Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บการเจาะคอและใส่ท่อหลอดลมคอ - Coggle Diagram
บการเจาะคอและใส่ท่อหลอดลมคอ
การผ่าตัดเจาะคอและใสท่อ่หลอดลมคอสำหรับผู้ป่วยภาวะวิกฤต เป็นการรักษาที่พบบ่อยและเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย
การเจาะคอ (tracheostomy) เป็นการสร้างทางติดต่อระหว่างหลอดลมกับผิวหนังบริเวณด้านหน้าของ ลำคอ ทำให้อากาศสามารถผ่านเข้าสู่ปอด โดยไม่ต้องผ่านช่องจมูกและลำคอส่วนบน
ข้อบ่งชี้การเจาะคอของผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤต
พยาบาลทดี่แูลผปู้ว่ยที่ได้รับการเจาะคอและใส่ท่อหลอดลมคอในหอผู้ป่วยไอซียู จำเป็นต้องมีความเข้าใจ สาเหตุ ข้อบ่งชี้ และเหตุผลที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับ การเจาะคอและใสท่อ่หลอดลมคอเพื่อจะได้ให้การพยาบาลผู้ป่วยอย่างเข้าใจ
1) ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจระยะเวลานาน หรือต้องใช้เวลานานในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ส่วนใหญ่มักมีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute respiratory failure) และมีความจำเป็นต้องได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ (endotracheal tube) และใช้เครื่องช่วยหายใจ เมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลเพื่อหย่าเครื่องช่วยหายใจ ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจได้ จำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจเป็นเวลานาน เกิน 2 สัปดาห์ ขึ้นไป (late tracheostomy) ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม
2) ผู้ป่วยที่ไม่สามารถไอขับเสมหะ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถไอขับเสมหะ ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในปอด หรือผู้ป่วยที่มีเสมหะคั่งมากๆที่ไม่สามารถไอออกมาได้ดี มีความเสี่ยงต่อการเกิดทางเดินหายใจอุดกั้น (airway obstruction) หรือเสมหะอุดกั้นทางเดินหายใจ (secretion obstruction)
3) ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมการหายใจ ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีระดับความรู้สึกตัวลดลงและผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่สมอง
4) ผู้ป่วยที่มีภาวะทางเดินหายใจส่วนบนอุดก้ัน ผู้ป่วยที่มีภาวะทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้นได้แก่ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณใบหน้า (facial trauma) กล่องเสียง ได้รับบาดเจ็บและบาดแผลไหม้
5) ผู้ป่วยที่ได้รับผลจากการผ่าตัด ได้แก่ ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเกี่ยวกับหูคอและจมูก เช่น การผ่าตัด กล่องเสียง ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นตอ้งไดร้บัการผา่ตดัเจาะคอและ ใส่ท่อหลอดลมคอ
การเจาะคอและการใส่ท่อหลอดลมคอ
มีรายละเอียดที่สำคัญ
