Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีในการสร้างเสริมสุขภาพ, A6480038 นางสาวหนึ่งฤทัย พันธุ์งาม - Coggle…
ทฤษฎีในการสร้างเสริมสุขภาพ
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model : HBM)
ปัจจัยร่วม (Modifying Factors)
เป็นปัจจัยที่ไม่มีผลโดยตรงต่อพฤติกรรมสุขภาพ แต่เป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะส่งผลไปถึงการรับรู้และการปฏิบัติ
ปัจจัยด้านประชากร
เพศ อายุ เชื้อชาติ ศาสนา
ปัจจัยด้านสังคมจิตวิทยา
บุคลิกภาพ กลุ่มเพื่อน ค่านิยม วัฒนธรรม
ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน
ระบบบริการสุขภาพ
องค์ประกอบของแบบจำลองความเชื่อด้านสุขภาพ
1.การรับรู้ต่อโกาสเสี่ยงของการเป็นโรค
ความเชื่อว่าตนมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหรือปัญหาสุขภาพนั้นมากน้อยเพียงใด
การรับรู้ของผู้ป่วยหมายถึงความเชื่อต่อความถูกต้องของการวินิจฉัยโรคของแพทย์
2.การรับรู้ความรุนแรงขอบโรค
ความเชื่อที่บุคคลเป็นผู้ประเมินเองในด้านความรุนแรงของโรคที่มีต่อร่างกายก่อให้เกิดการพิการเสียชีวิตความยากลำบาก
3.การรับรู้ประโยชน์ที่จะได้รับและค่าใช้จ่าย
การที่บุคคลแสวงหาวิธีการปฏิบัติให้หายจากโรคโดยการปฏิบัตินั้นต้องมีความเชื่อว่าเป็นการกระทำที่ดีมีประโยชน์และเหมาะสม
บุคคลจะต้องมีความเชื่อว่าค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นข้อเสียและรักษาโรคจะต้องมีน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประโยชน์ที่จะได้รับ
4.แรงจูงใจด้านสุขภาพ
ระดับความสนใจและความห่วงใยเกี่ยวกับสุขภาพความปรารถนาที่จะดำรงรักษาสุขภาพ
เกิดจากความสนใจสุขภาพโดยทั่วไปของบุคคลหรือเกิดจากการกระตุ้นของความเชื่อต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค
5.ปัจจัยร่วม
ปัจจัยที่มีส่วนช่วยส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการที่บุคคลจะปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคหรือการปฏิบัติตามคำแนะนำในการรักษาโรค
แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion Model : HPM)
ข้อตกลงเบื้องต้นของแบบจำลอง
1.บุคคลแสวงหาภาวะการของชีวิตที่สร้างสรรค์โดยการแสดงความสามารถด้านสุขภาพที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตน
2.บุคคลมีความสามารถในการสะท้อนการตระหนักรู้ในตนเองรวมทั้งความสามารถในการประเมินสมรรถนะตนเอง
3.บุคคลให้คุณค่าแก่การเจริญเติบโตในทิศทางบวกและพยายามที่จะบรรลุความสำเร็จในการยอมรับความสมดุลย์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงกับการมั่นคง
4.บุคคลแสวงหาการควบคุมพฤติกรรมของตนเอง
5.บุคคลซึ่งประกอบด้วยกายจิตสังคมมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่อย่างต่อเนื่อง
6.บุคลากรด้านสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมระหว่างบุคคลที่มีอิทธิพลบุคคนตลอดช่วงชีวิต
7.การริเริ่มด้วยตนเองในการสร้างแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
มโนทัศน์หลักของแบบจำลอง
1.ลักษณะเฉพาะและประสบการณ์ของบุคคล (IndividualCharacteristicsandExperiences)
1.1 พฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง (Prior related behavior)
พฤติกรรมที่เคยปฏิบัติในอดีตมีอิทธิพลโดยตรงต่อการปฎิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
1.2 ปัจจัยส่วนบุคคล (Personal Factors)
ประกอบด้วย3ส่วน ดังนี้
ปัจจัยด้านชีววิทยา ได้แก่ อายุ ดัชนีมวลกาย
