Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคระบบเลือด, สาเหตุ - Coggle Diagram
โรคระบบเลือด
Anemia
สาเหตุ
การสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง อาจเกิดจากการขาดสารอาหารที่จำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดง เช่น ขาดธาตุเหล็ก โฟเลตและวิตามินบี 12 หรือเป็นโรคของไขกระดูก เช่น โรคไขกระดูกฝ่อ มะเร็งเม็ดเลือดขาว
การขาดสารอาหาร เป็นผลมาจากการรับประทานอาหารที่ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 หรือกรดโฟลิก ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่จําเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง การขาดธาตุเหล็กเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยทั่วไปในภาวะโลหิตจาง
ภาวะโรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังหรือการรักษาโรคเรื้อรังบางโรคจะส่งผลกระทบต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง โดยการทำลายไขกระดูก เช่น โรคมะเร็งบางชนิด การติดเชื้อ HIV โรคไตวายเรื้อรัง หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
ฮอร์โมน ภายในเลือดจะมีฮอร์โมนที่ชื่อว่า อิริโธรโพอิติน (Erythropoietin) ที่ผลิตได้จากไต มีหน้าที่ในการกระตุ้นไขกระดูกในการสร้างเม็ดเลือดแดง แต่เมื่อร่างกายมีฮอร์โมนชนิดนี้ต่ำกว่าปกติจะส่งผลให้เกิดภาวะเลือดจางได้
การตั้งครรภ์ ภาวะโลหิตจางสามารถเกิดขึ้นได้กับหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงอายุครรภ์ 6 เดือนแรก เนื่องจากการขาดสารอาหารประเภทธาตุเหล็กและกรดโฟลิก รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในเลือด
โรคเกี่ยวกับไขกระดูก ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคที่เกี่ยวข้องกับไขกระดูก เช่น ไขกระดูกฝ่อ มะเร็งในไขกระดูก หรือการติดเชื้อในไขกระดูก จะส่งผลต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงเช่นกัน เนื่องจากไขกระดูกมีหน้าที่ในการสร้างเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และเม็ดเลือดขาว เมื่อไขกระดูกไม่สามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดได้ จึงทำให้ปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือดลดน้อยลง
การสูญเสียเม็ดเลือดแดงจากกระแสเลือด ได้แก่การเสียเลือดทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง
เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในภาวะโลหิตจาง จากการเสียเลือดออกจากร่างกายทางใดทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการเสียเลือดแบบฉับพลัน เช่น อุบัติเหตุ การผ่าตัด การคลอดบุตรและการแท้งบุตร การตกเลือด ฯลฯ หรือเป็นการเสียเลือดทีละน้อยที่เรียกว่า เสียเลือดแบบเรื้อรังจากหลายสาเหตุ เช่น เสียเลือดจากการมีประจำเดือน เป็นโรคเรื้อรังที่ก่อให้เกิดการเสียเลือดอย่างโรคริดสีดวงทวารหรือโรคพยาธิปากขอ เป็นต้น ซึ่งการสูญเสียเลือดแบบเรื้อรังนี้ยังก่อให้เกิดอาการขาดธาตุเหล็ก (Iron Deficiency Anemia) ตามมาภายหลังได้
การที่เม็ดเลือดแดกแตก หรือถูกทำลายไปเร็วกว่าปกติ เช่น โรคภูมิต้านทานทำลายเม็ดเลือดแดงตนเอง โรคโลหิตจางกรรมพันธุ์บางชนิด เช่น โรคขาด G-6-PD ของเม็ดเลือดแดง โรคธาลัสซีเมีย โรคโลหิตจางที่มีรูปร่าง เม็ดเลือดแดงมีลักษณะทรงกลม หรือการติดเชื้อ เช่น มาลาเรีย
การรักษา
ผ่าตัด เพื่อช่วยรักษาการเสียเลือดมากในอวัยวะนั้น ๆ จากโรคเรื้อรังบางชนิด แต่ในกรณีที่ตรวจไม่พบอาการเลือดออกจากอวัยวะอื่น แต่มีอาการซีดรุนแรงและม้ามโต แพทย์อาจพิจารณาให้ตัดม้ามออก เนื่องจากเกิดการทำลายเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติในม้าม ทำให้เม็ดเลือดแดงถูกทำลายในปริมาณมาก
ปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดและไขกระดูก โดยการนำเซลล์ต้นกำเนิดที่ปกติไปแทนเซลล์ที่มีความผิดปกติ เพื่อช่วยให้การสร้างเม็ดเลือดแดงมีปริมาณมากขึ้น
รับประทานยาปฏิชีวนะในการรักษาอาการติดเชื้อ
