Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฏีในการสร้างเสริมสุขภาพ, A6480152 นางสาวนิศรา พวกพ้อง - Coggle Diagram
ทฤษฏีในการสร้างเสริมสุขภาพ
:<3: แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model)
:star: แนวคิด
การรับรู้ของบุคคลเป็นตัวบ่งชี้พฤติกรรมโดยบุคคลจะกระทำหรือเข้าใกล้กับสิ่งที่ตนพอใจ และคิดว่าสิ่งนั้นจะก่อให้เกิดผลดีแก่ตน และจะหนีห่างจำกสิ่งที่ตนไม่ปรำรถนำ
:star: ปัจจัยร่วม (Modifying Factors)
ปัจจัยด้านประชากร : เพศ อายุ เชื้อชาติ ศาสนา
ปัจจัยด้านสังคมจิตวิทยา : เช่น บุคลิกภาพ กลุ่มเพื่อน มีความเกี่ยวข้องกับบรรทัดฐานทางสังคม ค่านิยม วัฒนธรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานทำให้เกิดการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคที่แตกต่างกัน
ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน : ระบบบริการสูขภาพ
:star: องค์ประกอบของแบบจำลองความเชื่อด้านสุขภาพ
การรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค
กำรรับรู้ของผู้ป่วย หมายถึง ความเชื่อต่อความถูกต้องของการวินิจฉัยโรคของแพทย์ การคาดคะเนถึงโอกาสการเกิดโรคซ้ำและความรู้สึกของผู้ป่วยว่าตนเองง่ายต่อการป่วยเป็นโรคต่ำงๆ
การรับรู้ความรุนแรงของโรค
ความเชื่อที่บุคคลเป็นผู้ประเมินเองในด้านความรุนแรงของโรคที่มีต่อร่างกาย การก่อให้เกิดพิการเสียชีวิต ความยากลำบากและการต้องใช้ระยะเวลานานในการรักษา
การรับรู้ประโยชน์ที่จะได้รับและค่าใช้จ่าย
การที่บุคคลแสวงหาวิธีกำรปฏิบัติให้หายจากโรคหรือป้องกันไม่ให้เกิดโรค โดยการปฏิบัตินั้นต้องมีความเชื่อว่าเป็นการกระทำที่ดีมีประโยชน์และเหมาะสมที่จะทำให้หายหรือไม่
แรงจูงใจด้านสุขภาพ
ระดับความสนใจและความห่วงใยเกี่ยวกับสุขภาพ ความปรารถนาที่จะดำรงรักษาสุขภาพและการหลีกเลี่ยงจากการเจ็บป่วย
ปัจจัยร่วม
ปัจจัยที่มีส่วนช่วยส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการที่บุคคลจะปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรค หรือการปฏิบัติตามคำแนะนำในการรักษาโรค เช่น เพศ อายุ เชื้อชาติ ลักษณะของความยากง่ายของการปฏิบัติตาม เป็นต้น
:<3: PRECEDE-PROCEED Model
เป็นเครื่องมือสำคัญของนักสุขศึกษาที่นำมาประยุกต์ใช้วางแผน และประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพ และสุขศึกษา
ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดย นักพฤติกรรมศาสตร์และนักสุขศึกษา 2 ท่ำน คือ Lawrence W. Green และ Matthew W. Krueter
:star: ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ทางสังคม (Phase1 : Social Assessment)
จุดประสงค์ของการประเมินในระยะนี้เพื่อค้นหา ข้อมูล และประเมินปัญหาด้านสังงคมที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต (Quality of Life: QOL) ของประชากร เป้าหมาย
:star: ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์ทางระบาดวิทยา (Phase 2 : Epidemiological Assessment)
การวิเคราะห์ทางระบาดวิทยาจะช่วยให้สามารถจัดเรียงลำดับความสำคัญของ
ปัญหา เพื่อประโยชน์ในการวางแผน การดำเนินงานสุขศึกษาได้อย่างเหมาะสมต่อไป