การเตรียมผู้ป่วยก่อนเจาะคอและใส่ท่อ หลอดลมคอ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน จากการเจาะคอ การตรวจที่สำคัญ ได้แก่ การถ่ายภาพ เอ็กซ์เรย์ปอด เพื่อประเมินทางเดินหายใจส่วนต้นและปอด การตรวจการแข็งตัวของเลือดก่อนเจาะคอ ไดแ้ก่ เกล็ดเลือด (platelet) ระยะเวลาการแข็งตัวของเลือด โดยตรวจ Prothrombin time (PT) และ Partial Thromboplastin Time (PTT) เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งญาติต้องได้รับทราบเกี่ยวกับแผนการรีกษา และความจำเป็นของการเจาะคอและใส่ท่อหลอดลมคอ ภาวะแทรกซ้อนที่ อาจเกิดขึ้นขณะทำและหลังเจาะคอและใส่ท่อหลอดลมคอ และการดูแลผู้ป่วยที่เจาะคอและใส่ท่อหลอดลมคอ ผู้ป่วย และหรือญาติตอบรับด้วยวาจา และเซนต์ยินยอมรับ
การเลือกขนาดท่อหลอดลมคอ(tracheostomy tube) ซึ่งท่อหลอดลมคอที่เหมาะสม กับผู้ป่วยนั้น ต้องพิจารณาถึงอายุผู้ป่วย ขนาดของหลอดลม ซึ่งท่อหลอดลมคอมีทั้งชนิดมีถุงลม (cuff) หรือชนิด ไม่มีถุงลม (non cuff) การเลือกขนาดของท่อหลอดลมคอ ที่พอเหมาะกับขนาดของหลอดลมคอของผู้ป่วยจะช่วยป้องกันอันตรายต่อเยื่อบุหลอดลมคอ
การผ่าตัดเจาะคอ วิธีการเจาะคอที่นิยม มี2 วิธีคือ การเจาะคอแบบผ่าตัด (surgical tracheostomy) และการเจาะคอโดยขยายทางผิวหนัง (percutaneous dilatational tracheostomy) งานวิจัย พบว่าการเจาะคอโดยขยายทางผิวหนังใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดน้อยกว่าการเจาะคอแบบผ่าตัด และลดอุบัติการณ์การติดเชื้อและการอักเสบที่บริเวณเจาะคอ
ภาวะแทรกซ้อนของหลังทำการเจาะคอ
และใส่ท่อ หลอดลมคอ
ภาวะแทรกซ้อนของหลังการเจาะคอและใส่ท่อหลอดลมคอที่สำคัญ ไดแ้แก่ การมเีลือดออกรอบๆ ต่ำแหน่งที่เจาะคอ การมีลมอยู่ในเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังที่เกิดจากการผ่าตัดเจาะคอ และการอุดตันของท่อหลอดลมคอท่อหลอดลมคอผิดตำแหน่งแนวทางการดูแลในภาวะ ฉุกเฉิน มีรายละเอียด ดังนี้
การมีเลือดออกรอบ ๆ ต่ำแหน่งที่เจาะคอการมีเลือดออกรอบ ๆ ต่ำแหน่งที่เจาะคอ (stoma) เป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องให้ความสำคัญ ถ้าผู้ป่วยมีอาการคงที่ควรได้รับการส่องกล้องชนิด Flexible fiber optic bronchoscopy ทางบริเวณที่เจาะคอ เพื่อค้นหาสาเหตุของการมีเลือดออก ถ้า ต่ำแหนน่งทเี่ลือดออกไม่ได้อยู่ลึกเข้าไปในแผลเจาะคอ การใช้ surgical clips หรือการจี้ (cauterisation) โดยใช้ผ้าก๊อซที่ชุบยาแอดรีนาลีน (adrenaline) หรือยาทรานนีซามิค (tranexamic acid) กดรอบ ๆ บรเิวณที่มีเลือดออกสามารถช่วยหยุดเลือดได้
2) การมีลมอยู่ในเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังที่เกิดจาก การผ่าตัดเจาะคอเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการทำผ่าตัดเจาะคอแบบการเจาะคอแบบผ่าตัด และ การเจาะคอโดยขยายทางผิวหนัง
3) การอุดตันของท่อหลอดลมคอและท่อหลอดลมคอผิดตำแหน่ง มักพบปัญหาของท่อหลอดลมคอไม่ถูกตำแหน่ง และการอุดตันของท่อหลอดลม คอ จึงได้นำเสนอแนวทาง (guidelines) ในการช่วยประเมินท่อหลอดลมคอไม่ถูกตำแหน่งและการอุดตันของท่อหลอดลมคอ และการช่วยดูแลทางเดินหายใจ
การถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์ปอดหลังการเจาะคอ เพื่อประเมินตำแหน่งของปลายท่อและประเมินภาวะแทรกซ้อนๆ ที่เกิดจากการเจาะคอ เช่น ลมรั่วเข้าเยื่อหุ้มปอด การถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์ปอดควรทำทันทีหลังการเจาะคอ
การประเมินภาวะเลือดออกโดยประเมินบรเิวณแผลทเี่จาะคอ และเลือดที่ออกมาจากการดดูเสมหะ
ประเมินแผลผ่าตัดเจาะคอและประเมิน การติดเชื้อที่แผลผ่าตัดหลังการเจาะคอหลอดลมจะมีทางตดิตอ่กบัอากาศภายนอกโดยตรง โดยไม่มีสิ่งใดป้องกัน ผู้ป่วยจึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย
ทำความสะอาด (dressing) แผลผ่าตัดเจาะคอด้วยน้ำเกลือปลอดเชื้อและเปลี่ยนผ้าก๊อซวันละ 3 ครั้งดูแล ไม่ให้มีสิ่งคัดหลั่งเพื่อไม่ให้เกิดความชื้นรอบๆ แผลผ่าตัดเจาะคอ
การทำความสะอาดท่อหลอดลมคอชนิดมีท่อชั้นใน (inner cannula) ในกรณีผู้ป่วยใส่ท่อหลอดลมคอ ชนิดมีท่อชั้นใน การทำความสะอาดท่อหลอดลมคอชนิดมี ท่อชั้นในแบบใช้แล้วทิ้ง (disposable inner cannula) ในหอผู้ป่วยไอซียูเตรียมท่อหลอมลมคอชั้นในแบบใช้แล้วทิ้งอันใหม่ใส่แทน
การดูดเสมหะทางท่อหลอดลมคอ ควรดูดเสมหะเมื่อผู้ป่วยต้องการให้ดูดเสมหะและควรดูดเสมหะ เมื่อมีเสมหะการดูดเสมหะทางท่อหลอดลมคอไม่ควรดูด
การให้ความชื้นที่เพียงพอ (airway humidification) อากาศที่หายใจผ่านท่อหลอดลมคอจะแห้งขาดความชุ่มชื้น ขาดการปรับอุณหภูมิและขาด การกรองดักฝุ่นละออง
จัดท่าศรีษะสูง 30 องศา และระมัดระวังองศาหรือแกนศรีษะและลำตัวให้อยู่ตรงกลางในระหวา่งการให้ ความชื้นผ่านทางท่อหลอดลมคอและการเปลี่ยนท่าผู้ป่วย
ตรวจสอบดูแลให้ท่อช่วยหายใจของเครื่องช่วย หายใจไม่กดทับหรือดันแผลเจาะคอและระวังอย่าให้มี การงัดของท่อเจาะคอและเครื่องช่วยหายใจ
การดูแลถุงลมของท่อหลอดลมคอ (cuff management) การดูแลถุงลมของท่อหลอดลมคอ โดยการตรวจสอบความดันของถุงลมปลายท่ออย่างสม่ำเสมอด้วยเครื่องมือวัดความดัน
เมื่อผู้ป่วยหมดข้อบ่งชี้ของการใส่ท่อหลอดลมคอ ต้องพิจารณาเอาท่อหลอดลมคอออก ก่อนเอาท่อหลอดลมคอออก ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจประเมินทางเดินหายใจก่อน ว่าพร้อมที่จะเอาท่อหลอดลมคอออกได้โดย ปลอดภัยหรือไม่
สรุปพยาบาลในหอผู้ป่วยไอซียูมีบทบาทสำคัญ ในการดูแลผู้ป่วยในภาวะวิกฤตที่ได้รับการเจาะคอและใส่ ท่อหลอดลมคอ ซึ่งการที่พยาบาลจะดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ จำเป็นต้องมีวามเข้อใจการเจาะคอ ท่อหลอดลมคอ ภาวะ แทรกซ้อนหลังการเจาะคอ และนำมาประยุกต์ใช้ในการ พยาบาลผู้ป่วย เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และร่วม กับทีมสุขภาพในการวางแผนดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยไอซียู
อ้างอิง : - ACI-ICCMU Tracheostomy Expert Group. (2013). Care of adult patients in acute care facilities with a tracheostomy: clinical practiceguideline. Retrieved from
https://www.aci
. health.nsw.gov.au - Dawson, D. (2014). Essential principles: tracheostomy care in the adult patient.British Association of Critical Care Nurses 19(2), 63-72.