เปลี่ยนถ่ายเลือด ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจางรุนแรงหรือมีระดับของฮีโมโกลบินต่ำกว่า 8 กรัมต่อเดซิลิตร แพทย์อาจแนะนำการรักษาด้วยวิธีการเปลี่ยนถ่ายเลือด โดยการรักษาด้วยวิธีนี้จะช่วยเพิ่มระดับของฮีโมโกลบินให้สูงขึ้น และยังช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยให้ดีขึ้นด้วย
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและวิตามินเสริม เนื่องจากภาวะโลหิตจางบางประเภทเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีสารอาหารไม่เพียงพอ หรือภาวะบางอย่างจากโรค ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงและวิตามินต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามินบี 12 กรดโฟลิก รวมถึงวิตามินซี ที่มีส่วนช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่น เนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดง เครื่องใน อาหารทะเล ผักใบเขียวเข้ม ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ไข่ นม เป็นต้น
การรักษาด้วยวิธีคีเลชั่นบำบัด (Chelation Therapy) เพื่อขับธาตุเหล็กส่วนเกินออกจากร่างกาย
การวินิจฉัย
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC)
เป็นการนับปริมาณเม็ดเลือดแดงว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ โดยวัดจากปริมาณฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน รวมไปถึงการตรวจดูลักษณะเม็ดเลือดว่ามีรูปร่าง ขนาด หรือสีที่ปกติหรือไม่ เพื่อจำแนกประเภทของภาวะโลหิตจางได้ ค่าปกติของฮีโมโกลบินตามเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก (The World Health Organization: WHO) ได้กำหนดไว้สำหรับเด็กอายุ 6 เดือน-6 ปีจะพบประมาณ 11 กรัมต่อเดซิลิตร และเด็กอายุ 6-14 ปี จะพบประมาณ 12 กรัมต่อเดซิลิตร ส่วนผู้ใหญ่จะพบประมาณ 12.5 กรัมต่อเดซิลิตรในเพศหญิง และ 13.5 กรัมต่อเดซิลิตรในเพศชาย ในกรณีวัดด้วยค่าความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงอัดแน่นหรือค่าฮีมาโตคริต (Hematocrit: Hct) ค่าฮีมาโตคริตปกติสำหรับผู้ใหญ่ในผู้ชายอยู่ระหว่างร้อยละ 40-52 และในผู้หญิงอยู่ระหว่างร้อยละ 35-47 ทั้งนี้เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะซีดด้วยการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดจะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละสถาบัน
การตรวจวิเคราะห์ชนิดและปริมาณฮีโมโกลบิน (Hemoglobin Electrophoresis)
เป็นการตรวจดูชนิดของฮีโมโกลบินในเลือด ซึ่งมีประโยชน์ในการช่วยวิเคราะห์ประเภทของภาวะโลหิตจางที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้
การตรวจระดับธาตุเหล็กในเลือดและร่างกาย
เป็นการตรวจวัดปริมาณธาตุเหล็กที่พบในร่างกาย เพื่อดูว่าผู้ป่วยมีภาวะขาดธาตุเหล็กเกิดขึ้นหรือไม่
การตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน (Reticulocyte Count)
เป็นการนับจำนวนเม็ดเลือดแดงตัวอ่อนที่พบอยู่ในเลือด เพื่อตรวจดูการสร้างเม็ดเลือดแดงตัวอ่อนจากไขกระดูกว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
การตรวจไขกระดูก
หากตรวจเลือดแล้วพบว่าเกล็ดเลือดเซลล์เม็ดเลือดแดง หรือเม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยอยู่ในระดับที่ต่ำหรือสูงเกินไป แพทย์อาจต้องทำการตรวจไขกระดูกเพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติที่เกิดขึ้น
การพยาบาล
ดูแลการให้ยาตามหลักการรักษาทางแพทย์
แนะนำให้ผู้ป่วยพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 8-10 ชั่วโมง และพักผ่อนกลาง1-2 ชั่วโมง เพื่อลดการให้ออกซิเจน หากGA เยอะๆ แนะนำให้นอนท่าตะแคงเพื่อไม่ให้มดลูกกดทับเส้นเลือดดำใหญ่
แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าให้ครบ 5 หมู่ และรับประทานอาหารที่มีเหล็กและกรดโฟลิค ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ นม ตับ ผักใบเขียว ผลไม้
