Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia), นางสาวศิรภัสสร หาดขุนทด…
ต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia)
ความหมาย
ต่อมลูกหมากที่ล้อมรอบท่อปัสสาวะมีขนาดใหญ่ผิดปกติจนบีบท่อปัสสาวะให้แคบลง
สาเหตุ
จากอายุที่เพิ่มขึ้น
มีฮอร์โมน dihydrotestosterone ซึ่งเกิดจากการ
เปลี่ยนแปลงของ testosterone ทำให้เกิดการเจริญเติบโตของต่อมลูกหมาก
พยาธิสภาพ
ฮอร์โมน Dihydrotestosterone กระตุ้นให้ต่อมลูกหมากโตเบียดท่อปัสสาวะ -> ปัสสาวะลำบากติดขัด -> ผนังกระเพาะปัสสาวะหนาตัวขึ้น -> กักเก็บน้ำลดลง -> ปัสสาวะบ่อย
อาการและอาการแสดง
ต้องเบ่งหรือรอนานกว่าจะปัสสาวะออก
ปัสสาวะไม่สุด และรู้สึกเหลือค้าง
ปัสสาวะไม่พุ่ง ไหลช้า หรือกะปริดกะปรอย
ปัสสาวะบ่อย ห่างกันไม่เกิน 2 ชั่วโมง
ลุกขึ้นถ่ายปัสสาวะกลางดึกมากกว่า 1 - 2 ครั้ง
ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ จะต้องรีบเข้าห้องน้ำทันที
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย
ตรวจทางทวารหนักด้วยนิ้ว เพื่อประเมินลักษณะและขนาด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การซักประวัติ
สอบถามอาการ ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการ ประเมินระดับความรุนแรงของอาการ โรคประจำตัว การใช้ยา ประวัติการรักษาโรคอื่นๆ
การรักษา
การใช้ยา ในรายที่มีคะแนน IPSS>7
ยาคลายกล้ามเนื้อเรียบของต่อมลูกหมาก (AIpha-adrenergic antagonist)
ยาลดขนาคต่อมลูกหมาก (5-alpha-reductase inhibitor)
ยาลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ (Anticholinegic)
การผ่าตัดในผู้รายที่ปัสสาวะค้างมากกว่า 100 ml มีแรง
ขับถ่ายปัสสาวะต่ำกว่า 10 cm³/sec
การผ่าตัดส่องกล้องผ่านทางท่อปัสสาวะ (Transurethral resection of the prostate : TUR-P)
การใช้เครื่องมือใส่เข้าทางท่อปัสสาวะแล้วกรีดต่อมลูกหมาก (Transurethral incision of the prostate :
TUP)
การผ่าตัดผ่านทางหน้าท้องแล้วเอาต่อมลูกหมากออก (open prostatectomy)
การผ่าตัดด้วยเลเซอร์ PVP ทำให้ต่อมระเหิดไป
รักษาแบบประคับประคองในรายที่อาการไม่มาก
การพยาบาล
หลังผ่าตัด
ผู้ป่วยจะมีท่อระบายออกจากทางเดินปัสสาวะ ควรป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การกลั้นปัสสาวะไม่ได้หลังถอดสายสวน
ระยะพักฟื้น
ให้คำแนะนำการดูแลสายสวนปัสสาวะ ไม่กลั้นปัสสาวะนานเกิน 4 ชั่วโมง รับประทานอาหารที่เหมาะสม ดื่มน้ำมากๆ ห้ามยกของหนัก มาตามแพทย์นัดทุกครั้ง
ก่อนผ่าตัด
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรค แนวทางการรักษา การปฏิบัติตนก่อนการผ่าตัด เปิดโอกาสให้สอบถามและพูดคุยเพื่อคลายความกังวล
การฟื้นฟู
ใน 1 เดือนแรก ระวังการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง เช่น การเบ่งถ่าย การยกของหนัก การนั่งรถกระแทก ซ้อนรถหรือปั่นจักรยาน เพราะจะเกิดฉีกขาดและมีเลือดออกจากแผลผ่าตัด
งดการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 4 สัปดาห์ เพราะเป็นการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง
ดื่มน้ำอย่างน้อย 10-12 แก้วต่อวัน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีกากใย
ฝึกบริหารกล้ามเนื้อฝีเย็บเมื่อถอดสายสวนปัสสาวะ โดยขมิบหูรูดทวารหนักและท่อปัสสาวะให้แน่นคล้ายกลั้นอุจจาระ ค้างไว้นับ 1ถึง10 แล้วคลายออก ทำครั้งละ 10-20 ที สลับกับการขมิบเร็วๆ ทำทุก 1-2 ชั่วโมง
การป้องกัน
ไม่ควรกลั้นปัสสาวะและไม่ควรเบ่งเวลาปวด
ถ้าปัสสาวะไม่สุดควรปัสสาวะซ้ำอีกครั้งเพื่อไม่ให้มีปัสสาวะค้าง
เลี่ยงเครื่องดื่มชา กาแฟ แอลกอฮอล์
เลี่ยงการดื่มน้ำครั้งละมาก ๆ โดยเฉพาะก่อนนอน
ดื่มน้ำเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
การตรวจพิเศษ/ห้องปฏิบัติการ
การตรวจ PSA ซึ่งมีค่าปกติประมาณ 0 - 4 ng/ml
การตรวจสมรรถภาพการขับถ่ายปัสสาวะ
การตรวจ Creatinine เพื่อประเมินการทำงานของไต
การตรวจทางรังสีโดยฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ
การตรวจปัสสาวะ (Urianalysis)
นางสาวศิรภัสสร หาดขุนทด 64108301116