Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็ก ที่มีความผิดปกติระบบทางเดินหายใจ - Coggle Diagram
การพยาบาลเด็ก
ที่มีความผิดปกติระบบทางเดินหายใจ
ความแตกต่างของระบบหายใจของเด็กกับผู้ใหญ่
ทางเดินหายใจเด็กมีขนาดแคบและสั้นกว่า
ท่อยูสเตเซี่ยนเล็กและสั้น
กล่องเสียงอยู่ค่อนข้างสูง
มีจำนวนถุงลมปอดน้อยและขนาดเล็ก
ต้องการออกซิเจนมาก
กล้ามเนื้อหายใจอ่อนล้าง่าย
การสร้างมูกในเซลล์บุผิวทางเดินหายใจมาก
การสร้างภูมิคุ้มกันยังไม่เต็มที่
กระดูกอ่อน กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อ Subcutaneous
การประเมินความผิดปกติระบบทางเดินหายใจในเด็ก
อาการสำคัญ
ไอ
ไอแห้ง จากการระคายผนังคอ
ไอเรื้อรัง (เป็นมากกว่า 4 สัปดาห์) จากการติดเชื้อ Mycoplasma pneumonia
ไอมากตอนกลางคืน
ไอมีเสมหะ
เสมหะเมือกใสจะเกี่ยวกับโรคหืด
เสมหะมีกลิ่นเกิดจากการติดเชื้อ anaerobe
อาการหายใจลำบาก (dyspnea) หอบเหนื่อย ร่างกายต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น หายใจเร็ว อกบุ๋ม(chest wall retraction)
ลักษณะของการเกิดอาการ ทันทีทันใด = สำลัก, Pneumothorax, มีเลือดในปอด
ช่วงเวลาที่มีอาการ >> นอนราบหายใจไม่สะดวกแต่เมื่อนอนหัวสูงจะดีขึ้นมักเกี่ยวกับภาวะหายใจลำบาก โดยเฉพาะเด็กที่มีฝาปิดกล่องเสียงอักเสบ
ㆍอาการเขียว (cyanosis)
ถ้าเขียวเฉพาะปลายมืปลายเท้าแต่ปากไม่เขียวเกิดจากอากาศเย็น
ถ้าเขียวที่ปากและลิ้นจะเกี่ยวกับภาวะพร่องออกซิเจน
การตรวจร่างกาย
ลักษณะทั่วไป
รูปร่างทรวงอก
นิ้วปุ้ม
ประเมินระดับความรู้สึกตัว
Hypoxia กระวนกระวาย หายใจลำบาก
Hypercarbia ซึม หายใจช้า หรือไม่รู้สึกตัว
ถ้าเด็กอยู่ในท่านั่งโน้มตัวมาข้างหน้า อาจเกิดจากภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น
ดูสีผิว
ริมฝีปาก เล็บ ฝ่ามือ ปลายมือปลายเท้า เยื่อบุตา มีสี ซีด คล้ำ
ถ้าเป็นอาการเขียวส่วนกลาง (Central cyanosis) สังเกต จากรมฝีปากเขียวคล้ำ
ถ้าเป็นการเขียวส่วนปลายสังเกตได้จากปลายมือปลาย เท้าเขียว แต่ริมฝีปากแดงดี
ㆍการทำหน้าที่ของระบบหายใจ
อัตราการหายใจ
จังหวะและความลึกของการหายใจ
ความผิดปกติของจังหวะและความลึกของการหายใจ
Cheyne - Stroke breathing มีความผิดปกติทั้งอัตรา จังหวะและความลึก มีช่วงการหยุดหายใจ แล้วตามด้วยการหายใจที่มีความลึกค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึงระดับสูงสุด จากนั้นความลึกค่อย ๆ ลดลงจนหยุดหายใจ
Biot breathing การหายใจไม่มีจังหวะ ความลึกไม่แน่นอน หยุดหายใจเป็นช่วง ๆ
Periodic breathing การหายใจของทารกที่ไม่มีจังหวะสม่ำเสมอ หยุดหายใจเป็นช่วงสั้น ๆ ไม่เกิน 20 วินาที สลับหายใจปกติ ระหว่างหยุดหายใจไม่เขียว
ㆍเสียงหายใจที่ผิดปกติ
Stridor ภาวะอุดกันทางเดินหายใจส่วนบนตั้งแต่จมูกไปถึง rachea ได้ยินโดยไม่ใช้หูฟัง ได้ยินชัดในช่วงหายใจเข้ามากกว่าหายใจออก