กรณีผู็ป่วยมาฝากครรภ์ตามกำหนดนัด แนะนำให้ผู้ป่วยตะหนักถึงความสำคัญที่จะต้องมารับการตรวจบ่อยกว่าคนอื่นๆ เพื่อจะได้รับการประเมินอาการของภาวะโลหิตจางและประเมินโดยการเจาะ LAB
การสัดสัญญาณชีพจรทุกๆ 4 ชั่วโมง เพื่อดูความผิดปกติทางด้านร่างกาย
การบันทึกสารน้ำ เข้า-ออก IO
Leukemia
สาเหตุ
การได้รับรังสีขนาดสูง เช่น รังสีนิวเคลียร์
การรับเคมีบำบัด เกิดจากการรักษาโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ ด้วยตัวยาเคมีเนื่องจากยาเคมีบำบัดบางกลุ่มอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
โรคทางพันธุกรรม
โรคดาวซินโดรม
อายุ ยิ่งอายุมากขึ้น โอกาสเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวก็ยิ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
การสัมผัสกับสารเคมีในสิ่งแวดล้อม เช่น สารเคมีในกลุ่มพวกเบนซีน และยาฆ่าแมลงบางชนิด
การวินิจฉัย
การเจาะเลือดตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (complete blood count, CBC)
อาจพบฮีโมโกลบินต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ จำนวนเม็ดเลือดขาวสูงหรือต่ำกว่าปกติก็ได้ และอาจพบเม็ดเลือดขาวตัวอ่อนได้ แพทย์จะตรวจยืนยันการวินิจฉัย โดยการตรวจไขกระดูก เพื่อนับจำนวนเซลล์ตัวอ่อน ส่งตรวจพิเศษเพื่อแยกชนิดของเซลล์ myeloid และ lymphoid รวมถึงส่งตรวจโครโมโซมเพื่อการพยากรณ์โรค
การเจาะไขกระดูกเป็นการตรวจที่จำเป็นในการวินิจฉัยมะเร็งเม็ดเลือดขาว
โดยแพทย์จะใช้เข็มดูดและตัดชิ้นเนื้อบริเวณหลังกระดูกสะโพกหรือหลังกระดูกเชิงกราน (ไม่ใช่การเจาะน้ำไขสันหลัง) ระยะเวลาในการเจาะประมาณ 10-15 นาที และไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
การรักษา
การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell transplantation)
การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted therapy)
เคมีบำบัด (Chemotherapy)
เป็นการรักษาหลักสำหรับมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน โดยยาจะไปทำลายเซลล์มะเร็งที่แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ไขกระดูกสามารถสร้างเม็ดเลือดปกติขึ้นมาใหม่ เคมีบำบัดมีทั้งชนิดกิน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำและฉีดเข้าน้ำไขสันหลัง ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันมักต้องใช้เคมีบำบัดร่วมกันหลายชนิด โดยแพทย์จะพิจารณาตามชนิดและความรุนแรงของโรค รวมถึงความแข็งแรงของผู้ป่วยด้วย เพราะเคมีบำบัดจะมีผลข้างเคียงต่อเซลล์อื่นๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์ที่แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เช่น เยื่อบุทางเดินอาหาร เซลล์ในไขกระดูก ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปาก ถ่ายเหลว โลหิตจาง เม็ดเลือดขาวต่ำหรือเกล็ดเลือดต่ำ ดังนั้นในระหว่างการรักษา ผู้ป่วยอาจต้องได้เลือดและเกล็ดเลือด รวมถึงยารักษาตามอาการเพื่อลดผลข้างเคียง เช่น ยาแก้อาเจียน ยากระตุ้นเม็ดเลือดขาว เป็นต้น
เป็นยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง โดยไม่ทำลายเซลล์ปกติ เช่น ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซีนไคเนส (Tyrosine kinase inhibitor) ที่ใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดมัยอีลอยด์ (Chronic myeloid leukemia)
แพทย์จะนำเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดหรือไขกระดูกของตัวผู้ป่วยเอง (Autologous transplantation) ญาติพี่น้องหรือผู้บริจาค (Allogeneic transplantation) ที่เข้ากันได้ มาปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยหลังจากได้รักษาจนโรคอยู่ในระยะสงบเพื่อลดโอกาสกลับเป็นซ้ำ
การเตรียมเซลล์ภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
การบำบัดด้วยภูมิคุ้มกัน
ทางเลือกการรักษานี้ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยเพื่อต่อสู้กับโรคมะเร็งโดยจะรบกวนกระบวนการผลิตโปรตีนที่เซลล์มะเร็งใช้ในการป้องกันไม่ให้ระบบภูมิคุ้มกันโจมตีเซลล์มะเร็ง
