Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคระบบเลือด - Coggle Diagram
โรคระบบเลือด
Anemia
-
การรักษา
การรักษาทั่วไป
เป็นการบำบัดรักษาอาการของโลหิตจาง ระหว่างที่ทำการรักษาโรคสาเหตุของโลหิตจาง เช่น รักษาภาวะหัวใจวาย ลดการออกแรง ให้ออกซิเจน และให้เลือดทดแทน มักให้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการวิงเวียนมาก หรือโลหิตจางมาก
การรักษาจำเพาะ
คือการรักษาโรคสาเหตุที่พบ เช่น ถ้าพบว่าโลหิตจางเพราะพยาธิปากขอ ก็ให้ยากำจัดพยาธิ และให้ยาที่มีธาตุเหล็กควบคู่กันไปㆍการดื่มสุรา ทำให้มีการดูดซึมโฟเลตน้อยลง ควรให้ผู้ป่วยเลิกดื่มสุราและให้ยาโฟเลตรับประทานโลหิตจางจากภูมิต้านทานทำลายเม็ดเลือดต้องให้ยาสเตียรอยด์ หรือยากดภูมิต้านทานในการรักษา โลหิตจางจากมะเร็งเม็ดเลือดขาวควรให้ส่วนประกอบของเลือดและเคมีบำบัดในการรักษา เป็นต้น
สาเหตุ
การสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง อาจเกิดจากการขาดสารอาหารที่จำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดง เช่น ขาดธาตุเหล็ก โฟเลตและวิตามินบี 12 หรือเป็นโรคของไขกระดูก เช่น โรคไขกระดูกฝอ มะเร็งเม็ดเลือดขาว
-
การที่เม็ดเลือดแดงแตก หรือถูกทำลายไปเร็วกว่าปกติ เช่น โรคภูมิต้านทานทำลายเม็ดเลือแดงตนเอง โรคโลหิตจางกรรมพันธ์บางชนิด เช่นโรคขาค G-6 -PP ของเม็ดเลือดแดง โรคธาลัสซีเมีย โรคโลหิตจางที่มีรูปร่างเม็ดเลือดแดงมีลักษณะทรงกลม หรือการติดเชื้อ เช่น มาลาเรีย เป็นต้น
การพยาบาล
-
-
-
-
-
-
ประเมินอาการและอาการแสดงภาวะซีด ได้แก่ ค่าความเข้มข้นเม็ดเลือดแดง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง เวียนศีรษะ หายใจตื้น หัวใจเต้นเร็ว มีอาการซีดตามปลายมือ ปลายเท้า เยื่อบุตา
Leukemia
การรักษา
TARGETED THERAPYเป็นยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็งโดยไม่ทำลายเซลล์ปกติ เช่น ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซีนไคเนส (TYROSINEKINASE INHIBITOR) ที่ใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดมัยอีลอยด์(CHRONIC MYELOID LEUKEMIA)
STEM CELL TRANSPLANTATIONนำเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดหรือไขกระดูกของตัวผู้ป่วยเอง (AUTOLOGOUSTRANSPLANTATION) ญาติพี่น้องหรือผู้บริจาค (ALLOGENEICTRANSPLANTATION) ที่เข้ากันได้ มาปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยหลังจากได้รักษาจนโรคอยู่ในระยะสงบเพื่อลดโอกาสกลับเป็นซ้ำ
CHEMOTHERAPYเป็นการรักษาหลักสำหรับมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันโดยยาจะไปทำลายเซลล์มะเร็งที่แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ไขกระดูกสามารถสร้างเม็ดเลือดปกติขึ้นมาใหม่ เคมีบำบัดมีทั้งชนิดกิน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำและฉีดเข้าน้ำขสันหลัง ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันมักต้องใช้เคมีบำบัดร่วมกันหลายชนิด
-
การวินิจฉัย
การเจาะเลือดตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (COMPLETE BLOODCOUNT, CBC) อาจพบฮีโมโกลบินต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ จำนวนเม็ดเลือดขาวสูงหรือต่ำกว่าปกติก็ได้ และอาจพบเม็ดเลือดขาวตัวอ่อนได้ แพทย์จะตรวจยืนยันการวินิจฉัย โดยการตรวจไขกระดูก เพื่อนับจำนวนเซลล์ตัวอ่อน ส่งตรวจพิเศษเพื่อแยกชนิดของเซลล์ MYELOID และ LYMPHOID รวมถึงส่งตรวจโครโมโซมเพื่อการพยากรณ์โรค