ปัจจัยด้านจิตวิทยา ได้แก่ ความมีคุณค่า
ในตนเอง แรงจูงใจในตนเอง
ปัจจัยด้านสังคมวัฒนธรรม ได้แก่ สัญชาติ วัฒนธรรม การศึกษํา
ความคิดและอารมณ์ต่อพฤติกรรม (Behavior-Specific Cognition and Affect)
2.1 การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม (Perceived Benefits of Action)
2.2 การรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรม (Perceived Barriers to Action)
2.3 การรับรู้ความสามารถของตนเอง (PerceivedSelf-Ef ficacy)
2.4 ความรู้สึกที่มีต่อพฤติกรรม (Activity-Related Affect)
2.5 อิทธิพลระหว่างบุคคล (Interpersonal Influences)
2.6 อิทธิพลจากสถานการณ์ (Situational Influences)
พฤติกรรมผลลัพธ์ (Behavioral Outcome)
ประกอบด้วย 3 อย่าง ได้แก่
3.1 ความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติพฤติกรรม
(Commitment to a Plan of Actions)
3.2 ความจำเป็นอื่นและทางเลือกอื่นที่เกิดขึ้น (Immediate Competing Demands and Preferences)
3.3 พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ (Health-Promoting Behavior)
ในปีค.ศ.1975 เพนเดอร์(Pender)ได้พัฒนาแบบจำลองการป้องกันสุขภาพที่กล่าวถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจและการปฎิบัติของปัจเจกบุคคลในการป้องกันโรค. เน้นของบทบาทการพยาบาลตามแนวคิดของเพลเด้อในสมัยนั้นเน้นที่การป้องกันและคงไว้ซึ่งสุขภาพของสาธารณะชนต่อมาเพนเด้อได้เห็นความจำกัดของมโนทัศน์การป้องกันสุขภาพ
คือเป็นมโนทัศน์ทางสุขภาพเชิงลบเพราะพฤติกรรมส่วนใหญ่จะเป็นการหลีกเลี่ยงแต่การยกระดับสุขภาพเป็นมโนทัศน์เชิงบวกเพนเดอร์จึงเสนอแบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพ ในปีค.ศ. 1982และมีการปรับปรุงแบบจำลองเป็นระยะซึ่งแบบจำลองสุดท้ายในปีค.ศ. 2006
สาระของทฤษฎี
แบบจำลองการส่งเสริมแบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพลเด้อมีพื้นฐานมาจากแนวคิดด้านการคิดรู้ซึ่งประกอบด้วยความคาดหวังต่อผลลัพธ์ของการประติบัตรพฤติกรรม (Outcome expectancies) จากทฤษฎีการให้คุณค่าการคาดหวังและความคาดหวังในความสามารถของตนเอง (Self-efficacy expectancies)
PRECEDE-PROCEED Model
P: Predisposing (แรงจูงใจ)
R: Reinforcing (ทาให้แข็งแกร่งขึ้น)
E: Enabling (ทาให้เป็นไปได)้
C: Causes (ทาให้เกิด)
E: Educational (การศึกษา)
D: Diagnosis (การหาสาเหต)ุ
E: Evaluation (การประเมินผล)
แปลว่ากระบวนการของการใช้ปัจจัยนำปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมในการวินิจฉัยโครงสร้างทางการศึกษานิเวศวิทยาและการประเมินผลพฤติกรรมของบุคคลมีสาเหตุมาจากสหปัจจัย (Multiple Factors)
เป็นเครื่องมือสำคัญของนักสุขศึกษาที่นำมาประยุกต์ใช้วางแผนและประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพและสุขศึกษาได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยนักพฤติ พฤติกรรมศาสตร์และนักสุขศึกษาสองท่านคือ
Lawrence W. Green และ Matthew W. Krueter
ขั้นตอนของหลัก PRECEDE-PROCEED Model
ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ทางสังคม (Phase1 : Social Assessment)
เป็นการพิจารณาและวิเคราะห์คุณภาพชีวิตซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนแรกของการวิเคราะห์โดยการประเมินสิ่งที่เกี่ยวข้อง
จุดประสงค์ของการประเมินในระยะนี้เพื่อค้นหาข้อมูลและประเมินปัญหาด้านสังคมที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต (Quality of Life: QOL) ของประชากรเป้าหมาย
ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์ทางระบาดวิทยา (Phase 2 : Epidemiological Assessment)
เป็นการวิเคราะห์ว่ามีปัญหาสุขภาพที่สำคัญอะไรบ้างที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยและเกิดการกระจายของโรคการวิเคราะห์ทางระบาดวิทยาจะช่วยให้สามารถจัดเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาเพื่อประโยชน์ในการวางแผนการดำเนินงานสุขศึกษาได้อย่างเหมาะสมต่อไป
ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์ด้านพฤติกรรม (Phase 3 : Behavioral Assessment)
จากปัจจัยปัญหาด้านสุขภาพอนามัยที่ได้ในขั้นตอนที่หนึ่งกับสองจะนำมาวิเคราะห์ต่อเพื่อหาสาเหตุที่เกี่ยวข้องโดยแบ่งเป็นสาเหตุอันเนื่องมาจากพฤติกรรมของบุคคลและสาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม
ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์ทางการศึกษา (Phase 4 : Educational Assessment)
ระยะนี้เป็นการประเมินสาเหตุของพฤติกรรมสุขภาพที่ระบุไว้ในระยะที่สองสาเหตุของพฤติกรรมสุขภาพประกอบด้วย
ปัจจัยนำ (Predisposing Factors)
หมายถึงปัจจัยที่เป็นพื้นฐานและก่อให้เกิดแรงจูงใจในการแสดงพฤติกรรมของบุคคล
ปัจจัยเอื้อ (Enabling Factors)
หมายถึงคุณลักษณะของสิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพและสังคมวัฒนธรรมทักษะส่วนบุคคลหรือทรัพยากรที่จะช่วยเกื้อกูลให้เกิดพฤติกรรมที่เพิ่งประสงค์
ปัจจัยเสริม (Reinforcing Factors)
หมายถึงสิ่งที่บุคคลจะได้รับหรือคาดว่าจะได้รับจากบุคคลอื่นอันเป็นผลจากการกระทำของตนแรงเสริมจะได้รับจากครอบครัวเพื่อน
สื่อต่างๆเป็นต้น
ขั้นตอนที่ 5 การวิเคราะห์ทางการบริหาร (Phase 5 : Administrative and Policy Assessment)
เป็นการประเมินความสามารถของการบริหารและนโยบายของการจัดการโครงการส่งเสริมสุขภาพเพื่ออธิบายถึงแหล่งทรัพยากรขององค์กรที่ต้องการสร้างแผนงานและดำเนินงานตามแผนงานจนประสบความสำเร็จ
ขั้นตอนที่ 6 การปฏิบัติการ (Phase 6 : Implementation)
ดำเนินงานตามกลวิธีวิธีการและกิจกรรมโดยผู้รับผิดชอบในแต่ละเรื่องและประเด็นที่กำหนดไว้ตามตารางปฎิบัติกิจกรรม
ขั้นตอนที่ 7 การประเมินกระบวนการ (Phase 7 : Process Evaluation)
เพื่อประเมินถึงปัจจัยด้านการบริหารจัดการที่จะมีผลต่อการดำเนินโครงการที่ได้วางแผนไว้
ขั้นตอนที่ 9 การประเมินผลลัพธ์ (Phase 9 : Outcome Evaluation)
เป็นการประเมินผลรวบยอดของวัตถุประสงค์ที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นและประโยชน์ที่ได้รับด้านสุขภาพหรือคุณภาพชีวิตซึ่งอาจจะใช้เวลานานคนเหล่านี้จึงจะเกิดขึ้นซึ่งอาจจะเป็นปีปีจึงจะสามารถประเมินคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายได้
ขั้นตอนที่ 8 การประเมินผลกระทบ (Phase 8 : Impact Evaluation)
การประเมินผลที่เกิดจากการดำเนินโครงการในระยะสั้นเป็นการวัดประสิทธิผลของแผนงานโครงการตามวัตถุประสงค์ระยะสั้นที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงปัจจัยนำปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมแรง (predisposing, enabling , and reinforcing factors)
ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
Trans theoretical Model Stage of Change : TTM
พัฒนาขึ้นโดย James Prochaska and Carlo DiClemente ในปลายปีค.ศ. 1970 แล้วต้นปีค.ศ. 1980 ที่มหาวิทยาลัย Rhode Island ในขณะที่ทำการศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มผู้ป่วยซึ่งอยู่ในระหว่างการเลิกบุหรี่
