Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 ทฤษฎีในการสร้างเสริมสุขภาพ, A6480097 นางสาวชฎาพร พึ่งผล Section…
บทที่ 2
ทฤษฎีในการสร้างเสริมสุขภาพ
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ
แนวคิด
•การรับรู้ของบุคคลเป็นตัวบ่งชี้พฤติกรรมโดยบุคคลจะกระทำหรือเข้าใกล้กับสิ่งที่ตนพอใจ
•การที่บุคคลจะมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงจากการเป็นโรค บุคคลนั้นจะมีความเชื่อว่าเสี่ยงต่อการเป็นโรค และปฏิบัติในการหลีกเลี่ยงจากการเป็นโรค
ปัจจัยร่วม
ปัจจัยที่ไม่มีผลโดยตรงกับสุขภาพ
•ปัจจัยด้านประชากร: เพศ อายุ เชื้อชาติ ศาสนา
•ปัจจัยด้านสังคมจิตวิทยา: บุคลิกภาพ กลุ่มเพื่อน
•ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน: ระบบบริการสุขภาพ
องค์ประกอบของแบบจำลองความเชื่อด้านสุขภาพ
1.การรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค
ความเชื่อหรือคาดคะเนว่ามีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค
2.การรับรู้ความรุนแรงของโรค
ความเชื่อที่บุคคลเป็นผู้ประเมินในด้านความรุนเเรงของโรคต่อร่างกาย
3.การรับรู้ประโยชน์ที่จะได้รับเเละค่าใช้จ่าย
บุคคลแสวงหาวิธีการปฏิบัติให้หายจากโรคหรือป้องกันไม่ให้เกิดโรค
4.แรงจูงใจด้านสุขภาพ
เกิดจากความสนใจด้านสุขภาพโดยทั่วไปของบุคคล
5.ปัจจัยร่วม
ปัจจัยที่มีส่วนช่วยส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรค
การประยุกต์ใช้แบบจำลองความเชื่อด้านสุขภาพ
การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค
-ค้นหาบุคคลที่มีความเสี่ยงและประเมินความเสี่ยง
-ให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่าความเสี่ยงดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านลักษณะประชากรหรือพฤติกรรมของบุคคล
การรับรู้ความรุนแรงของโรค
-วิเคราะห์ผลเสียที่จะเกิดตามมากจากความผิดปกติหรือความเจ็บป่วยในทุกๆ ด้าน
-ให้ข้อมูลที่เป็นจริงเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
การรับรู้ประโยชน์ที่จะได้รับและค่าใช้จ่าย
-กำหนดพฤติกรรมที่ควรปฏิบัติให้ชัดเจน
-อธิบายถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดจากการปฏิบัติพฤติกรรม
การรับรู้อุปสรรค
-ร่วมวิเคราะห์ข้อเสียหรืออุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรม
-จัดสิ่งแวดล้อมหรือบริการที่เอื้อต่อการปฏิบัติ
-ลดการรับรู้อุปสรรคต่างๆ ของการปฏิบัติ โดยให้ความมั่นใจ แก้ไขข้อมูลที่ผิด
ปัจจัยกระตุ้นการปฏิบัติ
-ให้ข้อมูลการปฏิบัติที่ชัดเจน
-กระตุ้นให้ตระหนักรู้
-ให้ครอบครัว เพื่อน เข้ามามีส่วนร่วมในการจูงใจ
-ให้ความช่วยเหลือ ให้กำลังใจ กระตุ้นเตือนเเละประเมินผล
PRECEDE-PROCEED Model
P: predisposing (แรงจูงใจ)
R: reinforcing (ทำให้แข็งแกร่งขึ้น)
E: enabling (ทำให้เป็นไปได้)
C: cause (ทำให้เกิด)
E: educational (การศึกษา)
D: diagnosis (การหาสาเหตุ)
E: evaluation (การประเมินผล)
ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ทางสังคม
(Phase 1 Social Assessment)
-พิจารณาและวิเคราะห์คุณภาพชีวิต
-จุดประสงค์ของการประเมินระยะนี้เพื่อค้นหาข้อมูลและประเมินปัญหาด้านสังคม
ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์ทางระบาดวิทยา
(Phase 2 Epidemiological Assessment)
-วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพที่สำคัญ
-ข้อมูลทางระบาดวิทยาที่ชี้ให้เห็นถึงการเจ็บป่วยการเกิดโรค และภาวะสุขภาพ
ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์ด้านพฤติกรรม
(Phase 3 Behavioral Assessment)
-นำปัจจัยในขั้นตอนที่ 1-2 มาวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์ทางการศึกษา
(Phase 4 Educational Assessment)
