาง หรือดำเนินการคู้ขนานกันไป
การเตรียมงาน เริ่มจาก ปฎิบัติตามกฎหมายอาคาร กฎหมายแรงงาน และกฎหมายว่าด้วยสุขอนามัย
แบบนั่งร้าน และค้ำยัน
แบบหล่อคอนกรีตอาจเป็นไม้ เหล็ก หรือวัสดุชนิดใดก็ได้ แบบหล่อฐานราก คาน เสา มีทั้งแบบไม้ และเหล็ก เสากลมอาจใช้แบบกระดาษ ซึ่งเป็นแบบสำเร็จรูปใช้ครั้งเดียว แผ่นแบบปกติมักใช้ไม้
แบบหล่อเคลื่อนที่ เป็นแบบหล่อชนิดพิเศษ เป็นแบบหล่อชุดเดียวที่ใช้หล่อคอนกรีตต่อเนื่อง โดยแบบจะถูกยกตัวขึ้นในแนวดิ่ง เหมาะกับโครงสร้างที่มีรูปแบบซ้ำกันในแนวดิ่ง
นั่งร้านเคลื่อนที่ได้ ประกอบด้วย แบบหล่อคานรองรับ เสารองรับ และอุปกรณ์ที่เคลื่อนที่ได้ในแนวราบ หรือแนวดิ่ง ต้องออกแบบให้นั่งร้านแข็งแรง ปลอดภัย เพียงพอต่อการรับน้ำหนัก กรณีที่มีน้ำหนักน้ำหนักบรรทุกผ่านนั่งร้านลงสู่โครงสร้าง ต้องมีการคำนวณตรวจสอบ ว่าโครงส้างคอนกรีตนั้นรับน้ำหนักบรรทุกได้ทุกกรณี ต้องตรวจสอบนั่งร้านอย่างสม่ำเสมอ
มีจุดเปิดเพื่อทำความสะอาด โดยเฉพาะด้านล่างของแบบหล่อเสา และแบบหล่อผนัง การตัดตั้งแบบหล่อ และค้ำยันบนคอนกรีตซึ่งมีอายุไม่มาก ต้องระมัดระวังไม่ให้คอนกรีตแตกร้าว หลีกเลี่ยงการกองวัสดุน้ำหนักมากบนแบบหล่อ หรือกองเก็บแบบหล่อซ้อนกัน
ปกตินั่งร้าน ค้ำยัน จะใช้ไม้ก็ได้หรือเหล็กก็ได้ สำคัญคือต้องวางบนฐานที่มั่นคงแข็งแรง ใช้วัสดุที่มีกำลังรับน้ำหนัก หรือต้านทานแรงขณะทำงาน เท หรือบ่มคอนกรีต มีอุปกณ์ และจุดต่อยึดที่แข็งแรง
การค้ำยันกลับ หมายถึง การถอดไม้แบบ และค้ำยันของโครงสร้างคอนกรีตออกแล้วดำเนินการใส่ค้ำยันกลับคืนอีกครั้งหนึ่ง การค้ำยันกลับเพื่อรองรับน้ำหนักโครงสร้าง ต้องวางแผนไว้ก่อน และได้รับการอนุมัติจากวิศวกรเท่านั้น โครงสร้างที่อยู่ในระยะรอค้ำยันห้ามได้รับน้ำหนักบรรทุกจร เว้นแต่ตรวจสอบแล้วว่ารับได้ในขณะนั้น
เครื่องจักกล อุปกรณ์งานคอนกรีต
ในงานก่อสร้าง อาจลำเลียงคอแนกรีต หรือเทโดยแรงคน ใช้รางเท สูบ และท่อ ท่อทางดิ่งใช้ Bucket แล้วทำให้คอนกรีตแน่น โดยสั่น หรือเขย่า และแต่งผิว
เครื่องจักรกลงานดิน และผิวทาง
เครื่องจักรกลงานดิน เรียกว่า เครื่องจักรกลงานทาง จำแนกโดยอาศัยองค์ประกอบทางกายภาพ คือ มิติ ขนาด ของเครื่องจักรกล รวมทั้งอุปกรณ์ที่ประกอบหรือติดตั้งกับเครื่องจักรนั้น เช่น ใบมีด อุปกรณ์ ขุดตัก
วัตถุงประสงค์ของการจำแนก เพื่อทราบความสามารถ การใช้งาน หรือประยุกต์ ปัจจัยสำคัญในการวางแผนก่อสร้าง มีนัยต่อการเลือกชนิด และจำนวนเครื่องจักร
อื่นๆ
เครื่องจักรกล หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่อาจพบใช้ในงานก่อสร้าง ประกอบด้วย เครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้าสำรอง หม้อแปลง สูบ เครื่องกำเนิดแรงดีนลม
การวางแผนเครื่องจักรกล คล้ายคลึงกับการวางแผนงานวัสดุ โดยแผนของเครื่องจักร ทำให้ทราบถึงช่วยกิจกรรม หรือเวลาที่จะต้องจัดหาเครื่องจักรกล มาใช้ในเวลาที่เหมาะสม ปราศจากการสูญเสีย หรือว่างงาน
นางสาวเบญจมาพร นามวงษ์ 62363677