Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Stroke - Coggle Diagram
Stroke
ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยแรกรับ
Hypovolemic Shock ภาวะช็อกจากการขาดน้ำหรือเสียเลือด
วินิจฉัยโรคในปัจจุบัน
Non-ST elevation acute coronary syndrome ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ไม่พบการยกตัวของช่วง ST
โรคประจำตัว
Dilated cardiomyopathy : DCM
โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายตัวผิดปกติ
Discoid Lupus Erythematosus โรคที่มีภูมิต้านทานตนเองผิดปกติชนิดเรื้อรัง สามารถพบผื่นบริเวณใบหน้า หนังศีรษะ และตามลำตัว
Lt. hemiparesis due to Rt. Middle cerebral artery infarction อัมพฤษกษ์ซีกซ้ายร่วมกับหลอดเลือดสมองข้างขวาส่วนกลางขาดเลือด
อาการสำคัญ
ปวดแสบกลางอก 30 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล
General Appearance
ผู้ป่วยหญิงไทยวัยผู้ใหญ่ รู้สึกตัวดี ถามตอบรู้เรื่อง GCS = 15 (E4V5M6) ผิวหนังแห้ง ลอกบริเวณศีรษะ ใบหน้า แขนและขา capillary refill 3 s Conjunctiva pale มุมปากซ้ายตก Motor power แขนขวา เกรด 4 แขนซ้าย เกรด 1 ขาทั้งสองข้าง เกรด 3 ผู้ป่วยใส่แพมเพิร์สใช้ในการขับถ่าย ปัสสาวะสีเหลืองใสไม่เป็นตะกอน
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ผิดปกติ
complete blood count (14/12/65)
WBC Count 2290 cell/mm3 L Neutrophil 50.0 % H Lymphocyte 42.4 % L
RBC Count 2.77 M/ul L
Hb 8.7 g/dl L
Hct 25.6 % L
Macrocyte Few
Hypochromia 1+
Ovalocyte 1+
Troponin T. 56.12 ng/L H LDH 221 U/L L
ผลตรวจพิเศษ
CT Brain
CT Brain(6/8/65)
-Acute right MCA territorial infarction at right fronto-temporal lobes and right insular lobe.
-Occlusion at origin M2 segment of the right MCA with decrease contrast filling in cortical branch to supply right temporal lobe.
CT Brain(7/8/65)
-Acute infarction involving right insular cortex and right fronto parietotemporal region, compatible with MCA territory infarction.
ผลตรวจEKG(13/12/65)
Nonspecific intraventricular conduction LVH(Left Ventricular Hypertrophy) Prolonged QT
ยาที่ได้รับ
Enoxaparin 60 mg/0.6 ml inj.
ป้องกันหรือรักษาภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน รักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด ST Segment Elevation (STEMI) และอาการเจ็บหน้าอกชนิดไม่คงที่
Enalapril 5 mg ½ tab
ใช้รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวในผู้ใหญ่ ทั้งยังใช้ในการรักษาความผิดปกติของหัวใจห้องล่างซ้ายซึ่งทำหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
Omeprazole 50 mg 1 tab
รักษาโรคกรดไหลย้อน และแผลในกระเพาะอาหาร
Metoprolol 100 mg ½ tab
รักษาภาวะเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ
Spironolactone 25 mg 1 tab
รักษาอาการบวมน้ำ ความดันโลหิตสูง โพแทสเซียมในเลือดต่ำ
Aspirin 81 mg 1 tab
สำหรับป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน และรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
Clopidogrel 75 mg 1 tab
ป้องกันภาวะเส้นเลือดแดงอุดตันเนื่องจากมีลิ่มเลือดในหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดในสมองตีบตันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน
Chloroquine 250 mg 1 tab
รักษาและป้องกันโรคมาลาเรีย รักษาการติดเชื้ออะมีบา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเองชนิด SLE และ DLE
Atorvastatin 40 mg 1 tab
รักษาภาวะคอเลสเตอรอลสูง ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีภาวะCardiac outputลดลง เนื่องจากปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจใน 1 นาที ลดลง S : “ปวดแสบกลางหน้าอก”
O : ผลทางห้องปฏิบัติการ Troponin 56.12 ng/L H (13/12/65)
LDH 221 U/L L (14/12/65)
ผลตรวจEKG Nonspecific intraventricular conduction LVH(Left Ventricular Hypertrophy) Prolonged QT(13/12/65)
จุดมุ่งหมาย
เพื่อป้องกันการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเพิ่มมากขึ้น
เกณฑ์การประเมิน
1.ไม่มีอาการแสดงของภาวะ Cardiac output ลดลง
2.ผลทางห้องปฏิบัติการอยู่ในเกณฑ์ปกติ ได้แก่ Troponin 0.00-14.00 ng/L
LDH 135-225 U/L
3.ผลตรวจEKGปกติ
1.ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะ Cardiac output ลดลง เช่น ระดับความรู้สึกตัวลดลง ปัสสาวะออกน้อยกว่า 30 cc/hr ความดันโลหิตต่ำลง เป็นต้น เพื่อติดตามอาการที่จะบ่งบอกปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจลดลง 2.ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อติดตามและประเมินอาการการเปลี่ยนแปลง 3.จัดท่านั่งหรือท่านอนศีรษะสูง (semi-fowler position) เพื่อเพิ่มระดับออกซิเจนในเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ หัวใจและลดการทำงานของหัวใจ
4.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการพักผ่อน (Absolute bed rest) ช่วยเหลือในการทำกิจกรรมต่างๆของผู้ป่วย วางแผนรวบรวมกิจกรรมการพยาบาลที่รบกวนผู้ป่วยในคราวเดียวกัน เพื่อลดความต้องการออกซิเจนของร่างกาย
