Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบทางเดินอาหาร - Coggle Diagram
ระบบทางเดินอาหาร
-
-
-
-
-
-
โรคคับแข็ง (cirrhosis)
สาเหตุ
- การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
- ไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบี ซี และดี
- โรคไขมันคั่งตับที่ไม่ได้มีสาเหตุจากการดื่มแอลกอฮอล์
- ภาวะฮีโมโครมาโตซิส
- โรคซิสติกไฟโบรซิส
- โรควิลสัน
- โรคท่อน้ำดีตีบตันในทารก
- การขาดสารต้านทริปซินอัลฟ่า-1
- โรคกาแลคโตซีเมียหรือภาวะที่มีการสะสมไกลโคเจนในตับมากผิดปกติ
- โรคตับที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคตับอักเสบจาก- ภูมิต้านตนเอง โรคท่อน้ำดีอักเสบจากภาวะภูมิต้านตนเองทั้งท่อน้ำดีขนาดใหญ่และขนาดเล็ก
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคตับแข็ง
- การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป – การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปเป็นปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคตับแข็ง
- โรคอ้วน – การมีน้ำหนักเกิน จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะต่างๆ ที่อาจนำไปสู่โรคตับแข็งได้ เช่น โรคไขมันคั่งตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
- ไวรัสตับอักเสบ – เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคตับอักเสบและตับแข็งทั่วโลก
การวินิจฉัย
โรคตับแข็งระยะเริ่มต้นมักไม่แสดงอาการใดๆ โรคตับแข็งมักตรวจพบได้จากการตรวจเลือดหรือการตรวจสุขภาพ แพทย์อาจสั่งตรวจอย่างใดอย่างหนึ่งเหล่านี้หากสงสัยว่าผู้ป่วยอาจมีปัญหาตับ เช่น
- การตรวจในห้องปฏิบัติการ – แพทย์อาจสั่งตรวจเลือดเพื่อตรวจหาร่องรอยของความผิดปกติของตับ เช่น บิลิรูบินในปริมาณสูง ตรวจเอ็นไซม์ตับชนิดต่าง ๆ ตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบ ตรวจการแข็งตัวของเลือด ปริมาณโปรตีนไข่ขาวในเลือด เพื่อดูความสามารถในการสังเคราะห์โปรตีนของตับ ผลจากการตรวจเลือดจะช่วยให้แพทย์ระบุสาเหตุของโรคตับแข็งและความรุนแรงของอาการได้
- การวินิจฉัยด้วยภาพทางการแพทย์ – ภาพทางการแพทย์ต่าง ๆ ได้แก่ อัลตร้าซาวด์ เอ๊กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ซึ่งอาจรวมถึงการตรวจพังผืดตับจากเครื่อง MRI (MR Elastography; MRE) สามารถให้ข้อมูลรูปร่าง และความยืดหยุ่นของตับ เพื่อดูลักษณะของตับแข็งได้
- การตรวจวัดปริมาณพังผืดในตับ (Transient elastography; Fibroscan) - เป็นเครื่องมือสำหรับการตรวจวัดระดับความแข็งของตับซึ่งสะท้อนถึงปริมาณการสะสมของพังผืดในตับ สามารถตรวจหาภาวะตับแข็งได้ตั้งแต่ระยะแรก รวมทั้งยังสามารถวัดปริมาณของไขมันที่สะสมในตับได้อีกด้วย
- การตรวจชิ้นเนื้อ – การตัดชิ้นเนื้อตับในปัจจุบันทำน้อยลงมาก เนื่องจากมีอุปกรณ์และการตรวจใหม่ ๆ เข้ามาทดแทน ทำให้สามารถวินิจฉัยโรคตับได้โดยไม่ต้องทำการเจาะชิ้นเนื้อตับไปตรวจ อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยบางรายที่ไม่สามารถหาสาเหตุของโรคตับได้ก็อาจจำเป็นที่จะต้องทำการตัดชิ้นเนื้อตับไปตรวจ
แพทย์จะแนะนำให้คนไข้มาตรวจติดตามโรคหรือภาวะแทรกซ้อน อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะหลอดเลือดโป่งพองที่หลอดอาหาร และมะเร็งตับ
อาการแสดง
ผู้ที่เป็นโรคตับแข็งมักจะไม่แสดงอาการใดๆ จนกว่าตับจะได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง โดยอาจมีอาการดังต่อไปนี้
- รู้สึกอ่อนเพลีย
- เลือดออกง่าย หรือเป็นจ้ำเลือดได้ง่าย
- เบื่ออาหาร
- คลื่นไส้
- ขา เท้า หรือข้อเท้าบวม
- น้ำหนักลด
- อาการคันที่ผิวหนัง
- ภาวะดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง
- มีน้ำสะสมในช่องท้อง ทำให้ท้องโตขึ้น (ภาวะท้องมาน)
- เกิดเส้นเลือดฝอยลักษณะคล้ายใยแมงมุมที่บริเวณหน้าอก หรือแผ่นหลัง
- ฝ่ามือแดงเข้มขี้น
- สำหรับผู้หญิง จะเกิดการหมดประจำเดือนหรือประจำเดือนขาดที่ไม่เกี่ยวกับวัยหมดประจำเดือน
- สำหรับผู้ชาย จะพบความผิดปกติทางเพศ ลูกอัณฑะฝ่อ หรือเต้านมโต
- รู้สึกสับสน ซึมลง หรือพูดไม่ชัด
การรักษา
การรักษาโรคตับแข็งขึ้นอยู่กับสาเหตุ ความรุนแรงและความเสียหายของตับ การรักษามีจุดมุ่งหมายเพื่อชะลอการลุกลามของโรคตับแข็งและรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคตับแข็ง หากโรคตับแข็งได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มต้น อาจะมีความเป็นไปได้ที่ความเสียหายจะน้อยลงหากสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคตับแข็งได้รับการบำบัดแต่เนิ่นๆ ถ้าตับของคนไข้เสียหายอย่างรุนแรง คนไข้จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
- การรักษาโรคพิษสุราเรื้อรัง – ผู้ที่เป็นโรคตับแข็งจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป แนะนำให้หยุดดื่ม แพทย์อาจแนะนำเข้าร่วมโปรแกรมการรักษาโรคพิษสุราเรื้อรัง
การรักษาโรคไขมันคั่งตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ – แนะนำให้คนไข้ลดน้ำหนักและรักษาระดับน้ำตาลรวมทั้งไขมันในเลือด
- ใช้ยาเพื่อรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ – ยาจะช่วยลดความเสียหายของตับเนื่องจากไวรัสตับอักเสบบีหรือซี
- การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการอื่นๆ ของโรคตับแข็ง – ยาเหล่านี้อาจช่วยชะลอการเกิดโรคตับแข็งบางชนิดได้ ผู้ที่เป็นโรคตับแข็งจากท่อน้ำดีอักเสบหรือผู้ป่วยที่มีภาวะโรคตับจากภูมิคุ้มกันผิดปกติ ที่ได้รับการวินิจฉัยแต่เนิ่นๆ สามารถรักษาด้วยยาได้
หากพบมีเส้นเลือดโป่งพองในหลอดอาหาร ผู้ป่วยจะต้องทานยาลดความดันในหลอดเลือดพอร์ทัลเพื่อลดความเสี่ยงในการตกเลือด ผู้ป่วยต้องเข้ารับการส่องกล้องและใช้ยางรัดเพื่อหยุดเลือดหรือป้องกันไม่ให้เลือดออกในอนาคต
- การติดเชื้อ – แพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวนะหรือการรักษาอื่นๆ เพื่อรักษาการติดเชื้อ คุณอาจจำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม และไวรัสตับอักเสบชนิดเอและบี
- โรคตับแข็งจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับ – แพทย์จะแนะนำให้ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งตับและตรวจอัลตราซาวนด์ทุก 6 เดือน เพื่อค้นหามะเร็งตับตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
- ภาวะซึมสับสนจากตับแข็งระยะท้าย – แพทย์อาจสั่งยาเพื่อช่วยบรรเทาการสะสมของสารพิษในเลือด
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ – ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าโรคตับแข็งจะเกิดจากแอลกอฮอล์หรือไม่ เพราะแอลกอฮอล์จะทำให้ตับเกิดความเสียหายมากขึ้น
- รับประทานอาหารโซเดียมต่ำ – การบริโภคเกลือมากเกินไปทำให้ของเหลวสะสมในร่างกายและเกิดอาการบวมในช่องท้องและขา ใช้เครื่องปรุงอาหารอื่นแทนเกลือ และเลือกรับประทานอาหารโซเดียมต่ำ
- รับประทานอาหารสุขภาพ – ภาวะทุพโภชนาการเป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนของโรคตับแข็ง รับประทานอาหารที่เน้นพืชเป็นหลัก เช่น ผลไม้ ผัก โปรตีนไร้มัน พืชตระกูลถั่ว สัตว์ปีก หรือปลา หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารทะเลดิบ
- หลีกเลี่ยงความเสี่ยงของการติดเชื้อ – ร่างกายของคนไข้ที่เป็นโรคตับแข็งมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดคนที่ป่วยเป็นโรคติดเชื้อที่สามารถติดต่อได้ ล้างมือเป็นประจำ รับวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบเอ บี ไข้หวัดใหญ่ และโรคปอดบวม
- ระมัดระวังการใช้ยาต่าง ๆ – เนื่องจากยาบางชนิดอาจทำให้ตับถูกทำลายได้มากขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจใช้ยาทุกครั้ง
การพยาบาล
- แนะนำ ให้ผู้รับบริการหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา ลดการรับประทานอาหารหวานและ ไขมันสูง ควบคุมน้ำ หนักให้อยู่ในเกณฑ์ หลีกเลี่ยงการรับประทานยาที่ไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงการรับประทานยาสมุนไพร เลิกรับประทานยาต้มหรือยาหม้อ เป็นต้น
- ให้ความรู้ผู้รับบริการที่เป็นโรคตับแข็งควรหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา เพื่อให้ความรุนแรงของโรคลดลง
- ตรวจสอบอาการเปลี่ยนแปลงของผู้รับบริการ โดยประเมินความดันโลหิต สังเกตชีพจร การหายใจ เหงื่อออก ระดับความรู้สึกตัวของผู้รับบริการเป็นระยะ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากภาวะไม่สมดุลของสารน้ำ และเกลือแร่
- ประเมินระดับการรู้สติและตรวจสอบสัญญาณชีพทุก 15 นาที
- ดูแลให้ผู้รับบริการได้รับยา เช่น lactulose เพื่อลดการสร้างแอมโมเนียของแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร
- ติดตามอาการแสดงของการติดเชื้อในช่องท้อง เช่น มีไข้ ปวดท้องและกดเจ็บ หน้าท้องแข็งเกร็ง
- ดูแลให้ผู้รับบริการได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์
- ดูแลร่างกายและสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้รับบริการให้สะอาด
Billroth II (gastrojejunostomy) เป็นการตัดกระเพาะอาหารส่วนปลายออกแล้วไปต่อกับส่วนต้นของลำไส้เล็กส่วนกลาง
การดูแลก่อนผ่าตัด
- การเตรียมทางด้านร่างกาย โดยการประเมนสภาพผู้ป่วย
- ตรวจวัดสญญาณชีพ
- ตรวจสอบผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- เตรียมเลือดสําหรับใช้ในการผ่าตัด
- ทําความสะอาดผิวหนังบริเวณหน้าท้อง
- การเตรียมทางด้านจิตใจ พูดคุยซักถามด้วยวาจาที่สภาพให้คําแนะนําและให้กำลังใจผู้ป่วย
การดูแลระหว่างผ่าตัด
- จัดท่าผู้ป่วยให้เหมาะสมแก่การผ่าตัด
- ประเมินผู้ป่วยภายหลังจากการจัดท่าผู้ป่วย
- เตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ผ่าตัด
- พยาบาลช่วยกันตรวจนับ อุปกรณ์ เครื่องมือ ระหว่างการผ่าตัด
ภาวะแทรกซ้อน
Early Dumping Syndrome
- อาหารเข้าสู่ลำไส้เล็กเร็วเกินไป
- ปอดแฟบหลังผ่าตัด (Post-operative atelectasis)
- เกิดภาวะปอดอักเสบหรือปอดอักเสบบริเวณท่อลม(Pneumonia or bronchopneumonia)
- การเกิดหลอดเลือดดำอุดตัน (Deep vein thrombosis)
- การเกิดลิ่มเลือดอุดที่ปอด (Pulmonary embolus)
- การเกิดภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (pleural effusion)
- กล้ามเนื้ออ่อนแรงทั่วๆ ไป (general muscle weakness)
- การติดเชื้อที่แผล (wound infection)
การดูแลหลังผ่าตัด
- วัดสัญญาณชีพ
- ประเมินความรู้สึกตัว
- จัดท่านอนให้สุขสบายในท่าศีรษะสูง
- อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าอาการปวดจะค่อย ๆ ทุเลาลงในวันถัดไป
- สังเกตอาการปวด บวม แดง ร้อน หรือมีสิ่งขับหลั่ง ซึมรอบแผลผ่าตัด
- ทําความสะอาดแผลด้วยหลักปลอดเชื้อ
- ดูแลให้ผู้ป้วยได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ประโยชน์
- รักษาผู้ที่มีอาการ อาหารค้างในกระเพาะ
- รักษาผู้ที่มีลำไส้อุดตัน
- รักษาผู้ที่มีอาการกระเพาะรั่ว