Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มารดา อายุ 27ปี 1เดือน - Coggle Diagram
มารดา อายุ 27ปี 1เดือน
-
Pre-eclampsia
-
เกณฑ์การวินิจฉัย preeclampsia สรุปได้ดังนี้ (กติกา นวพันธ์, 2558ACOG, 2013)
- เกณฑ์การวินิจฉัยเกี่ยวกับความดันโลหิตสูงให้ใช้เกณฑ์เดิม
- เกณฑ์การวินิจฉัยเกี่ยวกับโปรตีนในปัสสาวะ (proteinuria) ให้ใช้วิธีตรวจวัดโดยการเก็บ ปัสสาวะ 24 ชั่วโมงเป็นหลัก แต่กรณีที่ต้องการผลเร็วให้ใช้การตรวจ urine protein/creatinine ratio แทนได้ ส่วนการตรวจด้วย urine dipstick มีความคลาดเคลื่อนสูง ไม่ควรใช้ ยกเว้นไม่สามารถตรวจ ด้วยสองวิธีข้างต้นได้
- ยกเลิกเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะครรภ์เป็นพิษระดับรุนแรงโดยใช้เกณฑ์ proteinuria มากกว่า 5 กรัมในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง รวมทั้งยกเลิกเกณฑ์ ทารกโตช้าในครรภ์ (fetal growth restriction)
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
- สตรีที่ไม่เคยคลอดบุตรมาก่อน (nulliparity)
- ประวัติภาวะครรภ์เป็นพิษในครรภ์ก่อน มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 7 เท่า 3. ผ่านการคลอดบุตรคนก่อนมานานอย่างน้อย 10 ปี มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
- สตรีอายุมากตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ทั้งสตรีที่ไม่เคยผ่านการคลอด และเคยผ่านการคลอดมาแล้ว 5. ดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 kg/m2 ขึ้นไป หรืออ้วน (obesity)
- การตั้งครรภ์แฝด (multiple pregnancy) ครรภ์แฝดสาม เสี่ยงมากกว่าครรภ์แฝดสอง
- ประวัติพันธุกรรมครรภ์เป็นพิษในครอบครัวโดยเฉพาะมารดา พี่สาว น้องสาว เพิ่มความเสี่ยง
ู6 ประวัติมีความเจ็บป่วยทางอายุรกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน (แบบ | หรือ แบบ II) ภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด (thrombophilia) และโรค ภูมิต้านตนเอง เช่น Systemic lupus erythematosus (SLE), antiphospholipid antibody syndrome (APS) เป็นต้น
- ความผิดปกติทางสูติกรรม เช่น กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (polycystic ovarian syndrome (PCOS]) การทำเด็กหลอดแก้ว (in vito fertilization) ภาวะที่รถทำงานมากกว่าปกติ (hyperplacentosis) จากการเพิ่มมวลของรก หรือ รกใหญ่กว่าปกติ เช่น ครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้ำ ทารกบวมน้ำ การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก Rh incompatibility เป็นต้น
- ภาวะโภชนาการบกพร่อง เช่น ขาดวิตามินซี วิตามินอี ขาดแคลเซียม เป็นต้น
อาการเเละอาการเเสดง
1 ความดันโลหิตสูง - Systolic BP ≥140 มิลลิเมตรปรอท หรือ diastolic BP ≥ 90มิลลิเมตรปรอท โดยวัดในท่าพัก 2 ครั้งห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ในสตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ที่ไม่เคยมีประวัติ ความดันโลหิตสูงมาก่อน ความดันโลหิตสูงวิกฤต หรือ - Systolic BP ≥ 160 มิลลิเมตรปรอท diastolic BP≥ 110 มิลลิเมตรปรอท โดยวัดในท่าพัก 2 ครั้งห่างกันไม่นาน (เป็นนาที)
2 มีโปรตีนในปัสสาวะ(proteinuria)
- ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะอย่างน้อย 300 มิลลิกรัมในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง หรือ อัตราส่วนโปรตีนต่อครีเอตินีนในปัสสาวะสูง ≥0.3 หรือ ระดับโปรตีนในปัสสาวะโดยใช้แผ่นตรวจ (dipstick)มีโปรตีนตั้งแต่ 1+ ขึ้นไป