:star: ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์ด้านพฤติกรรม (Phase 3 : Behavioral Assessment)
จากปัจจัยปัญหาด้านสุขภาพอนามัยที่ได้ในขั้นตอนที่ 1-2 จะนำมาวิเคราะห์ต่อเพื่อหาสาเหตุที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งเป็นสาเหตุอันเนื่องมาจากพฤติกรรมของบุคคลและสาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม เช่น สาเหตุจากพันธุกรรม หรือสภาวะทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
:star: ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์ทางการศึกษา (Phase 4 : Educational Assessment)
ระยะนี้เป็นการประเมินสาเหตุของพฤติกรรมสุขภาพที่ระบุไว้ในระยะที่ 2 สาเหตุของพฤติกรรมสุขภาพประกอบด้วย 3 กลุ่มปัจจัยด้วยกัน คือ ปัจจัยนำ (predisposing factors)
ปัจจัยเอื้อให้เกิดพฤติกรรม (enabling factors) และปัจจัยเสริมแรงให้เกิดพฤติกรรมต่อเนื่อง(reinforcing factors)
ปัจจัยนำ (Predisposing Factors) หมายถึง ปัจจัยที่เป็นพื้นฐาน และก่อให้เกิดแรงจูงใจใน
การแสดงพฤติกรรมของบุคคล เช่น ความรู้ ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ เป็นต้น
ปัจจัยเอื้อ (Enabling Factors) หมายถึง คุณลักษณะของสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านกายภาพและ
สังคมวัฒนธรรม ทักษะส่วนบุคคลหรือทรัพยากรที่จะช่วยเกื้อกูลให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์
ปัจจัยเสริม (Reinforcing Factors) หมายถึง สิ่งที่บุคคลจะได้รับ หรือคาดว่าจะได้รับจาก
บุคคลอื่น อันเป็นผลจากการกระทำของตน แรงเสริมจะได้รับจากครอบครัว เพื่อน ครู บุคลากร
ทางการแพทย์หรือสาธารณสุข สื่อต่างๆ เป็นต้น
:star: ขั้นตอนที่ 5 การวิเคราะห์ทางการบริการ
(Phase 5 : Administrative and Policy Assessment)
เป็นการประเมินความสามารถของการบริการ และนโยบายของการจัดการโครงการส่งเสริม
สุขภาพ เพี่ออธิบายถึงแหล่งทรัพยากรขององค์กรที่ต้องการสร้างแผนงานและดำเนินงานตาม
แผนงาน ทำให้โครงการส่งเสริมสุขภาพประสบความสำเร็จ
:star: ขั้นตอนที่ 6 การปฏิบัติการ (Phase 6 : Implementation)
ดำเนินงานตามกลวิธี วิธีการและกิจกรรม โดยผู้รับผิดชอบในแต่ละเรื่องและประเด็น ที่กำหนดไว้ตามตารางการปฏิบัติกิจกรรม
:star: ขั้นตอนที่ 7 การประเมินกระบวนการ (Phase 7 : Process Evaluation)
เพื่อประเมินถึงปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ที่จะมีผลต่อการดำเนินโครงการที่ได้วางแผนไว้
:star: ขั้นตอนที่ 8 การประเมินผลกระทบ (Phase 8 : Impact Evaluation)
การประเมินผลลัพธ์ที่เกิดจากการดำเนินโครงการในระยะสั้น เป็นการวัดประสิทธิผลของแผนงาน โครงการตามวัตถุประสงค์ระยะสั้นที่ส่งผลต่อการ เปลี่ยนแปลงปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมแรง (predisposing, enabling , and reinforcing factors)
:star: ขั้นตอนที่ 9 การประเมินผลลัพธ์ (Phase 9 : Outcome Evaluation)