Rhonchi เกิดจากการตีบแคบของหลอดลมเล็ก (bronchi) หรือหลอดลมฝอย จากหลอดลมเกร็งตัว การบวมของเยื่อบุ หรือจากเสมหะ
Wheezing เกิดจากลมผ่านทางเดินหายใจที่แคบลง เป็นการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนล่างจากมีเมือกดั่งมาก
Crepitation เกิดจากการมีสารน้ำเข้าไปอยู่ในส่วนของท่อหลอดลม จะได้ยินคล้ายใช่นิ้วขยี้เส้นผม พบกรณีมีการอักเสบของปอด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ภาพถ่ายรังสี >> Chest x - ray
การตรวจวิเคราะห์ก๊าซในเลือด
การตรวจเลือด เสมหะและอื่น ๆ >> CBC, Hb, electrolyte, specimen culture, UA
การทดสอบสมรรถภาพปอด (pulmonary function test)
การพยาบาลเด็กป่วยที่มีปัญหาระบบ
ทางเดินหายใจส่วนบนที่พบบ่อย
หวัด (Common Cold)
พบได้บ่อยในฤดูฝนและฤดูหนาว พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบจมูกและคอ และอาจลุกลามไปทางเดินหายใจส่วนปลาย
สาเหตุ
เกิดจากไวรัส พบบ่อยคือ Rhinovirus รองลงมาคือ Coronavirus , Parainfluenza virus, Respiratory syncytial virus (RSV), Adenovirus และ Influenza virus
การติดต่อ
การไอ จามรดกัน การสัมผัสกับน้ำมูกที่มีเชื้อหวัด
อาการและอาการแสดง
หลังได้รับเชื้อ 2 - 5 วัน จะมีอาการคัดจมูก จาม น้ำบูกใส มีไข้ ในเด็กโตมักมีไข้ต่ำ ๆ
เด็กเล็กอายุน้อยกว่าอายุ 5 - 6 ปี อาจมีไข้สูงได้ถึง 40 องศาเซลเซียส
อาการจะดีขึ้นและหายใน 1 - 2 สัปดาห์ บางรายอาจมีอาการไอนาน 2 -3 สัปดาห์
ภาวะแทรกซ้อน
เยื่อบุตาอักเสบ หลอดลมอักเสบ โพรงจมูกอักเสบ ปอดบวม หูชั้นกลางอักเสบ
การรักษา >> รักษาตามอาการ
ลดไข้ โดยการเช็ดตัว ถ้าไช้สูงมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียส ให้ยาลดไข้ ขนาด 10 - 15 mg/kg ทุก 4 - 6 ชั่วโมง
ลดอาการไอ โดยแนะนำให้ดื่มน้ำอุ่น ให้ยาขับเสมหะ ยาละลายเสมหะ ยาลดอาการไอ
คออักเสบ (Pharyngitis)
ㆍเป็นการติดเชื้อและมีการอักเสบบริเวณคอหอย และอาจมีต่อมทอนซิลอักเสบร่วมด้วย พบบ่อยในเด็กอาย 4 - 7 ปี
สาเหตุ
80 -90 % เกิดจากเชื้อไวรัส >> adenovirus, coxsakie A virus, herpes simplex
0-30% เชื้อแบคทีเรียที่พบและเป็นอันตราย คือ group A beta hemolytic streptococcus (GABHS) ซึ่งทำให้เกิดโรค ไข้รูมาดิก และไตอักเสบเฉียบพลัน พบได้น้อยกว่าร้อยละ 15
การติดต่อ
การหายใจสูดเอาฝอยละอองเสมหะ ไอ/จามรดกัน สัมผัสถูกมือ สิ่งของเครื่องใช้ หรือ สิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนเชื้อกับน้ำลาย เสมหะผู้ป่วย
อาการและอาการแสดง
ไวรัส ไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เจ็บคอ คอแดง
Streptococcus pharyngitis จะรุนแรงกว่าไวรัส พบมากในเด็กอายุ 5 - 15 ปี มักจะมี อาการไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดท้อง อาเจียน เจ็บคอมาก กลืนลำบาก คอแดงจัด ต่อมทอนซิลโต
