Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบต่อมไร้ท่อ, นศพต.ศรสวรรค์ กุลศรี เลขที่ 56 - Coggle Diagram
ระบบต่อมไร้ท่อ
การใช้ยาRDU
- ข้อบ่งชี้ (Indication) : ใช้ยาเมื่อมีความจำเป็น
- ประสิทธิผล (Efficacy) : ยาเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย
- ความเสี่ยง (Risk) : คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลัก
- ค่าใช้จ่าย (Cost) : ใช้ยาเพียงพอและคุ้มค่า
- องค์ประกอบอื่น ๆ ที่จำเป็น (Other considerations ) : รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง รับผิดชอบ ใช้ยาอย่างเป็นขั้นตอนตามมาตรฐานทางวิชาการ
- ขนาดยา (Dose) : ใช้ยาถูกขนาด ไม่ปรับยาเอง
- วิธีให้ยา (Method of administration ) : ใช้ยาถูกวิธี
- ความถี่ในการให้ยา : ใช้ยาด้วยความถี่ที่เหมาะสม
- ระยะเวลาในการให้ยา (Duration of treatment) : ใช้ยาในระยะเวลาการรักษาที่เหมาะสม ไม่นานหรือสั้นเกินไป
- ความสะดวก (Patient compliance) : คำนึงถึงความสะดวกและการยอมรับของผู้ป่วย
ความหมาย
การใช้ยาโดยมีข้อบ่งชี้ เป็นยาที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพจริง สนับสนุนด้วยหลักฐานที่เชื่อได้ ให้ประโยชน์ทางคลินิกเหนือกว่าความเสี่ยงจากการใช้ยาอย่างชัดเจน มีราคาเหมาะสม คุ้มค่าตามหลักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ไม่เป็นการใช้ยาอย่างซ้ำซ้อน คำนึงถึงปัญหาเชื้อดื้อยา
Diabetes mellitus (DM)
สาเหตุ
DM1 : เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน เพราะเซลล์ถูกทำลายโดยภูมิคุ้มกันของตัวเองหรือเกิดจากมะเร็ง แอลกอฮอล์ ตับอ่อนถูกตัดจากอุบัติเหตุ
-
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) : ซึ่งเป็นโรคเบาหวานที่พัฒนาขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์จากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน
-
-
-
-
การรักษา
DM1 : จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลินเข้าไปทดแทนในร่างกายด้วยการฉีดยาเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการคุมอาหารและออกกำลังกายที่เหมาะสม
DM2 : ระยะแรกสามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกาย และควบคุมน้ำหนัก หากอาการไม่ดีขึ้นแพทย์อาจให้ยาควบคู่ไปด้วยหรือฉีดอินซูลินเข้าไปทดแทน
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) : ควรเข้าฝากครรภ์กับแพทย์ตั้งแต่ในระยะแรก พร้อมทั้งควบคุมอาหารที่รับประทานและออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์
การพยาบาล
-
-
การบันทึกทางการพยาบาล เช่น v/s, neuro sign, record I/O
-
ดูแลให้ NaHCO3, Potassium ตามแผนการรักษา
-
-
-
Cushing's syndrome
การรักษา
-
การผ่าตัดเนื้องอกออก ในกรณีที่มีเนื้องอกเป็นสาเหตุ เช่น เนื้องอกต่อมใต้สมอง เนื้องอกต่อมหมวกไต เนื้องอกตับอ่อนหรือปอด โดยแพทย์จะทดสอบหาตำแหน่งของเนื้องอกก่อนพิจารณาผ่าตัด แต่หากไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดได้ แพทย์อาจฉายรังสี หรือใช้ยารักษาเพื่อให้เนื้องอกหดเล็กลง
-
การใช้ยารักษา เพื่อควบคุมการผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลในร่างกาย ในกรณีที่ไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดและฉายรังสีได้ หรืออาจใช้ก่อนการผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เพื่อช่วยลดอาการต่าง ๆ และลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด
การวินิจฉัย
-
-