เป็นการประเมินผลรวบยอดของวัตถุประสงค์ที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นและประโยชน์ที่ได้รับด้านสุขภาพหรือคุณภาพชีวิต ซึ่งอาจจะใช้เวลานาน ผลเหล่ำนี้จึงจะเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นปีๆ จึงจะสามารถประเมินคุณภาพชีวิต ของกลุ่มเป้าหมายได้
P: Predisposing (แรงจูงใจ)
R: Reinforcing (ทำให้แข็งแกร่งขึ้น)
E: Enabling (ทำให้เป็นไปได้)
C: Causes (ทำให้เกิด)
E: Educational (การศึกษา)
D: Diagnosis (การหาสาเหตุ)
E: Evaluation (การประเมินผล)
แปลว่ากระบวนการของการใช้ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม ในการวินิจฉัยโครงสร้างทางการศึกษา นิเวศวิทยา และการประเมินผล “พฤติกรรมของบุคคลมีสาเหตุมาจากสหปัจจัย (Multiple Factors)”
PROCEED เป็นคำย่อมาจาก Policy, Regulatory, and
Organizational, Constructs, in Educational and Environmental, Development หมายถึง นโยบาย กฎระเบียบ และโครงสร้างของ ในการพัฒนาการศึกษาและสิ่งแวดล้อม
:<3:แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพ
(Health Promotion Model : HPM)
ในปี ค .ส.1975 เพนเดอร์ (Pender) ได้พัฒนาแบบจำลองการป้องกันสุขภาพที่กล่าวถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระทบวนการตัดสินใจและ การปฏิบัติของปัจเจกบุคคลในการป้องกันโรค
จุดเน้นของบทบาทการพยาบาลตามแนวคิดของเพนเดอร์ในสมัยนั้นเน้นที่การป้องกันและคงไว้ซึ่งสุขภาพของสาธารณชน ต่อมาเพนเดอร์ ได้เห็นความจำกัดของมโนทัศน์การป้องกัน สุขภาพ คือ เป็นมโนทัศน์ทางสุขภาพเชิงลบเพราะพฤติกรรมส่วนใหญ่จะเป็นการหลีกเลี่ยงแต่การยกระดับสุขภาพหรือมีความเป็นอยู่ที่ดีนั้นบุคคลต้องได้รับการ
ส่งเสริมให้มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพซึ่งเป็นมโนทัศน์เชิงบวก
เพนเดอร์จึงเสนอแบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพในปี ค.ส.1982 และมีการปรับปรุงแบบจำลองเป็นระยะซึ่งแบบจำลองสุดดท้ายในปี ค.ส. 2006
ข้อตกลงเบื้องต้นของแบบจำลอง
บุคคลแสวงหาภาวการณ์ของชีวิตที่สร้างสรรค์โดยการแสดงความสามารถด้านสุขภาพที่มี
เอกลักษณ์เฉพาะตน
บุคคลมีความสามารถในการสะท้อนการตระหนักรู้ในตนเองรวมทั้งความสามารถในการประเมินสมรรถนะตนเอง
บุคคลให้คุณค่าแก่การเจริญเติบโตในทิศทางบวกและพยายามที่จะบรรลุความสำเร็จในการยอมรับความสมดุลระหว่างการเปลี่ยนแปลงกับการมั่นคง
บุคคลแสวงหาการควบคุมพฤติกรรมของตนเอง
บุคคลซึ่งประกอบด้วยกาย จิต สังคม มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่อย่างต่อเนื่อง
บุคลากรด้านสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมระหว่างบุคคลที่มีอิทธิพลต่อบุคคล
ตลอดช่วงชิวิต
การริเริ่มด้วยตนเองในการสร้างแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
:star: สาระของทฤษฎี
มีพื้นฐานมาจากแนวคิดด้านการคิดรู้ ซึ่งประกอบด้วยความคาดหวังงต่อผลลัพธ์
ของการปฏิบัติพฤติกรรม (Outcome expectancies) จากทฤษฎีการให้คุณค่าการคาดหวัง
และความคาดหวังในความสามารถของตนเอง (Self-efficacy expectancies)
:star: มโนทัศน์หลักของแบบจำลอง
ลักษณะเฉพาะและประสบการณ์ของบุคคล (Individual Characteristics and Experiences)