การรักษาเฉพาะทางที่เรียกว่าการบำบัดด้วยไคเมอริก แอนติเจน รีเซพเตอร์ (CAR)-T เซลล์ วิธีนี้จะนำ T-cell ของระบบภูมิคุ้มกันผู้ป่วยออกมาเปลี่ยนคุณสมบัติให้ต่อสู้กับมะเร็งได้ และหลังจากนั้นจะฉีดกลับเข้าร่างกายของคนไข้เพื่อลดปริมาณเซลล์มะเร็งลง
การพยาบาล
ให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอ นอนพัก8-10 ชั่วโมง
ให้ผู้ป่ววยดื่มน้ำเยอะๆ รับปะทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
การให้ญาติรักษาความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับเพื่อนและครอบครัว ความสัมพันธ์นี้จะช่วยให้ผูป่วยจัดการกับโรคได้
การดูแลสารน้ำเข้าทางหลอดเลือดดำ ประเมินสารน้ำเข้า-ออก( IO)
การเตรียมผู้ป่วยและญาติก่อนการผ่าตัดก่อนการรักษาด้วยยาเคมี
การพยาบาลยึดหลักการปลอดเชื้อ
ดูแลและแนะนำให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย โปรตีนสูง มีสารอาหารที่ครบ 5 หมู่
ระวังเรื่องการพลัดตกหกล้ม เพราะผู้ป่วยมีภาวะซีด อ่อนเพลีย
แนะนำให้ความรู็การป้องกันการติดเชื้อโดยการทำความสะอาดช่องปาก ร่างกายและ ช่องปาก ล้างมือบ่อยๆ มีการแยกผู้ป่วยจากผู็ป่วยโรคติดต่อ
การวัดสัญญาณชีพจร วัดไข้ คนไข้เพื่อสังเกตอาหารผิดปกติของคนไข้อย่างสม่ำเสมอ
Lymphoma
สาเหตุ
ภาวะพร่องภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ผู้ป่วย HIV พบอุบัติการณ์ของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้น
โรคภูมิแพ้ตนเอง (Autoimmune disease)
ผู้ป่วย SLE พบอุบัติการณ์ของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้น
การสัมผัสสารเคมี
ยาฆ่าแมลงจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
อายุ
อุบัติการณ์ของมะเร้งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้น เมื่ออายุมากขึ้นโดยอุบัติการณืสูงสุดอยู่ที่ช่วงอายุ 60-70 ปี
การวินิจฉัยโรค
การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา (ฺBiopsy)
การตรวจไขกระดูก ( Bone marrow biopsy)
การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ( PET scan หรือ CT scan)
การเจาะเลือดเพื่อดูผลเลือดต่างๆ
การรักษา
การเฝ้าติดตามโรค (Watch&Wait)
การเฝ้าติดตามโรคมักใช้ในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดค่อยเป็นค่อยไป (Indolent) หรือในรายที่ผู้ป่วยมีอาการจากตัวโรคไม่มาก ระหว่างการเฝ้าติดตามโรค จะมีการตรวจเลือด หรือตรวจทางรังสีเป็นระยะๆ
การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด (Chemotherapy)
ยาเคมีบำบัดจะทำลายเซลล์มะเร็ง โดยไปรบกวนกรแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งการเลือกชนิดของยาเคมีบำบัดนั้นจะขึ้นอยู่กับชริดของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โดยทั่วไปการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองมักจะได้ยาเคมีบำบัดหลายขนานรวมกัน หรืออาจให้ร่วมกับการรักาด้วยแอนติบอดี (Monoclonal Antibodies)
การรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Tranplantation)
การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด
การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด
โดยอาศัยเซลล์ของผู้ป่วยเอง (Autologous transplantation)
โดยอาศัยเซลล์ของผู้บริจาค (Allogeneic transplantation)
หลักการของการรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด คือ การทำลายเซลล์มะเร็งให้หมดไป แล้วแทนที่ด้วยเซลล์ที่ปกติ การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
การรักษาด้วยยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibodies)
การรักษาด้วยการฉายรังสี (Radiation Therapy)
คือการรักษาด้วยการใช้รังสีปริมาณสูง เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง
ยาโมโนโคลแอนติบอดี คือ สารสังเคราะห์ที่จะไปจับกับโปรตีนบนผิวของเซวล์มะเร็งหลังจากนั้นจะมีการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพื่อมากำจัดเซลล์มะเร็งนั้น