มีทั้งหมด 6 ขั้นตอน คือ
ขั้นก่อนชั่งใจ (Pre-contemplation stage)
ขั้นชั่งใจ (Contemplation stage)
ขั้นเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติ (Preparation stage / Determination)
ขั้นปฏิบัติ (Action stage)
ขั้นคงไว้ซึ่งพฤติกรรมที่ต้องการ (Maintenance)
ขั้นยุติพฤติกรรมเดิมอย่างถาวร (Termination)
หลักกระบวณการช่วยเปลี่ยนเเปลง process of change
1.การปลุกจิตสานึก(consciousness raising)
เป็นการใช้วิธีต่างๆบอกให้รู้ผลเสียของการไม่เปลี่ยนและผลดีของการเปลี่ยนพฤติกรรม
เทคนิคนี้เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ในขั้นก่อนช่างใจ (Pre-contemplation stage) เพื่อเลื่อนขึ้นไปสู่ขั้นช่างใจ (Contemplation stage)
การระบายความรู้สึก (Dramatic relief)
เพื่อกระตุ้นหรือผักดันจิตใจให้เกิดความอยากเปลี่ยนแปลง
เทคนิคนี้เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ในขั้นก่อนช่างใจ (Pre-contemplation stage) เพื่อเลื่อนขึ้นไปสู่ขั้นช่างใจ (Contemplation stage)
การใคร่ครวญผลต่อสังคมรอบข้าง (social reevaluation)
เทคนิคนี้เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ในขั้นก่อนช่างใจ (Pre-contemplation stage) เพื่อเลื่อนขึ้นไปสู่ขั้นช่างใจ (Contemplation stage)
เช่นนึกต่อไปว่าถ้าตนเองดื่มแอลกอฮอล์จัดอยู่ต่อไปลูกลูกจะเป็นอย่างไร
การใคร่ครวญผลต่อตนเอง (self reevaluation)
เทคนิคนี้เหมาะสาหรับผู้ที่อยู่ในขั้นชั่งใจ (Contemplation stage) เพื่อ เลื่อนขึ้นไปสู่ขั้นเตรียมพรอ้มที่จะปฏิบัติ(Preparationstage /Determination)
เช่นจินตนาการว่าถ้าเอาแต่นอนโซฟาดูทีวีภาพของตนเองต่อไปจะเป็นอย่างไรถ้าขยันขันแข็งออกกำลังกายทุกวันจะเป็นอย่างไร
การปลดปล่อยตนเอง (self liberation)
เทคนิคนี้เหมาะสาหรับผู้ที่อยู่ในขั้นเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติ (Preparation stage / Determination) เพื่อเลื่อนขึ้นไปสู่ขั้นปฏิบัติ (Action)
การพยายามให้มีทางเลือกในการเปลี่ยนแปลง
การปลดปล่อยสังคม (social liberation)
อาศัยความรู้สึกว่าเป็นการปลดปล่อยจากการถูกกดขี่เอาเปรียบทางสังคม
เทคนิคนี้เหมาะสาหรับผู้ที่อยู่ในขั้นปฏิบัติ (Action) เพื่อเลื่อนขึ้นไปสู่ขั้น คงไว้ซึ่งพฤติกรรมที่ต้องการ (Maintenance)
ให้เรียนรู้สิ่งตรงกันข้าม (counterconditioning)
เทคนิคนี้เหมาะสาหรับผู้ที่อยู่ในขั้นปฏิบัติ (Action) เพื่อเลื่อนขึ้นไปสู่ ขั้นคงไว้ซึ่งพฤติกรรมที่ต้องการ (Maintenance)
เช่นให้เรียนรู้การสนองตอบแบบผ่อนคลายเพื่อแก้ปัญหาที่อยากให้เรียนรู้การเป็นคนกล้าพูดกล้าแสดงออกเพื่อแก้ปัญหาการทนแรงกดดันจากเพื่อนชวนไม่ได้
บังคับให้ทาสิ่งที่ดีกว่าทางอ้อม (stimulus control)
เทคนิคนี้เหมาะสาหรับผู้ที่อยู่ในขั้นปฏิบัติ (Action) เพื่อเลื่อนขึ้นไปสู่ขั้น คงไว้ซึ่งพฤติกรรมที่ต้องการ (Maintenance)
เช่นสร้างที่จอดรถให้ห่างที่ทำงานเพื่อบังคับให้ต้องเดิน
จงใจใช้แผนกระตุ้น (contingency management)
เทคนิคนี้เหมาะสาหรับผู้ที่อยู่ในขั้นปฏิบัติ (Action) เพื่อเลื่อนขึ้นไปสู่ ขั้นคงไว้ซึ่งพฤติกรรมที่ต้องการ (Maintenance)
เช่นการตบรางวัลถ้าทำสิ่งที่ดีกว่าการชื่นชมผลงาน
กัลยาณมิตร (helping relationship)
เทคนิคนี้เหมาะสาหรับผู้ที่อยู่ในขั้นปฏิบัติ (Action) เพื่อเลื่อนขึ้นไปสู่ ขั้นคงไว้ซึ่งพฤติกรรมที่ต้องการ (Maintenance)
เช่นการเป็นที่ปรึกษาทางโทรศัพท์ให้มีการมีบัดดี้คอยสนับสนุน
A6480038 นางสาวหนึ่งฤทัย พันธุ์งาม