คือ พฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง และปัจจัยส่วนบุคคล โดยมโนทัศน์ทั้งสองมี
ความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพบางพฤติกรรมหรือในบางกลุ่มประชากรเท่านั้น
1.1 พฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง (Prior related behavior) พฤติกรรมที่เคยปฏิบัติในอดีตมีอิทธิพลโดยตรงต่อการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสิรมสุขภาพ
1.2 ปัจจัยส่วนบุคคล (Personal Factors) ในแบบจำลองการส่งเสริมสุภาพ ปัจจัยส่วนบุคคลประกอบด้วยย 3 ส่วน ดังนี้
ปัจจัยด้านชีววิทยา ได้แก่ อายุ ดัชนีมวลกาย สภาวะวัยรุ่น สภาวะหมดระดู ความจุปอด
ความแข็งแรงของร่างกาย ความกระฉับกระเฉง และความสมดุลของร่างกาย
ปัจจัยด้านจิตวิทยา ได้แก่ ความมีคุณค่าในตนเอง แรงจูงใจในตนเอง การรับรู้ภาวะ
สุขภาพของตนเอง
ปัจจัยด้านสังคมวัฒนธรรม ได้แก่ สัญชาติ วัฒนธรรม การศึกษา และสถานะทางสังคม
เศรษฐกิจ โดยปัจจัยส่วนบุคคลดังกล่าวมีอิทธิพลโดยตรงต่อปัจจัยด้านอารมณ์และการคิดรู้ที่เฉพาะกับพฤติกรรมและมีอิทธิพลโดยตรงต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
ความคิดและอารมณ์ต่อพฤติกรรม (Behavior-Specific Cognition and Affect)
เป็นมโนทัศน์หลักในการสร้างกลยุทธ์/กิจกรรมพยาบาลเพื่อสร้างแรงจูงใจให้บุคคลมีการพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง มโนทัศน์หลักนี้ ประกอบด้วยมโนทัศน์ย่อยทั้งหมด
5 มโนทัศน์ ดังนี้
2.1 การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม (Perceived Benefits of Action)
เป็นแรงเสริมทำให้บุคคลเกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติพฤติกรรมนั้น บุคคลจะปฏิบัติพฤติกรรมตามประสบการณ์ในอดีตที่พบว่าพฤติกรรมนั้นให้ผลทางบวกต่อตนเอง
2.2 การรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรม (Perceived Barriers to Action)
หมายถึง ความเชื่อหรือการรับรู้ถึงสิ่งขัดขวางที่ทำให้บุคคลไม่สามารถปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
ซึ่งอุปสรรคดังกล่ำวประกอบด้วย อุปสรรคภายในและภายนอกของบุคคล
2.3 การรับรู้ความสามารถของตนเอง (PerceivedSelf-Ef ficacy)
หมายถึง ความเชื่อมั่นของบุคคลเกี่ยวกับความสามารถของตนเองในการบริหารจัดการและกระทำพฤติกรรมใดๆ ภายใต้อุปสรรคหรือสภาวะต่างๆในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
2.4 ความรู้สึกที่มีต่อพฤติกรรม (Activity-Related Affect)
หมายถึง ความรู้สึกในทางบวกหรือลบที่เกิดขึ้นก่อน ระหว่าง และหลังการปฏิบัติพฤติกรรม ประกอบด้üยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความน่าสนใจของกิจกรรมหรือพฤติกรรม (activity-related) ความรู้สึกต่อตนเองเมื่อปฏิบัติพฤติกรรม (self-related) หรือสภาพแวดล้อมหรือบริบทที่เกี่ยวข้องกับการทำกิจกรรม (context-related)
2.5 อิทธิพลระหว่างบุคคล (Interpersonal Influences)
หมายถึง พฤติกรรมความเชื่อหรือทัศนคติของคนอื่นที่มีอิทธิพลต่อความคิดของบุคคล แหล่งของอิทธิพลระหว่างบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ ครอบครัว (พ่อ แม่ พี่ น้อง) เพื่อน และบุคลากรทางสุขภาพ