Corynebacterium diphtheria จะมีไข้ต่ำ ๆ เจ็บคอไม่รุนแรง ตรวจพบฝ้าขาวหรือแผ่นสีเทา บริเวณต่อมทอนซิล ลิ้นไก่ ผนังคอด้านหลัง เมื่อเขี่ยแผ่นสีเทาจะพบเลือดออกง่าย เสียงแหบ
ภาวะแทรกซ้อน
group A beta hemolytic streptococcus ทำให้เกิดไตอักเสบเฉียบพลัน (Acute Glomerulonephritis)/ไข้รูมาติก (Rheumatic Fever )
การพยาบาล
ดูแลรักษาความสะอาดช่องปาก
ดูแลให้ได้รับอาหารอ่อน รสไม่จัด ย่อยง่าย เนื่องจากเด็กมีอาการเจ็บคอ เจ็บปาก กลืนลำบาก
ในรายที่ได้รับยาปฏิชีวนะ แนะนำวิธีการรับประทานยา เน้นให้รับประทานยาให้ครบ ตามแผนการรักษา เพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจรูมาติก และสังเกตอาการข้างเคียง ของยา
ให้คำแนะนำในการป้องกันการเจ็บคอบ่อย โดยดูแลร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ จิบน้ำอุ่นบ่อย ๆจะช่วยให้ชุ่มคอ ลดการระคายคอ และอยู่ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก
ต่อมทอนซิลอักเสบ(Tonsillitis)
เป็นการอักเสบของพาราทีนทอนซิล (paratine tonsil) หรือต่อมอดีนอยด์ มักเกิดร่วมกับคออักเสบ พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 9 ปี
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัส
แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ Group A Beta hemolytic streptococcus (GABHS)
การติดต่อ
การหายใจสูดเอาฝอยละอองเสมหะ ไอ/จามรดกัน สัมผัสถูกมือ สิ่งของเครื่องใช้ หรือ สิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนเชื้อกับน้ำลาย เสมหะผู้ป่วย
อาการและอาการแสดง
เจ็บคอ กลืนลำบาก ต่อมทอนซิลคอโต กดเจ็บ
ในเด็กเล็กไม่ยอมกินอาหาร ไม่ดูดนม
ไข้สูงบางครั้งมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย อ่อนเพลีย อาเจียน
ภาวะแทรกซ้อน
หูชั้นกลางอักเสบ, ฝืรอบต่อมทอนซิล, ปอดอักเสบ, ไตอักเสบเฉียบพลัน, ไข้รูมาติก
ครูป (Croup)
ㆍพบบ่อยในเด็กอายุ 6 เดือน - 3 ปี ㆍพบบ่อยในเด็กอายุ 6 เดือน - 3 ปี เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Laryngotracheobronchitis
สาเหต
เชื้อไวรัส พบบ่อย คือ Parainfluenza type 1,2,3
แบคทีเรียมักเกิดแทรกซ้อนตามหลังเชื้อไวรัส
การติดเชื้อที่กล่องเสียง หลอดลมใหญ่ และหลอดลมเล็ก
กล่องเสียง หลอดลมใหญ่ และหลอดลมเล็กบวม สร้างสิ่งคัดหลั่งมาก
ทางเดินหายใจส่วนต้นแคบ
การหายใจเอาอากาศเข้าปอดลำบาก
ปริมาตรอากาศเข้าสู่ปอดลดลง
ขาดออกซิเจน ขาดออกซิเจน
หายใจวาย
การหายใจเข้า - ออกลำบาก
คาร์บอนใดออกไซด์คั่ง
เกิดภาวะหายใจเป็นกรด
อาการและอาการแสดง
ㆍมักเริ่มจากมีอาการหวัดนำมาก่อน 1 -3 วัน โดยมีไข้ต่ำ ๆ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไอเล็กน้อย
ㆍมักเริ่มจากมีอาการหวัดนำมาก่อน 1 -3 วัน โดยมีไข้ต่ำ ๆ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไอเล็กน้อย ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ หายใจเข้าเสียงดัง (stridor) หายใจลำบาก