5.ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา คือ
-Enoxaparin 0.6 ml inj. ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง
-Metoprolol 100 mg ½ tab
-Aspirin 81 mg 1 tab
-Clopidogrel 75 mg 1 tab
-Atorvastatin 40 mg 1 tab
-Atorvastatin 40 mg 1 tab
-Enalapril 5 mg ½ tab
ซีดเนื่องจากภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง
S : “กินไม่ค่อยได้เยอะเพราะไม่ค่อยอยากกิน”
O : ผลการตรวจร่างกายพบปลายมือปลายเท้าซีด ตัวเย็น conjunctiva pale
capillary refill 3 s
O : ผลทางห้องปฏิบัติการ
RBC 2.77 L M/ul
Hb 8.7 L g/dl
Hct 25.6 L %
Macrocyte Few
Hypochromia 1+
Ovalocyte 1+
จุดมุ่งหมาย
ผู้ป่วยมีภาวะซีดลดลง
เกณฑ์การประเมิน
1.อาการแสดงของภาวะซีด ได้แก่ เบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ตัวซีดเหลือง อย่างเห็นได้ชัด หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน หายใจลำบากขณะออกแรง มึนงง วิงเวียนศีรษะ เจ็บหน้าอก ใจสั่น 2.ผลการตรวจร่างกายพบไม่มีปลายมือปลายเท้าซีดและตัวเย็น conjunctiva normal
capillary refill น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 s
3.ผลทางห้องปฏิบัติการอยู่ในเกณฑ์ปกติ
RBC 4.20-6.20 M/ul
Hb 12-18 g/dl
Hct 36-54%
Macrocyte
Ovalocyte ตรวจไม่พบ
1.ประเมินอาการแสดงของภาวะซีด ได้แก่ เบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ตัวซีดเหลือง อย่างเห็นได้ชัด หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน หายใจลำบากขณะออกแรง มึนงง วิงเวียนศีรษะ เจ็บหน้าอก ใจสั่น
2.ประเมิน capillary refill
3.ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
4.ดูแลให้ได้รับประทานอาหารครบตามมื้ออาหาร
5.ดูแลยกไม้กั้นเตียงทุกครั้งหลังให้การพยาบาล
6.ล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาลทุกครั้ง
7.ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา คือ Chloroquine 250 mg 1 tab
เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากมีภาวะอ่อนแรงซีกซ้าย : กล้ามเนื้อลีบ ข้อยึดติด เกิดแผลกดทับ สูดสำลัก
S : “แขนข้างซ้ายขยับไม่ได้ และขาเดินไม่ได้ ใช้การนั่งถัด”
O : ผู้ป่วยจะชอบนอนทับแขนข้างที่อ่อนแรงและไม่มีการขยับแขน
O : motor power แขนซ้าย เกรด 0
แขนขวา เกรด 5
ขาทั้งสองข้าง เกรด 3
จุดมุ่งหมาย
ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง
เกณฑ์การประเมิน
1.ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เพิ่มขึ้น
2.Motor power ไม่ลดลงจากเดิม คือ Motor power ≥ 4 คะแนน
1.ประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมและประเมินmotor power
แนะนำผู้ป่วยและสอนญาติดูแลในด้านการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย เช่น การเคลื่อนไหวการลุกนั่ง และการเสริมสร้างทักษะและการกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
สอนผู้ป่วยและญาติในการทำ passive exercise โดย 1) ช่วยยกแขนข้างที่อ่อนแรงยกขึ้นลงและงอแขนเข้าออกทำสลับกัน 20 ครั้งทำเช้า-เย็น ทุกวัน 2) ช่วยยกขาข้างที่อ่อนแรงยกขึ้นลงและงอขาเข้าออกและให้เกร็งกล้ามเนื้อ 3) พยุงผู้ป่วยเมื่อทำกิจกรรมต่างๆ 4) ช่วยกระตุ้นทำกิจกรรมต่างๆ 5) ให้ผู้ป่วยให้มือข้างที่อ่อนแรงบีบปั้นดินน้ำมันหรือบีบลูกโป่งที่ใส่น้ำเพื่อกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อมือ
ดูแลแบบแผนการขับถ่ายของผู้ป่วยสอนวิธีการควบคุมการขับถ่ายทั้งถ่ายปัสสาวะและอุจจาระแนะนำญาติให้ดูแลความสะอาด ความสุข สบายหลังผู้ป่วยขับถ่าย ควรจัดหากระโถนไว้ใกล้ผู้ป่วย
ดูแลแบบแผนการพักผ่อนและการนอนหลับของผู้ป่วย แนะนำให้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอแนะนำให้จัดหาที่นอนที่นิ่มและจัดสถานที่ให้ผู้ป่วยนอนในที่โล่ง อากาศถ่ายเทสะดวก
6.สอนและสาธิตให้ญาติปฏิบัติตามเมื่อเปลี่ยนท่านอนให้ผู้ป่วย ควรใช้ผ้าขวางเดียงช่วยยกตัวผู้ป่วยขึ้น ไม่ใช้วิธีลากดึงเพราะจะทำให้ผิวหนัง เกิดการเสียดสีทำให้เส้นเลือดฝอยฉีกขาดและเนื้อเยื่อถูกทำลายได้
7.การดูแลผิวหนัง แนะนำญาติดูแลผิวหนังของผู้ป่วยให้แห้งและสะอาดอยู่เสมอ ถ้าอากาศร้อนควรเช็ดตัวและเปลี่ยนผ้าปูบ่อยๆ
แนะนำผู้ป่วยและญาติการดูแลรักษาความสะอาดของปากและฟัน โดยแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งหลังอาหารและก่อนนอน หรือให้บ้วนปากด้วยน้ำยาบ้านปาก
9.แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ไม่กินเร็วเกินไปและให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการเลือกรับประทานอาหาร
เสี่ยงเกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงเนื่องจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง
S : “ตอนอยู่บ้านไม่ค่อยถ่าย”
O : ตั้งแต่มาโรงพยาบาลผู้ป่วยยังไม่ขับถ่าย
O : motor power แขนซ้าย เกรด 0 แขนขวา เกรด 5 ขาทั้งสองข้าง เกรด 3
O : ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
CT Brain(6/8/65)
-Acute right MCA territorial infarction at right fronto-temporal lobes and right insular lobe.