ตรวจน้ำลาย เพื่อดูระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลในน้ำลาย ซึ่งจะทำการตรวจในเวลากลางคืน เพราะโดยปกติ ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลจะลดลงในช่วงเย็นเป็นต้นไป
ตรวจภาพถ่าย ด้วยการทำซีที สแกน (Computerized Tomography: CT Scan) หรือเอ็มอาร์ไอ สแกน (Magnetic Resonance Imaging: MRI Scan) เพื่อตรวจหาความผิดปกติของต่อมใต้สมองและต่อมหมวกไต เช่น ตรวจหาเนื้องอก เป็นต้น
สาเหตุ
ฮอร์โมนสเตอรอยด์ในเลือดสูงกว่าปกติ มาจากการใช้ยาสเตอรอยด์ นาน ๆ เช่น ผู้ป่วยSLE, ปวดข้อรูมาตอยด์, การกินยาชุด
ต่อมหมวกไต(Adrenocortical adenoma) สร้างฮอร์โมนสเตอรอยด์มากผิดปกติ เพราะมีเนื้องอกของต่อมหมวกไต หรือเนื้องอกของต่อมใต้สมอง
-
-
-
-
ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป อาจทำให้ร่างกายผลิตฮอรโมนคอร์ติซอลออกมามาก โดยระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลจะลดลงเป็นปกติเมื่อหยุดดื่ม
เนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง ทำให้ต่อมใต้สมองผลิตฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคทรอพิก (Adrenocorticotropic hormone) ออกมามากเกินไป จนทำให้เกิด Cushing Syndrome
-
การพยาบาล
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
เตรียมผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยการผ่าตัดต่อมใต้สมอง หรือการฉายรังสี ถ้าสาเหตุเกิดจากเนื้องอกของต่อมใต้สมอง
-
-
Thyroid CA
การพยาบาล
-
-
-
-
ในวันที่ออกจากรพ. ยังคงมีรังสีตกค้างในร่างกายในปริมาณไม่มาก จะได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติหลังออกจากโรงพยาบาล
หลังจากออกจากรพ. จะต้องมีปริมาณรังสีน้อยลงจนไม่เป็นอันตรายกับผู้อื่น เพื่อลดการตกของรังสีไปยังผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
การรักษา
การผ่าตัด
การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออก 1 ข้าง (Lobectomy) สำหรับผู้ป่วยที่มีก้อนมะเร็งขนาดเล็กและไม่พบสัญญาณของการแพร่กระจายเซลล์มะเร็ง ผู้ป่วยอาจไม่ต้องรับประทานยาฮอร์โมนไทรอยด์หลังการผ่าตัด เนื่องจากต่อมไทรอยด์อีกข้างยังทำงานได้อยู่
การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ (Thyroidectomy) ทั้งผ่าตัดนำต่อมไทรอยด์ออกทั้งหมด หรืออาจผ่าตัดนำต่อมไทรอยด์ออกไปเพียงบางส่วน โดยหลังการผ่าตัดผู้ป่วยอาจต้องรับประทานยาฮอร์โมนไทรอยด์ทดแทนเป็นประจำทุกวัน เพื่อให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ
การผ่าตัดต่อมน้ำเหลือง ใช้รักษาผู้ป่วยที่มะเร็งไทรอยด์แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ชนิดเมดัลลารีและอะนาพลาสติก
การรับประทานไอโอดีนรังสี การรับประทานสารกัมมันตรังสีซึ่งอยู่ในรูปแบบที่รับประทานง่าย โดยสารดังกล่าวจะเข้าไปรักษาโรคมะเร็งไทรอยด์ที่อาจหลงเหลืออยู่หลังการผ่าตัดทั้งภายในลำคอและเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง และยังใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ชนิดพาพิลลารี่และฟอลลิคูลาร์ที่เซลล์มะเร็งแพร่กระจายเข้าสู่อวัยวะส่วนอื่น ๆ ด้วย เช่น ต่อมน้ำเหลือง ปอด และกระดูก ซึ่งการรักษาด้วยไอโอดีนรังสีนั้น ผู้ป่วยอาจรับประทานเพียงครั้งเดียวหรือมากกว่า 1 ครั้ง ตามความรุนแรงของโรคและดุลยพินิจของแพทย์
