Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบต่อมไร้ท่อ - Coggle Diagram
ระบบต่อมไร้ท่อ
RDU
-
-
-
-
5.องค์ประกอบอื่นๆท่ีจำเป็น (Other considerations)
รอบรู้รอบคอบระมัดระวังรับผิดชอบและใช้ยาอย่างเป็นขั้นตอนตามมาตรฐานทางวิชาการ
-
-
-
-
-
Diabetes mellitus
สาเหตุ
-
เบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2 Diabetes) เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้ หรือเกิดภาวะการดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance)
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) ซึ่งเป็นโรคเบาหวานที่พัฒนาขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์จากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน โดยที่ผู้ป่วยไม่เคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อน
-
การรักษา
การรักษาผู้ป่วยเบาหวานในประเภทที่ 1 จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลินเข้าไปทดแทนในร่างกายด้วยการฉีดยาเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการคุมอาหารและออกกำลังกายที่เหมาะสม
โรคเบาหวานประเภทที่ 2 หากเป็นในระยะแรก ๆ สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลัง และควบคุมน้ำหนัก หากอาการไม่ดีขึ้นแพทย์อาจให้ยาควบคู่ไปด้วยหรือฉีดอินซูลินเข้าไปทดแทนเช่นเดียวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1
สำหรับผู้เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรเข้าฝากครรภ์กับแพทย์ตั้งแต่ในระยะแรก พร้อมทั้งควบคุมอาหารที่รับประทานและออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์
-
CA thyroid & parathyroid
-
การวินิจฉัย
-
การส่งตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง หรือการตรวจอัลตร้าซาวด์ของต่อมไทรอยด์ ซึ่งการตรวจดังกล่าวจะทำให้สามารถเห็นลักษณะของก้อนที่ละเอียดได้ แพทย์จะใช้ในกรณีที่ผลการเจาะเลือดพบว่าระดับฮอร์โมนในเลือดปกติ
ถ้าพบลักษณะของก้อนที่เป็นของแข็ง มีขอบไม่เรียบ มีหินปูนในก้อน มีความสูงมากกว่าความกว้าง
มีเส้นเลือดมาเลี้ยงบริเวณก้อนมาก ทำให้แพทย์ต้องสงสัยว่าอาจมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้ และหากพบลักษณะดังกล่าวข้างต้น แพทย์จะแนะนำให้เจาะเอาเซลล์ในก้อนนั้นไปส่งตรวจอย่างละเอียด
ใช้เข็มฉีดยาขนาดเล็กเจาะผ่านผิวหนังไปในก้อนโดยตรง และทำการสุ่มเอาเซลล์ในก้อนนั้นออกไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อช่วยยืนยันว่าก้อนดังกล่าวเป็นเนื้องอกธรรมดาหรือเนื้อมะเร็งต่อมไทรอยด์
ให้ยา Thyroid Hormone เพื่อดูการตอบสนอง การถ่ายภาพรังสีต่าง ๆ เช่น Thyroid Scan จนถึง Ultrasound ก็ไม่สามารถวินิจฉัยได้อย่างแน่นอนว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ การวินิจฉัยมะเร็งของต่อมไทรอยด์มีเพียงการดู Cell ซึ่งได้จากการเจาะ ดูด หรือการผ่าตัดเท่านั้นจึงจะให้การวินิจฉัยที่สมบูรณ์ได้
การตรวจด้วยไอโอดีนรังสี โดยกลืนหรือฉีดสารไอโอดีนรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำแล้วใช้เครื่องสแกนวินิจฉัยว่าผู้ป่วยที่มีก้อนเกิดขึ้นที่ลำคอเป็นมะเร็งไทรอยด์หรือไม่ ซึ่งบริเวณที่สงสัยว่าอาจมีเซลล์มะเร็งจะมีการดูดซึมไอโอดีนรังสีน้อยกว่าเนื้อเยื่อในบริเวณใกล้เคียง และยังใช้ตรวจการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
การสแกนทรวงอก เพื่อระบุตำแหน่ง บอกขนาด และตรวจการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) การสแกนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือการตรวจความเปลี่ยนแปลงทางเคมี (PET Scan)
-
การพยาบาล
-
-
-
-