การเจาะไขกระดูก BONE MARROW เป็นการตรวจที่จำเป็นในการวินิจฉัยมะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยแพทย์จะใช้เข็มดูดและตัดชิ้นเนื้อบริเวณหลังกระดูกสะโพกหรือหลังกระดูกเชิงกราน (ไม่ใช่การเจาะน้ำไขสันหลัง) ระยะเวลาในการเจาะประมาณ 10-15นาที
สาเหตุ
-
การรับเคมีบำบัด เกิดจากการรักษาโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ ด้วยตัวยาเคมีเนื่องจากยาเคมีบำบัดบางกลุ่มอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
-
-
-
ผู้ป่วยโรคไขกระดูกเสื่อม (MYELODYSPLASTIC SYNDROME, MDS)
Thrombocytopenia
การวินิจฉัย
การซักประวัติผู้ป่วย ถึงสาเหตุที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำได้ เช่น ประวัติการใช้ยา พฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเอดส์ การให้เลือด ประวัติการมีเพศสัมพันธ์ การใช้ยาที่ฉีดเข้าร่างกาย การสัมผัสเลือดที่ติดเชื้อ หรือสารคัดหลั่งอื่น ๆ รวมถึงประวัติการเกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำของสมาชิกในครอบครัว เป็นต้น
การตรวจร่างกาย เพื่อหาร่องรอยของอาการเลือดออก เช่น รอยช้ำหรือจุดแดงใต้ผิวหนัง ตรวจที่หน้าท้องว่ามีอาการของม้ามโตหรือไม่ หรือมีไข้ ซึ่งเป็นอาการของการติดเชื้อหรือไม่
การตรวจเลือด เพื่อนับจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ในผู้ที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ จะมีจำนวนของเกล็ดเลือดต่ำกว่า 150,000 เกล็ดต่อไมโครลิตร ซึ่งการตรวจเลือดทำได้หลายวิธี เช่น การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count) การตรวจสเมียร์เลือด (Blood Smear) ดูรูปร่างลักษณะของเกล็ดเลือด รวมถึงการตรวจหาจำนวนของสารภูมิต้านทาน หรือแอนติบอดี้ (Amtibody) เป็นโปรตีนที่ร่างกายผลิตออกมาเพื่อทำลายเกล็ดเลือด
การตรวจไขกระดูก เนื่องจากไขกระดูกเป็นอวัยวะที่ใช้ในการสร้างเกล็ดเลือด เพื่อหาสาเหตุว่าทำไมไขกระดูกจึงสร้างเกล็ดเลือดได้ไม่เพียงพอ ตรวจได้ 2 วิธีคือ การเจาะไขกระดูก (Aspiration) แล้วนำไปส่องกล้องเพื่อหาความผิดพลาดของเซลล์ หรือการตัดชิ้นเนื้อ (Biopsy) ซึ่งจะทำหลังการเจาะไขกระดูก ส่วนมากมักตรวจที่ไขกระดูกสะโพก เพื่อตรวจสอบจำนวนและชนิดของเซลล์
การตรวจอื่น ๆ เช่น การตรวจ Prothrombin time: PT หรือการตรวจ Partial Thromboplastin Time: PTT เพื่อตรวจการแข็งตัวของเลือด หรือแพทย์อาจตรวจอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) เพื่อดูว่าม้ามมีการขยายตัวใหญ่ขึ้นหรือไม่
การรักษา
-
ยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ในรูปแบบยารับประทานหรือยาฉีด เพื่อชะลอการทำลายเกล็ดเลือด เช่น เพรดนิโซน (Prednisone)
อิมมิวโนโกลบูลิน (Immunoglobulins) หรือ ริทูซิแมบ (Rituximab) เป็นยาชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด เพื่อยับยั้งระบบภูมิคุ้มกัน
ยา Eltrombopag หรือยา Romiplostim เป็นยาชนิดฉีดเข้าที่ใต้ผิวหนัง เพื่อช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเกล็ดเลือด
-
การผ่าตัดม้าม แพทย์จะผ่าตัดหากรักษาด้วยวิธีการใช้ยาแล้วไม่เป็นผล มักผ่าตัดให้ผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ที่มีภาวะ Immune Thrombocytopenia: ITP ในผู้ป่วยที่ผ่าตัดม้ามออกแล้ว จะทำให้ป่วยและติดเชื้อได้ง่าย หากมีไข้ หรือพบอาการอื่น ๆ ของการติดเชื้อ ควรไปพบแพทย์ทันที รวมถึงอาจต้องฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นต่อไป
-
-
iron defiiciency