การรับประทานยาฮอร์โมนไทรอยด์ หลังการผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์ออกทั้ง 2 ข้างแล้ว ร่างกายอาจไม่สามารถสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ได้ตามปกติ การรับประทานยาฮอร์โมนไทรอยด์จะช่วยทดแทนฮอร์โมนที่ขาดหายไป ทำให้ระบบเผาผลาญของร่างกายทำงานได้ตามปกติ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่หลงเหลืออยู่ในร่างกาย และยังช่วยป้องกันการกลับมาเป็นโรคมะเร็งไทรอยด์ซ้ำได้อีกด้วย ดังนั้น ผู้ป่วยควรรับประทานยาฮอร์โมนไทรอยด์อย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์
การฉายรังสีจากภายนอกร่างกาย ใช้รังสีพลังงานสูงเพื่อทำลายและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง มักใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ชนิดเมดัลลารีและอะนาพลาสติกร่วมกับการรับประทานไอโอดีนรังสี และช่วยลดการกลับมาเป็นซ้ำหลังการผ่าตัด
การทำเคมีบำบัด เป็นการใช้ยาต้านมะเร็งหลายชนิด โดยให้ผู้ป่วยรับประทานยาหรือฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดดำหรือทางกล้ามเนื้อ จากนั้นยาจะเข้าสู่กระแสเลือดแล้วเข้าทำลายเซลล์มะเร็งที่มีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว
การใช้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง เป็นยารักษามะเร็งไทรอยด์รูปแบบใหม่ ซึ่งจะแบ่งใช้ตามชนิดของมะเร็งไทรอยด์ ดังนี้
มะเร็งไทรอยด์ชนิดเมดัลลารี เช่น ยาแวนเดทานิบ หรือยาคาโบซานทินิบ ยาจะออกฤทธิ์เข้าทำลายเซลล์มะเร็งที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
มะเร็งไทรอยด์ชนิดพาพิลลารี่และฟอลลิคูลาร์ เช่น ยาโซลาเฟนิบ หรือยาเลนวาทินิบ ยาจะยับยั้งการสร้างหลอดเลือดและโปรตีนที่เซลล์มะเร็งใช้ในการเจริญเติบโตของเนื้องอก
สาเหตุ
-
-
-
โรคประจำตัว เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งไทรอยด์ได้ เช่น โรคที่เกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ โรคอ้วน รวมถึงความผิดปกติของฮอร์โมนบางชนิด เป็นต้น
-
การสัมผัสกับรังสี เช่น การฉายรังสีบริเวณศีรษะหรือลำคอเพื่อรักษาโรคในวัยเด็ก รวมถึงเคยประสบอุบัติเหตุเกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าหรืออาวุธนิวเคลียร์ ความเสี่ยงจะขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ได้รับด้วย แต่ผู้ใหญ่ที่ได้รับรังสีจะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งไทรอยด์ได้น้อยกว่าเด็ก
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณลำคอว่ามีก้อนนูนเกิดขึ้นใต้ผิวหนังหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงกับต่อมไทรอยด์หรือไม่ ซักประวัติทางการแพทย์ โรคประจำตัว รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งไทรอยด์ และผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากมีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งไทรอยด์ โดยเฉพาะชนิดเมดัลลารีหรือเนื้องอกชนิดฟีโอโครโมไซโตมา (Pheochromocytoma)
การอัลตราซาวด์ โดยใช้คลื่นความถี่สูงตรวจหาก้อนเนื้อหรือก้อนน้ำบริเวณต่อมไทรอยด์ หรือบอกจำนวนและขนาด การกระจาย
การตรวจด้วยไอโอดีนรังสี โดยกลืนหรือฉีดสารไอโอดีนรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำแล้วใช้เครื่องสแกนวินิจฉัย บริเวณที่สงสัยว่าอาจมีเซลล์มะเร็งจะมีการดูดซึมไอโอดีนรังสีน้อยกว่าเนื้อเยื่อในบริเวณใกล้เคียง และตรวจการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
การสแกนทรวงอก เพื่อระบุตำแหน่ง บอกขนาด และตรวจการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) การสแกนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือการตรวจความเปลี่ยนแปลงทางเคมี (PET Scan) เป็นต้น