การพยาบาล
ส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายให้แก่ผู้ป่วย
สามารถออกกำลังกายเท่าที่ทนได้ ไม่ควรหักโหม อาจทำไม่ได้เท่าเดิม แต่ภายหลังการรักษาร่างการจะฟื้นตัวขึ้นได้สำหรับผู้ป่วยที่ไม่เคยออกกำลังกาย ไม่ควรอยู่แต่ภายในห้องนอนควรลุกเดินเล่นไปบ้าง เพื่อให้ปอดขยายตัวได้เต็มที่ ซึ่งการออกกำลังกายจะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
การแนะนำในเรื่องการรับประทานแก่คนไข้
ควรเลือกรับประทานอาหารที่สะอาด และทำสุกใหม่ๆ
● ไม่ควรรับประทานอาหารที่เก็บไว้นานโดยไม่ได้อุ่นให้เดือดใหม่หรืออาหารแห้ง ที่ไม่แน่ใจว่าทำเสร็จใหม่ เช่น ขนมตามร้านค้า
● ควรเลือกรับประทานผลไม้ที่มีเปลือกหนา เช่น ส้ม กล้วย โดยต้องล้างทำความสะอาดก่อนทุกครั้ง
● ไม่ควรรับประทานผลไม้ที่มีเปลือกบาง เช่น ฝรั่ง องุ่น หรือผลไม้ที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ เช่น สับปะรด
● ควรล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง
● ควรงดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
การทำความสะอาดร่างกาย
● ควรอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
● ใช้โลชั่นที่ไม่มีน้ำหอมทาผิวเพื่อป้องกันผิวแห้ง
● แปรงฟันเบาๆ ด้วยแปรงที่มีขนแปลงอ่อนนุ่ม อย่างน้อย วันละ2 ครั้ง
● ควรล้างทำความสะอาดบริเวณทวารหนักหลังถ่ายเสร็จทุกครั้งและใช้กระดาษชำระซับเบาๆให้แห้ง
การให้กำลังใจ การส่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีแก่ผู้ป่วย ให้ป่วยได้สบายใจไม่เกิดความเครียด
ให้ผู้ป่วยได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ จะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มของร่างกาย
Iron Deficency
การวินิจฉัย
ซักถามประวัติและอาการผิดปกติต่าง ๆ ของผู้ป่วย จากนั้นแพทย์จะตรวจเลือดเพื่อหาความผิดปกติต่าง ๆ เช่น
ขนาดและสีของเซลล์เม็ดเลือดแดง เนื่องจากผู้ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กมักมีเซลล์เม็ดเลือดแดงที่เล็กหรือจางกว่าคนปกติทั่วไป
ค่าฮีมาโตคริต (Hematocrit) หรือปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดงในเลือดทั่วร่างกาย โดยผู้ที่มีภาวะโลหิตจางจะมีค่าฮีมาโตคริตต่ำกว่า 39 เปอร์เซ็นต์สำหรับผู้ชาย และต่ำกว่า 36 เปอร์เซ็นต์สำหรับผู้หญิง
ค่าฮีโมโกลบิน โดยผู้ที่มีภาวะโลหิตจางจะมีค่าฮีโมโกลบินต่ำกว่า 13 กรัม/เดซิลิตรในผู้ชาย หรือต่ำกว่า 12 กรัม/เดซิลิตรในผู้หญิง
ค่าเฟอร์ริติน (Ferritin) หรือโปรตีนที่ช่วยกักเก็บธาตุเหล็กในร่างกาย หากร่างกายมีระดับธาตุเหล็กต่ำก็อาจส่งผลให้ค่า Ferritin ต่ำไปด้วย
อัลตราซาวด์ (Ultrasound)
หากผู้ป่วยมีประจำเดือนมามากกว่าปกติ แพทย์อาจทำการอัลตราซาวด์บริเวณกระดูกเชิงกรานเพื่อหาสาเหตุของภาวะดังกล่าว อย่างเนื้องอกบริเวณมดลูก
การตรวจด้วยการส่องกล้อง
ดยการใช้กล้องขนาดเล็กสอดเข้าไปในร่างกายผ่านทางลำคอ หรือช่องทวารหนัก เพื่อตรวจหาจุดที่อาจมีเลือดออก เช่น บริเวณหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ หรือลำไส้ตรง เป็นต้น
การรักษา
การให้ธาตุเหล็กทดแทนรูปแบบการรับประทาน ( Oral Iron Therapy
ให้คนที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย ที่มีระบบทางเดินอาหารและการดูดซึมสารอาหารปกติ การให้ธาตุเหล็กทดแทนประมาณ 200 มิลลิกรัมต่อวัน รับประทานวันละ 3 ครั้ง แนะนำรับประทานธาตุเหล็กในช่วงท้องว่าง หรือ รับประทานร่วมกับวิตามินซี เพื่อเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น
รับประทานอาหารธาตุเหล็กสูง
แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าให้ครบ 5 หมู่ และรับประทานอาหารที่มีเหล็กและกรดโฟลิค ได้แก่ เนื้อสัตว์โดยเฉพาะเนื้อแดว ตับ เครื่องใน เลือด ถั่วเมล็ดแห้ง ไข่ นม ตับ ผักใบเขียวเช่น คะน้า ผักโขม ตำลึง หน่อไม้ฝรั่ง บร็อคโคลี ผักบุ้ง ผลไม้
การให้เลือด( Red Blood Cell Transfushion
