Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีในการสร้างเสริมสุขภาพ A6480127 อรปรียา พันจันดา - Coggle Diagram
ทฤษฎีในการสร้างเสริมสุขภาพ
A6480127 อรปรียา พันจันดา
ทฤษฎี
ทฤษฎี (Theory) เป็นกลุ่มของแนวคิดหรือมโนทัศน์ (Concepts) คําจํากัดความ (Definitions) และข้อเสนอ (Proposition) ที่ใช้ในการอธิบายหรือคาดการณ์ปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ ด้วยการเสนอความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ต่างๆที่เกิดขึ้นในปรมกฏการณ์หรือ
เหตุการณ์นั้นๆ
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model : HBM)
แนวคิด
การรับรู้ของบุคคลเป็นตัวบ่งชี้พฤติกรรมโดยบุคคลจะกระทําหรือเข้าใกล้กับสิ่งที่ตนพอใจ และ คิดว่าสิ่งนั้นจะก่อให้เกิดผลดีแก่ตนและจะหนีห่างจากสิ่งที่ตนไม่ปรารถนา
การที่บุคคลใดจะมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยง จํากกํารเป็นโรค บุคคลนั้นจะต้องมีควํามเชื่อว่า เขามีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค โรคมีความรุนแรงต่อชีวิตของเขาพอสมควร และการปฏิบัติในการ หลีกเลี่ยงจากการเป็นโรค
ปัจจัยร่วม (Modifying Factors)
เป็นปัจจัยที่ไม่มีผลโดยตรงต่อพฤติกรรมสุขภาพ แต่เป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะส่งผลไปถึงการรับรู้และการปฏิบัติ
ปัจจัยด้านประชากร : เพศ อายุ เชื้อชาติ ศาสนา
ปัจจัยด้านสังคมจิตวิทยา : เช่น บุคลิกภาพ กลุ่มเพื่อน มีความเกี่ยวข้องกับบรรทัดฐานทางสังคม
ค่านิยมวัฒนธรรม
ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน : ระบบบริการสุขภาพ
องค์ประกอบของแบบจำลองความเชื่อด้านสุขภาพ
การรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค
การรับรู้ของผู้ป่วย หมายถึงความเชื่อต่อความถูกต้องของการวินิจฉัยโรคของแพทย์ การคาดคะเน ถึงโอกาสการเกิดโรคซ้ำและความรู้สึกของผู้ป่วยว่าตนเองง่ายต่อการป่วยเป็นโรคต่างๆ
การรับรู้ความรุนแรงของโรค
ความเชื่อที่บุคคลเป็นผู้ประเมินเองในด้านความรุนแรงของโรคที่มีต่อร่างกาย กํารก่อให้เกิดพิการ เสียชีวิต
ความยากลําบากและการต้องใช้ระยะเวลานานในการรักษา การเกิดโรคแทรกซ้อน
การรับรู้ประโยชน์ที่จะได้รับและค่าใช้จ่าย
บุคคลจะต้องมีควํามเชื่อว่าค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นข้อเสีย หรืออุปสรรคของกํารปฏิบัติในกํารป้องกัน และ รักษําโรคจะต้องมีน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประโยชน์ที่จะได้รับ
แรงจูงใจด้านสุขภาพ
ระดับความสนใจและความห่วงใยเกี่ยวกับสุขภาพ ความปรารถนาที่จะดํารงรักษาสุขภาพและการ หลีกเลี่ยงจากการเจ็บป่วย
เกิดจากความสนใจสุขภาพโดยทั่วไปของบุคคล หรือเกิดจากการกระตุ้นของความเชื่อต่อโอกาส เสี่ยงของการเป็นโรค ความเชื่อต่อความรุนแรงของโรค
ข่าวสาร คําแนะนําของแพทย์
ปัจจัยร่วม
ปัจจัยที่มีส่วนช่วยส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการที่บุคคลจะปฏิบัติเพื่อกํารป้องกันโรค หรือการปฏิบัตติตามคําแนะนําในการรักษาโรค เช่น เพศ อายุ เชื้อชาติ ลักษณะของความยากง่ายของการปฏิบัติตาม
ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม (Social Support Theory)
