Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาหญิงไทยอายุ 74 ปี [เจ็บป่วยเรื้อรัง] - Coggle Diagram
กรณีศึกษาหญิงไทยอายุ 74 ปี [เจ็บป่วยเรื้อรัง]
กระบวนการเปลี่ยนแปลงด้านจิตสังคม
(Psychosocial theory of aging)
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
-ฟัน สารเคลือบฟันบางลง จึงถูกกัดกร่อนได้ง่าย พร้อมกับเซลล์ที่เนื้อฟันมีจำนวนลดลง ส่งผลทำให้ฟันถูกทำลายและผุกร่อนได้ง่าย
-กระเพาะอาหาร มีการเคลื่อนไหวลดลง เนื่องจากความตึงตัวของกล้ามเนื้อและการทำงานของกล้ามเนื้อในกระเพาะอาหารลดลง อาหารจึงอยู่ในกระเพาะนานขึ้น
-ลำไส้ใหญ่ การเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง ทำให้ปฏิกิริยาตอบสนองต่อการกระตุ้นการขับถ่ายลดลง
-น้ำดี ปริมานน้ำดีรวมลดลง ทำให้ความสามารถในการย่อยสลายคอเลสเตอรอลลดลง ทำให้มีคอเลสเตอรอลสะสมในเลือดมากขึ้น
-กระเพาะปัสสาวะ กล้ามเนื้อเรียบของกระเพาะปัสสาวะอ่อนแรงลง ช่องว่างลดลงทำให้ต้องปัสสาวะบ่อย
-ท่อทางเดินปัสสาวะ กล้ามเนื้อหูรูดอ่อนแรงลงและปิดไม่สนิท เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนลดระดับลง ทำให้ความสามารถในการต้านแรงดันในกระเพาะปัสสาวะลดลงด้วย ทำให้กลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือมีการเล็ดออกมา
-จำนวนเซลล์ประสาทสมอง มีจำนวนลดลง ลักษณะเซลล์จะฝ่อรีบลง และจำนวนเดรนไดรต์ลดลง
ส่งผลต่อการรู้คิดสติปัญญาและความจำ
-การมองเห็น ลูกตามีขนาดเล็กลง รูม่านตาเล็กและมีการตอบสนองต่อแสงลดลง หนังตาตก แก้วตาเริ่มขุ่นมัว ทำให้ประสิทธิภาพในการมองเห็นลดลง
-การได้ยิน ประสิทธิภพลดลงเนื่องจากการเสื่อมของอวัยวะภายใน ประกอบกับการฝ่อลีบของเวสติบูลาร์จึงทำให้ผู้สูงอายุมีอาการเวียนศีรษะได้ง่ายขึ้น
-กล้ามเนื้อ การหดตัวของกล้ามลดลงร่วมกับการเคลื่อนไหวที่น้อยลงทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง
-กระดูก การสร้างและการดูดซึมลดลง แคลเซียมสลายออกจากกระดุกเพิ่มขึ้น และการเก็บสะสมในเนื้อกระดูกลดลง จึงส่งผลให้กระดูก
ของผู้สูงอายุเปราะและหักง่าย หดลง ทำให้สรีระเปลี่ยนไปและส่งผลต่อความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุ
การเปลี่ยนเเปลงทางด้านสังคม
1บทบาทในสังคมกับการเกษียณราชการ การที่ผู้สูงอายุต้องออกจากงานหรือหยุดการทำงาน ทำให้สภาพสังคมและรายได้ที่เคยได้รับเปลี่ยนแปลงไป
2บทบาทในสังคมกับวัฒนธรรมประเพณีไทย เช่นการเคารพยกย่องผู้ที่อวุโสมากกว่าสิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุมีความภาคภูมิใจและรู้สึกมีคุณค่า