-Occlusion at origin M2 segment of the right MCA with decrease contrast filling in cortical branch to supply right temporal lobe.
จุดมุ่งหมาย
เพื่อลดและป้องกนภาวะความดันกะโหลกศีรษะสูง
เกณฑ์การประเมิน
1.ไม่มีอาการและอาการแสดงของความดันในกะโหลกศีรษะสูงเพิ่มขึ้นจากเดิม
2.Motor power ไม่ลดลงจากเดิม คือ Motor power ≥ 4 คะแนน
3.ผลCT Brainปกติ
สังเกตและบันทึกอาการและอาการแสดงทางระบบประสาทและสัญญาณชีพ
2.บันทึกระดับความรู้สึกตัวปฏิกิริยาของรูม่านตาและการเคลื่อนไหว คะแนน Glasgow coma scale ลดลงจากเดิมมากกว่าหรือเท่ากับ 2 คะแนนต้องรายงานแพทย์ทันที
3.จัดท่านอนศีรษะสูง 30องศา
4.หลีกเลี่ยงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะทำให้เกิดแรงเบ่ง เช่น การเบ่งอุจจาระและเบ่งปัสสาวะ
5.ดูแลและส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกาย แบบ Passive exercises โดยการเคลื่อนไหวข้อต่างๆ ของร่างกายในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการคงที
6.ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา คือ
Metoprolol 100 mg ½ tab และติดตามผลข้างเคียง คือ ลมพิษ หายใจลำบาก หน้าบวม ริมฝีปากบวม ลิ้นบวมและคอบวม
Enalapril 5 mg ½ tab และติดตามผลข้างเคียง คือ มึนงงหรือหน้ามืด รู้สึกเหนื่อย ไอ
Spironolactone 25 mg 1 tab และติดตามผลข้างเคียง คือ ลมพิษ หายใจลำบาก หน้าบวม ปากบวม ลิ้นหรือคอบวม
Systemic Lupus Erythematosus (SLE)
โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตนเอง
เกณฑ์การวินิจฉัย SLE ตาม American College of Rheumatology (ACR) ผู้ป่วยต้องมีลักษณะอาการอย่างน้อย 4 ประการ จากลักษณะอาการ 11
Malar rash อาการผื่นแดงผิวเรียบหรือนูนบริเวณโหนกแก้มทั้งสอง ข้าง มองดูคล้ายปีกผีเสื้อ
Discoid rash ลักษณะผื่นแดงนูนหนา มีสะเก็ด เมื่อมีอาการจะเกิดที่ รอยเดิม
Photosensitivity ผื่นแดงเนื่องจากแพ้แสงแดด แม้โดนแสงแดดปกติ
Oral ulcers แผลในปากหรือบริเวณส่วนในใกล้คอ แต่ไม่เจ็บ
Non-erosive arthritis ปวดข้อตั้งแต่สองข้อขึ้นไป ข้อบวม แต่กระดูกหรือผิว กระดูกไม่กร่อน
Pleuritis or pericarditis เยื่อหุ้มปอดหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ แสดงออกด้วย อาการเจ็บบริเวณปอด หรือมีเสียงปอดผิดปกติหรือตรวจพบคลื่น ไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ
Renal disorder มีความผิดปกติของไต โดยตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ > 0.5 ก./วัน ต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือพบโปรตีน > 3+ พบ เม็ดเลือดแดงและฮีโมโกลบินในปัสสาวะ
Neurologic disorder อาการทางประสาท มีอาการชัก และมีอาการทางจิตเวช แต่ทั้งนี้ต้องมั่นใจว่าผู้ป่วยมิได้รับยาที่อาจเป็นสาเหตุของอาการ ทางจิตประสาท
Hematologic disorder ความผิดปกติของเม็ดเลือด เกิด hemolyticanemiaและ ตรวจพบเม็ดเลือดขาวต่ำ (< 1,500/mm3 (ต้องตรวจอย่างน้อยสองครั้ง) thrombocytopenia (เกล็ดเลือด < 100,000/mm3 และต้องไม่เกิด จากฤทธิ์ยาอื่น)
Immunologic disorder
10.1 ตรวจพบความผิดปกติของปริมาณ autoantibody ดังนี้ dsDNA antibody หรือ Sm antibody
10.2 อาจตรวจพบ antiphospholipidantibody โดยให้ตรวจหา IgG หรือ IgM anticardiolipin antibody และตรวจ พบ lupus anticoagulant และตรวจหา antibody ของ syphilis (treponemal antibody absorption test) ต่อเป็นเวลา 6 เดือน เพื่อคัดแยกผลการตรวจที่เป็นบวกลวง
Positive antinuclear antibody ตรวจพบ antinuclear antibody ต่าง ๆ โดย immunofluorescence ตลอดเวลา ทั้ง ๆ ที่ผู้ป่วยไม่ได้รับยาที่ เหนี่ยวนำให้เกิด lupus
อาการแทรกซ้อน
เกล็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopenia)
โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease)
หลอดเลือดดำอุดตัน (Venous thrombosis)
Stroke
Seizures เกิดการชักได้ง่าย
Pulmonary hypertension ความดันในปอดสูง
Pulmonary disease ปอดอักเสบ
Pancreatitis ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ ปวดหลัง คลื่นไส้ อาเจียน
Nephritis ไตอักเสบ