ข้อบ่งชี้ในการให้เลือดแดง คือผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หัวใจล้มเหลว ของการขาดธาตุเหล็ก คือ ภาวะเสียเลือดเฉียบพลันในปริมาณมาก และต้องการการทำหัตถการในการหยุดเลือด
การให้ธาตุเหล็กทดแทนรูปแบบให้ทางหลอดเลือดดำ (Parentral Iron Therapy
ใช้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานธาตุเหล็กได้ หรือผู้ป่วยที่เป็นปัญหาทางเดินอาหารการดูดซึมธาตุเหล็กในผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว
การพยาบาล
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนเพียงพอ เช่น จัดท่านอนศีรษะให้สูง ดูแลผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอ
ให้อาหารที่มีธาตุเหล็กสูงและอาหารที่ย่อยง่าย
ให้ได้รับยาตามแผนการรักษา ( เหล็ก วิตามินซี ซึ่งจะมีผลข้างเคียง อาจจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องผูก ถ่ายเหลว
ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์
ครรภ์เดี่ยวปกติควรได้รับธาตุเหล็ก 30 ไมโครกรัม/วัน
ครรภ์แผดปกติคสรได้รับธาตุเหล็ก 60*-100 ไมโครกรัม/วัน แต่หากมีภาวะซีดต้องได้รับ 200 ไมโครกรัม/วัน (จะทำให้Hct สูงขึ้น 0.3-1/week )หรือให้หากเลือดซีดมาก
ควรได้รับธาตุเหล็กเสริม ferate sulfate 300 ไมโครกรัม/วัน (ควรรับประทานพร้อมมื้ออาหาร หากมีคลื่นไส้ อาเจียน)
ติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ สังเกตอาการผิดปกติ
ดูแลให้ประทานยาเพิ่มธาตุเหล็กพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันทีจะช่วยลดการรบกวนกระเพาะ ไม่ควรรับประทานยาเพิ่มธาตุเหล็กพร้อมยา Tetracycline Methyldopa Quinolone Levodopa ยาลกรด ไข่ นม กาแฟ เพราะยาธาตุเหล็กจะดูดซึมน้อยลง
Thrombocytopenia
สาเหตุ
สาเหตุจากการทำลายเกล็ดเลือด
โรคภูมิต้านทานตนเอง หรือโรคออโตอิมมูน (Autoimmune Diseases) เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันที่ปกติจะต้องกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย แต่เกิดความผิดพลาดไปทำลายเซลล์ เนื้อเยื่อในร่างกาย รวมถึงเกล็ดเลือด จะทำให้เกิดภาวะต่าง ๆ ตามมา เช่น
ภาวะ Immune Thrombocytopenia: ITP
โรคลูปัส (Lupus) หรือโรคเอสแอลอี (SLE) หรือที่รู้จักกันในชื่อโรคพุ่มพวง
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis)
การใช้ยาบางชนิด การตอบสนองต่อยาอาจสร้างความสับสนให้กับร่างกายและเกิดการทำลายเกล็ดเลือดได้ เช่น
ยาควินิน เป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาโรคมาลาเรีย
ยาแวนโคมัยซิน เป็นยาที่ใช้รักษาภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินอาหารและอาการลำไส้อักเสบ
ยาไรแฟมพิน เป็นยาที่ใช้รักษาวัณโรค
ยาเฮปพาริน เป็นยาที่ใช้รักษาและป้องกันภาวะลื่มเลือดอุดตัน จะไปทำปฏิกิริยากับระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำจากยาเฮปพาริน แต่ค่อนข้างพบได้น้อย
ยาโคลพิโดเกรล เป็นยาที่ใช้ป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด
สาเหตุจากการสร้างเกล็ดเลือด
โรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ (Aplastic Anemia) เป็นโรคเลือดผิดปกติที่พบค่อนข้างน้อยและร้ายแรง ทำให้ไขกระดูกไม่สามารถผลิตเกล็ดเลือดใหม่ออกมาได้เพียงพอ
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง จะไปทำลายไขกระดูกและเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ (Stem Cell)
การรักษาบางชนิด เช่น การฉายรังสี หรือการทำเคมีบำบัด ซึ่งเป็นการรักษาโรคมะเร็ง
การสัมผัสสารเคมีบางชนิด เช่น สารกำจัดศัตรูพืช สารหนู หรือเบนซีน (Benzene) จะเข้าไปชะลอการผลิตเกล็ดเลือดในร่างกาย
การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาคลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาการติดเชื้อจากแบคทีเรีย จะส่งผลต่อการสร้างเกล็ดเลือด และยาแอสไพริน (Aspirin) หรือยาไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) จะส่งผลต่อการทำงานของเกล็ดเลือด
การขาดแร่ธาตุและวิตามิน เช่น วิตามินบี 12 โฟเลท ธาตุเหล็ก
1 more item...