การทำไทรอยด์สแกน เป็นการตรวจภาพต่อมไทรอยด์ทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ที่ใช้วินิจฉัยเฉพาะผู้ป่วยบางราย โดยขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์
การตรวจเลือด เพื่อตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ และตรวจค่าฮอร์โมนหรือสารต่าง ๆ ที่บ่งชี้ว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งไทรอยด์ เช่น ฮอร์โมนกระตุ้นไทรอยด์ (Thyroid-Stimulating Hormone: TSH) ฮอร์โมนไทรอยด์ไตรไอโอโดไทโรนีน (Triiodothyronine) ฮอร์โมนไทรอยด์ไทรอกซิน (Thyroxine) ฮอร์โมนแคลซิโทนิน (Calcitonin) หรือโปรตีนไทโรโกลบูลิน (Thyroglobulin) เป็นต้น
การตรวจชิ้นเนื้อ โดยตัดชิ้นเนื้อหรือใช้เข็มเจาะ (Fine Needle Aspiration: FNA) เพื่อนำเนื้อเยื่อหรือเซลล์บริเวณต่อมไทรอยด์ไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง
การตรวจกล่องเสียง เพื่อตรวจว่าเส้นเสียงยังทำงานเป็นปกติหรือไม่ เนื่องจากมะเร็งไทรอยด์อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของกล่องเสียงและเส้นเสียงได้
Parathyroid CA
สาเหตุ
-
การถ่ายทอดภาวะไทรอยด์ทำงานเกินในครอบครัว (Familial Isolated Hyperparathyroidism) ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้เกิดนิ่วในไต คลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตสูง ร่างกายอ่อนแรง และอ่อนเพลีย
กลุ่มอาการ MEN1 (multiple endocrine neoplasia type 1) ซึ่งเป็นภาวะที่สัมพันธ์กับเนื้องอกของต่อมสร้างฮอร์โมน
การพยาบาล
-
-
-
-
ในวันที่ออกจากรพ. ยังคงมีรังสีตกค้างในร่างกายในปริมาณไม่มาก จะได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติหลังออกจากโรงพยาบาล
หลังจากออกจากรพ. จะต้องมีปริมาณรังสีน้อยลงจนไม่เป็นอันตรายกับผู้อื่น เพื่อลดการตกของรังสีไปยังผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
การวินิจฉัย
การตรวจและประวัติสุขภาพ แพทย์จะสังเกตร่างกายและตรวจหาก้อนนูนหรือสิ่งอื่น ๆ ที่ดูไม่ปกติ นอกจากนี้ แพทย์จะถามคำถามเกี่ยวกับสุขภาพในปัจจุบัน และประวัติสุขภาพของครอบครัวของคุณ
การตรวจเลือดและปัสสาวะ เป็นการตรวจหาระดับแคลเซียมและพาราไทรอยด์ฮอร์โมนระดับสูงในเลือดและปัสสาวะ ควรปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์ก่อนการตรวจ
การสแกนต่อมพาราไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์สร้างพาราไทรอยด์ฮอร์โมนมากเกินไปหรือไม่ จะได้รับการฉีดยาที่มีวัตถุกัมมันตรังสี แล้วนอนนิ่ง ๆ เป็นเวลาประมาณ 30 นาทีในขณะที่ถูกถ่ายภาพศีรษะและคอ ต่อมาจะถ่ายภาพอีก และเปรียบเทียบกับภาพถ่ายชุดแรก
-
MRI (magnetic resonance imaging) ใช้คอมพิวเตอร์ เอกซเรย์ และแม่เหล็กเพื่อถ่ายภาพอย่างละเอียดภายในร่างกาย
-
ฉีดน้ำสีชนิดพิเศษเข้าสู่หลอดเลือด ในขณะที่น้ำสีเคลื่อนผ่านร่างกาย จะทำการเอกซเรย์เพื่อตรวจหาการอุดกั้น
ตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือด จะเป็นการนำตัวอย่างเลือดมาจากหลอดเลือดที่แตกต่างกัน และตรวจเพื่อดูว่าต่อมพาราไทรอยด์ต่อมใด ที่สร้างพาราไทรอยด์ฮอร์โมนมากกว่าที่ควรจะเป็น
การรักษา
-
การฉายรังสีโดยใช้เอกซเรย์และพลังงานสูงอื่นๆ เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง การฉายรังสีอาจใช้ก่อนหรือหลังจากผ่าตัด
การผ่าตัดด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency ablation) ใช้ความร้อนเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับพาราไทรอยด์ฮอร์โมนได้
-
-