ในวันที่ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลจะยังคงมีรังสีตกค้างในร่างกาย แต่จะเป็นปริมาณที่ไม่มาก ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตนหลังออกจากโรงพยาบาล
หลักการหลังจากที่ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลจะต้องมีปริมาณรังสีน้อยลงจนไม่เป็นอันตรายต่อสาธารณชน ดังนั้นคำแนะนำต่าง ๆ ดังกล่าวจึงมีจุดประสงค์เพื่อลดการตกของรังสีไปยังผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
การรักษา
-
การรับประทานไอโอดีนรังสี เป็นการรับประทานสารกัมมันตรังสีซึ่งอยู่ในรูปแบบที่รับประทานง่าย โดยสารดังกล่าวจะเข้าไปรักษาโรคมะเร็งไทรอยด์ที่อาจหลงเหลืออยู่หลังการผ่าตัดทั้งภายในลำคอและเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง
การรับประทานยาฮอร์โมนไทรอยด์ หลังการผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์ออกทั้ง 2 ข้างแล้ว ร่างกายอาจไม่สามารถสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ได้ตามปกติ การรับประทานยาฮอร์โมนไทรอยด์จะช่วยทดแทนฮอร์โมนที่ขาดหายไป ทำให้ระบบเผาผลาญของร่างกายทำงานได้ตามปกติ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่หลงเหลืออยู่ในร่างกาย
-
-
Cushing's syndrom
-
การวินิจฉัย
-
-
ตรวจน้ำลาย เพื่อดูระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลในน้ำลาย ซึ่งจะทำการตรวจในเวลากลางคืน เพราะโดยปกติ ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลจะลดลงในช่วงเย็นเป็นต้นไป
ตรวจภาพถ่าย ด้วยการทำซีที สแกน (Computerized Tomography: CT Scan) หรือเอ็มอาร์ไอ สแกน (Magnetic Resonance Imaging: MRI Scan) เพื่อตรวจหาความผิดปกติของต่อมใต้สมองและต่อมหมวกไต เช่น ตรวจหาเนื้องอก
การรักษา
การลดหรือหยุดใช้ยาสเตียรอยด์ แพทย์จะตรวจสอบว่าควรหยุดใช้ยาหรือควรลดปริมาณการใช้ยาลงหรือไม่ รวมไปถึงสั่งยาตัวใหม่ที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ โดยผู้ป่วยไม่ควรหยุดหรือลดการใช้ยาสเตียรอยด์ด้วยตนเอง ต้องให้แพทย์เป็นผู้ปรับลดยาเท่านั้น เพราะการหยุดใช้ยาอย่างกะทันหันอาจทำให้ร่างกายขาดฮอร์โมนคอร์ติซอลได้ ซึ่งอาจทำให้มีไข้สูง ปวดท้อง ท้องเสียรุนแรง หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตต่ำ อ่อนเพลียมาก หรือช็อก หากพบอาการเหล่านี้ ผู้ป่วยต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที เพราะอาจเป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
การผ่าตัดเนื้องอกออก ในกรณีที่มีเนื้องอกเป็นสาเหตุ เช่น เนื้องอกต่อมใต้สมอง เนื้องอกต่อมหมวกไต เนื้องอกตับอ่อนหรือปอด โดยแพทย์จะทดสอบหาตำแหน่งของเนื้องอกก่อนพิจารณาผ่าตัด แต่หากไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดได้ แพทย์อาจฉายรังสี หรือใช้ยารักษาเพื่อให้เนื้องอกหดเล็กลง
-
การใช้ยารักษา ใช้เพื่อควบคุมการผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลในร่างกาย ในกรณีที่ไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดและฉายรังสีได้ หรืออาจใช้ก่อนการผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เพื่อช่วยลดอาการต่าง ๆ และลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด
การรักษาประคับประคองตามอาการ รักษาอาการต่าง ๆ ที่เป็นผลจากฮอร์โมนคอร์ติซอลสูง เช่น ให้ยารักษาโรคเบาหวานเมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือให้ยาลดความดันโลหิตเมื่อมีความดันโลหิตสูง
การพยาบาล
-
-
ดูแลสุขภาพจิต เพราะ Cushing Syndrome อาจทำให้ผู้ป่วยซึมเศร้าได้ หากมีอาการซึมเศร้า ควรแจ้งแพทย์หรือนักบำบัดเพื่อช่วยฟื้นฟูจิตใจ
-