Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มารดาอายุ 15 ปี - Coggle Diagram
มารดาอายุ 15 ปี
ซิฟิลิส (Syphilis)
ซิฟิลิส เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Treponema pallidum ติดต่อผ่านทางน้ำเมือก หรือสารคัดหลั่งขณะร่วมเพศ บาดแผล และจากมารดาไปสู่ทารก โดยเชื้อสามารถติดต่อจากแม่สู่ลูกขณะตั้งครรภ์และขณะคลอดได้ ระยะฟักตัวของโรคประมาณ 3 – 90 วัน ขึ้นกับปัจจัยในแต่ละบุคคล ตำแหน่งที่ติดเชื้อ ปริมาณเชื้อที่ได้รับ
-
การวินิจฉัย
- การซักประวัติ เช่น ประวัติเพศสัมพันธ์ ประวัติเคยป่วยหรือตรวจพบเลือดบวก
-
- การตรวจร่างกาย อาจไม่พบอาการใด ๆ หรือพบอาการและอาการแสดงดังกล่าวมาแล้ว
-
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ทุกรายที่มาแต่ฝากครรภ์ครั้งแรก และตรวจอีกครั้งในไตรมาสที่ 3 (28 - 32 สัปดาห์) ในรายที่มีความเสี่ยงสูงให้ตรวจขณะมาคลอดอีกครั้ง กระทำได้ดังนี้
3.1 การตรวจคัดกรองการติดเชื้อ เป็นการตรวจแบบ Non-treponemal antibodies test ได้แก่ การตรวจ VDRL (venereal disease research laboratory) หรือ RPR (Rapid plasma reagent) เป็นการ
ตรวจทางน้ำเหลืองเพื่อหาภูมิต้านทานของร่างกายต่อเชื้อซิฟิลิส อาจมีข้อเสียจากการเกิด false positive ได้ พบได้ในหลายภาวะ เช่น hepatitis , TB , leprosy , malaria , connective tissue disorder , การตั้งครรภ์ และยาเสพติด ถ้าผลของการตรวจเป็นบวกคือ ไตเตอร์ของภูมิคุ้มกันต่อเชื้อซิฟิลิสมากกว่า 1 : 8 จะต้องตรวจ TPHA เพื่อยืนยันการติดเชื้อซิฟิลิส
ถ้าพบแผลริมแข็งให้สเมียร์เนื้อเยื่อที่หลุดจากแผลที่สงสัยมีการติดเชื้อซิฟิลิสตรวจเชื้อซิฟิลิส จะได้เชื้อซิฟิลิสมีลักษณะเชื้อเป็นเกลียวสว่านที่ศีรษะและท้ายแหลม
-
3.2 การตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อซิฟิลิส เป็นการตรวจ treponemal antibodies คือการตรวจภูมิต้านทาน Fluorescent Treponemal antibody absorption test (FTA-ABS) หรือเรียก Micro hemagglutination assay for antibody to treponema pallidum (MHA-TP) หรือ TPHA หรือ HATTS ถ้ามีการติดเชื้อซิฟิลิส ผลการตรวจเป็นบวก คือ ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อเชื้อซิฟิลิส ถ้าผลเป็นบวกแล้วจะเป็นบวกไปตลอดชีวิต
-
ผลกระทบ
- ต่อมารดา เชื้อสามารถทำลายอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย อาจถึงตายได้ อาจก่อให้เกิดความกลัว ความวิตกกังวล
-
