Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 9 การคุ้มครองแรงงาน สุขอนามัย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย…
บทที่ 9 การคุ้มครองแรงงาน สุขอนามัย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
9.1 ทั่วไป บทนี้ กล่าวถึง การคุ้มครองแรงงาน สุขอนามัย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ภายใต้สามกฎหมายหลัก
9.2 ความปลอดภัยตามกฎหมายควบคุมอาคาร กฎกระทรวงออกภายใต้อำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ฯ ถือเป็นแม่แบบของกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน
9.3 กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เนื่องจากประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 (16 มีนาคม 2515) บังคับมาเป็นเวลานาน บทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ประกอบกับข้อกำหนดเกี่ยวแก่การคุ้มครองแรงงาน ออกตามประกาศคณะปฏิวัติ ฯ ดังกล่าว อยู่ในรูปประกาศ สมควรปรับปรุงบทให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
9.4 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมใน มีการตราพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เนื่องจากในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีและสารเคมีอันตรายมาใช้ในกระบวนการผลิต การก่อสร้างและบริการ แต่ขาดการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเข้าใจควบคู่กันไป ทำให้ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงานในด้านความ
9.5 กฎกระทรวง และระเบียบที่ออกโดยกระทรวงแรงงาน กฎกระทรวง และระเบียบที่ออกโดยกระทรวงแรงงาน ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายสองฉบับ คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน หรือพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
9.6 การบริหาร และการจัดความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในงานก่อสร้างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำ งานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551
9.7 รั้ว เขตก่อสร้าง และเขตอันตราย กฎกระทรวง ฯ ในการก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยสูงเกินสองชั้น ตึกแถว ก่อนเริ่มลงมือก่อสร้าง ผู้ดำเนินการต้องติดป้ายขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 0.50 เมตร ยาวไม่น้อยกว่า 1.00 เมตร ในบริเวณที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร และสามารถเห็นได้โดยง่ายตลอดเวลาที่ก่อสร้าง
9.8 ภาวะแวดล้อมในการทำงาน ประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ กำหนดสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประกอบด้วยความร้อน (อุณหภูมิร่างกายขณะทำงาน ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส) ในถ้ำ อุโมงค์ที่ซึ่งมีแสงสว่างไม่เพียงพอ (สวมหมวกแข็ง มี หรือติดอุปกรณ์ส่งสว่างตามมาตรฐาน) ฯลฯ
9.9 ไฟฟ้า และการป้องกันอัคคีภัย การติดตั้งและการใช้ระบบไฟฟ้าในเขตก่อสร้าง มีสวิตช์ตัดวงจรควบคุมการใช้ไฟฟ้า มีระบบป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว ต่อสายดินสำหรับหม้อแปลงไฟฟ้า แผงไฟฟ้าและอุปกรณ์ฟ้าที่ติดตั้งอยู่กับที่ทุกชนิด
9.10 การทำงานของเครื่องจักรกล เครื่องจักรกลทั่วไป (มีหมวก ถุงมือ แว่นตา หน้ากาก เครื่องป้องกันเสียงรองเท้าพื้นยางหุ้มส้นหรือเครื่องป้องกันอันตรายอื่น ๆ) ฯลฯ
9.11 เจาะ ขุด และป้องกันการพังทลายของดิน เมื่อมีการขุดดินในบริเวณที่ติดต่อกับที่สาธารณะ ให้มีสิ่งกันตกหรือราวกั้นรอบบริเวณนั้นและติดตั้งป้ายเตือนอันตรายเพื่อความปลอดภัยของประชาชน รวมทั้งติดตั้งไฟให้มีแสงสว่าง