3บทบาทในสังคมกับภาวการณ์ทำงาน เมื่ออายุมากขึ้นการเปลี่ยนแปลงฐานะเศรษฐกิจและสังคมทำให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่รู้สึกว้าเหว่ใจหาย
4บทบาทในสังคมกับครอบครัว
การปรับตัวต่อบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป
การปรับตัวต่อสมาชิกใหม่ในครอบครัว
การปรับอารมณ์ในเรื่อปัญหาครอบครัว
5ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นภายนอกครอบครัว
เพื่อนสนิท
บุคคลในกลุ่มกิจกรรมต่างๆ
บุคคลในวัยหนุ่มสาวหรือวัยรุ่น
การเปลี่ยนเเปลงด้านจิตวิญญาณ
สามารถปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ได้ดี
มีเป้าหมายในชีวิต คือต้องการใช้ชีวิตกับคนในครอบครัวอย่างมีความสุข
รู้สึกมีคุณค่าในตนเอง รักตัวเอง
เป็นไปตามทฤษฎี
ทฤษฎีการถดถอยจากสังคม เชื่อว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีการค่อยๆ ถดถอยจากสังคมที่ละน้อย เนื่องจากผู้สูงอายุต้องเปลี่ยนเเปลงบทบาทไปจากเดิม เมื่อก่อนเคยค้าขาย เเต่ตอนนี้เลิกค้าขายเเล้ว สังคมที่ได้พบปะลูกค้า พ่อค้าเเม่ค้าด้วยกัน กิจกรรมต่างๆในการเป็นเเม่ค้าในการทำทุกๆวัน ได้หายไป ทำให้บทบาททางสังคมของผู้สูงอายุลดลง ทำให้คนส่วนใหญ่มองผู้สูงอายุว่ามีความสามารถในการทำงานลดลง
Risk
เสี่ยงต่อการเกิดท้องผูก
สาเหตุ
วัยสูงอายุ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่การ บดเคี้ยวที่ลดลงจากจำนวนฟันและการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหารลดลง ทำให้ย่อยอาหาร ยากขึ้น ร่วมกับการเคลื่อนไหวลำไส้ลดลง อาหารคั่งค้างในลำไส้นานขึ้น ผู้สูงวัยบางราย กลั้นอุจจาระไว้นานๆ มีการดูดน้ำกลับจากอุจจาระ ทำให้อุจจาระเป็นก้อนแข็ง ถ่ายลำบาก
การรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ทำให้ไม่มีกากใยอาหารกระตุ้นการทำงานของลำไส้ เกิดภาวะท้องผูก จากการเคี้ยวอาหารเเข็งไม่ค่อยได้ เช่น ผักผลไม้ ที่มีกากใย
ที่เหนียวต่อการการเคี้ยว
ข้อมูลสนับสนุน
ขับถ่ายอุจจาระ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์
อุจจาระเป็นก้อนเเข็ง
Mouth and teeth พบ 3 cavities, 3 Teethloss
ต้องใช้เเรงในการเบ่งถ่ายอุจจาระ
กิจกรรมทางการพยาบาล เเละเเนวทางการช่วยเหลือ
ให้ผู้สูงวัยดื่มน้ำอย่างน้อย 1,500 มิลลิลิตรต่อวัน หรืออย่างน้อย
8 แก้วต่อวัน ทั้งนี้ปริมาณน้ำที่ เหมาะสมสำหรับผู้สูงวัยแต่ละท่านอาจมากหรือน้อยกว่านี้ขึ้นกับกิจวัตรประจำวันและโรคประจำตัวของผู้สูงวัย
