Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคระบบเลือด - Coggle Diagram
โรคระบบเลือด
Anemia โลหิตจาง
การวินิจฉัย
- ซักประวัติ เป็นการสอบถามผู้ป่วยโดยละเอียดเกี่ยวกับอาการ การรับประทานอาหารและยา รวมถึงประวัติภาวะโลหิตจางของคนในครอบครัว
- ตรวจร่างกาย เป็นการตรวจสอบลักษณะทั่วไปของร่างกายว่ามีความผิดปกติที่บ่งชี้ว่าเป็นภาวะโลหิตจางหรือไม่
- ตรวจโดยห้องปฏิบัติการ ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (Complete blood count: CBC) เป็นการตรวจเพื่อวัดค่าความเข้มข้นของเลือด ทั้งเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด วิธีนี้เป็นการตรวจเพื่อหาความผิดปกติแต่ยังไม่สามารถใช้ยืนยันภาวะหรือโรคได้ หากพบความผิดปกติจริงแพทย์จะส่งตัวผู้ป่วยไปตรวจยืนยันกับแพทย์เฉพาะทางด้านโลหิตวิทยา
- สเมียร์เลือด (Peripheral blood smear) เป็นการตรวจเพื่อดูลักษณะ รูปร่าง ขนาด และสีของเม็ดเลือดแดง การตรวจรูปแบบนี้มักตรวจเจอในผู้ที่ขาดธาตุเหล็ก โฟเลต และวิตามินบี 12
- การตรวจอุจจาระ (Stool test) เป็นการตรวจเพื่อดูปรสิตหรือพยาธิปากขอเพราะบางคนอาจอยู่ในกลุ่มเสี่ยงและไม่ได้รับประทานยาถ่ายพยาธิ และตรวจสอบระบบทางเดินอาหารว่ามีเลือดออกหรือไม่ เพราะภาวะโลหิตจางอาจเกิดจากลำไส้อักเสบ แผลในกระเพาะอาหาร หรือโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
- ตรวจสารเฟอร์ริติน (Serum ferritin) เป็นการตรวจเพื่อดูปริมาณธาตุเหล็กที่สะสมในร่างกาย ว่ามีความปกติหรือไม่
การรักษา
- ภาวะโลหิตจางที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก: แพทย์จะพิจารณาให้ทานยาเสริมธาตุเหล็ก ควบคู่กับการแนะนำให้ทานอาหารเพิ่มธาตุเหล็กและอาหารที่ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก
- ภาวะโลหิตจางจากการขาดวิตามิน: สำหรับการขาดโฟเลต ขาดวิตามินซี แพทย์จะให้ทานวิตามินเสริมและปรับเรื่องของอาหาร ส่วนการขาดวิตามินบี 12 ที่เนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถดูดซึมวิตามินจากอาหารที่ทานเข้าไป แพทย์จะทำการฉีดวิตามินบี 12 ให้จนกว่าระดับวิตามินจะกลับมาเป็นปกติ
- ภาวะโลหิตจางที่เกิดจากโรคเรื้อรัง: แพทย์จะรักษาตามอาการของโรคนั้นๆ หากภาวะโลหิตจางรุนแรง อาจมีการถ่ายเลือดร่วมกับการฉีดฮอร์โมน Erythropoietin เพื่อกระตุ้นการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง
- ภาวะโลหิตจางที่เกิดจากความผิดปกติของไขกระดูก: กรณีนี้แพทย์จะทำการรักษาโดยการให้รับประทานยา การทำเคมีบำบัด รวมถึงการผ่าตัดปลูกถ่ายไขกระดูก
- ภาวะโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตกสลาย: แพทย์จะให้งดใช้ยาบางตัวที่อาจเป็นต้นเหตุ หรือรักษาอาการติดเชื้อที่ก่อให้เกิดภาวะโลหิตจาง และให้รับประทานยาที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน
- ภาวะโลหิตจางจากโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว Sickle cell anemia (SCD): รักษาโดยการให้ออกซิเจนและยาแก้ปวดทั้งแบบรับประทานและแบบที่ให้ทางหลอดเลือดดำ นอกจากนี้แพทย์อาจแนะนำให้ถ่ายเลือด ทานยาเสริมกรดโฟลิกและยาปฏิชีวนะ รวมทั้งใช้ยารักษาโรคมะเร็งอย่างยา Hydroxyurea (ไฮดรอกซียูเรีย)
- ภาวะโลหิตจางจากโรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia): การรักษาโรคธาลัสซีเมียทำให้ภาวะโลหิตจางดีขึ้นด้วย วิธีการรักษาคือ การรับประทานอาหารเสริม การถ่ายเลือด รวมถึงการปลูกถ่ายไขกระดูกและเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด
- ยากลุ่ม Erythropoiesis-stimulating agents (ESAs) เป็นยาที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง สามารถรักษาภาวะโลหิตจางที่เกิดจากหลายสาเหตุ อาจเกิดผลข้างเคียงคือ ความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะ ปวดตามร่างกาย วิงเวียนศีรษะ และอาเจียนได้
- อาหารเสริมธาตุเหล็ก มีทั้งรูปแบบยาน้ำและยาเม็ดที่ช่วยเสริมธาตุเหล็ก สำหรับผู้ป่วยที่เป็นหญิงตั้งครรภ์จะต้องได้รับยาเสริมธาตุเหล็กอย่างน้อย 30 มิลลิกรัมต่อวัน ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ออกนโยบายการเสริมธาตุเหล็กให้กับเด็กไทยตั้งแต่อายุ 5 เดือนถึง 14 ปี เพื่อป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจาง โดยร่างกายจะดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีเมื่อรับประทานคู่กับวิตามินซีและทานตอนท้องว่าง
- อาหารเสริมวิตามินบี จะมีอยู่ 2 ตัวด้วยกัน คือ วิตามินบี 12 และวิตามินบี 9 (โฟเลต) เป็นวิตามินที่ช่วยเสริมการผลิตเม็ดเลือดแดง ระยะเวลาและปริมาณของวิตามินที่ต้องใช้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของภาวะโลหิตจางในแต่ละคน อาจเกิดผลข้างเคียงจากการรับประทาน แต่พบได้น้อยมาก เช่น ปวดศีรษะ วิงเวียน คลื่นไส้ และอาเจียน
สาเหตุ
การสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง
- ฮอร์โมนอีริโทรโพอิติน (Erythropoietin: EPO) โดยปกติแล้วเม็ดเลือดแดงจะถูกสร้างขึ้นจากไขสันหลังโดยใช้ฮอร์โมนอีริโทรโพอิตินเป็นตัวกระตุ้นในการสร้าง ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้ถูกผลิตมาจากไต เมื่อเกิดความผิดปกติที่ไต ฮอร์โมน EPO ก็จะน้อยลง การกระตุ้นให้ผลิตเม็ดเลือดแดงที่ไขสันหลังจึงลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้เกิดเป็นภาวะโลหิตจาง
- การขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง หรือร่างกายไม่สามารถดูดซึมและนำสารอาหารเหล่านี้ไปใช้ได้ ทั้งธาตุเหล็ก โฟเลต วิตามินบี 12 โดยเฉพาะการขาดธาตุเหล็ก ถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีภาวะโลหิตจาง ที่เรียกว่า Iron-deficiency anemia
- ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) เป็นความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายไม่มีกลไกในการขับธาตุเหล็กที่เป็นส่วนเกินออก และภาวะดังกล่าวนี้เองที่เป็นหนึ่งในสาเหตุทำให้การผลิตฮอร์โมนอีริโทรโพอิติน (EPO) บกพร่อง การผลิตเม็ดเลือดแดงจึงลดลงส่งผลให้เกิดภาวะเลือดจาง นอกจากนี้ยังมีโรคหรือภาวะเรื้อรังอื่นๆ ที่ส่งผลต่อฮอร์โมน EPO เช่น ภาวะที่ต่อมไทรอยด์โตแบบเป็นพิษหรือทำงานมากเกินไป ภาวะผิดปกติของไต โรคลูปัสหรือโรคพุ่มพวงซึ่งเป็นหนึ่งในโรคแพ้ภูมิตัวเอง
การเสียเลือด
การเสียเลือดจนทำให้เกิดภาวะเลือดจางสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การสูญเสียเลือดแบบเฉียบพลันจากการเกิดอุบัติเหตุและได้รับบาดเจ็บรุนแรง การเสียเลือดจากการผ่าตัด การเสียเลือดประจำเดือนปริมาณมากที่เชื่อมโยงกับการเป็นเนื้องอก นอกจากนี้ยังมีการเสียเลือดจากโรคหรือภาวะผิดปกติอื่นๆ ของร่างกายที่เราไม่ทันสังเกต เช่น โรคริดสีดวงทวาร โรคกระเพาะอาหาร หรือโรคมะเร็ง รวมถึงการรับประทานยาในกลุ่ม NSAIDs เป็นเวลานานก็สามารถทำให้เกิดเลือดออกในระบบทางเดินอาหารได้เช่นกัน
โรคทางพันธุกรรม
- โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) ในบางรายอาจมีอาการตัวเหลือง ตับม้ามโตตั้งแต่เด็ก
- โรคพร่องเอนไซม์จีซิกพีดี (G6PD deficiency) ที่มักพบในเพศชาย เป็นภาวะเม็ดเลือดแดงแตกง่าย ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม
- โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle cell anemia: SCD) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันร่างกายของตัวเองไปทำลายเม็ดเลือดแดง หรือภาวะที่เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นและแตกสลายง่าย
การทำลายเม็ดเลือดแดงมากขึ้น (Hemolysis)
โดยปกติเซลล์เม็ดเลือดแดงจะมีอายุประมาณ 120 วันก่อนจะแตกสลาย แต่หากเกิดภาวะผิดปกติจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกสลายเร็วขึ้น และไขสันหลังไม่สามารถผลิตเม็ดเลือดแดงใหม่มาทดแทนได้ทัน จนนำไปสู่ภาวะโลหิตจาง โดยมีปัจจัยมาจากความผิดปกติต่างๆ เช่น อาการเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ โรคตับแข็ง โรคข้ออักเสบ พังผืดในไขกระดูก รวมถึงกลุ่มอาการผิดปกติที่ตับหรือม้าม
การพยาบาล
- รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงๆ ในทุกมื้อ
- รับประทานวิตามินซีเพื่อช่วยเสริมการดูดซึมธาตุเหล็ก
- สังเกตอาการที่บ่งชี้ว่ามีเลือดออกภายในร่างกาย เช่น อุจจาระมีเลือดปน
- นอนหลับให้เพียงพอต่อวันรวมทั้งงีบในตอนกลางวัน เพราะผู้ป่วยภาวะโลหิตจางจะมีอาการอ่อนเพลียง่าย
- สังเกตอาการที่บ่งชี้ว่ามีเลือดออกภายในร่างกาย เช่น อุจจาระมีเลือดปน
- นอนหลับให้เพียงพอต่อวันรวมทั้งงีบในตอนกลางวัน เพราะผู้ป่วยภาวะโลหิตจางจะมีอาการอ่อนเพลียง่าย
- งดเครื่องดื่มชา กาแฟ แอลกอฮอล์ เพราะส่งผลให้การดูดซึมธาตุเหล็กลดลง
- งดการรับประทานยาแก้ปวด เช่น ยาแอสไพริน หรือยาในกลุ่ม NSAIDs อื่นๆ
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้เลือดออกหรือเสียเลือด
- เลี่ยงการออกกำลังกายหนักๆ
- ไม่ควรฝืนทำกิจกรรมต่างๆ หากรู้สึกอ่อนเพลีย เช่น ขับขี่ยานพาหนะ ทำความสะอาดบ้าน
-
-
-
-