การวินิจฉัย
-
ㆍเจาะเลือดดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (COMPLETE BLOODCOUNT: CBC) พบความผิดปกติคือ ระดับฮีโมโกลบินต่ำลง เม็ดเลือดแดงขนาดเล็ก และเกล็ดเลือดสูงขึ้น หรือตรวจดูสเมียร์เลือด พบเม็ดเลือดแดงขนาดเล็กและติดสีจาง
การยืนยันการวินิจฉัยโรคสามารถเจ าะวัดค่าปริมาณสะสมของธาตุเหล็กในร่างกาย (FERRITIN) หากค่าต่ำกว่า 30 ไมโครกรัมต่อลิตรถือว่าผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
การรักษา
3.การให้ธาตุเหล็กทดแทนรูปแบบให้ทางหลอดเลือดดำ (PARENTERAL IRON THERAPY) ใช้ในผู้ป่วยที่ไม่ สามารถรับประทานธาตุเหล็กได้ หรือผู้ป่วยที่ปัญหาทางเดินอาหารการดูดซึมธาตุเหล็กหรือต้องการเพิ่มปริมาณธาตุเหล็กในผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว ผลข้างเคียงที่อาจพบได้ คือ คลื่นไส้ อาเจียนคัน ปวด ศีรษะ หนาวๆร้อนๆ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อปวดหลัง เจ็บหน้าอก
1.การให้ธาตุเหล็กทดแทนรูปแบบรับบระทาน (ORAL IRON THERAPY) ให้ในคนที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย ที่มีระบบทางเดินอาหารและการดูดซึมสารอาหารปกติ การให้ธาตุเหล็กทดแทนแบบรับประทานเพียงพอต่อการรักษา จึงถูกเลือกใช้ในการรักษาเป็นอันดับแรก การรักษาใช้ธาตุเหล็กทดแทนประมาณ 200 มิลลิกรัมต่อวัน รับประทานวันละ 3 ครั้ง แนะนำรับประทานธาตุเหล็กในช่วงท้องว่าง หรือรับประทานร่วมกับวิตามินซี เพื่อเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในการ รับประทานร่วมกับธาตุเหล็ก คือ ซา กาแฟ เพราะมีสารแทนนิน และอาหารเสริมแคลเซียม ลดการดูดซึมธาตุเหล็กผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุด คือ อาการทางเดินอาหาร ได้แก่ ปวดมวนท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก การรับประทานยาต้องรับประทานต่อเนื่องประมาณ 6-12 เดือน เพื่อเพิ่มปริมาณเหล็กสะสมในร่างกาย ความเข้มข้นเลือดระดับฮีโมโกลบินเพิ่มขึ้น 2 กรัมต่อเดซิลิตร ทุก 3 สัปดาห์
2.การให้เลือดแดง (RED BLOOD CELLTRANSFUSION) ข้อบ่งขี้ในการให้เลือดแดงคือผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หัวใจล้มเหลว และสาเหตุของการขาดธาตุเหล็ก คือ ภาวะเสียเลือดเฉียบพลันในปริมาณมากและต้องการการทำหัตถการในการหยุดเลือด การให้เลือดแดงไม่เพียงแต่สามารถแก้ไขภาวะซีดอย่างรวดเร็วได้ แต่ร่างกายยังสามารถนำธาตุเหล็ก
4.รับประทานอาหารธาตุเหล็กสูง ได้แก่เนื้อสัตว์โดยเฉพาะเนื้อแดง ตับ เครื่องในสัตว์เลือด เครื่องในสัตว์ ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง ไข่แดง ผักใบสีเขียวเข้ม เช่น คะน้า ผักโขมตำลึง หน่อไม้ฝรั่ง บร็อคโคลี ผักบุ้ง เป็นต้น
5.หาสาเหตุของภาวะโลหิตจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าหากพบสาเหตุแล้วผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาสาเหตุนั้นด้วย เพื่อป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กซ้ำ ได้แก่ หากเลือดออกในทางเดินอาหารต้องได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนและล่าง หรือหากประจำเดือนมามาก ควรได้รับการตรวจภายในและพบแพทย์ทางสูตินรีเวช เพื่อหาสาเหตุต่อไป
สาเหตุ
ㆍ ร่างกายต้องการธาตุเหล็กมากขึ้น เช่น หญิงตั้งครรภ์ หรือเด็กทารกที่ต้องใช้ในการเจริญเติบโต และผู้ป่วยโรคไตที่ได้รับการฉีดยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง (ERYTHROPOIETIN STIMULATING AGENT THERAPY)
