Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
งานชั่วคราว และการจัดการสถานที่ก่อสร้าง - Coggle Diagram
งานชั่วคราว และการจัดการสถานที่ก่อสร้าง
สถานที่ก่อสร้าง และงานชั่วคราว
การเตรียมงาน หรืองานชั่วคราว ขึ้นกับสถานที่ตั้ง ลักษณะงาน และข้อจํากัดทางกายภาพ การเตรียมงาน หรืองานชั่วคราว คือ งานหรือกิจกรรมทั้งปวงที่ต้องดําเนินการให้สําเร็จลุล่วงก่อนที่จะก่อสร้างทาง
อุปกรณ์ สมรรถนะ และพิสัย
ของเครื่องจักรกลหลัก
ปัจจัยในการเลือกใช้เครื่องจักรกล ประกอบด้วย ลักษณะงาน พื้นที่ทํางาน สภาพดิน ปริมาณงาน เวลา งบประมาณ ความสามารถ และพิสัย นอกจากเลือกเครื่องจักรกลให้เหมาะกับข้อจํากัดแล้ว จะต้องรู้จักเลือกใช้อุปกรณ์ประกอบ อาทิ ใบมีด หรือเครื่องจักรกลอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกัน หรือ ทดแทนกัน ตามเหมาะสม
แบบ นั่งร้าน และค้ำยัน
นั่งร้านเคลื่อนที่ได้ ประกอบด้วย แบบหล่อ คานรองรับ เสารองรับ และอุปกรณ์ที่ทําให้เคลื่อนที่ได้ในแนวราบ หรือแนวดิ่ง
กรณีมีน้ำหนักบรรทุกถ่ายผ่านนั่งร้าน ฯ ลงสู่โครงสร้างจะต้องคํานวณตรวจสอบว่า โครงสร้างคอนกรีตส่วนนั้น รับน้ำหนักบรรทุกนั้นได้ทุกกรณี เมื่อประกอบติดตั้งแล้วเสร็จ และขณะใช้งาน
ต้องตรวจสอบนั่งร้าน ฯ อย่างสม่ำเสมอ ให้มั่นใจว่าปลอดภัย รับน้ำหนักได้เพียงพอ
ต้องออกแบบให้นั่งร้าน ฯ แข็งแรง ปลอดภัยเพียงพอที่จะรับน้้ำหนัก
ต้องออกแบบให้นั่งร้าน ฯ ใช้งานได้โดยไม่ทําให้โครงสร้างคอนกรีตเสียหาย ทั้งขณะประกอบติดตั้ง และใช้งาน นั่งร้าน ฯ จะต้อง เผื่อ Camber สําหรับการทรุดตัว และแอ่นตัว
ปกตินั่งร้าน ค้ำยัน จะเป็นไม้หรือเหล็กก็ได้ สําคัญที่ต้องวางบนฐานที่มั่นคงแข็งแรง ใช้วัสดุที่มีกําลังรับน้ำหนัก หรือต้านทานแรงขณะทํางาน เท หรือบ่มคอนกรีต มีอุปกรณ์และจุดต่อยึดที่แข็งแรง โดยอาจมีค้ำยัน หรือแกงแนงเพื่อให้เกิดเสถียรภาพ
แบบหล่อเคลื่อนที่เป็นแบบหล่อชนิดพิเศษ เป็นแบบหล่อชุดเดียวที่ใช้หล่อคอนกรีตอย่างต่อเนื่อง โดยแบบจะถูกยกตัวขึ้นไปในทางดิ่งเหมาะกับโครงสร้างที่มีรูปแบบซํ้ากันในทางดึ่ง
การค้ำยันกลับ หมายถึง การถอดไม้แบบ และค้ำยันของโครงสร้างคอนกรีตออกแล้วดําเนินการใส่ค้ำยันกลับคืนอีกครั้งหนึ่ง
โครงสร้างซึ่งกําลังอยู่ในระยะเวลารอการค้ำยันกลับ ห้ามมิให้รับน้ำหนักบรรทุกจร เว้นแต่ตรวจสอบแล้วว่าไม่เกินความสามารถรับน้ำหนักของโครงสร้างคอนกรีตขณะนั้น
ในขั้นตอนการค้ำยันกลับ โครงสร้างต้องไม่รับน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าที่วิศวกรกําหนดให้ อนึ่ง การค้ำยันกลับจะต้องดําเนินการโดยเร็วที่สุดภายหลังจากการถอดแบบหล่อ และค้ำยันแล้ว
การค้ำยันกลับเพื่อรองรับน้ำหนักโครงสร้างต้องวางแผนไว้ก่อน และได้รับการอนุมัติจากวิศวกรแล้วเท่านั้น
ค้ำยันที่ใช้ต้องขันให้แน่น เพื่อให้รับน้ำหนักโครงสร้างตามที่กําหนดไว้ ค้ำยันนี้ต้องคงค้างไว้จนกระทั่งผลทดสอบกําลังอัดคอนกรีตถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้
แบบหล่อคอนกรีตอาจเป็นไม้ เหล็ก หรือวัสดุอื่นใดก็ได้ แบบหล่อฐานราก คาน เสา มีทั้งไม้แบบ และเหล็ก หากเป็นเสากลมอาจใช้แบบกระดาษ ซึ่งเป็นแบบสําเร็จรูปใช้ครั้งเดียว แผ่นพื้นปกติมักใช้ไม้แบบ การใช้แบบที่ทําจากวัสดุต่างชนิดย่อมใช้อุปกรณ์ หรือกรรมวิธีแตกต่างกัน
เครื่องจักรกลงานดิน และผิวทาง
เครื่องจักรกลงานดิน อาจเรียกว่า เครื่องจักรกลงานทาง อาจจําแนกชนิด ประเภท โดยอาศัยองค์ประกอบทางกายภาพ
Pay loader
Compactor
Grinder Spreader และ Grader
Kneading
Bulldozer
Hauling unit
Scraper
Mobile mixer conveying and placing
Tractor
เครื่องจักรกลอื่น ๆ
เครื่องจักรกล อุปกรณ์งานคอนกรีต
ในงานก่อสร้าง อาจลําเลียงคอนกรีต หรือเท โดยใช้แรงคน ใช้รางเท สูบและท่อ ท่อทางดิ่งใช้ Bucket แล้วทําให้คอนกรีตแน่น โดยการสั่น หรือ เขย่า และแต่งผิว