Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วัฒนธรรมท้องถิ่น ภาคใต้ - Coggle Diagram
วัฒนธรรมท้องถิ่น ภาคใต้
เครื่องดนตรี
-
-
-
-
กลองหนัง
รูปร่างลักษณะเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี เป็นกลองสองหน้าตัวกลองทำจากไม้เนื้อแข็ง ข้างในกลวงขึ้นหน้าด้วยหนังวัว หรือ หนังแพะทั้งสองด้าน
โพน
เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีเป็นกลองสองหน้า ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ตรงกลางตัวกลองด้านบนมีหูโลหะตรึงไว้สำหรับแขวนและตีด้วยไม้ขึงด้วยหนังวัว 2 ด้าน
กลองแขก
เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีเป็นกลองสองหน้ามีลักษณะคล้ายปืด แต่เล็กกว่า ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็งหน้ากลองทำด้วยหนังนากหรือหนังเสือปลา
การแสดงศิลปวัฒนธรรม
หนังตะลุง
เป็นมหรสพพื้นบ้านที่นิยมแพร่หลายและผูกพันกับวิถีชีวิตชาวใต้มายาวนาน ตั้งแต่ครั้งอดีต เดิมนิยมเล่นในงานสมโภชหรืองานเฉลิมฉลองต่างๆ ของชุมชน แต่จะไม่นิยม ในงานระดับครอบครัว
โนรา หรือ มโนราห์
เป็นศิลปะการละเล่นอันเก่าแก่ของชาวภาคใต้ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย นับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ชาวใต้ได้ร่วมกันสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการของชีวิตและสังคม
กาหลอ
กาหลอเป็นเครื่องประโคมสำคัญอย่างยิ่งของชาวภาคใต้ กล่าวได้ว่า
เป็นการประโคมที่ขลังและศักดิ์สิทธิ์กว่าการเล่นชนิดอื่น
รองเง็ง
เป็นศิลปะเต้นรำพื้นเมืองของชาวไทยมุสลิม มีความสวยงามทั้งลีลาการเคลื่อนไหวของเท้า มือ และร่างกาย รวมทั้งเครื่องแต่งกายอันงดงามของนักแสดงชายหญิง
การเต้นรองเง็งเป็นการเต้นที่สุภาพ
เพลงบอก
เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งในเทศกาลต่าง ๆ ทั่วไปของชาวใต้ บริเวณจังหวัดภาคใต้ตอนบนและตอนกลางเป็นการละเล่น ที่นอกเหนือจากให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินแล้ว
ยังเป็นการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องสงกรานต์
ลักษณะเด่นของวัฒนธรรม
วัฒนธรรมทางภาษา
ภาคใต้ มีภาษาพูดประจำถิ่นที่ห้วนๆ สั้นๆ เป็นเอกลักษณ์ เรียกว่า “ภาษาใต้หรือแหลงใต้” ส่วนกลุ่มคนที่อยู่แถบชายแดนไทย-มาเลเซีย นิยมพูด ภาษายาวี หรือภาษามาเลเซีย ตัวอย่างภาษาพูดภาคใต้ เช่น แหลง (พูด) หร๋อย (อร่อย)
ทำไหร๋ (ทำอะไร) หวังเหวิด (เป็นห่วง) ทำพรือ (ทำยังไง) บางท้องถิ่นใช้ภาษายาวี เพราะนับถือศาสนาอิสลาม
-
การละเล่นพื้นเมือง
เป่ากบ
การเล่นเป่ากบ เป็นการเล่นที่ให้ความสนุกสนานแล้วยังเป็นการฝึก การรู้กำหนดจังหวะและกะระยะด้วยซึ่งจะเป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้เด็กรู้จักคิดให้รอบคอบก่อนที่จะเป่า
หมากขุม
การเล่นหมากขุม มีคุณค่าในการฝึกลับสมอง การวางแผนการเดินหมากจะต้องคำนวน เป็นการฝึกให้ผู้เล่นรู้จักคิดวางแผนในการทำงานทุกอย่างสามารถ
นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ฉับโผง
การเล่นฉับโผงส่วนใหญ่แล้วนิยมเล่นกันเป็นกลุ่มๆก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะฝึกความแม่นยำและฝึกความสัมพันธ์ระหว่างตากับมือและเป็นการฝึกให้เด็กๆได้นำวัสดุจากธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นของเล่น
สะบ้า
การเล่นสะบ้าของจังหวัดระนอง นิยมเล่นในงานเทศกาลเช่น ในวันตรุษสงกรานต์ วันปีใหม่ งานเดือนสิบ ตรุษจีนจังหวัดระนองนิยมเล่นกันที่อำเภอกระบุรี
ประเพณีพื้นเมือง
ประเพณีชักพระหรือลากพระเป็นประเพณีของชาวภาคใต้ โดยจะปฏิบัติกันในช่วงออกพรรษา (วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑)
ประเพณีตักบาตรธูปเทียนคือการถวายธูปเทียนแด่พระสงฆ์ ซึ่งประเพณีตักบาตรธูปเทียนถือเป็นส่วนหนึ่งของการถวายสังฆทานในวันเข้า พรรษา ช่วงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘
ประเพณีแข่งเรือหน้าพระที่นั่ง และงานของดีเมืองนรา จังหวัดนราธิวาส
“สีสันเรือกอและอันคงเอกลักษณ์ จากวิถีชีวิตชาวประมงนำสู่ประเพณีท้องถิ่น
-
-
-
ประเพณีแห่ผ้าขึ้นพระธาตุ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 คือ วันวิสาขบูชา และ วันมาฆบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3
-