ฝึกให้ผู้สูงวัยขับถ่ายให้เป็นเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเช้า หรือหลังรับประทานอาหารเช้า 2 ชั่วโมง เนื่องจากเป็นช่วงที่ลำไส้มีการบีบตัวแรงมากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีข้อแนะนำเพื่อช่วย ผู้สูงวัยถ่ายอุจจาระได้ง่ายขึ้น
ให้ผู้สูงวัยดื่มน้ำ 1 - 2 แก้ว ทุกเช้าหลังตื่นนอน
จัดท่านั่งในการถ่ายอุจจาระ โดยให้ผู้สูงวัยโน้มตัวไปข้างหน้าจนหน้าท้องกดกับหน้าขา ผู้ดูแลต้องอยู่ใกล้ชิดผู้สูงวัยที่นั่ง ในท่านี้ดูแลไม่ให้ผู้สูงวัยโน้มตัวมากเกินไป อาจเกิดอุบัติเหตุล้ม
การนวดท้อง ผู้ดูแลใช้มือนวดท้องผู้สูงวัยเบาๆ วนตามเข็มนาฬิกา
เป็นการกระตุ้นให้ลำไส้ บีบตัว อุจจาระจะเคลื่อนตัวได้สะดวกขึ้น
ไม่กลั้นอุจจาระเมื่อปวด ควรไปอุจจาระทันที เพื่อป้องกันการดูดน้ำกลับจากอุจจาระ
จัดให้ผู้สูงวัยรับประทานอาหารที่มีกากใยให้เพียงพอ เพื่อกระตุ้นให้ลำไส้ทำงาน ได้แก่ ลูกพรุน คะน้า ผักบุ้ง ผักกาดขาว สับปะรด มะละกอสุก แตงโม ฝรั่งสุก มะม่วงสุก ส้ม งา ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ เป็นต้น
โดยควรนำไปต้มหรือผัดให้เปื่อยนุ่ม ง่ายต่อการรับประทาน
ดูแลผู้สูงวัยให้งดการดื่ม ชา กาแฟ เนื่องจากมีสารคาเฟอีน
ที่กระตุ้นให้เกิดการดูดน้ำกลับ ทำให้อุจจาระเเข็ง
ใช้อาหารสมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วยในการระบาย เช่น น้ำลูกพรุน น้ำมะขาม
จัดให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ลำไส้เกิดการเคลื่อนไหวและบีบตัวดีขึ้น
การปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะในการขับถ่ายอุจจาระ
• สถานที่ในการขับถ่ายต้องมีความเป็นส่วนตัว
• โถนั่งขับถ่ายอุจจาระต้องมีความสูงที่พอเหมาะ นั่งสบาย มีราวจับในการลุกยืนหรือนั่ง
• มีอุปกรณ์สัญญาณเรียกผู้ดูแล ในกรณีที่ผู้สูงวัยมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว
เมื่อต้องการ ไปถ่ายอุจจาระ ไม่แสดงอาการหรือคำพูดที่ทำให้ผู้สูงวัยเกิดความรู้สึกกระดากอาย หรือ รู้สึกเร่งรีบ
เป้าหมายทางการพยาบาล
ผู้สูงอายุถ่ายอุจจาระได้ตามปกติ
เกณฑ์การประเมิน
ขับถ่ายอุจจาระทุก วัน2-3วัน/ครั้ง
ไม่บ่นแน่นท้อง/กดท้องนิ่ม
Bowel sound 4-6 ครั้ง / นาที
เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม
ข้อมูลสนับสนุน
ลักษณะที่อยู่อาศัย
-พื้นห้องน้ำเป็นพื้นกระเบื้อง
-ไม่มีราวจับ
-พื้นห้องน้ำเปียก
-พื้นที่ในบ้านเป็นระเบียบเเต่มีไฟดับใช้ไม่ได้หลายดวง
-1ปีที่ผ่านมาผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่ข้างซ้าย
กิจกรรม
ตื่นเช้าทำกับข้าว
-อาบน้ำเเต่งตัวไปวัดทุกเช้า