Osteonecrosis เซลล์กระดูกตาย
Antiphospholipid antibody syndromeเกิด vascular thrombosis ในอวัยวะนั้น ๆ ปวด
อาการและอาการแสดง
อาการทั่วไป อ่อนเพลีย มีใช้ อาจเป็นไข้สูงหรือไข้ต่ำๆ น้ำหนักลด ปวดศีรษะและปวดกล้ามเนื้อรวมถึงกระดูกและข้อ มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย อาจมีความดันโลหิตต่ำ (พบได้ในช่วงที่มีการแสดงอาการของโรค)
ผิวหนัง (Skin) ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีผื่นแดง คันหรือแสบ และจะมีอาการมากเมื่อมีการสัมผัสกับแสงแดด(Photosensitivity) อาการที่พบบ่อยคือมีผื่นแดงเป็นรูปคล้ายผีเสื้อครอบคลุมบริเวณดั้งจมูกและแก้ม2 ข้าง (Butterfly rash หรือ Malar rash)
กระดูกและกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal) อาการที่พบบ่อยคือข้ออักเสบ (Arhitis) โดยผู้ป่วยอาจมีอาการข้อติด (Morning stiffness) ปวดข้อ (Joint pain) ข้อบวม (Swelling) และกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการอาจ
เกิดขึ้นโดยฉับพลันแล้วหายไปนอกจากนี้อาการปวดที่เกิดขึ้นนั้นอาจเกิดขึ้นทั่วทั้งร่างกาย และอาการมักเกิดขึ้นพร้อมๆ กับอาการของระบบอวัยวะอื่นๆ นอกจากนี้อาจมีอาการปวดตามเส้นเอ็นเมื่อมีการเคลื่อนไหวแขน
ไต (Renal) ผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการจนกว่าโรคจะลุกลามไปที่ไตแล้วทำให้เกิด Nephritic syndrome หรือ Renal failure ซึ่งอาจต้องทำ Renal biopsy เพื่อบ่งชี้ระยะของโรคและแนวทางในการรักษา
หัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular) อาการที่สำคัญ คือ เจ็บหน้าอก หายใจลำบากซึ่งอาจเกิดจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis) กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarcits) เยื่อบุหัวใจอักเสบ (Endocarditis) และ
โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Accelerated atherosclerosis) ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดได้ (Myocardial infarction) และอาจเกิดการอักเสบของหลอดเลือดได้
ทางเดินอาหาร (Gastrointestinal) อาการที่อาจเกิดขึ้นได้คือเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Peritonitis) ภาวะเบื่ออาหาร(Anorexia) คลื่นไส้ (Nausea) อาเจียน (NVomiting)
ปอด (Pulmonary) ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บหน้าอกจากเยื่อหุ้มปอดอักเสบ ซึ่งมักจะเป็นอาการปวดแปลบบริเวณหน้าอกส่วนล่าง หรืออาจมีภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดได้
เลือด (Hematologic) อาการที่พบบ่อยได้แก่ Anemia, Leucopenia, Thrombocytopenia, and Lymphopenia
ประสาท (Neurologic) อาการที่พบมีความรุนแรงปานกลางถึงรุ่นแรงมาก อาการที่พบได้แก่ ปวดศีรษะมาก ชัก
การวินิจฉัย
การซักประวัติผู้ป่วย
-ซักประวัติถึงปัญหาทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค
-ประวัติการเปลี่ยนแปลงทางระบบผิวหนัง
-ประวัติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของเล็บหรือฐานเล็บ (Nail base) ผมร่วง เกิดแผลในปากหรือจมูก
-ประวัติเกี่ยวกับระบบประสาท
-การเปลี่ยนแปลงทางภาวะอารมณ์
2.การตรวจร่างกาย ระบบผิวหนังต้องตรวจดูตำแหน่งของรอยโรคที่เกิดขึ้น ลักษณะของรอยโรคหรือผื่นที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนังและหลอดเลือด
3.การตรวจทาง serology
Antinuclear antibody (ANA)
Anti-Smith (Anti-Sm)
Anti-double-stranded DNA (Anti-ds DNA)
Antiphospholipid (APl) antiboles
การรักษา
Nonacetylated salicylates ใช้ในการรักษาอาการอักเสบที่มีอาการไม่รุนแรง
Nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDS) ใช้ในการบรรเทาและลดอาการปวดที่เกิดจากระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ และเป็นอาการ
ทั่วๆ ไปเช่น ไข้
Antimalarials เช่น Hydroxychloroquine (Plaquenil) และ Chloroquine (Araten) ช่วยบรรเทาอาการในผู้ป่วยที่อาการแสดงทางผิวหนัง ง ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่เป็น ผลกระทบจากการอักเสบ- ช่วยควบคุมอาการของข้ออักเสบ (Arthritis) ผื่น (Rash)ในปาก (Mouth ulcer) อาการอ่อนเพลีย (Fatique) และไข้ (Fever) เนื่องจากกลุ่มนี้การออกฤทธิ์ช้า จึงต้องแนะนำให้ผู้ป่วยสังเกตอาการเป็นเวลานานหลายเดือนกระตุ้นให้ผู้ป่วยรับประทานยาอย่างเคร่งครัดถึงแม้อาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม
Corticosteroids - ช่วยในการควบคุมภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น Hhrombocytopenia purpura, Hemolytic anemia, Myocarditis, Pericarditis, Seizure และ Nephritis - มีผลในการรักษาผลจากกระบวนการอักเสบที่ลุกลามไปอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย
Immunosuppressive/cytotoxic agents ใช้รักษาในระยะที่โรคกำเริบและมีการต่อต้านต่อยากลุ่ม Corticosteroids และใช้ในการ
รักษาภาวะแทรกช้อนที่รุนแรง
สาเหตุ/ปัจจัย
ปัจจัยภายนอกตัวผู้ป่วย
สิ่งแวดล้อม เช่น แสงแดดหรือแสงอุลตร้าไวโอเลต (UItraviolet)
การติดเชื้อบางชนิด ได้แก่ การติดเชื้อไวรัสชนิด Ebstein-Barr Virus, Hepatitis C.Cytomegalovirus, & Parvovirus
ยาและสารเคมีบางชนิด ได้แก่ Hydralazine, Procainamide, Quinidine, Chlopromazine, Isoniazid, Methyldopa, Penicillamine
ปัจจัยภายในตัวผู้ป่วย
พันธุกรรม
ฮอร์โมน
เพศ
ความเครียด
การพักผ่อนไม่เพียงพอ
พยาธิสภาพ
SLE เป็นโรคที่เกิดจากมีความผิดปรกติของระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) ทำให้มีการสร้าง antibodies(Ab) หลายชนิดต่อเซลล์และส่วนประกอบต่าง ๆ ของเซลล์ของตนเอง (autoantiboides) เช่น autoAb ต่อ nucleus,cytoplasm และ cell surftace มีผลทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื้อและอวัยวะ ต่างๆทั่วตัวจากการที่มีการสร้างและการเกาะติดของ antigen-antibody (Ag-Ab) Immune complexes ที่เนื้อเยื่อต่าง ๆ
B-E-F-A-S-T
B - Balance การทรงตัวของร่ายกายผิดปกติ ไม่สามารถทรงตัวได้ หรือวิงเวียนศีรษะบ่อย ร่วมกับเดินเซ
E - Eye ตามัวหรือมองไม่เห็นอย่างเฉียบพลัน ลานสายตาผิดปกติ
F - Face เกิดภาวะหน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว มุมปากตก
A - Arm แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ไม่มีแรงหรือชาอย่างเฉียบพลันที่ แขนหรือขาซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย มือหยิบของแล้วร่วงตก
S - Speech การพูดและการใช้ภาษาล้มเหลวเฉียบพลัน อยู่ๆ ลิ้นแข็ง พูดไม่ออก ทำให้พูดไม่ชัดหรือพูดลำบาก พูดไม่เป็นคำ พูดตะกุกตะกัก
T - Time เวลา เมื่อเกิดอาการข้างต้นอย่างใดอยางหนึ่งกับตัวท่านเองหรือคนใกล้ชิด ให้รีบไปโรงพยาบาลอย่างเร็วที่สุดให้ได้ภายใน 3 ชั่วโมง ถึง 4 ชั่วโมงครึ่ง โดยยิ่งเร็วยิ่งดี เพราะจะช่วยให้มีทางเลือกในการรักษาที่หลากหลายและทันท่วงที ช่วยลดภาวะสมองตาย การพิการ และเสียชีวิตได้มากกว่า
การรักษา
การดูแลทางเดินหายใจ ให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ ลดการคั่งของคาร์บอนไดออกไซค์
การดูแลระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยติดตามการทำงานของหัวใจ การจัดการความดันโลหิต โดยไม่ควรลดความดันโลหิตเร็วเกินไป เพราะจะทำให้สมองขาดเลือดมากขึ้น แต่หากความดันโลหิตมากกว่า 220/120 มม.ปรอท แพทย์จะพิจารณาให้ยาลดความดันโลหิต กรณีที่ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือด ต้องลดความดันโลหิตไม่ให้เกิน 185/110 มม.ปรอท
การควบคุมอุณหภูมิร่างกาย กรณีที่อุณหภูมิสูงกว่า 37.5 *C ควรเช็ดตัวลดไข้ หรือให้ยาลดไข้ หาสาเหตุของอาการไข้
การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยให้อยู่ในระดับปกติ ภาวะที่มีน้ำตาลต่ำ หรือสูงเกินไป ทำให้เกิดความเสียหายต่อสมองได้
การควบคุมความสมดุลของสารน้ำและเกลือแร่ กรณีที่มีการขาดน้ำ ควรได้รับ IV fuid ที่ไม่มี glucose การรักษาเฉพาะ ได้แก่
5.1 การให้ยาละลายลิ่มเลือด (thrombolysis) โดยยาที่ใช้คือ recombinant tissue plasminogen acivator (rtPA) ให้ในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดภายใน 3 ชั่วโมงแรก หลังจากเกิดอาการ
ข้อบ่งชี้ในการรักษา
1.ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันภายใน 3 ชั่วโมง (4.5 ชม.)