3 กรณีตรวจไม่พบโปรตีนในปัสสาวะตามเกณฑ์ข้างต้น ให้วินิจฉัยโดยใช้เกณฑ์การตรวจพบ ความดันโลหิตสูง ร่วมกับเกณฑ์การทำงานผิดปกติของอวัยวะสำคัญ (end-organ dysfunction)ต่อไปนี้อย่างน้อย 1 ข้อ3.1เกล็ดเลือดต่ำ เกล็ดเลือดต่ำกว่า 100,000 ต่อไมโครลิตร
3.2 การทํางานของไตผิดปกติ - ค่า serum creatinine สูงกว่า 1.1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือ สูงกว่าค่าปกติอย่างน้อย 2 เท่า โดยตรวจไม่พบโรคไตอื่น ๆ
3.3 การทํางานของตับผิดปกติ ค่าเอนไซม์ตับ serum aspartate aminotransferase (AST) иa serum glutamic oxaloacetic transaminase (SGOT) และค่า serum alanine aminotransferase (ALT) หรือ serum glutamic pyruvic transaminase (SGPT) สูงกว่าค่าปกติ 2 เท่า ขึ้นไป
-
-
-
พยาธิสรีรวิทยา
-
- Renal system จากการที่ปริมาณการไหลเวียนที่โตลดลงประกอบกับมีการทำลายของชิ้น เยื่อบุหลอดเลือดในโต เกิด plumerular cacility andotheliosis ทำให้ glummerular infiltration rate ลดลง ส่งผลให้ปริมาณปัสสาวะลดลง (claris) และระดับ Serum uric acid และ creatinine เพิ่มขึ้น เกิดการช7มผ่านของโปรตีน æbumin และ globulin ออกทางปัสสาวะ เซลล์ร่างกายที่เสียโปรตีนจะ มีความดันภายในเซลล์ (oncotic pressure) ลดลง ทำให้เกิดการคั่งของน้ำในเนื้อเยื่อ interstitial Space และเกิดอาการบวมน้ำของอวัยวะต่าง ๆ ภาวะนี้เพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือดทั้งก่อนคลอด และหลังคลอด หากเกิดภาวะ hypovolemic shock และได้รับสารน้ำหรือเลือดทดแทนไม่ทัน จะทำให้เกิดไตวายเฉียบพลัน (acute tubular necrosis) ได้ง่าย
- Neurological system จากการที่เยื่อบุหลอดเลือดถูกทำลาย อาจทำให้เกิดการแตกของ หลอดเลือดฝอย มีเลือดออกในสมองเป็นจุดเลือดเล็ก ๆ หรือเป็นก้อนใหญ่ (petechial hemorrhage) และผลจากหลอดเลือดหดเกร็ง (vasospasm) ทำให้เกิด cortical brain spasm และเกิด cerebral ischemia ส่งผลให้ มีสมองบวม (cerebral edema) อาจพบอาการปวดศีรษะ ระดับความรู้สึก เปลี่ยนแปลง มี hyperreflexia หรือมีอาการชักเกร็ง ชักกระตุก (seizure) นอกจากนี้อาจเกิด vasogenic edema และ Coma ได้ ซึ่งต้องแยกจาก intracranial hemorrhage
- Visual system จากการหดรัดตัวของหลอดเลือดที่จอตา (retinal arteriolar vasospasm) ทำให้เกิด retinal edema เกิดอาการตาพร่ามัว (blurred vision) การมองเห็นผิดปกติ และอาจทำให้ เกิดการหลุดของจอตา (retinal detachment) ในบางรายที่มีพยาธิสภาพของสมองส่วนท้าย Occipital lobe อาจทำให้เกิดอาการตาบอด (Cortical blindness) ได้
- Placenta and uterus จากการหดรัดตัวของหลอดเลือด spiral arteriole ใน decidual ร่วมกับมี acute atherosis ทำให้หลอดเลือดตีบตัน ปริมาณเลือดที่ไหลผ่านระหว่างรกและมดลูก (uteroplacental perfusion) ลดลง รวมทั้งมีการแตกทำลายของเม็ดเลือดและการจับตัวของเกล็ดเลือด ทำให้เกิดการตายของเนื้อรกและผนังมดลูก การทำหน้าที่ของรกเสื่อมลง เกิดภาวะ uteroplacental insufficiency มีผลให้เกิดภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (fetal growth restriction: FGA) ในกรณีที่ทารก ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอจะชักนำให้เกิด fetal acidosis, mental retardation หรือ fetal death ได้ ในบางรายอาจเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด เนื่องจาก placental ischemia และ infarction