การอักเสบของกล่องเสียงและหลอดลมใหญ่ และหลอดลมฝอย แบ่งได้ เป็นระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 เสียงแหบ ไอ เมื่อหายใจเข้ามีเสียง stridor
ระยะที่ 2 มีเสียง stridor ขณะหายเข้าอย่างต่อเนื่อง มีการดึงรั้งที่กล้ามเนื้อของชายโครง
ระยะที่ 3 มีอาการของการขาดออกซิเจน มีคาร์บอนไดออกไซด์คั่งกระสับกระส่าย วิตก กังวล ซีด เหงื่อออก หายใจเร็ว
ระยะที่ 4 เขียว หยุดหายใจ
การพยาบาล
ประเมินและบันทึกเสียงการหายใจ สัญญาณชีพ อาการและอาการแสดงที่แสดงถึงการหายใจที่ขาด ประสิทธิภาพ ทุก 2 - 4 ชั่วโมง หรือตามความรุนแรงของอาการ
ดูแลให้ได้รับยาลดไข้ และยาพ่นขยายหลอดลมตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รัยยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนที่เย็นและขึ้น ติดตาม arterial blood gas
ดูแลทางเดินหายใจใหโล่ง โดยการจัดท่า และดูดเสมหะอย่างนุ่มนวล ระมัดระวังไม่ให้เกิดการเกร็งตัวของ หลอดลมมากขึ้น หรือขาดออกซิเจนมากขึ้น
ดูแลให้ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ จัดกิจกรรมการพยาบาลทั้งหมดให้อยู่ในเวลาเดียวกัน
ควรประเมินสภาพทั่วไปของเด็ก การตอบสนองต่อการรักษา ติดตามการทำงานของระบบหายใจ หัวใจ และอาการแสดงของกาวการณ์หายใจล้มเหลวอย่างใกลชิด เพื่อช่วยในการปรับเปลี่ยนแผนการรักษาได้ อย่างทันท่วงที
โพรงจมูกอักเสบ (sinusitis)
สาเหตุ
เชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา และพบได้ในรายที่มีกาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ภาวะโพรงข้างจมูกอักเสบเฉียบพลัน (Acute sinusitis)
ภาวะที่โพรงข้างจมูกอักเสบไม่เกิน 2 เดือนในวัยผู้ใหญ่ และ 2 สัปดาห์ในเด็ก
ㆍ เกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบนมาก่อน เช่น ติดเชื้อไวรัส
ㆍเป็นไข้หวัด หรือมีกาวะภูมิแพ้มาก่อน และเริ่มมีอาการช่อง จมูกบวม คัดจมูก มีน้ำมูกไหล จนเกิดการขังคั่งค้างของของเหลวในช่องโพรงอากาศข้างจมูก
อาการและอาการแสดง อาการและอาการแสดง
มีอาการปวด กดเจ็บบริเวณโพรงอากาศข้างจมูก (ผู้ใหญ่>เด็ก)
คัดจมูก
มีของเหลวไหลออกจากช่องจมูก
กาวะโพรงอากาศข้างจมูกอักเสบเรื้อรัง (Chronic Sinusitis)
กาวะที่โพรงอากาศข้างจมูกมีอาการอักเสบมากกว่า 2 เดือนในผู้ใหญ่ และ มากกว่า 2 สัปดาห์ในเด็กเล็ก
ㆍพบในผู้ป่วยที่มีภาวะโพรงอากาศข้างจมูกอักเสบเฉียบพลันที่ยังมีหนองคั่งค้างอยู่ หรือเป็นมา นานเกิน 2 เดือนขึ้นไป
อาการและอาการแสดง
มักพบอาการต่าง ๆ ในช่วงเวลาตื่นนอนตอนเช้า
คัดแน่นจบูก มีน้ำมูกเป็นสีเหลืองเขียว มีกลิ่นเหม็นไหลลงคอลมหายใจมีกลิ่นเหม็น
ไอ เจ็บคอ มีอาการหอบ หลอดเลือดตีบร่วมด้วย
อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว
บางรายการได้กลิ่น การรับรสเสียไป และรู้สึกหูอื้อ มีภาวะหูชั้นกลางอักเสบร่วมด้วย