การติดเชื้อไวรัส เช่น โมโนนิวคลิโอสิส หรือไซโตเมกาโลไวรัส รวมถึงภาวะโลหิตเป็นพิษที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
การผ่าตัด เช่น การผ่าตัดลิ้นหัวใจเทียม การผ่าตัดหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจหรือการผ่าตัดบายพาส
การวินิจฉัย
การตรวจอื่น ๆ
เช่น การตรวจ Prothrombin time: PT หรือการตรวจ Partial Thromboplastin Time: PTT เพื่อตรวจการแข็งตัวของเลือด หรือแพทย์อาจตรวจอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) เพื่อดูว่าม้ามมีการขยายตัวใหญ่ขึ้นหรือไม่
การตรวจไขกระดูก
เนื่องจากไขกระดูกเป็นอวัยวะที่ใช้ในการสร้างเกล็ดเลือด เพื่อหาสาเหตุว่าทำไมไขกระดูกจึงสร้างเกล็ดเลือดได้ไม่เพียงพอ ตรวจได้ 2 วิธีคือ การเจาะไขกระดูก (Aspiration) แล้วนำไปส่องกล้องเพื่อหาความผิดพลาดของเซลล์ หรือการตัดชิ้นเนื้อ (Biopsy) ซึ่งจะทำหลังการเจาะไขกระดูก ส่วนมากมักตรวจที่ไขกระดูกสะโพก เพื่อตรวจสอบจำนวนและชนิดของเซลล์
การตรวจเลือด
เพื่อนับจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ในผู้ที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ จะมีจำนวนของเกล็ดเลือดต่ำกว่า 150,000 เกล็ดต่อไมโครลิตร ซึ่งการตรวจเลือดทำได้หลายวิธี เช่น การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count) การตรวจสเมียร์เลือด (Blood Smear) ดูรูปร่างลักษณะของเกล็ดเลือด รวมถึงการตรวจหาจำนวนของสารภูมิต้านทาน หรือแอนติบอดี้ (Amtibody) เป็นโปรตีนที่ร่างกายผลิตออกมาเพื่อทำลายเกล็ดเลือด
การตรวจร่างกาย
พื่อหาร่องรอยของอาการเลือดออก เช่น รอยช้ำหรือจุดแดงใต้ผิวหนัง ตรวจที่หน้าท้องว่ามีอาการของม้ามโตหรือไม่ หรือมีไข้ ซึ่งเป็นอาการของการติดเชื้อหรือไม่
การซักประวัติผู้ป่วย
ถึงสาเหตุที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำได้ เช่น ประวัติการใช้ยา พฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเอดส์ การให้เลือด ประวัติการมีเพศสัมพันธ์ การใช้ยาที่ฉีดเข้าร่างกาย การสัมผัสเลือดที่ติดเชื้อ หรือสารคัดหลั่งอื่น ๆ รวมถึงประวัติการเกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำของสมาชิกในครอบครัว เป็นต้น
การรักษา
การรักษาด้วยการใช้ยา
ยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ในรูปแบบยารับประทานหรือยาฉีด เพื่อชะลอการทำลายเกล็ดเลือด เช่น เพรดนิโซน (Prednisone)
อิมมิวโนโกลบูลิน (Immunoglobulins) หรือ ริทูซิแมบ (Rituximab) เป็นยาชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด เพื่อยับยั้งระบบภูมิคุ้มกัน
ยา Eltrombopag หรือยา Romiplostim เป็นยาชนิดฉีดเข้าที่ใต้ผิวหนัง เพื่อช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเกล็ดเลือด
การให้เลือดหรือเกล็ดเลือด ในผู้ป่วยที่มีเลือดออกหรือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเลือดออกมาก
การผ่าตัดม้าม
แพทย์จะผ่าตัดหากรักษาด้วยวิธีการใช้ยาแล้วไม่เป็นผล มักผ่าตัดให้ผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ที่มีภาวะ Immune Thrombocytopenia: ITP ในผู้ป่วยที่ผ่าตัดม้ามออกแล้ว จะทำให้ป่วยและติดเชื้อได้ง่าย หากมีไข้ หรือพบอาการอื่น ๆ ของการติดเชื้อ ควรไปพบแพทย์ทันที รวมถึงอาจต้องฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นต่อไป
หลีกเลี่ยงกีฬาที่มีการกระแทกและอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บ เช่น ฟุตบอล ศิลปะการต่อสู้ เป็นต้น
ใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงอ่อนนุ่ม เพื่อหลีกเลี่ยงเลือดออกที่เหงือกในขณะแปรงฟัน
สวมใส่อุปกรณ์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น คาดเข็มขัดนิรภัยในขณะขับขี่รถยนต์ ใส่ถุงมือหรือแว่นตาในขณะที่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อการทำงานของเกล็ดเลือด เช่น แอสไพริน (Aspirin) หรือไอบูโปรเฟน (Ibuprofen)
การพยาบาล
ในรายการพยาบาลทุกอย่างควรทำอย่างนุ่มนวล เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ
หลีกเลี่ยงการเจาะเลือดบ่อย ควรมีการวางแผนให้ดีก่อนเจาะ เจาะวันละครั้ง ใช้เข็มเบอร์เล็ก ห้ามเจาะเลือดบริเวณขาหนีบ เพราะทำให้เลือดออกมาก
งดฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ โดยเฉพาะในรายที่เกล็ดเลือดต่ำ
จำกัดกิจกรรมทางกาย งดเล่นกีฬาที่โลดโผน หรือเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
ดูแลให้รับประทานอาหารอ่อน งดอาหารที่ต้องเคี้ยวแทะ หรือฉีกติดเหงือกในรายที่มีเลือดออกตามไรฟัน
อธิบายให้ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรคเกล็ดเลือดต่ำ แนะนำวิธีการดูแลตนเองและการปฏิบัติต่อผู้ป่วย โดยเฉพาะหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการเลือดออก
ผู้ป่วยมักเลือดตามไรฟัน จึงเน้นการให้การดูแลทำความสะอาดช่องปากบ่อยๆ เพราะมีโอกาสกระจายของเชื้อโรคง่าย
สาเหตุ
ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงอาจมีโอกาสในการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กมากขึ้น
ผู้หญิง เนื่องจากการเสียเลือดในช่วงประจำเดือน
ทารกและเด็ก เช่น เด็กที่รับประทานอาหารไม่หลากหลาย เด็กที่ไม่ได้ดื่มนมแม่หรือดื่มนมที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ เด็กทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดต่ำหรือคลอดก่อนกำหนด
ผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติหรือไม่รับประทานเนื้อ
ผู้ที่บริจาคเลือดอยู่บ่อย ๆ เนื่องจากธาตุเหล็กจะออกไปกับเลือดที่เสียไปด้วย
การเสียเลือด เนื่องจากธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบหนึ่งในเซลล์เม็ดเลือดแดง ดังนั้น การเสียเลือดอาจส่งผลให้ธาตุเหล็กในร่างกายลดลงได้ โดยการเสียเลือดอาจมีสาเหตุมาจากประจำเดือน หรือภาวะเลือดออกภายในร่างกาย ซึ่งอาจเป็นผลมาจากแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer) หลอดอาหารอักเสบ (Esophagitis) ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ (Colon Polyp) หรือการใช้ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และแอสไพรินเป็นระยะเวลานาน
การดูดซึมธาตุเหล็กของร่างกายมีปัญหา โดยปกติแล้วร่างกายจะดูดซึมธาตุเหล็กเข้าสู่กระแสเลือดที่บริเวณลำไส้เล็ก แต่ในบางกรณี ร่างกายอาจดูดซึมธาตุเหล็กได้น้อยลง หากกำลังป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวกับลำไส้อย่างโรคเซลิแอค (Celiac Disease) โรคโครห์น (Crohn Disease) หรือเคยผ่านการผ่าตัดเชื่อมลำไส้เล็กกับกระเพาะอาหาร
การตั้งครรภ์ ผู้ที่ตั้งครรภ์อาจเกิดภาวะขาดธาตุเหล็กได้ เนื่องจากธาตุเหล็กในร่างกายของผู้ที่ตั้งครรภ์จะถูกนำไปใช้ในการสร้างฮีโมโกลบินสำหรับทารกในครรภ์
อาหารที่รับประทานมีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ โดยส่วนใหญ่แล้ว ธาตุเหล็กในร่างกายมักมาจากการรับประทานอาหาร ดังนั้นการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอเป็นระยะเวลานานอาจส่งผลให้ร่างกายเกิดการขาดธาตุเหล็กได้