2.6 อิทธิพลจากสถานการณ์ (Situational Influences)
อิทธิพลจากสถานการณ์ หมายถึง การรับรู้และความคิดของบุคคลเกี่ยวกับสถานการณ์หรือบริบทที่สามารถเอื้อหรือขัดขวางการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
พฤติกรรมผลลัพธ์ (Behavioral Outcome) ประกอบด้วย 3 อย่าง ได้แก่
3.1 ความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติพฤติกรรม (Commitment to a Plan of Actions)
เป็นกระบวนการคิดรู้ ที่ประกอบด้วยความตั้งใจที่จริงจังที่จะกระทำพฤติกรรมซึ่งสอดคล้องกับเวลา บุคคล สถานที่ โดยอาจทำร่วมกับผู้อื่น รวมทั้งมีกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการปฏิบัติพฤติกรรมและการให้แรงเสริมทางบวกในการปฏิบัติพฤติกรรม
3.2 ความจำเป็นอื่นและทางเลือกอื่นที่เกิดขึ้น (Immediate Competing Demands
and Preferences)
หมายถึง พฤติกรรมอื่นที่เกิดขึ้นทันทีทันใดก่อนที่จะเกิดพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
ตามที่วางแผนไว้และอาจทำให้บุคคลไม่สามารถปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตามที่ได้วางแผนไว้
3.3 พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ (Health-Promoting Behavior)
พฤติกรรมส่งเสริมสุขภำพเป็นจุดสุดท้ายและผลจากการปฏิบัติพฤติกรรมในแบบจำลองส่งเสริมสุขภาพอย่างไรก็ตามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเป็นตัวบ่งชี้โดยตรงต่อการผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ประสบผลสำเร็จในผู้รับบริการพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพนั้นบางส่วนก็ได้บูรณาการเข้ากับการใช้ชีวิตประจำวัน ผลที่ได้ก็คือการปรับภาวะสุขภาพ การเพิ่มความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกช่วงพัฒนาการของมนุษย์
:<3: ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
(Trans theoretical Model Stage of Change : TTM)
พัฒนาขึ้นโดย James Prochaska and Carlo DiClemente ในปลายปี ค.ส.1970’s และต้นปี ค.ส.1980’s ที่มหาวิทยาลัย Rhode Island ในขณะที่ทำการศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มผู้ป่วยซึ่งอยู่ในระหว่างการเลิกบุหรี
:star: มีทั้งหมด 6 ขั้นตอน คือ
ขั้นก่อนชั่งใจ (Pre-contemplation stage)
ยังไม่มีความสนใจที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในอีก 6 เดือนข้างหน้า ไม่ตระหนักรู้ไม่คิดว่าสิ่งที่ทำอยู่ ณ ปัจจุบัน เป็นปัญหา หรือมีความจำเป็นที่จะต้องทำการปรับเปลี่ยน
ขั้นชั่งใจ (Contemplation stage)
ตระหนักรู้ว่ามีปัญหา แต่ยังไม่คิดที่จะทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่แน่ใจ ยังครุ่นคิดอยู่ และมีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ขั้นเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติ (Preparation stage / Determination)
เตรียมตัวเริ่มมีความพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในอีก 1 เดือนข้างหน้า
ขั้นปฏิบัติ (Action stage)
เชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองว่าสามารถทำการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมได้และกำลังกระทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กระทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อยู่ในช่วง 6 เดือนแรกของ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (ไม่เกิน 6 เดือน)
ขั้นคงไว้ซึ่งพฤติกรรมที่ต้องการ (Maintenance)
สามารถคงไว้ซึ่งพฤติกรรมใหม่อย่างสม่ำเสมอได้นานมากกว่า 6 เดือน ถึงแม้ว่าจะมีสิ่งเร้ากระตุ้นให้กลับไปสู่พฤติกรรมเดิม
ขั้นยุติพฤติกรรมเดิมอย่างถาวร (Termination)
ไม่มีอะไรมาเย้ายวนให้กลับไปทำพฤติกรรมเดิมได้อีกสามารถมั่นใจได้ 100% มีการเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างถาวรตลอดชีวิต
:star: หลักกระบวนการช่วยเปลี่ยนแปลง Process of Change
การปลุกจิตสำนึก (consciousness raising)
เป็นการใช้วิธีต่างๆบอกให้รู้ผลเสียของการไม่เปลี่ยน และผลดีของการเปลี่ยนพฤติกรรม เช่นการให้การศึกษาอธิบาย ตีความหมายให้ฟัง บอกให้รู้ตรงๆ หรือรณรงค์ผ่านสื่อต่ำงๆ
การระบายความรู้สึก (Dramatic relief)
เพื่อกระตุ้นหรือผลักดันจิตใจอารมณ์ให้เกิดความอยากเปลี่ยนแปลง เช่นการให้ลองเล่นเป็นคนอื่นดู (role play)
การใคร่ครวญผลต่อสังคมรอบข้าง (social reevaluation)
เช่น นึกต่อไปว่าถ้าตนเองดื่มแอลกอฮอล์จัดอยู่ ต่อไปลูกๆจะเป็นอย่างไร หรือผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สนใจควบคุมอาหารจนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ตาบอดหรือถูกตัดขาจนเป็นภาระให้แก่ลูกหลานต้องดูแลจนอาจมีรายจ่ายเพิ่มมากขึ้น เป็นต้น
การใคร่ครวญผลต่อตนเอง (self reevaluation)
เช่น จินตนาการว่าถ้าเอาแต่นอนโซฟาดูทีวี ภาพของตนเองต่อไปจะเป็นอย่างไร ถ้าขยันขันแข็งออกกำลังกายทุกวันภาพของตนจะเป็นอย่างไร
การปลดปล่อยตนเอง (self liberation)
คือการพยายามให้มีทางเลือกในการเปลี่ยนแปลง งานวิจัยบ่งชี้ว่าถ้าคนเรามีทางเลือกสองทาง จะมีความมุ่งมั่นมากกว่ามีทางเลือกทางเดียว ถ้ามีทางเลือกสามทาง จะมีมุ่งมั่นมากกว่ามีทางเลือกสองทาง
การปลดปล่อยสังคม (social liberation)
คืออาศัยความรู้สึกว่าเป็นการปลดปล่อยจากการถูกกดขี่เอาเปรียบทางสังคมมา เป็นตัวสร้างความมุ่งมั่นในการเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เช่นโครงการส่งเสริมสุขภาพชนกลุ่มน้อย เป็นต้น
ให้เรียนรู้สิ่งตรงกันข้าม (counterconditioning)
เช่น ให้เรียนรู้การสนองตอบแบบผ่อนคลายเพื่อแก้ปัญหาเครียด ให้เรียนรู้การเป็นคนกล้าพูดกล้าแสดงออกเพื่อแก้ปัญหาการทนแรงกดดันจาก เพื่อนชวนไม่ได้ เป็นต้น
บังคับให้ทาสิ่งที่ดีกว่าทางอ้อม (stimulus control)
เช่นสร้างที่จอดรถให้ห่างที่ทำงาน เพื่อบังคับให้ต้องเดิน ติดตั้งงานศิลปกรรมไว้ข้างบันได เพื่อชักจูงให้ขึ้นลงบันไดเป็นต้น
จงใจใช้แผนกระตุ้น (contingency management)
เช่น การตกรางวัลถ้าทำสิ่งที่ดีกว่าการชื่นชมผลงาน หรือแม้กระทั่งการลงโทษถ้าไม่เลิกสิ่งที่ไม่ดี
กัลยาณมิตร (helping relationship)
เช่น การเป็นที่ปรึกษาทางโทรศัพท์ให้ การมีบัดดี้คอยสนับสนุน
A6480152 นางสาวนิศรา พวกพ้อง