- ต่อทารก ขึ้นกับเชื้อในกระแสเลือดของมารดา และระยะเวลาของการเกิดโรคในอดีตมีความเชื่อว่า เชื้อTreponema pallidum ไม่สามารถติดต่อไปสู่ทารกในครรภ์ได้ก่อนอายุครรภ์ 18 สัปดาห์ เนื่องจากชั้น Langhanของรกขวางกั้นอยู่ ซึ่งชั้น Langhanจะหายไปหลังอายุครรภ์ 18 สัปดาห์ แต่ในปัจจุบันมีข้อมูลค้านกับความเชื่อดังกล่าวว่า T. pallidum สามารถผ่านรกและทำให้ทารกติดเชื้อได้ตั้งแต่ GA 6 สัปดาห์แต่จะพบความพิการแต่กำเนิด congenital syphilis เมื่อมีการติดเชื้อหลังอายุครรภ์ 18 สัปดาห์เนื่องจากใน 16 สัปดาห์แรกระบบภูมิคุ้มกันของทารกในครรภ์ยังทำงานไม่สมบูรณ์ โดยมี ผู้สันนิษฐานว่า พยาธิสภาพของ congenital syphilis น่าจะเกิดจากการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของทารก
-
2.2 ทารกตายในครรภ์ หรือตายหลังคลอด ถ้าเป็นซิฟิลิสระยะแรก อาจทำให้ทารกบวมน้ำ (Hydrop fetalis) ตับม้ามโต ท้องมาน รกอักเสบเป็นหย่อม ๆ และมีขนาดใหญ่กว่าปกติ
2.3 ทารกพิการแต่กำเนิด ถ้ามารดาติดเชื้อซิฟิลิสระยะแรกหรือระยะที่ 2 ทารกเกือบ 100 % จะมีความพิการแต่กำเนิด แต่ถ้าเป็นซิฟิลิสระยะแฝง ทารกมีโอกาสติดเชื้อได้เช่นกัน แต่มีความเสี่ยงน้อยกว่า
2.4 ทารกติดเชื้อซิฟิลิสแต่กำเนิด จะมีอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อหลายรูปแบบ เช่น มีผื่นขึ้นตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า รอบๆปากและทวารหนักในสัปดาห์ที่ 2 – 6 หลังคลอด ความผิดปกติของกระดูกเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ตัวเล็ก ซีด เหลือง ตับ ม้ามโต อาการของ Early congenital syphilis จะแสดงอาการของโรคใน 2 ปีแรก ส่วน Late congenital syphilis จะแสดงอาการของโรค 2 ปี หลังคลอดเป็นต้นไป โดยมีความผิดปกติ พบได้ที่ระบบประสาทกล้ามเนื้อและกระดูกเยื่อบุผิวและฟันโดยมีอาการเด่น 3 ประการ คือ Hutchinson’s teeth (ฟันหน้าผิดปกติ) , Interstitial keratitis (กระจกตาอักเสบ) และ Eightnerve deafness (หูหนวก) รวมเป็น Hutchinson’s tiad
การดูแล
- การคัดกรองภาวะติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ คัดกรองทุกรายที่มาฝากครรภ์ครั้งแรก และคัดกรองอีกครั้งในไตรมาสที่ 3 (28 – 32 สัปดาห์) การวินิจฉัยทารกติดเชื้อซิฟิลิสก่อนคลอด ทำโดยการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงพบทารกบวมน้ำ ตับม้ามโต รกหนา และน้ำคร่ำมากกว่าปกติ การตรวจน้ำคร่ำด้วยเทคนิค PCR เพื่อตรวจหาเชื้อ T. Pallidum
- สตรีตั้งครรภ์ ที่ติดเชื้อซิฟิ ลิสระยะPrimary, Secondary และ Early latent รักษาด้วย Benzathine Penicillin G. Sodium 2.4 ล้านยูนิตครั้งเดียว ฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อ โดยแบ่งฉีดที่กล้ามเนื้อสะโพกข้างละ 1.2 ล้าน (ผู้เชี่ยวชาญบางท่านแนะนำให้ Benzathine Penicillin G อีก 1 ครั้ง ห่างกัน 1 สัปดาห์ เพื่อหวังให้มีการตอบสนองทาง serology รวดเร็วขึ้น)
- สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อซิฟิลิสระยะ Late latent หรือติดเชื้อนานกว่า 1 ปีรักษาด้วย Benzathine Penicillin G. Sodium 2.4 ล้านยูนิต ทางกล้ามเนื้อโดยแบ่งฉีดที่กล้ามเนื้อสะโพกข้างละ 1.2 ล้านยูนิตต่อสัปดาห์ จำนวน 3 สัปดาห์ ติดต่อกัน
