Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวิเคราะห์วิจารณ์บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และบทนมัสการอาจาริยคุณ - Coggle…
การวิเคราะห์วิจารณ์บทนมัสการมาตาปิตุคุณ
และบทนมัสการอาจาริยคุณ
นมัสการมาตาปิตุคุณ
วิเคราะห์คุณค่าด้านเนื้อหา
ลำดับความได้ชัดเจน
ส่วนเกริ่นนำ : มีการกล่าวขอไหว้คุณของบิดามารดาผู้เลี้ยงดูบุตรตั้งแต่เล็กจนโต
ส่วนเนื้อหา : แสดงรายละเอียดว่าบิดามารดาเลี้ยงดูบุตร ด้วยความรักและเอาใจใส่ แม้จะยากลำบากเพียงใดก็ตาม
ส่วนสรุป : กล่าวย้ำถึงพระคุณบิดามารดา ซึ่งบุตรควรบูชา
การสอนจริยธรรม
บิดามารดาเป็นบุคคลที่บุตรควรเคารพกราบไหว้มากที่สุด เพราะเป็นทั้งผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูเรามาตั้งแต่เล็กจนเติบโต
วิเคราะห์คุณค่าด้านวรรณศิลป์
การเล่นเสียงสัมผัส
สัมผัสพยัญชนะ
คือ การใช้คำที่มีเสียงพยัญชนะเดียวกันนำมาสัมผัสกันเพื่อให้เกิดความไพเราะ
เช่น “ก็ บ เทียบ บ เทียมทัน”
เล่นเสียงพยัญชนะ ได้แก่ คำว่า “เทียบ” “เทียม” และ “ทัน”
สัมผัสสระ
คือ การใช้คำที่มีสระเหมือนกันนำมาสัมผัสกันเพื่อให้เกิดความไพเราะ
เช่น “ตรากทนระคนทุกข์” เล่นสัมผัสสระคำว่า “ทน” กับ “(ระ)คน”
การสรรคำ
ใช้คำที่ไพเราะได้อย่างเหมาะสม
เป็นคำที่ง่าย ชัดเจน ผู้อ่านเห็นภาพแจ่มชัด
เช่น “ฟูมฟัก” ทำให้เห็นภาพพ่อแม่ทะนุถนอม
ประคับประคองเลี้ยงดูลูก
3.การเล่นเสียงเบาหนัก(ครุ-ลหุ)
โดย พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาว จะเป็นคำครุ เเละพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นจะเป็นลหุ
4.การใช้โวหารภาพพจน์ อุปลักษณ์
เช่น “เปรียบหนักชนกคุณ ชนนีคือภูผา”
วิเคราะห์คุณค่าด้านสังคม
บทประพันธ์สื่อให้เห็นถึงสังคมไทยที่จะคอยปลูกฝังให้เด็ก ๆ
มีความเคารพ นับถือ กตัญญูต่อบุพการี
วิเคราะห์คุณค่าด้านข้อคิด
บิดามารดาเป็นพรหมของบุตร ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนและเลี้ยงดูบุตรจนเติบโต ดังนั้นผู้ที่เป็นบุตรจึงควรสำนึกในบุญคุณของท่านทั้งสอง และปฏิบัติต่อท่านเพื่อให้ท่านมีความสุขทั้งกายและใจ
ควรปฏิต่อพ่อแม่อย่างไร
เป็นเด็กดีของพ่อแม่ เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของพ่อแม่ ดูแลพ่อแม่ยามท่านแก่เฒ่า
นมัสการอาจาริยคุณ
วิเคราะห์คุณค่าด้านเนื้อหา
1.การสำนึกพระคุณของครูอาจารย์
ครูอาจารย์มีพระคุณที่คอยอบรมสั่งสอนเรื่องต่าง ๆ แก่ศิษย์ ฉะนั้นจึงควรตั้งใจศึกษาเล่าเรียนและสำนึกบุญคุณของครูอาจารย์
วิเคราะห์คุณค่าด้านวรรณศิลป์
การเล่นเสียงสัมผัส
สัมผัสพยัญชนะ
คือ การใช้คำที่มีเสียงพยัญชนะเดียวกันนำมาสัมผัสกันเพื่อให้เกิดความไพเราะ
“อนุสาสน์ทุกสิ่งสรรพ์” เล่นเสียงสัมผัสพยัญชนะได้แก่ คำว่า “(อนุ)สาสน์” “สิ่ง” และ “สรรพ์”
สัมผัสสระ
คือ การใช้คำที่มีสระเหมือนกันนำมาสัมผัสกันเพื่อให้เกิดความไพเราะ
“ต่อพระครูผู้การุญ” เล่นสัมผัสสระคำว่า “นึก” กับ “ตรึก”
การสรรคำ
ใช้คำที่ไพเราะได้อย่างเหมาะสม
เป็นคำที่ง่าย ชัดเจน ผู้อ่านเห็นภาพแจ่มชัด
“ขจัดเขลา” คำนี้แสดงให้เห็นหน้าที่ของครูว่าต้องการทำให้ศิษย์ฉลาด
วิเคราะห์คุณค่าด้านข้อคิด
คุณครูและอาจารย์ช่วยอบรมสั่งสอนเราให้มีความรู้ในด้านต่าง ๆ จนเราฉลาดเฉลียว เราควรสำนึกบุญคุณของพวกท่านและเคารพนอบน้อมพวกท่านอนึ่งผู้มีพระคุณสูงสุดอีกคนหนึ่ง
วิเคราะห์คุณค่าด้านสังคม
สังคมไทยมีการปลูกฝังให้ศิษย์เคารพนับถือ และสำนึกบุญคุณอาจารย์ที่สั่งสอนวิชาความรู้และจริยธรรมต่าง ๆ
เช่น "อนึ่งข้าคำนับน้อม ต่อพระครูผู้การุญ
โอบเอื้อและเจือจุน อนุสาสน์ทุกสิ่งสรรพ์"
ควรปฏิบัติต่อครูอาจารย์อย่างไร
ตั้งใจเรียน เชื่อฟังคำสั่งสอนของครู เคารพและสำนึกบุญคุณครูอาจารย์
ข้อคิดที่ได้
ควรเคารพและตอบแทนบุญคุณของผู้มีพระคุณ