ภาวะแทรกซ้อน
1.ผลกระทบต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ: หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง การอักเสบของเยื่อบุลำคอ กล่องเสียง หลอดลม จนกลายเป็นหอบหืดได้
2.ผลกระทบต่อตา: ฝืในลูกตาหรือรอบ ๆ ลูกตา
3.ผลกระทบต่อสมอง: เยื่อหุ้มสมองอักเสบ , ฝีเหนือเยื่อหุ้มสมองและใต้สมองชั้นดูรา , เป็นฝีในสมอง
4.ผลกระทบต่อกระดูก: ทุกส่วนของโพรงอากาศข้างจมูก
5.การเป็นถุงน้ำ: การมองเห็นผิดปกติ
6.หลอดเลือดดำอักเสบ เชื้อโรคแพร่จากโพรงอากาศ เข้าหลอดเลือดดำคาร์เวอร์นัส
การบวมและอักเสบของฝ่าปิดกล่องเสียง (epiglottitis)
ㆍเป็นการอักเสบและบวมของกล่องเสียงส่วนที่อยู่เหนือ vocal cord หรือบริเวณ supraglotis
อาจส่งผลให้กิดการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้ขาดออกซิเจนเฉียบพลัน และ เสียชีวิตได้ พบบ่อยในเด็กอายุ 1 - 6 ปี
สาเหต
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย >> Hemophilus Influenzae type B (HiB)
เกิดจากเชื้ออื่น ๆ >> streptococcus pneumonia, staphylococcus aureus
อาการและอาการแสดง
ระยะแรกจะมีไข้สูง พูดไม่มีเสียง เจ็บคออาการเป็นมากขึ้นเมื่อพยายามกลืนน้ำลาย
ระยะต่อมา กลืนลำบาก น้ำลายยืด ไข้สูง หายใจลำบาก ผู้ป่วยมักอยู่ในท่านั่งเอนตัว ไปข้างหน้า อ้าปากหายใจ
การรักษา
1.ให้ให้ยาปฏิชีวนะ >> amoxicillin - clavulunate, cefotaxime, ceftriaxone
รักษาตามอาการ
ให้ออกซิเจน
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ให้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์
ให้ยาลดไข้
กรณีที่มีอาการรุนแรงพิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจ
โรคหูชั้นกลางอักเสบ (Otitis Media)
สาเหต
1 . เป็นหวัด คัดจมูก คออักเสบ หูชั้นกลางอักเสบซึ่งทำให้ท่อยูสเตเซียนอุดต้น และต่อมาจะทำให้กระดูกหูทั้ง 3 ชิ้นทำงานไม่ได้
ท่อยูสเตเซียนอุดต้นพบมากในเด็อายุต่ำกว่า 8 ปี ท่อเปิดได้ยากในเด็กเล็กท่อยูสเตเชียนนั้นมีขนาดสั้น ตรง และอยู่ในแนวนอนมากกว่าผู้ใหญ่ ทำให้เกิดการอักเสบได้ง่ายกว่า
เพดานโหว่ทำให้กล้ามเนื้อที่ปิดเปิดท่อยูสเตเขียนทำงานได้ไม่ดี
เด็กถูกเลี้ยงดูด้วยนมขวดจะใช้แรงดูดมากกว่าเด็กที่ดูดนมแม่ และเด็กมักนอนบนพื้นราบมากกว่าการดูดนมแม่ ทำให้มีโอกาสเกิดการไหลย้อนของนมเข้าสู่ท่อยูสเตเขียนได้ง่าย
เนื้องอกบริเวณช่องคอหลังโพรงจมูก (Nasopharynx)ไปอุดต้นท่อยูสเตเชียน
ขณะเครื่องบินขึ้นลงเกิดกาวะ Barotramaจากการปรับเปลี่ยนความดันทำให้กล้ามเนื้อ Tensor Vell palatini ดึงท่อยูสเตเชียนให้เปิดไม่ได้
อาการและอาการแสดง
เกิดจากการอักเสบติดเชื้อเฉียบพลัน ซึ่งมักมาด้วยอาการปวดหู หูอื้อ การได้ยิน ลดลง มีน้ำหนองไหลจากหู หรือในบางรายพบว่ามีไข้สูง