2.อายุมากกว่า 18 ปี
ผู้ป่วยอายุ 56 ปี
3.มีอาการทางระบบประสาทที่สามารถวดได้โดยใช้ National Institutes of Health Stroke Scale(NIHSS) จะประเมินโดยแพทย์เป็นส่วนใหญ่
NIHSS = 18
4.ผล CT scan ของสมองไม่พบเลือดออก
No intracranial hemorrhage
ไม่พบเลือดออกในกระโหลกศีรษะ
5.ผู้ป่วย/ญาติเข้าใจประโยชน์หรือโทษที่จะเกิดจากการรักษา และยินยอมให้การรักษาโดยใช้ยา
ละลายลิ่มเลือด
ข้อห้ามใช้ยา
มีอาการของโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันที่ไม่ทราบเวลาที่เริ่มเป็นอย่างชัดเจนหรือมีอาการภายหลังตื่นนอน
มีอาการเลือดออกใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมอง (subarachnoid hemorrhage)
มีอาการทางระบบประสาทที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว (NIHSS < 4) หรือ มีอาการทางระบบประสาท
อย่างรุนแรง (NIHSS >18)
มีอาการชัก
ความดันโลหิตสูง (SBP≥ 185 mmHg, DBP≥ 110 mmHg)
มีประวัติเลือดออกในสมองหรือ มีประวัติเป็นStroke/Head injuryภายใน 3 เดือน
ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด (heparin หรือ warfarin) ภายใน 48 ชั่วโมงหรือตรวจพบความผิดปกติของเกล็ดเลือดอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
-มีค่า Partial-thromboplastin time ผิดปกติ
-มีค่าProthrombin time มากกว่า 15 วินาที
-มีค่า International normalized ratio (INR) มากกว่า 1.5
มีปริมาณเกล็ดเลือดน้อยกว่า 100,000/mm
มี Hct น้อยกว่า 25%
มีประวัติผ่าตัดใหญ่ภายใน 14 วัน
มีเลือดออกในทางเดินอาหารหรือทางเดินปัสสาวะภายใน 21 วัน
มี blood sugar <50 mg/dl หรือ > 400 mg/dl
มีประวัติ Myocardial infarction ภายใน 3 เดือน
มีการเจาะหลอดเลือดแดงในตำแหน่งที่ไม่สามารถห้ามเลือดได้ภายใน 7 วัน
พบเลือดออกหรือมีการบาดเจ็บ กระดูกหักจากการตรวจร่างกาย
ผล CT brain พบเนื้อสมองตายมากกว่า 1 กลีบ (hypodensity > 1/3 cerebral hemisphere)
หรือพบการเปลี่ยนแปลงในระยะแรกของหลอดเลือดสมองตีบขนาดใหญ่ เช่น พบสมองบวม mass effect, sulcal effacement
5.2 การให้ยาต้านเกล็ดเลือด โดยยาที่ใช้คือ Aspirin ขนาด 160-325 มก. เร็วที่สุดภายใน 24-48 ชั่วโมง และลดขนาดลงเหลือ 50-150 มก. หลังจากวันที่ 10-14 ที่เริ่มมีอาการ
Aspirin 81 mg 1 tab กลไกการออกฤทธิ์ของยาแอสไพริน คือ การยับยั้งเอนไซม์ในร่างกายที่ทำให้เกิดสารอักเสบ ซึ่งมีชื่อว่า ไซโคลออกซิจีเนส หรือเรียกชื่อเอนไซม์นี้อย่างย่อๆ ว่า ค็อกซ์ (cyclooxygenase: COX) นอกจากนี้ เอนไซม์ค็อกซ์ (COX enzyme) ยังกระตุ้นการสร้างสารที่ทำให้เกิดการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ที่มีชื่อว่า ทร็อมบ็อกเซนเอทู thromboxane-A2 ดังนั้น ผลที่ได้จากการใช้ยาแอสไพริน นอกจากจะบรรเทาอาการอักเสบแล้ว ยังทำให้เกล็ดเลือดเกาะกลุ่มกันได้ยากมากขึ้น
การดูแลผู้ป่ายระหว่างการให้ยาละลายลิ่มเลือด โดยเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงและวัดสัญญาณชีพทุก 15 นาที ภายใน 2 ชั่วโมงแรก หลังจากนั้นวัดทุก 30 นาทีใน 6 ชั่วโมงต่อมาและวัดทุก 1 ชั่วโมงใน 24 ชั่วโมงหลังการได้รับยา โดยดูแลความดันโลหิตซิสโตลิกให้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 180 มมปรอท ไดแอสโตลิกน้อยกว่าหรือเท่ากับ 105 มมปรอท ติดตามค่าออกซิเจนและค่าก๊ชต่างๆ ในกระแสเลือด เนื่องจากภาวะแทรกช้อนของการให้ยาละลายลิ่มเลือดคือการมีเลือดออกในสมอง
Clopidogrel 75 mg 1 tab ตัวยาจะเข้าไปยับยั้งการรวมตัวของ Adenosine diphosphate (ADP, สารประกอบสำคัญในกระบวนการใช้พลังงานของร่างกาย) กับเกล็ดเลือด(Platelets) รวมถึงชะลอกลไกการรวมตัวของ Fibrinogen (สารชนิดหนึ่งที่ช่วยการแข็งตัวของเลือด) และลดการรวมกลุ่มของเกล็ดเลือด
5.3 การให้ยาป้องกันเลือดแข็งตัว เช่น heparin
5.4 การผ่าตัด หรือการใช้อุปกรณ์ถ่างขยายหลอดเลือด
5.5 การดูแลในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke unit)
ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง (increased intracranial pressure : IICP)
สาเหตุ
การเพิ่มปริมาตรของเนื้อสมอง (Increased brain tissue volume: mass effect)
2.การเพิ่มปริมาตรของเลือด (Increased blood volume)
ความผิดปกติของปริมาตรน้ำหล่อสมองและไขสันหลัง (Increased cerebrospinal fluid volume)
อาการและอาการแสดง
ปวดศีรษะ อาเจียน ซึมลง สับสน ส่วนอาการแสดงที่ พบคือ ระดับความรู้สึกตัวลดลง ความดันโลหิตสูง อัตรา การเต้นของหัวใจต่ำกว่า 60 ครั้งต่อนาทีรูปแบบการ หายใจเปลี่ยนแปลงและไม่สม่ำเสมอ (Cushing’s triad) ขั้วประสาทตาบวม (papilledema)
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความดันในกะโหลกศีรษะ
สิ่งแปลกปลอมในสมอง เช่น เนื้องอกสมอง ฝี (Abscess,จากสมองอักเสบติดเชื้อ) ก้อนเลือด (จากมีเลือดออกในสมอง)
การเปลี่ยนแปลงในเนื้อสมอง เช่น สมองขาดเลือด หรือมีเลือดออกในสมอง
ความดันของ CSF สูงขึ้น เช่น ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบติดเชื้อ