-เดินเร็วรอบบ้านตอนเช้าวันละ 10-15นาที
-ประเมิน Time up and go test ได้ 11 วินาที
ตื่นกลางดึกหลับยาก มีอาการอ่อนเพลียบ้างบางครั้ง
การรู้คิดสติปัญญา
มองเห็นระยะไกลเเต่ต้องสวมเเว่นตา
-มีนัดตรวจต้อกระจกเเต่ยังไม่พร้อมจะไปตรวจตามนัด
-ต้องตะเเคงหูฟังผู้อื่น
ผลตรวจทางด้านร่างกาย
-Cornea: arcus senilis, right cloudy white spot over pupil
-left visual activity 20/30 without glasses
กิจกรรมทางการพยาบาล เเละเเนวทางการช่วยเหลือ
-ฝึกการเดินเเละออกกำลังกายเเบบเพิ่มความเเข็งเเรงของกล้ามเนื้อเเละเน้นการฝึกการทรงตัว
-เปลี่ยนท่าช้าๆ
-หากเดินหรือทรงตัวไม่มั่นคง ควรใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน
-ใส่รองเท้าส้นเตี้ย ขอบมน พื้นรองเท้าควรมีดอกยางกันลื่น เเละใส่ให้ขนาดพอดีกับเท้า
-ทำราวจับภายในบ้าน
แ
-ทำพื้นให้เรียบเสมอกัน ไม่ควรมีธรณีประตู
-จัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ
-ติดวัสดุกันลื่นบริเวณพื้นห้องน้ำเเละห้องอาบน้ำ
-มีที่นั่งสำหรับอาบน้ำ
สาเหตุ
ปัจจัยภายนอก
สิ่งแวดล้อมต่างๆ รอบตัวผู้สูงอายุ พื้นที่อยู่อาศัย ความสว่าง กิจวัตรและช่วงเวลาในการทำกิจกรรม
ปัจจัยภายใน
ระบบกระดูก เมื่ออายุมากจะเริ่มมีการเสื่อมของกระดูกจาก การสร้างและการดูดซึม
ลดลง แคลเซียมสลายออกจากกระดุกเพิ่มขึ้น และการเก็บสะสมในเนื้อกระดูกลดลง
จึงส่งผลให้กระดูกของผู้สูงอายุเปราะและหักง่าย
หดลง ทำให้สรีระเปลี่ยนไปและส่งผลต่อความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุ
ระบบกล้ามเนื้อ แรงในการหดตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจะเริ่มลดลงเมื่ออายุมากขึ้นส่งผลให้เสียสมดุลในการเคลื่อนไหว
ระบบการมองเห็น หนังตาตก สายตาเปลี่ยนแปลง ปฏิกิริยาของม่านตาที่มีต่อแสงลดลง ประสิทธิภาพการมองเห็นลดลง ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
ระบบการได้ยิน เนื่องจากมีการเสื่อมของหูชั้นใน
เป้าหมายทางการพยาบาล
ผู้สูงอายุไม่มีการพัดตกหกล้ม
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยไม่ได้รับบาดเจ็บจากการพัดตกหกล้ม
ผู้สูงอายุสามารถปฏิบัติกิจวัติได้ด้วยตัวเองได้มากขึ้น
ผู้สูงอายุออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ผู้สูงอายุมีค่า Time up and go test อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่เกิน
8 วินาที
เสี่ยงต่อกระจกตาบาดเจ็บ
ข้อมูลสนับสนุน
Cornea: arcus senilis, right cloudy white spot over pupil
Left Visual acuity 20/30 without glasses.