เกิดจากการอักเสบติดเชื้อเรื้อรัง ผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักมาด้วยอาการหูอื้อ การได้ยิน ลดลง มีน้ำหนองไหลจากหูเรื้อรังเป็น ๆหาย ๆ มักไม่ค่อยมีอาการปวดหู แต่หากมี อาการปวดร่วมด้วยมักพบว่ามีภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อน
เกิดฝืหลังหู
หน้าเบี้ยวจากเส้นประสาทที่เลี้ยงใบหน้าอักเสบ
เส้นประสาทการได้ยินเสื่อมหรืออักเสบ
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ฟีในสมอง
การพยาบาลเด็กป่วยที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจส่วนล่างที่พบบ่อย
หลอดลมอักเสบ (Bronchitis)
ㆍ เป็นการอักเสบเยื่อบุชั้น mนcosa ของหลอดลมใหญ่และ หลอดลมแยก
มักเกิดตามหลังการติดเชื้อในระบบหายใจส่วนบน
พบบ่อยในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 6 ปี
สาเหตุ
ส่วนใหญ่เกิดจากไวรัส
ㆍแบคทีเรียพบได้น้อยมักเกิดตามหลังเชื้อไวรัส
อาการและอาการแสดง
ㆍ เด็กจะมีอาการของไข้หวัดนำมาก่อน คือ ไข้ น้ำมูกไหล ไอ 2 - 3 วัน
ㆍ 3 -4 วัน เริ่มมีอาการไอแห้ง ๆ เสียงก้อง อาการไอเป็นอาการเด่นชัดสุดหลังจากนั้น 2 -3 วัน เริ่มไอแบบมีเสมหะมีขาวหรือใสเหนียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองขุ่น
ㆍ เด็กเล็กมักกลืนเสมหะหลังไอ เด็กโตมักเจ็บหน้าอกจากไอรุนแรง และอาการไออาจหายได้เองใน 1 -2 สัปดาห์ หากติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนมักจะไอเรื้อรัง
ภาวะแทรกซ้อน
-การติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
-ปอดอักเสบ
-ปอดแฟบ
-หลอดลมอักเสบเรื้อรังในรายที่การระบายเสมหะไม่ดีหรือมีเสมหะคั่งค้าง
หลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis)
ㆍโรคติดเชื้อทำให้เกิดการอักเสบของหลอดลมฝอย ทำให้หลอดลมฝอยตีบแคบ และเกิดการ อุดกั้นทางเดินหายใจส่วนล่าง
ㆍมักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี
มักทำให้เกิดอาการรุนแรง คือ มีอาการหายใจลำบาก เขียว
สาเหต
เชื้อไวรัสที่พบบ่อย >> Respiratory syncytial virus (RSV)
ㆍเชื้ออื่น ๆ >> Parainfluenza virus, Rhinovirus, Adenovirus, Mycoplasma pneumonia
อาการและอาการแสดง
-เริ่มด้วยอาการหวัด จามน้ำมูกใส คัดจมูก
-ไข้อาจสูงหรือต่ำนำมาก่อน 1 -2 วัน ต่อมามีอาการไอ หายใจลำบาก ปีกจมูกบาน อกบุ๋ม หายใจมีเสียงวี๊ด หัวใจเต้นเร็ว ซีด เขียว
-อาการมักรุนแรงที่สุด 2 -3 วัน หลังจากเริ่มมีอาการไอ
ปอดอักเสบ (Pneumonia)
ㆍโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแล้วทำให้มีการอักเสบของเนื้อปอด ประกอบด้วย หลอดลมฝอยส่วนปลาย ถุงลม และเนื้อปอดโดยรอบพบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในประเทศกำลังพัฒนา
สาเหตุ
-เชื้อไวรัส โดยเฉพาะ Respiratory syncytial virus (RSV) , parainfluenza virus, influenza virus
-แบคทีเรีย streptococcus pneumonia, haemophilus influenza, straphylococcus aureus