1.ปัจจัยนำ (Predisposing Factors)
ปัจจัยพื้นฐาน ที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ
2.ปัจจัยเอื้อ (Enabling Factors)
คุณลักษณะของสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านกายภาพและสังคมวัฒนธรรม
3.ปัจจัยเสริม (Reinforcing Factors)
สิ่งที่บุคคลจะได้รับ หรือคาดว่าจะได้รับจากบุคคลอื่น
ขั้นตอนที่ 5 การวิเคราะห์ทางการบริหาร
(Phase 5 Administrative and Policy Assessment)
-ประเมินความสามารถของการบริหารและนโยบายของการจัดการโครงการส่งเสริมสุขภาพ
ขั้นตอนที่ 6 การปฏิบัติการ
(Phase 6 Implementation)
-ดำเนินงานตามกลวิธี วิธีการและกิจกรรม
ขั้นตอนที่ 7 การประเมินกระบวนการ
(Phase 7 Process Evaluation)
-ประเมินถึงปัจจัยด้านการบริหารจัดการ
ขั้นตอนที่ 8 การประเมินผลกระทบ
(Phase 8 Impact Evaluation)
-ประเมินผลลัพธ์ที่เกิดจากการดำเนินโครงการในระยะสั้น เป็นการวัดประสิทธิผลของแผนงาน
ขั้นตอนที่ 9 การประเมินผลลัพธ์
(Phase 9 Outcome Evaluation)
-ประเมินผลรวบยอดของวัตถุประสงค์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและประโยชน์ที่ได้รับด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต
แบบจำลองความเชื่อด้านสุขภาพ
มโนทัศน์หลักของแบบจำลอง
1.ลักษณะเฉพาะและประสบการณ์ของบุคคล
1.1 พฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง
1.2 ปัจจัยส่วนบุคคล
ปัจจัยด้านชีววิทยา
ปัจจัยด้านจิตวิทยา
ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม
2.ความคิดและอารมณ์ต่อพฤติกรรม
2.1 การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม
2.2 การรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรม
2.3 การรับรู้ความสามารถของตนเอง
2.4 ความรู้สึกที่มีต่อพฤติกรรม
2.5 อิทธิพลระหว่างบุคคล
2.6 อิทธิพลจากสถานการณ์
3.พฤติกรรมผลลัพธ์
3.1 ความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติพฤติกรรม
3.2 ความจำเป็นอื่นและทางเลือกอื่นที่เกิดขึ้น
3.3 พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
มีทั้งหมด 6 ขั้นตอน
1.ขั้นก่อนชั่งใจ
-ยังไม่มีความสนใจที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
2.ขั้นชั่งใจ
-ตระหนักรู้ถึงปัญหา แต่ยังไม่คิดที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
3.ขั้นเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติ
-เตรียมตัวเริ่มมีความพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
4.ขั้นปฏิบัติ
-เชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองว่าสามารถทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้และกำลังกระทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
5.ขั้นคงไว้ซึ่งพฤติกรรมที่ต้องการ
-สามารถคงไว้ซึ่งพฤติกรรมใหม่อย่างสม่ำเสมอได้นานมากกว่า 6 เดือน ถึงแม้ว่าจะมีสิ่งเร้ากระตุ้นให้กลับไปทำพฤติกรรมเดิม
6.ขั้นยุติพฤติกรรมเดิมอย่างถาวร
-ไม่มีอะไรมาเย้ายวนให้กลับไปทำพฤติกรรมเดิมได้อีก
ขั้นของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
1.Pre-contemplation stage
(ขั้นเมินเฉย ไม่ตระหนักรู้)
2.Contemplation stage
(ขั้นลังเลใจ ตระหนักรู้)
3.Preparation stage/ Determination
(ขั้นเตรียมการ ตัดสินใจ)
4.Action stage
(ขั้นกระทำการปรับเปลี่ยน)
5.Maintenance
(ขั้นกระทำต่อเนื่อง)
6.Termination
(ขั้นยุติพฤติกรรมเดิมอย่างถาวร)
หลักกระบวนการช่วยเปลี่ยนแปลง
1.การปลูกจิตสำนึก
2.การระบายความรู้สึก
3.การใคร่ครวญผลต่อสังคมรอบข้าง
4.การใคร่ครวญผลต่อตนเอง
5.การปลดปล่อยตนเอง
6.การปลดปล่อยสังคม
7.ให้เรียนรู้สิ่งตรงกันข้าม
8.บังคับให้ทำสิ่งที่ดีกว่าทางอ้อม
9.จงใจใช้แผนกระตุ้น
10.กัลยาณมิตร
A6480097 นางสาวชฎาพร พึ่งผล
Section 2