Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 งานชั่วคราว และการจัดการสถานที่ก่อสร้าง - Coggle Diagram
บทที่ 5 งานชั่วคราว และการจัดการสถานที่ก่อสร้าง
ทั่วไป
บทนี้กล่าวถึง งานชั่วคราว และการจัดการสถานที่ก่อสร้าง สถานที่ก่อสร้าง ข้อจํากัด และการวางแผน ทางเข้าออก ร้ัว สาธารณูปโภค เส้นทางลําเลียงวัสดุ สิ่งปลูกสร้างชั่วคราว สํานักงานสนาม ที่พักชั่วคราว ที่เก็บวัสดุ เครื่องจักรกล หน่วยผลิต ประเภทของเครื่องจักรกลในงานก่อสร้าง การรักษาความปลอดภัย ประมาณการสําหรับงานชั่วคราว
สถานที่ก่อสร้าง และงานชั่วคราว
หลักการพื้นฐาน คือ ต้องวางแผนอํานวยการให้งานก่อสร้างเป็นไปอย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพ ทํางานได้แล้วเสร็จ รวดเร็ว ลดการสูญเสียเวลาเคลื่อนย้ายวัสดุ เครื่องจักรกล หรือแรงงาน ขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้ง ลักษณะงาน และข้อจํากัดทางกายภาพ
แบบนั่งร้านและค้ำยัน
ปกตินั่งร้าน ค้ำยัน จะเป็นไม้หรือเหล็กก็ได้ สําคัญที่ต้องวางบนฐานที่มั่นคงแข็งแรง ใช้วัสดุที่มีกําลังรับน้ําหนัก หรือต้านทานแรงขณะทํางาน เท หรือบ่มคอนกรีต มีอุปกรณ์และจุดต่อยึดที่แข็งแรง
แบบหล่อเคลื่อนที่ (Slip form) เป็นแบบหล่อชนิดพิเศษ เป็นแบบหล่อชุดเดียว ที่ใช้หล่อคอนกรีตอย่างต่อเนื่องโดยแบบจะถูกยกตัวข้ึนไปในทางดิ่ง เหมาะกับโครงสร้างที่มีรูปแบบซํ้ากันในทางดิ่ง
นั่งร้านเคลื่อนที่ได้ (Movable formwork and false work) ประกอบด้วย แบบหล่อ คานรองรับ เสารองรับ และอุปกรณ์ที่ทําให้เคลื่อนที่ได้ในแนวราบ หรือแนวดิ่ง
การค้ำยันกลับ (Re - shoring) หมายถึง การถอดไม้แบบ และค้ำยันของโครงสร้าง คอนกรีตออกแล้วดําเนินการใส่ค้ำยันกลับคืนอีกครั้งหนึ่ง
เครื่องจักรกล อุปกรณ์งานคอนกรีต
งานก่อสร้าง อาจลําเลียงคอนกรีต หรือเท โดยใช้แรงคน ใช้รางเท โดยท่อทางดิ่งใช้ Bucket แล้วทำให้คอนกรีตแน่น โดยสั่นหรือเขย่า
เครื่องจักรกลงานดิน และผิวทาง
อาจเรียกว่า เครื่องจักรกลงานทาง จําแนกชนิด ประเภท โดยอาศัยองค์ประกอบทางกายภาพ คือ มิติ ขนาด ของเครื่องจักรกล รวมทั้งอุปกรณ์ที่ประกอบหรือติดตั้งกับเครื่องจักรกลนั้น จําแนกตามวัตถุประสงค์ใช้งาน ถือเอาประเภทของการทํางานเป็นเกณฑ์
เครื่องจักรกลที่ใช้ในงานทางมีดังนี้
เครื่องจักรกลอื่นๆ ที่อาจพบในงานก่อสร้าง อาทิ เครื่องจักรกลสำหรับขุดร่องวางท่อ อุปกรณ์ตัดท่อ เครื่องจักรกลสำหรับกวาด หรือดูดฝุ่น เครื่องเจาะ หรือสกัด รถยก หรือรถกระเช้าสำหรับทำงานบนที่สูง
Mobile mixer conveying and placing ได้แก่ รถลำเลียงวัสดุซึ่งผสมแล้วมาจากแหล่งผลิต
Hauling unit จำแนกตามประเภทวัสดุ ได้แก่ บรรทุกดิน บรรทุกน้ำ บรรทุกยางมะตอย
Kneading ใช้บดอัดมวลจำพวกหิน ลดช่วงว่างในดิน หรือทำให้ดินแน่น
Compactor ใช้บดอัดดิน หรือวัสดุคัดเลือกให้แน่น
Pay loader ใช้ลำเลียง หรือเคลื่อนย้ายดิน หรือวัสดุคัดเลือก
Grinder Spreader และ Grader ใช้ไถเกลี่ย และปาดดิน หรือวัสดุมวลรวมอื่นให้เรียบ อาจใช้เครื่องจักร ชนิดเดียวกัน หรือหลายชนิดร่วมกัน
Bulldozer ใช้ถางขุดตอ ใช้เปิดงาน หรือกรุยทางให้โล่ง หรือมีพื้นที่ทำงานสำหรับเครื่องจักรอื่นๆ
Scaper ใช้ตัก บรรทุก ขนย้าย เท หรือกอง ผสม เกลี่ยดิน หรือวัสดุคัดเลือก
Tractor ใช้ตักดิน ใช้เคลื่อนย้ายดินโดยวิธีลากไถ หรือดัน ใช้พ่วงกับเครื่องจักรกล หรืออุปกรณ์อื่น
อุปกรณ์ สมรรถนะ และพิสัย ของเครื่องจักรกลหลัก
ปัจจัยในการเลือกใช้เครื่องจักรกล ประกอบด้วย ลักษณะงาน พื้นที่ทำงาน สภาพดิน ปริมาณงาน เวลา งบประมาณ ความสามารถและพิสัย นอกจากการเลือกเครื่องจักรให้เหมาะสมกับข้อจำกัดแล้ว จะต้องรู้จักเลือกใช้อุปกรณ์ประกอบ อาทิ ใบมีด หรือเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน หรือทดแทนกันตามเหมาะสม