การสำลัก, การไม่เคลื่อนไหวและต้องนอนนาน ๆ
สาเหตุส่งเสริม
-มีความผิดปกติด้านกายวิภาค
-ปัญหาเกี่ยวกับโรคปอด cystic fibrosis, bronchopulmonary dysplasia
-โรคที่มีเลือดไหลเวียนผิดปกติ โรคหัวใจกลุ่ม left to right shunt
-เกิดการสำลักง่ายจากโรค gastroesophageal reflux
-โรคที่ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันบกพร่อง >> HIV infection
อาการและอาการแสดง
-ไข้ ไอ หอบ อาจมีภาวะซีด เขียว หรือหยุดหายใจร่วมด้วย อ่อนเพลีย รับประทานอาหารน้อยลง
-อาการอื่น มีน้ำมูก เสียงแหบ ปวดหู ตาอักเสบ ปวดศีรษะ ปวดท้อง
การมีน้ำในเยื่อหุ้มปอด (pleural effusion)
สาเหตุ
-มักเป็นภาวะแทรกซ้อนหลังโรคปอดต่าง ๆ เช่น ปอดบวม วัณโรคปอด ภาวะหัวใจวาย
-การได้รับสารน้ำมากเกินไป
-กลุ่มอาการโรคไต มะเร็งที่มีการแพร่กระจายไปยังช่องอก
อาการและอาการแสดง
-อาการของโรคจะมากหรือน้อยขึ้นกับปริมาณสารน้ำ และ อัตราการเกิดสารน้ำเร็วหรือช้า
-ถ้ามาก ปอดขยายตัวจำกัด ทำให้แน่นอึดอัด หายใจไม่สะดวก เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก อ่อนเพลีย ไอมีเสมหะ มีไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดอาจนานราบไม่ได้ หน้าอกด้านที่ เป็นโป่ง เคลื่อนไหวน้อยลง ช่องโครงกว้าง
การพยาบาลก่อนเจาะปอด
อธิบายให้ผู้ป่วย/บิดามารดาทราบถึงเหตุผลในการทำ
วัดสัญญาณชีพก่อนทำ
-จัดท่าเด็ก >> นั่งห้อยเท้าริมเตียง ฟุบหน้าที่บนหมอนที่วางบนโต๊ะ ตะแคงหน้าไปด้านใดด้าน หนึ่งเพื่อให้หายใจสะดวก ถ้าไม่สามารถอยู่ในท่านั่งได้ จัดให้นอนตะแคงโดยให้ด้านที่เจาะอยู่ด้านบนศีรษะหนุนหมอนต่ำ และเตรียมออกซิเจนให้พร้อมใช้ในกรณีที่จำเป็น
การพยาบาลขณะเจาะปอด
ในเด็กโตขณะแพทย์ทำการเจาะปอด สอนให้เด็กหายใจเข้าลีก ๆ และกลั้นไว้ชั่วครู่ขณะแทงเข็ม
การเจาะเพื่อนำของเหลวออกแพทย์จะเจาะที่บริเวณซี่โครงที่ 7 หรือ 8 ในระหว่างแพทย์จะเจาะปอดให้สังเกต สัญณาณชีพ อัตราการหายใจ และช่วยปลอบให้กำลังใจ
การพยาบาลหลังเจาะปอด
จัดให้เด็กนอนพักบนเดียง 24 ชั่วโมง โดยให้ตะแคงทับด้านตรงข้ามที่เจาะอย่างน้อย 1 - 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันของเหลวไหลซึมออกจากรอยเจาะ
วัดประเมินสัญญาณชีพ ลักษณะการหายใจ ตามแผนการรักษา หรือตามความเหมาะสม เช่น ทุก 15 นาที 4 ครั้ง ทุก 30 นาที 2 ครั้ง ทุก 1 -2 ชั่วโมง จนกว่าจะคงที่
สังเกตอาการและอาการแสดงอื่น ๆ เช่น มีของเหลวหรือเลือดซึมออกมามากผิดปกติ เจ็บปวดบริเวณที่เจาะมาก
การมีลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pneumothorax)
ㆍเป็นภาวะที่มีลมรั่วออกจากถุงลมไปขังอยู่ในช่องทรวงอกนอกเนื้อปอดหรือในช่องเยื่อหุ้มปอด
สาเหตุ
-เกิดขึ้นเอง (spontaneoesly โดยปอดไม่มีพยาธิสภาพใด ๆ หรือปอดมีพยาธิสภาพอยู่เดิม
-เนื้อปอดถูกทำลายจากมีโรคของระบบทางเดินหายใจ เช่น ปอดอักเสบ วัณโรคปอด ทารกที่มีปัญหา Respiratory distress syndrome (RDS) Maconium aspiration syndrome (MAS)