บุคคลได้รับการช่วยเหลือจากการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในสังคม ทั้งด้านอารมณ์ ด้านข้อมูล ข่าวสาร ด้านการเงิน แรงงาน หรือวัตถุส่ิงของต่างๆ อาจเป็นสมาชิกในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อน บุคลากรทางการแพทย์ ทําให้ผู้ได้รับการสนับสนุนทางสังคมมีความรู้สึกผูกพัน เชื่อว่ามีคนรักและสนใจ มีคนยกย่องและมองเห็นคุณค่า
แหล่งท่ีมาของการสนับสนุนทางสังคม
ระบบการสนับสนุนตามธรรมชาติ
จากครอบครัว ญาติพี่น้อง ซึ่งถือว่ามี ความสําคัญมากที่สุด ต่อผู้ป่วยเพราะ ครอบครัวมีบทบาทสําคัญต่อผู้ป่วยตั้งแต่วัยเด็กเพราะเป็นแหล่งที่ถ่ายทอด ค่านิยมความ เชื่อ แบบแผนพฤติกรรม
ระบบสนับสนุนจากกลุ่มเพื่อน
ได้รับจากบุคคลซึ่งมีประสบการณ์ มีความชำนาญในการที่จะค้นคว้าหาความต้องการและ สามารถติดต่อชักจูงผู้ป่วยได้โดยง่าย
ระบบสนับสนนุด้านศาสนาหรือแหล่ง อุปถัมภ์ต่างๆ
เป็นแหล่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยได้มีการ แลกเปลี่ยนความเชื่อ ค่านิยม คําสอน คําแนะนําเกี่ยวกับวิถีการดํารงชีวิตและ ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ได้แก่ พระ นักบวช หมอสอนศาสนา
ระบบการสนับสนุนจากกลุ่มวิชาชีพด้านสุขภาพ
เป็นแหล่งกํารสนับสนุนเป็นแห่งแรกที่ให้การ ช่วยเหลือผู้ป่วยเช่น แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ระบบการสนับสนุนจากกลุ่มวิชาชีพอื่นๆ
เป็นการสนับสนุนจากกลุ่มบริการอาสาสมัคร
ประเภทของการสนับสนุนทางสังคม
การสนับสนุนด้านอารมณ์ (Emotional support)
กํารใกล้ชิดสนิทสนม ได้แก่ พฤติกรรมซึ่งแสดงออกด้วยการรับฟังอย่างสนใจ แสดงความยกย่องแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจ
การสนับสนุนด้านการประเมิน (Appraisal support)
การได้รับข้อมูลย้อนกลับการได้ รับคํารับรองซึ่งจะทําให้ผู้รับเกิดความพอใจ นําไปประเมินตนเอง และเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นใน สังคมเดียวกัน
การสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร (Information support)
การได้รับคําแนะนํา คําเตือน คําปรึกษาที่สามารถนําไปแก้ไขปัญหาท่ีกําลังเผชิญอยู่ได้
การสนับสนุนด้านการเงิน แรงงานและส่ิงของ (Instrumental support)
เป็นพฤติกรรม การช่วยเหลือโดยตรงต่อความจําเป็นพื้นฐาน
แนวคิดนี้มีประโยชน์มากในการสร้างเครือข่ายเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลรักษาโรคเรื้อรัง กลุ่มผู้ติดเชื้อเอดส์ กลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มส่งเสริมสุขภําพ เช่น กลุ่มแอร์โรบิค กลุ่มวิ่ง กลุ่มปั่นจักรยาน
PRECEDE-PROCEED Model
ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ทางสังคม (Phase1 : Social Assessment)
เป็นการพิจารณา และวิเคราะห์ “คุณภาพชีวิต” ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนแรกของการวิเคราะห์โดย การประเมินสิ่งที่เกี่ยวข้อง หรือตัวกําหนดคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มเป้าหมายต่างๆ
ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์ทางระบาดวิทยา (Phase 2 : Epidemiological Assessment)
การวิเคราะห์ว่ามีปัญหาสุขภาพที่สําคัญอะไรบ้าง ข้อมูลทางระบาดวิทยาจะชี้ให้เห็นถึงการ เจ็บป่วยการเกิดโรค และภาวะสุขภาพ ตลอดจนปัจจัยต่างๆ ที่ทําให้เกิดการเจ็บป่วย และเกิดการ กระจายของโรค
ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์ด้านพฤติกรรม (Phase 3 : Behavioral Assessment)
ปัจจัยปัญหาด้านสุขภาพอนามัยที่ได้ในขั้นตอนที่ 1-2 จะนํามาวิเคราะห์ต่อเพื่อหาสาเหตุที่ เกี่ยวข้องโดยแบ่งเป็นสาเหตุอันเนื่องมาจากพฤติกรรมของบุคคลและสาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม
ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์ทางการศึกษา (Phase 4 : Educational Assessment)
ระยะนี้เป็นการประเมินสาเหตุของพฤติกรรมสุขภาพที่ระบุไว้ในระยะท่ี 2 สาเหตุของพฤติกรรมสุขภาพ
ปัจจัยนำ (Predisposing Factors) หมายถึง ปัจจัยที่เป็นพื้นฐาน และก่อให้เกิดแรงจูงใจใน การแสดงพฤติกรรมของบุคคล เช่น ความรู้ ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ
ปัจจัยเอื้อ (Enabling Factors) หมายถึง คุณลักษณะของสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านกายภาพและ สังคมวัฒนธรรม ทักษะส่วนบุคคลหรือทรัพยากรที่จะช่วยเกื้อกูลให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์
ปัจจัยเสริม (Reinforcing Factors) หมายถึง สิ่งที่บุคคลจะได้รับ หรือคาดว่าจะได้รับจาก บุคคลอื่น อันเป็นผลจากการกระทําของตน แรงเสริมจะได้รับจากครอบครัว เพื่อน ครู บุคลากร ทางการแพทย์หรือสาธารณสุข สื่อต่างๆ
ขั้นตอนที่ 5 การวิเคราะห์ทางการบริหาร (Phase 5 : Administrative and Policy Assessment)
การประเมินความสามารถของการบริหาร และนโยบายของการจัดการโครงการส่งเสริม สุขภาพ เพี่ออธิบายถึงแหล่งทรัพยากรขององค์กรที่ต้องการสร้างแผนงานและดําเนินงานตาม แผนงานทําให้โครงการส่งเสริมสุขภาพประสบความสําเร็จ
ขั้นตอนที่ 6 การปฏิบัติการ (Phase 6 : Implementation)
ดําเนินงานตามกลวิธี วิธีการและกิจกรรม โดยผู้รับผิดชอบในแต่ละเรื่องและประเด็น ที่กําหนด ไว้
ขั้นตอนท่ี 7 การประเมินกระบวนการ (Phase 7 : Process Evaluation)
เพื่อประเมินถึงปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ที่จะมีผลต่อ
การดําเนินโครงการท่ีได้วางแผนไว้
ขั้นตอนที่ 8 การประเมินผลกระทบ (Phase 8 : Impact Evaluation)
การประเมินผลลัพธ์ที่เกิดจากการดําเนินโครงการในระยะสั้น เป็นการวัดประสิทธิผลของแผนงาน โครงการตามวัตถุประสงค์ระยะสั้นที่ส่งผลต่อการ เปลี่ยนแปลงปัจจัยนํา ปัจจัยเอื้อ และ ปัจจัยเสริมแรง
ขั้นตอนที่ 9 การประเมินผลลัพธ์ (Phase 9 : Outcome Evaluation)
การประเมินผลรวบยอดของวัตถุประสงค์ท่ีมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นและประโยชน์ที่ได้รับ ด้านสุขภาพหรือคุณภาพชีวิต ซึ่งอาจจะใช้เวลานาน
แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion Model : HPM)
ลักษณะเฉพาะและประสบการณ์ของ
บุคคล(IndividualCharacteristicsandExperiences)
พฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง และปัจจัยส่วนบุคคล โดยมโนทัศน์ทั้งสองมีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพบางพฤติกรรมหรือในบางกลุ่มประชากรเท่านั้น
ความคิดและอารมณ์ต่อพฤติกรรม (Behavior-Specific Cognition and Affect)
เป็นมโนทัศน์หลักในการสร้างกลยุทธ์/กิจกรรมพยาบาลเพื่อสร้างแรงจูงใจให้บุคคลมีการพัฒนาหรือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง
การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม (Perceived Benefits of Action)
การรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรม (Perceived Barriers to Action)
การรับรู้ความสามารถของตนเอง (PerceivedSelf-Ef ficacy)
ความรู้สึกที่มีต่อพฤติกรรม (Activity-Related Affect)
อิทธิพลระหว่างบุคคล (Interpersonal Influences)
อิทธิพลจากสถานการณ์ (Situational Influences)
พฤติกรรมผลลัพธ์ (Behavioral Outcome)
ความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติพฤติกรรม (Commitment to a Plan of Actions) ความมุ่งมั่นต่อแผนการปฏิบัติพฤติกรรม เป็นกระบวนการคิดรู้ ที่ประกอบด้วยความตั้งใจที่จริงจังที่จะกระทํา พฤติกรรมซึ่งสอดคล้องกับเวลา บุคคล สถานที่
ความจำเป็นอื่นและทางเลือกอื่นที่เกิดขึ้น (Immediate Competing Demands and Preferences) หมายถึง พฤติกรรมอื่นที่เกิดขึ้นทันทีทันใดก่อนที่จะเกิดพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ตามที่วางแผนไว้และอาจทําให้บุคคลไม่สามารถปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตามที่ได้วางแผนไว้ ความจําเป็นและทางเลือกอื่น
พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ (Health-Promoting Behavior) พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเป็นจุดสุดท้ายและผลจากการปฏิบัติพฤติกรรมในแบบจําลองส่งเสริมสุขภาพ
การสร้างเสริมพลังอำนาจ (Empowerment)
กระบวนการที่จะช่วยให้บุคคลตระหนัก และค้นหาความสามารถ และ หรือความเข้มแข็งที่มี อยู่ในตนเองเพื่อช่วยให้บุคคลมีความมั่นใจในการดูแลตนเองให้มีสุขภาพดี เข้าสู่การมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย จิตใจสังคม และปัญญา อย่างเป็นองค์รวม
เข้าถึงข้อมูลและแหล่งข้อมูลที่เอื้อในกํารตัดสินใจได้อย่างเหมาะะสม
สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
มีทางเลือกอย่างกว้างขวาง
ประเภทของการสร้างเสริมพลังอำนาจ
การสร้างเสริมพลังอำนาจเชิงจิตใจ (Psychological Empowerment) เป็นกระบวนการเกี่ยวข้องกับการสร้างแรงจูงใจแก่บุคคลให้เกิดการรู้คิด
การสร้างเสริมพลังอำนาจเชิงโครงสร้าง (Structural Empowerment) เกี่ยวข้องกับเงื่อนไข และสภาพการทางานในองค์กรที่ทําให้บุคคล หรือลูกจ้างได้รับพลังอํานาจ และทําให้เกิด ประสิทธิผลในการทํางาน และองค์กร
ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
Trans theoretical Model Stage of Change : TTM
ขั้นก่อนชั่งใจ (Pre-contemplation stage)
ยังไม่มีความสนใจที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในอีก 6 เดือนข้างหน้ํา ไม่ตระหนักรู้ไม่คิดว่าสิ่งที่ทําอยู่ ณ ปัจจุบัน เป็นปัญหา
ขั้นชั่งใจ (Contemplation stage)
ตระหนักรู้ว่ามีปัญหา แต่ยังไม่คิดที่จะทําการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่แน่ใจ ยังครุ่นคิดอยู่
ขั้นเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติ (Preparation stage / Determination)
เตรียมตัวเริ่มมีความพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในอีก 1 เดือน ข้างหน้า
ขั้นปฏิบัติ (Action stage)
เชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองว่าสามารถทําการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมได้และกําลังกระทําการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กระทําการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อยู่ในช่วง 6 เดือนแรก
ขั้นคงไว้ซึ่งพฤติกรรมที่ต้องการ (Maintenance)
สามารถคงไว้ซึ่งพฤติกรรมใหม่อย่างสม่ำเสมอได้นานมากกว่า 6 เดือน
ขั้นยุติพฤติกรรมเดิมอย่างถาวร (Termination)
ไม่มีอะไรทำเย้ายวนให้กลับไปทํา พฤติกรรมเดิมได้อีก สามารถมั่นใจได้ 100%
หลักกระบวนการช่วยเปลี่ยนแปลง Process of Change
เทคนิคนี้เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ในขั้นก่อนชั่งใจ
(Pre-contemplation stage) เพื่อเลื่อนขึ้นไปสู่ขั้นชั่งใจ (Contemplation stage)
1.การปลุกจิตสำนึก(consciousness raising) เป็นการใช้วิธีต่างๆบอกให้รู้ ผลเสียของการไม่เปลี่ยน และผลดีของการเปลี่ยนพฤติกรรม เช่นการให้การศึกษาอธิบาย ตีความหมายให้ฟัง
การระบายความรู้สึก (Dramatic relief) เพื่อกระตุ้นหรือผลักดันจิตใจ อารมณ์ให้เกิดความอยากเปลี่ยนแปลง
การใคร่ครวญผลต่อสังคมรอบข้าง (social reevaluation) เช่น นึกต่อไปว่า ถ้าตนเองดื่มแอลกอฮอล์จัดอยู่ ต่อไปลูกๆจะเป็นอย่างไร
เทคนิคนี้เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ในขั้นชั่งใจ (Contemplation stage) เพื่อเลื่อนขึ้นไปสู่ขั้นเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติ(Preparationstage /Determination)
การใคร่ครวญผลต่อตนเอง (self reevaluation) เช่นจินตนาการว่าถ้าเอาแต่นอนโซฟาดูทีวีภาพของตนเองต่อไปจะเป็นอย่างไร ถ้าขยันขันแข็งออกกําลังกาย ทุกวันภาพของตนจะเป็นอย่างไร
เทคนิคนี้เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ในขั้นเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติ (Preparation stage / Determination) เพื่อเลื่อนขึ้นไปสู่ขั้นปฏิบัติ (Action)
การปลดปล่อยตนเอง (self liberation) คือการพยายามให้มีทางเลือกในการเปลี่ยนแปลง งานวิจัยบ่งชี้ว่าถ้าคนเรามีทางเลือกสองทางจะมีความมุ่งมั่นมากกว่ามีทางเลือกทางเดียว
เทคนิคนี้เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ในขั้นปฏิบัติ (Action) เพื่อเลื่อนขึ้นไปสู่ขั้น คงไว้ซึ่งพฤติกรรมที่ต้องการ (Maintenance)
การปลดปล่อยสังคม (social liberation) คืออาศัยความรู้สึกว่าเป็นการปลดปล่อยจากการถูกกดขี่เอาเปรียบทางสังคมมาเป็นตัวสร้างความมุ่งมั่นในการ เปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
ให้เรียนรู้สิ่งตรงกันข้าม (counterconditioning) เช่นให้เรียนรู้การสนองตอบแบบผ่อนคลายเพื่อแก้ปัญหาความเครียด ให้เรียนรู้การเป็นคนกล้าพูดกล้าแสดงออกเพื่อแก้ปัญหาการทนแรงกดดัน
บังคับให้ทำสิ่งที่ดีกว่าทางอ้อม (stimulus control) เช่นสร้างที่จอดรถให้ห่างที่ทํางานเพื่อบังคับให้ต้องเดิน ติดตั้งงานศิลปกรรมไว้ข้างบันไดเพื่อชักจูงให้ขึ้นลงบันได
จงใจใช้แผนกระตุ้น (contingency management) เช่น การตกรางวัลถ้าทําสิ่งที่ดีกว่าการชื่นชมผลงานหรือแม้กระทั่งการลงโทษถ้าไม่เลิกสิ่งที่ไม่ดี
กัลยาณมิตร (helping relationship) เช่นการเป็นที่ปรึกษาทางโทรศัพท์ การมีบัดดี้คอยสนับสนุน