- การติดตามผลการรักษา การตรวจ VDRL หรือ RPR ซึ่งบ่งบอกความรุนแรงก่อนการรักษา หลังรับการรักษา ระดับ titer ควรลดลง 4 เท่าหรือมากกว่า ในระยะเวลา 3 - 6 เดือน แต่ในซิฟิลิสระยะแฝงเกิน 1 ปีอาจต้อง ใช้เวลา 12 - 24 เดือน ถ้า titer ไม่ลดลงหรือเพิ่มขึ้น แสดงว่าการรักษาไม่ได้ผล หรือมีการติดเชื้อใหม่ ซึ่งต้องให้การรักษาใหม่ ส่วนใหญ่หลังการรักษาระดับ titer จะลงมาเป็นผลลบ (non – reactive) ในระยะเวลา 12 - 24 เดือน แต่บางรายหลังการรักษาอาจมี titer ระดับต่ำๆ อยู่ตลอดชีวิต ควรตรวจเลือดซ้ำ เพื่อติดตามผลการรักษา เมื่อ 6 เดือน 12 เดือน และ 24 เดือน
-
-
โลหิตจาง (Anemia)
ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ (Anemia in pregnancy) หมายถึง หญิงตั้งครรภ์ที่มีระดับของ Hb < 11 g/dl และ/หรือ Hct < 33% ในไตรมาสแรกและ ไตรมาสสาม และระดับ Hb < 10.5 g/dl และ/หรือ Hct < 32% ในไตรมาสที่ 2 ถือว่าเป็นโลหิตจาง
-
คนใกล้ตัวสูบบุหรี่
บุหรี่ สารนิโคติน คาร์บอนมอนนอกไซด์ในควันบุหรี่ และทาร์ จะมีผลต่อการทางานของสารสื่อประสาทอะเซติลโคลีน (acetylcholine) โดปามีน(dopamine) และนอร์อีพิเนฟริน (nor epinephrine)
ส่งผลให้มีการขัดขวางการพัฒนาของเซลล์ประสาทของทารก มีการหดตัวของหลอดเลือดดำมดลูก ทำให้เลือดผ่านรกลดลง ทารกจึงได้รับอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ มีผลให้น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหารในสตรีมีครรภ์จะเกิดภาวะ “โรคหลอดเลือดอุดตัน” เพิ่มขึ้น
จากงานวิจัยที่ผ่านมา มารดาที่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ จะมีผลให้คลอดทารกน้ำหนักน้อยกว่า 1,700 กรัม ความยาวเส้นรอบศีรษะเล็ก ความยาวตัวน้อย และมี APGAR Score ที่ 1 และ 5 นาที ต่ำกว่า 7 คะแนน จนถึงมีภาวะ Fetal Distress มากกว่ามารดาที่ไม่สูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
มารดาที่ได้รับควันบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ มีผลให้คลอดทารกน้ำหนักน้อยกว่าอายุครรภ์ และคลอดทารกก่อนกำหนด มากกว่ามารดาที่ไม่ได้รับควันบุหรี่อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ
-
มารดาที่สูบบุหรี่และสัมผัสควันบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ หรือมารดาที่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ ตั้งแต่ 10 มวนต่อวัน ขึ้นไป มีโอกาสคลอดบุตรปากแหว่งเพดานโหว่ และทารกมีพฤติกรรมด้านระบบ การเคลื่อนไหว (Motor System) การประสานรับกับผู้ตรวจ (Examiner Facilitation) ความแข็งแรง และอดทน (Robustness and Endurance) การควบคุมสภาวะต่าง ๆ ที่ถูกกระตุ้น (State Regulation) ต่ากว่ามารดาที่ไม่สูบบุหรี่และไม่สัมผัสควันบุหรี่ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