9.12 การตอกเสาเข็ม เครื่องตอกเสาเข็ม การทำฐานรากของอาคารโดยใช้เสาเข็มด้วยการเจาะ กดหรือตอก และการขุดดินผู้ดำเนินการจะกระทำ ได้เฉพาะในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์
9.13 เครื่องจักร และปั้นจั่น ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ อาจเป็น Tower Crane (ซึ่งจะต้องก่อสร้างฐานราก ติดตั้ง และเชื่อมยึดกับโครงสร้างอาคาร ทุก ๆ ระดับความสูงที่เหมาะสม) หรือแบบไต่ตามผนังลิฟต์ (Climbing up Tower crane ซึ่งจะต้องวางแผนก่อสร้างปล่องลิฟต์ให้รวดเร็วทันเวลาที่จะยกระดับ Tower Crane ให้รัศมีในการทำงาน อยู่ ณ ระดับความสูงที่ปลอดภัย)
9.14 ลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว ลิฟต์ขนส่งวัสดุชั่วคราว และลิฟต์โดยสารชั่วคราว ต้องมีรายละเอียดของหอลิฟต์ ตัวลิฟต์ ข้อกำหนดในการสร้าง และข้อปฏิบัติการใช้ การประกอบ ติดตั้ง ทดสอบ ใช้ ซ่อมบำรุง และตรวจสอบ ติดป้ายบอกน้ำหนักบรรทุกสูงสุดและจำนวนผู้โดยสารสูงสุด
9.15 นั่งร้าน ค้ำยัน ปกตินั่งร้าน ค้ำยัน จะเป็นไม้หรือเหล็กก็ได้สำคัญที่ต้องวางบนฐานที่มั่นคงแข็งแรง ใช้วัสดุที่มีกำลังรับ มีอุปกรณ์ และจุดต่อยึดที่แข็งแรง โดยอาจมีค้ำยัน หรือแกงแนง เพื่อให้เกิดเสถียรภาพ ป้องกันการโก่งเดาะ มีคุณภาพสม่ำเสมอ ใช้ได้หลายครั้ง
9.16 อันตรายจากของตก หล่น กระเด็น และฝุ่นละออง การป้องกันอันตรายจากการพังทลาย ตกหล่น กระเด็น ทั้งของวัสดุ เศษวัสดุ หรือคนทำงาน ผนวกด้วยการป้องกันฝุ่นละออง เป็นทั้งเรื่องความปลอดภัยต่อชีวิต ทรัพย์สิน ฯลฯจึงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาพร้อมกัน และพร้อมกับการทำงานอื่นๆ หลายเรื่อง ทั้งมาตรการป้องกันอุบัติเหตุ
9.17 การรื้อถอน ขยะมูลฝอย และฝุ่นละออง ในระหว่างการก่อสร้างอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 10.00 เมตรขึ้นไปหรือที่ดินต่างเจ้าของ หรืออาคารซึ่งอยู่ในโครงการจัดสรรที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน ผู้ดำเนินการต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันฝุ่นละออง
9.18 การทำงานที่มืด ในน้ำ อับอากาศ หรือมีไอพิษ เป็นปกติ ที่จะต้องจัดให้มีไฟฟ้าแสงสว่างในเวลากลางคืน ทั้งเพื่อการส่องสว่างในงานก่อสร้าง หรือเพื่ออำนวยความปลอดภัยแก่คนทำงานหรือบุคคลอื่น กฎกระทรวง ฯ จะต้องไม่กระทำ การใดๆ อันอาจเป็นภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือ
9.19 อุปกรณ์ป้องกันเฉพาะบุคคล ให้นายจ้างมีหน้าที่จัดและดูแลสถานประกอบกิจการและลูกจ้างให้มีสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย และถูกสุขลักษณะ
9.20 การบริหารความเสี่ยง การบริหารความเสี่ยง คือการจัดการ หรือควบคุมความเสี่ยง ที่จะไม่สร้างความเสียหายให้กับองค์กร หรือโครงการอย่างมีนัย ทั้งความสียหายชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ รายได้ หรืออื่นๆ
9.21 มูลค่าความปลอดภัย และสุขอนามัยในการทำงาน ค่าใช้จ่ายเพื่อความปลอดภัย และสุขอนามัยในการทำงานก่อสร้าง ปกติ ประกอบด้วยการลงทุนครั้งแรก (Initial investment) ขององค์กร หรือแบ่งเฉลี่ยระหว่างแต่ละโครงการที่ใช้ประโยชน์ คือ ซื้อหาอุปกรณ์ความปลอดภัย หรือสุขอนามัย
9.22 สรุป บทนี้ กล่าวถึง การคุ้มครองแรงงาน สุขอนามัย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ภายใต้สามกฎหมายหลัก ประกอบด้วย กฎหมายควบคุมอาคารอาคาร ประกอบกฎกระทรวงมหาดไทย และประกาศกระทรวงมหาดไทย เกี่ยวแก่ความปลอดภัยในการทำงาน (ก่อสร้าง ดัดแปลงแก้ไข เคลื่อนย้าย หรือรื้อถอนอาคาร) กฎหมายว่าด้วยการขุดดิน หรือถมดิน และความปลอดภัยในการทำงานลักษณะต่างๆ กฎหมายแรงงาน