ㆍร่างกายสูญเสียธาตุเหล็กมากกว่าปกติจากภาวะเลือดออกเฉียบพลันและเรื้อรัง พบ.บ่อยคือ ภาวะประจำเดือนมามาก (HYPERMENORRHEA ของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ภาจะเลือดออกในท างเดินอาหาร ภาวะเลียเลือดหลังจากผ่าตัดและการบริจาคเลือดเป็นประจำ และไม่ได้รับประทานธาตุเหล็กทดแทน
ㆍร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ลดลง จากการผ่าตัดกระเพาะอาหารหรือลำไส้ส่วนต้น ได้แก่ GASTRECTOMYDUODENAL BYPASS และ BARIATRIC SURGERY และจากโรคในทางเดินอาหาร ได้แก่ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรังโครห์นCROHN'S DISEASE) รวมถึงภาวะที่ทำให้กระเพาะอาหารมีสภาวะเป็นกรดลดลง
ㆍ รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ พบในผู้ป่วยรับประทานอาหารมังสวิร้ติ ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ยอมรับประทานอาหาร หรือรับประทานอาหารเองไม่ได้
การพยาบาล
ให้ได้รับยาตามแผนการรักษา เหล็ก วิตามินซี ซึ่งมีผลข้างเคียง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องผูก ถ่ายเหลว
ดูแลให้รับประทานยาเพิ้มธาตุเหล็ก พร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันทีจะช่วย ลดการรบกวนของกระเพาะอาหาร ไม่ควรรับประทานยาเพิ่มเหล็กพร้อมยา Tetracyclin,Methyldopa,Quinolone,Levodopa ยาลดกรด ไข่ นม กาแฟ เพราะยาเพิ่มเหล็กจะดูดซึมลดลง
-
-
-
-
หากเป็นเด็กควรให้กินนมแม่ เพราะธาตุเหล็กในนมแม่ดูดซึมได้ถึงร้อยละ50 โดยให้นมแม่ร่วมกับอาหารเสริม เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
-
Lymphoma
การวินิจฉัย
-
-
-
-
-
DIFFUSE LARGE B-CELL LYMPHOMA บริเวณ EPIDURAL,PARANASAL SINUS, TESTIS, BONE MARROW
-
การรักษา
CHEMOTHERAPY
ทำลายเซลล์มะเร็ง โดยไปรบกวนการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งการเลือกชนิดของยาเคมีบำบัดนั้นจะขึ้นอยู่กับชริดของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โดยทั่วไปการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองมักจะได้ยาเคมีบำบัดหลายขนานรวมกัน หรืออาจให้ร่วมกับการรักษาด้วยแอนติบอดี (MONOCLONAL ANTIBODIES)
การเฝ้าติดตามโรค
การเฝ้าติดตามโรคมักใช้ในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดค่อยเป็นค่อยไป หรือในรายที่ผู้ป่วยมีอาการจากตัวโรคไม่มาก ระหว่างการเฝ้าติดตามโรค จะมีการตรวจเลือด หรือตรวจทางรังสีเป็นระยะๆ
MONOCLONAL ANTIBODIES
ยาโมโนโคลแอนติบอดี คือ สารสังเคราะห์ที่จะไปจับกับโปรตีนบนผิวของเซวล์มะเร็งหลังจากนั้นจะมีการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อมากำจัดเซลล์มะเร็งนั้น
-
-
สาเหตุ
-
-
พันธุกรรม การเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนั้น มีความชัดเจนที่เกิดมาจากกรรมพันธุ์ทางครอบครัว เช่น พี่น้องอาจเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองตามลำดับ หรือเป็นพร้อมกัน
การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น ไวรัส HIV, EBV เป็นต้น
การพยาบาล
ㆍเพื่อเฝ้าระวังการกลับเป็นซ้ำ ซึ่งพบบ่อยใน 2 ปีแรกหลังการรักษา และเฝ้าระวังการเกิดผลข้างเคียงระยะยาวจากการรักษา
-
ㆍ เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ ทุก 6-12 เดือน ใน 2 ปีแรก หลังจากนั้นทำเมื่อสงสัยโรคกลับเป็นซ้ำ ไม่จำเป็นต้องทำเป็นประจำนานกว่า 2 ปี เพราะว่าพบอุบัติการณ์ต่ำ มักมีอาการหรือผลเลือดผิดปกติร่วมด้วย ราคาสูง ไม่คุ้มค่า และยังได้รับปริมาณรังสีโดยไม่จำเป็น