- Cardiopulmonary system ในภาวะครรภ์เป็นพิษที่รุนแรงจะมี plasma albumin ลดลง เนียงมาจากเกิด proteinuria และการรั่วของ capillaries นี้ทำให้ colloid osmotic pressure ลดลง เลือดมีความหนืดมากขึ้น จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมปอด และสารน้ำในระบบไหลเวียนโลหิตจะรั่วออกไปดังตามเนื้อเยื่อ ต่าง ๆ (generalized edema) ส่งผลให้ intravascular volume ลดลง (hemoconcentration) มีค่า hematocrit สูงขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยครรภ์เป็นพิษที่มีการเสียเลือดจะเกิด ภาวะความดันโลหิตต่ำได้เร็ว และการได้รับสารน้ำปริมาณมากอย่างรวดเร็วจะทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมปอด ได้ง่าย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เหล่านี้จะส่งผลให้เกิดการทำงานของหัวใจล้มเหลว (Cadian decompensation) ได้
- Hematologic and coagulation system เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำเฉียบพลัน และมีปัจจัย การแข็งตัวของเลือดชนิดอื่น ๆ ลดลงด้วย โดยอาจเกิดจากกลไกทางระบบภูมิคุ้มกัน หรือเกล็ดเลือด ไปจับตัวเกาะกลุ่มกันตามเยื่อบุหลอดเลือดที่ถูกทำลาย นอกจากนี้พยาธิสภาพในหลอดเลือดอาจ ทำให้เกิด intravascular hemolysis คือ มีการแตกและการทำลายเม็ดเลือดแดงเนื่องจากเม็ดเลือ แดงเคลื่อนผ่านหลอดเลือดที่มีการหดเกร็งและมีขนาดเล็กลง ซึ่งนำไปสู่ภาวะ hemoglobulanemia และ hyperbilirubinemia
- Hepatic system in generalized vasoconstriction in hepatic ischemia และส่งผลให้ ระดับเอนไซม์ aspartate aminotransferase (AST) หรือ serurn glutamic oxaloacetic transaminase (SGOT) ua alanine aminotransferase (ALT) va serum glutamic pyruvic transaminase (SGPT) สูงขึ้น ในบางรายอาจมีภาวะเลือดแข็งตัวผิดปกติ (disseminated intravascula coagulopathy: DIC) ร่วมด้วย บางรายพบ periportal hemorrhagic necrosis หรือ subcapsula hepatic necrosis หรือ hematoma ดังนั้นบางรายจึงมีอาการปวดใต้ชายโครงขวา หรือจุกแน่น ใต้ลิ้นปี่ คลื่นไส้อาเจียน มี blood glucose ลดลง ในรายรุนแรงอาจพบมีตับแตก (hepatic rupture)
-
เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะ severe features ของ preeclampsia คือมีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ต่อไปนี้ (ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย, 2558, ACOG, 2013)
- เกล็ดเลือดต่ากว่า 100,000 ต่อไมโครลิตร (thrombocytopenia)
- การทํางานของตับผิดปกติ (impaired liver function) คือมีค่า serum transaminase เพิ่มขึ้น อย่างน้อย 2 เท่าของค่าปกติ หรือปวดบริเวณใต้ชายโครงขวา หรือใต้ลิ้นปีอย่างรุนแรง และอาการปวด ไม่หายไป (severe persistence) ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา และไม่ใช่เกิดจากการวินิจฉัยอื่น
- การทํางานของไตผิดปกติ (renal insufficiency) โดยค่า serum creatinine มากกว่า 1.1มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือ เพิ่มขึ้น 2 เท่าของค่า serum creatinine เดิม โดยไม่มีโรคไตอื่น
- น้ำท่วมปอด (pulmonary edema)
- อาการทางสมองหรือทางสายตา (cerebral or visual disturbance) ที่เกิดขึ้นใหม่
- ความดันโลหิตสูง โดย Systolic BP-160 มิลลิเมตรปรอท หรือ diastolic BP 110มิลลิเมตรปรอท วัด 2 ครั้งห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมงภายหลังการนอนพัก (bedrest)
ในตำรา Williams obstetrics (Cunningham et al., 2014) ได้ระบุเกณฑ์บ่งชี้ (indicators) ความรุนแรงของภาวะครรภ์เป็นพิษเป็นแบบ รุนแรง (severe) และไม่รุนแรง (nonsevere)
-
-
-