สาเหตุ
โรคเบาหวาน จอประสาทตา จะมีการเปลี่ยนแปลงโดยระยะแรกหลอดเลือดฝอยท่ีจอประสาทตามีการโป่งพอง และอาจแตกเห็นเป็นจุด เลือดออกเล็กๆ
ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมานาน เป็นสิบ ๆ ปี จอประสาทตาส่วนที่ขาดเลือดจะมีการสร้าง หลอดเลือดใหม่ที่ผิดปกติ หลอดเลือดเหล่านี้มีผนังเปราะ แตกง่าย ทำให้มีเลือดออกภายในลูกตา ผู้ป่วยจะตามัวลง อาจเกิดตาบอดได้
(พิทยา ภมรเวชวรรณ, 2555; วณิชา ชื่นกองแก้ว และอภิชาติ สิงคาลวณิช, 2552)
เนื่องจากโรคเบาหวานจัดเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ต้องการ การดูแลตนเองและการดูแลจากเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพอย่าง ต่อเนื่องในระยะยาว หากผู้ป่วยไม่สามารถดูแล ตนเองและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ไม่ให้สูงเกินไป อาจส่งผลให้เกิดปัญหาต่อการมองเห็นและปัญหาอื่นๆ ตามมาได้
เป้าหมายทางการพยาบาล
ไม่เกิดภาวะกระจกตาบาดเจ็บ
กิจกรรมทางการพยาบาล
สร้างความตระหนักให้ผู้สูงอายุเห็นถึงความสำคัญและสนใจในการดูแลถนอมดวงตา ของผู้สูงอายุ เช่น หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่มีแสงสว่างจ้า มากเกินไป เพราะจะมีรังสีอัลตราไวโอเลตที่สามารถ ส่งผลเสียต่ออวัยวะภายในตาได้
หากจำเป็นต้องอยู่ที่มี แสงแดดจ้า ควรใส่แว่นกันแดดที่สามารถป้องกันรังสีได้ การดูโทรทัศน์ควรอยู่ห่างจากจอภาพอย่างน้อย 5 เท่า ของขนาดจอภาพ
(สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 2557)
หมั่นสังเกตอาการผิดปกติทางตาต่าง ๆ ที่อาจ เกิดขึ้นได้ในผู้สูงอายุ เช่น อาการตามัวเฉียบพลัน ปวด ตามาก เพื่อสามารถรีบมาพบแพทย์ได้ทันเวลาตั้งแต่เริ่ม เกิดอาการ หรืออาการตามัวมากที่ค่อยเป็นค่อยไป และ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่ปวด ซึ่งอาจเป็นปัญหาจาก โรคต้อกระจก ที่เกิดจากเลนส์ตามีความขุ่นหรือเสื่อม มากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้สูงอายุควรปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อรับ การรักษาที่เหมาะสมที่จะช่วยให้การมองเห็นชัดเจน มากขึ้น
(สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 2555)
ให้ผู้สูงอายุควรลดความเครียด และความวิตก กังวล งดสูบบุหรี่และดื่มเหล้า เพราะปัจจัยเหล่านี้อาจ ส่งผลให้หลอดเลือดหดตัว (วิไลวรรณ ทองเจริญ, 2556)
ควบคุมและจัดการภาวะเรื้อรังต่าง ๆ ที่อาจมีผล ต่อการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดภายในลูกตา เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ เกิดความเสื่อมของจอประสาทตาได้รวดเร็วกว่าปกติ
ควบคุมน้ำหนักให้คงที่ ออกกำลังกายตามข้อจำกัดของผู้สูงอายุแต่ละคน อย่างน้อย สัปดาห์ละ 2-3 วัน ๆ ละประมาณ 15-30 นาที
ให้คำแนะนำ ลดระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะรวมตัวกับ โปรตีน (glycosylation) ภายในเลนส์ตา ทำให้ตกตะกอน จึงเกิดต้อกระจกได้เร็วกว่าคนปกติ
เกณฑ์การประเมิน
ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ
ระดับไขมันในเลือดปกติ
ผู้สูงอายุสามารถบอกวิธีการใช้ยา อย่างน้อย 2 ข้อได้อย่างถูกต้อง เช่น
-บอกวิธีการเก็บในที่ๆมีเเสงแดดส่องถึง ไม่เก็บในที่อับชื้น
-บอกวิธีการตรวจสอบยา 5 วิธี คือ ถูกคน ถูกโรค ถูกขนาด ถูกวิธี ถูกเวลา
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะปลายประสาทอักเสบ
สาเหตุ
เป็นภาวะหนึ่งของเส้นประสาทซึ่งทำหน้าที่รับส่งคำสั่งจากสมองและไขสันหลังไปยังอวัยวะส่วนต่าง ๆ มักเกิดขึ้นกับคนที่อายุมากเป็นส่วนใหญ่
ข้อมูลสนับสนุน
เป็นโรคเบาหวาน
มีอาการชาที่เท้าทั้งสองข้าง เท้าและขาขวาชากว่าเท้าซ้าย
เป็นโรคไขมันในเลือดสูง
เป้าหมายทางการพยาบาล
ไม่เกิดภาวะปลายประสาทอักเสบ
เกณฑ์การประเมิน
ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ระดับไขมันในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ
จำนวนครั้งที่ชาลดน้อยลง
กิจกรรมทางการพยาบาล เเละเเนวทางการช่วยเหลือ
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
รับประอาหานให้ครบ5หมู่
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอวันละ 30 นาที
ตรวจสุปีละ1ครั้ง เช็คอาการของร่างกายที่เปลี่ยนไปอย่างสม่ำเสมอ
Problem
ปัสสาวะเล็ดเมื่อไอจาม
สาเหตุ
มีแรงดันในช่องท้องสูงกว่าความต้านทาน ของกล้ามเนื้อหูรูดท่อปัสสาวะ หรือมีแรงกดบนกระเพาะปัสสาวะ ทําให้แรงดันในกระเพาะปัสสาวะสูงขึ้น จากกิจกรรม เช่น ไอ จาม วิ่ง ยืน เดิน ลุกขึ้นนั่ง
ยกของหนัก
เข้าสู่วัยสูงอายุ ระดับฮอร์โมน เอสโตรเจนต่ำลง ทําให้ผนังช่องคลอดบาง และอ่อนแอ เมื่อมีแรงดันในกระเพาะปัสสาวะสูงขึ้น จะกลั้นปัสสาวะไม่ได้
การขับน้ําออกจากร่างกายเปลี่ยนแปลงไป คือ น้ําที่ร่างกายได้รับในแต่ละวันจะถูกขับออกมากขึ้นในเวลากลางคืน ที่เรียกว่า nocturnal diurenal pattern
ความเจ็บป่วยเรื้อรัง จากโรคเบาหวาน เเละได้รับยาที่ทําให้ถ่ายปัสสาวะมากขึ้น ได้รับยา Hydrochlorothiazide 1-tab oral pc OD
ผ่านการคลอดหลายครั้ง
ข้อมูลสนับสนุน
ปัสสาวะเล็ดเมื่อไอจาม
ผ่านการคลอดบุตรจำนวน 4 ครั้ง
ปัสสาวะวันละ 5-6 ครั้ง/วัน
ชอบรับประทานอาหารรสจัด
BMI = 27.89 อ้วนระดับ1
กิจกรรมทางการพยาบาล เเละเเนวทางการช่วยเหลือ
บริหารกล้ามเนื้อภายในอุ้งเชิงกราน (pelvic floor exercise = kegel exercise)
นั่งเก้าอี้ในท่าที่รู้สึกสบาย ยกมือทั้งสองข้างระดับหน้าอกและกำลูกบอลไว้ในมือ
เกร็งกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานพร้อมบีบลูกบอลไว้ 10 วินาที
เมื่อครบ 10 วินาที ให้ผ่อนคลายจากท่าเกร็ง และคลายมือจากการบีบลูกบอลพร้อมนับ 10 วินาที
นับเป็น 2 ครั้ง
ทำท่าบริหารนี้ 60 ครั้งต่อวัน สามารถแบ่งทำได้ 3 ช่วงเวลา เช่น เช้า กลางวัน และเย็น ช่วงเวลาละ 20 ครั้ง
ควบคุมการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงอาหาร หลีกเลี่ยงอาหาร หรือเครื่องดื่ม
ที่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร หรือเครื่องดื่มที่ระคายเคืองกระเพาะปัสสาวะ เช่น