-การได้รับการตั้งเครื่องช่วยหายใจที่ใช้ความดันสูง
-ได้รับอันตรายจากการบาดเจ็บ
อาการและอาการแสดง
อาการรุนแรงมากน้อยขึ้นกับปริมาณของอากาศในช่องเยื่อหุ้มปอด ถ้ามีลมเล็กน้อยแจจะไม่พบอาการ ถ้ามากจะทำให้อดขยายตัวไม่เต็มที่ อาการที่พบ คือ อาการเขียวเฉียบพลัน เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน และอาจร้าวไปแขนหรือไหล่ หายใจเร็ว หอบเหนื่อย หรือแน่นหน้าอก หน้าอกด้านที่มีลมรั่วจะโป่งขึ้น เคลื่อนไหวน้อย เคาะโปร่งกว่าปกติ ฟังปอดได้ยินเสียงหายใจเบา หรือไม่ได้ยินด้านที่มีพยาธิสภาพ
ปอดแฟบ (Atelectasis)
ㆍ เป็นภาวะที่ปอดขยายตัวไม่เต็มที่ เกิดจากการที่ปอดหรือกลีบปอดบางส่วนยุบ เกิดขึ้นเมื่อถุงลม ภายในปอดนั้นแฟบลง อาจแฟบบางส่วนหรือแฟบทั้งกลีบปอด
สาเหต
-การกดเบียดจากนอกหลอดลม มีน้ำ ลม หรือหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด ไส้เลื่อน กระบังลม ต่อมน้ำเหลืองโต เนื้องอก หัวใจโต
-มีการอุดกั้นกายในหลอดลม เสมหะ สิ่งแปลกปลอม
-มีการอุดกั้นกายในหลอดลม เสมหะ สิ่งแปลกปลอม
-กายหลังการผ่าตัด ไม่ค่อยเปลี่ยนท่า การหลั่งสิ่งคัดหลั่งเพิ่มขึ้นหลังการผ่าตัด และการดมยาสลบ
อาการและอาการแสดง
-ถ้าเป็นมากจะแสดงอาการของการขาดออกซิเจน หายใจหอบ และอาจเขียว
-ถ้าอดแฟบมากจนการเคลื่อนของ mediastinum เข้าหาด้านที่มีปอดแฟบจะทำให้หายใจ ลำบาก
ลำบาก
อาจติดเชื้อซ้ำซ้อน ฝีในปอดหรือหลอดลมโป่งพอง
การดูแลบำบัดให้ปอดขยายตัวเต็มที่
-การกระตุ้นให้หายใจเข้าช้า ๆ ลึก ๆ ในเด็กโต ที่รู้สึกตัวดี โดยใช้มือข้างหนึ่งวางทาบบน หน้าอก อีกข้างวางบนหน้าท้อง แล้วสูดลม หายใจเข้าลึก ๆ จนรู้สึกว่ามือที่วางบนหน้า ท้องถูกยกขึ้น กลั้นลมหายใจไว้สักพัก แล้ว ค่อย ๆ หายใจออกช้า ๆ ให้ทำบ่อยเท่าที่ ต้องการ อย่างน้อย 8 - 10 ครั้ง
-ㆍเด็กเล็ก ควรใช้อุปกรณ์เสริมช่วยกระตุ้น เช่น incentive spirometer
หอบหืด (Asthma)
-เป็นโรคที่เกิดจาการอักเสบของหลอดลมเรื้อรัง ส่งผลให้เยื่อบผนังหลอดลมของผู้ป่วยมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ ทำให้หลอดลมหดเกร็งได้ง่าย
-มีการบวมของเยื่อบุ มีการหลั่งมูกในหลอดลมมาก ทำให้หลอดลมดีบแคบ
-อาการมักเกิดขึ้นทันทีที่ได้รับสารก่อภูมิแพ้ และอาจหายไปได้เองเมื่อได้รับยาขยายหลอดลม
สาเหต
1.ปัจจัยโดยตรง
กรรมพันธุ์
สารก่อภูมิแพ้: ไรฝุ่น เกสรดอกไม้/หญ้า ยา อาหารบางชนิด
2 ปัจจัยส่งเสริมทำให้อาการธนแรงขึ้น
ติดเชื้อ
มลภาวะ
อากาศเปลี่ยน
ความผิดปกติทางด้านอารมณ์
อาการและอาการแสดง
-หายใจหอบ แน่นหน้าอก ร่วมกับหานใจมีเสียงจี๊ด ช่วงหายใจออก
-ไอมากเป็น ๆ หาย ๆ ช่วงแรกไอแห้ง ๆ ต่อมามี เสมหะเหนียว
-มักเกิดกลางคืนหรือเช้าตรู่ เกิดตามหลังดิดเชื้อไวรัส ออกกำลังกาย หรือได้รับสารก่อภูมิแพ้
-มักหายเองหรือหลังจากได้ยาขยายาหลอดลม