การไหลเวียนของ CSF ผิดปกติ
การไหลเวียนของเลือดดำและเลือดแดงในสมองผิดปกติ เช่น การใช้ศีรษะยืน เป็นต้น ซึ่งท่านอนยกศีรษะสูง 15-30 องศา การไหลเวียนของเลือดดีที่สุด
ไข้สูง ทำให้สมองบวม ความดันในกะโหลกศีรษะก็สูงขึ้น
การออกแรงเบ่งมากๆ เช่น ยกของหนัก เบ่งถ่าย ปัสสาวะ อุจจาระ ไอแรงๆ ก็ส่งผลต่อความดันในกะโหลกศีรษะ
ความหมาย
เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เป็นปัจจัยกระตุ้นให้อาการทางสมองรุนแรงขึ้น จากการเพิ่มปริมาตรของส่วนประกอบในกะโหลกศีรษะที่เกินความสามารถในการรักษาความสมดุลภายในสมอง
การวินิจฉัยโรค
การซักประวัติ ได้แก่ การซักประวัติอาการสำคัญ ตั้งแต่เริ่มมีอาการ เช่น วัน เวลาที่เกิดอาการ การทำกิจกรรมขณะมีอาการ ลักษณะอาการ เกิดขึ้นอย่างทันที หรือค่อย ๆ เกิด ความรุนแรง หรือตำแหน่ง บริเวณของร่างกายที่มีอาการ ระยะเวลาที่เกิดอาการ การดำเนินของโรค การเจ็บป่วยในอดีต
ปวดแสบกลางอก 30 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล
การตรวจร่างกาย โดยเฉพาะในระบบประสาท
2.1 Cerebral function ความผิดปกติที่เกิดกับสมองทำให้มีความผิตปกติของสภาพจิตใจ ความจำการคิด พฤติกรรมและอารมณ์
2.1.1 การประเมินระดับความรู้สึกตัวจะประเมินโดยใช้ Glasgow Coa Scole (GCS)
GCS : 15 (E4V5M6)
2.1.2 การประเมินสภาพจิต (mental status)
2.1.3 การประเมินเนื้อหาการคิด (thought content)
2.1.4 การประเมินการรับรู้ (perception)
2.1.5 การประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหว (motor ability)
Motor power แขนขวา เกรด 4 แขนซ้าย เกรด 1 ขาทั้งสองข้าง เกรด 3
2.1.6 ความสามารถในการใช้ภาษา (anguage ability)
2.2 การประเมิน cranial nerve จำนวน 12 คู่
2.3 การประเมิน motor system โดยประเมินขนาดของกล้ามเนื้อ (size) ความตึงตัว (tone) และ
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (strength) การทำงานประสานกัน และความสมดุลของการเคลื่อนไหว
2.4 การประเมิน refex โดยใช้ hammer refiex เคาะ เช่น biceps refex, patellar reiex โดยประเมิน
เป็นเกรดสเกล 0 ถึง 4+
2.5 การประเมิน sensory function การประเมินรับความรู้สึกจากการสัมผัส ความเจ็บปวด ความร้อน ความเย็น การสั่นสะเทือน และตำแหน่ง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
3.1 Computed Tomography Scanning (CT scan)
CT Brain(6/8/65)
-Acute right Middle Cerebral Artery territorial infarction at right fronto-temporal lobes and right insular lobe.
-Occlusion at origin M2 segment of the right MCA with decrease contrast filling in cortical branch to supply right temporal lobe.
หลอดเลือดสมองด้านขวาขาดเลือดเฉียบพลัน ที่ตำแหน่งสมองใหญ่ส่วนหน้า สมองใหญ่ส่วนขมับและสมองใหญ่ส่วนใน
3.2 Magnetic Resonance Imaging
เครื่องมือในการตรวจหาความผิดปกติของร่างกาย โดยใช้เครื่องสนามแม่เหล็ก และคลื่นความถี่วิทยุ สร้างภาพที่มีความละเอียดสูง ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ละเอียดยิ่งขึ้น
3.3 Positron Emission Tomography
3.4 Cerebral Angiography
3.5 Myelography
3.6 Electroencephalography
3.7 Electromyography
3.8 Lumbar puncture
พยาธิสภาพ
โรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากการขาดเลือด (ischemic stroke)
สาเหตุ
ลิ่มเลือดอุดกั้น(thrombosis)ซึ่งมีความสัมพันธ์กับภาวะผนังหลอดเลือดแข็งตัว(atherosclerosis)และการมีความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน
เมื่อเกิดการอุดกั้นจะทำให้เกิดเนื้อสมองเสียหายเป็นบริเวณเล็ก ๆ ที่เรียกว่า lacunar infarction ทั้งนี้อาการจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่อุดกั้น ระยะเวลาการขาดเลือด อัตราการขาดเลือด และการได้รับเลือดชดเชยจากระบบหลอดเลือดใกล้เคียง เมื่อหลอดเลือดอุดกั้นอย่างทันทีทันใด เซลล์ประสาทจะค่อย ๆ ตายภายใน 6-8ชั่วโมง เมื่อเกิดสมองตายอย่างเฉียบพลัน เนื้อสมองจะบวมมาก จนอาจทำให้เกิดความดันในกะโหลกศีรษะสูงขึ้นมีการกดก้านสมองหรือมีการอุดกั้นการไหลเวียนของน้ำในช่องไขสันหลัง ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้
ลิ่มเลือดที่หลุดจากหลอดเลือดอื่น (embolism) ที่สำคัญคือ โรคลิ้นหัวใจตีบ โดยเฉพาะสิ้นไมตรัล (mitral stenosis) ภาวะหัวใจเต้นสั่นพริ้ว (atrial fibrillation) และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
โรคหลอดเลือดเลือดสมองที่เกิดจากเลือดออก (hemorrhagic stroke)
เลือดออกในสมอง
สาเหตุสำคัญจากความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ร่วมกับการมีหลอดเลือดขนาดเล็กและผนังหลอดเลือดอ่อนแอทำให้เกิดเป็นกระเปาะที่มีเลือดขังอยู่ หากความดันโลหิตยังสูงอยู่จะทำให้เกิดการแตกออก มีก้อนเลือดเข้าแทนที่เนื้อสมอง ทำให้เนื้อสมองมีการอักเสบและตายเหมือนกับการขาดเลือด เนื้อสมองรอบ ๆ มีการบวมมากจนกดเบียดช่อง ventrice ทำให้น้ำไขสันหลังมีการระบายได้ไม่ดี ส่งผลให้มีความดันในกะโหลกศีรษะสูง ตำแหน่งที่มีเลือดออกบ่อย ได้แก่ basal ganglia, thalamus, cerebral hemisphere, cerebellum และ pons
ภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นsubarachnoid
เป็นภาวะที่มีเลือดออกระหว่างชั้น subarachnoid และชั้น pia สาเหตุเกิดจากการแตกของหลอดเลือดตำแหน่งที่มีการโป่งพอง ซึ่งมักจะเป็นความผิดปกติของหลอดเลือดในสมองที่เป็นมาแต่กำเนิด
ปัจจัยเสี่ยง
ปรับเปลี่ยนไม่ได้
1.อายุ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ชัดเจนที่สุด โดยเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองชนิดที่มีเลือดออกและชนิดที่มีการขาดเลือดไปเลี้ยง ช่วงอายุที่มากกว่ากัน 20 ปี มีอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มมากขึ้นเป็น 20 เท่าอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตามอายุที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 10 ปี
ผู้ป่วยอายุ 56 ปี
3.ชาติพันธุ์ คนผิวดำมีการเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนผิวขาวทั้งเพศชายและเพศหญิง
4.พันธุกรรม ผู้ที่บิดาหรือมารดาเป็นโรคหลอดเลือดสมองมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าคนปกติ
2.เพศ เพศชายมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าเพศหญิงร้อยละ 44-76
ปรับเปลี่ยนได้
ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงรองลงมาจากอายุ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามความรุนแรงของความเลือดที่สูง ผู้ที่มีความดันโลหิต 160-180 มม.ปรอท มีความเสี่ยงมากเป็น 4 เท่าของผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำกว่า 160 มม.ปรอท ที่มีอายุใกล้เคียงกัน
โรคหัวใจชนิดที่มีการเต้นแบบสั่นพริ้ว ผู้ที่เป็นโรคดังกล่าวมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองเกือบ 5 เท่าของคนปกติในกลุ่มอายุเดียวกัน
3.โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย การเป็นโรคมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหลอดสมองมากกว่า 2 เท่าของคนปกติ
ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว คือ non-ischemic dilated cardiomyopathy ร่วมกับมีอาการแสบร้อนกลางอก
ความผิดปกติของหลอดเลือดแดงคาโรติค ความเสี่ยงขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการตีบแคบของหลอดเลือด
การสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่มากกว่า 40 มวนต่อวันมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่สูบบุหรี่น้อยกว่าวันละ 10 มวน ประมาณ 2 เท่า
โรคเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากว่าผู้ที่ไม่เป็น 2 เท่า
ภาวะไขมันในเลือดสูง ไขมันชนิดเลว (low-density lipoprotein cholesterol [LDL-C) ที่สูงกว่าปกติเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองโดยอ้อม
การมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน ทำให้มีการกลับเป็นซ้ำมากเป็น 5 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่เคยเป็น
อาการและอาการแสดง
สโตร๊คซีกช้าย (ความผิดปกติเกิดขึ้นกับสมองซีกซ้าย)
ความผิดปกติที่พบ ได้แก่ อัมพาตหรืออ่อนแรงของร่างกายซีกขวา มีความผิดปกติของการพูด การใช้ภาษา ทำอะไรเชื่องช้า มีความบกพร่องของการเข้าใจภาษาและการคำนวณ ซึมเศร้า วิตกกังวล และไม่สามารถแยกซ้ายและขวาได้
สโตร๊คซีกขวา (ความผิดปกติเกิดขึ้นกับสมองซีกขวา)
ความผิดปกติที่พบ ได้แก่ อัมพาตหรืออ่อนแรงของร่างกายซีกซ้าย ละเลย ไม่สนใจซีกซ้ายของร่างกาย การตัดสินใจไม่ดี การรับรู้เวลาบกพร่อง ย้ำคิด ย้ำทำ และมีความบกพร่องในด้านการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของวัตถุที่มองเห็น (spatial perceptual defcits)
สมองใหญ่ส่วนใน(Insular lobe)มีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมประสาทอัตโนมัติ ไม่มีความสำคัญในเรื่องของโรคหลอดเลือดสมอง
ผลCT Brain พบขาดเลี้ยงที่สมอง
ตำแหน่งสมองใหญ่ส่วนหน้า(Frontal lobe)ทำหน้าที่สั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหวโดยสมองข้างขวาสั่งให้ร่างกายซีกซ้ายเคลื่อนไหว ถ้าส่วนนี้เสียหายหรือหยุดทำงาน ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรงด้านตรงข้ามรวมทั้งใบหน้าด้านตรงข้ามจะเบี้ยวไปด้วย ถ้าเป็นมากจะขยับไม่ได้เลย เรียกว่า อัมพาตครึ่งซีก นอกจากนี้มีส่วนของการสั่งให้พูด (Broca area) ถ้าสมองส่วนนี้เสียไปผู้ป่วยพูดไม่ได้หรือถ้าเป็นไม่มาก ผู้ป่วยอาจพูดได้บางคำและพูดต่อเป็นประโยคไม่ได้
พยาธิสภาพจากสมองซีกขวาทำให้ร่างกายซีกซ้ายอ่อนแรง
สมองใหญ่ส่วนขมับ(Temporal lobe)มีหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับความจำ แต่มีส่วนที่สำคัญจุดหนึ่งทำหน้าที่แปลเสียงที่ได้ยิน เป็นภาษาและต้องอยู่ในสมองข้างที่เด่น (ข้างซ้าย) ถ้าสมองส่วนนี้เสีย ผู้ป่วยจะไม่เข้าใจเสียงที่ได้ยินว่าแปลว่าอะไร
ผู้ป่วยมีลืมเหตุการณ์บางช่วง แต่ยังสามารถเข้าใจเสียงที่ได้ยินว่าแปลว่าอะไรอยู่