คาเฟอีน อาหารมีฤทธิ์เป็นกรด เช่น อาหารรสจัดจ้าน ผลไม้รสเปรี้ยวจัด (Gray,&Haas,2000)
ควบคุมน้ำหนักตัว รักษามวลกาย (BMI) ไม่ควรเกิน 27 การลดน้ำหนักได้มีผลดี
ต่อการ ควบคุมการกลั้นปัสสาวะ จากการศึกษาพบว่า ถ้าน้ำหนักลดลงร้อยละ 5-10
จะลดการเกิดอาการปัสสาวะราดได้ (Subak, Whitcomb, Hui, Saxton, Vittinghoft, & Brown, 2005)
หลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจจะทำให้เกิดอาการไอ เรื้อรัง เช่น การหยุดสูบบุหรี่
การควบคุมโพรงไซนัสอักเสบ การควบคุมอาการไอ จามจากโรคภูมิแพ้
ปรับเปลี่ยนสิ่งเเวดล้อมภายในบ้าน เเละจัดหาอุปกรณ์ที่สะดวก
ต่อการขับถ่ายปัสสาวะ เช่น กระโถน และ การจัดที่นอนให้อยู่ใกล้ หรือสะดวกต่อการไปขับถ่าย
Stress urinary incontinence
เป้าหมาย
ลดจำนวนครั้งของการกลั้นปัสสาวะเล็ด
เกณฑ์การประเมิน
ผู้สูงอายุสามารถฝึกการบริหารอุ้งเชิงกรานได้
มีจำนวนครั้งของการปัสสาวะเล็ดในเเต่ละวันไม่เกิน 1 ครั้ง
ภาวะอ้วน
สาเหตุ
1.ความไม่สมดุลระหว่างการใช้พลังงานของร่างกายกับจำนวนแคลอรี่ที่ได้รับจากการรับประทานอาหารเข้าไป
ในแต่ละวัน
การเลือกรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมกับวัย เช่นการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง
ขาดการออกกำลังกาย
อายุ เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ระบบการเผาผลาญจะเริ่มช้าลงเนื่องจากความเป็นกรดในกระเพาะอาหารลดลง
การนอนหลับพักผ่อน มีผลต่อระดับฮอร์โมนอินซูลินที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอทำให้มี ระดับอินซูลินที่ต่ำ
ข้อมูลสนับสนุน
อายุ 74 ปี
มีโรคประจำตัวเป็น ไขมันในเลือดสูง
รอบเอว 38 นิ้ว
น้ำหนัก 67 กิโลกรัม
BMI 27.89
แบบประเมินภาวะโภชนาการ MNA 25.5/30
รับประทานข้าวสวยมื้อละ 2 ทัพพี
ชอบทานอาหารผัดและทอด ชอบอาหารรสจัด
ผลตรวจร่างกาย mild gingival recession,3 cavities,3 Teethloss
คิดว่าการทำงานบ้านเป็นการออกกำลังกายไปในตัว
เข้านอน20.00-21.00น.
ทานอาหารครบ 3 มื้อ มื้อเช้า 09.00 มื้อกลางวัน 13.00 มื้อเย็น 19.00
ทานผลไม้ทุกชนิด
เคี้ยวอาหารแข็งไม่ค่อยได้
กิจกรรมทางการพยาบาล เเละเเนวทางการช่วยเหลือ
รับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่นข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลัก เช่นเครื่องดื่มรสหวาน
ทานอาหารให้หลากหลายครบ 3 มื้อต่อวัน โดยมีผักใบเขียวทุกมื้ออย่างน้อยมื้อละ 1-2 ทัพพี
เลือกทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน เช่นปลา งดบริโภคเนื้อสัตว์แปรรูป
ลดการบริโภคไข่แดง
เลือกวิธีการปรุงอาหารที่ใช้น้ำมันน้อย เช่น ต้ม นึ่งหรือย่าง
เลือกใช้น้ำมันพืชในการประกอบอาหาร เช่นน้ำมันรำข้าว
เลือกอาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลต่ำ ลดการบริโภคอาหารสจัด อาหารที่มีกะทิเป็นส่วนผสมหลัก
เลือกทานผลไม้ที่มีรสไม่หวานจัด เช่น องุ่น ในปริมาณ 7-8 ชิ้นต่อมื้อ
ทานอาหารให้ตรงเวลาและเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
บริหารร่างกายเป็นประจำ ครั้งละ20-30 นาที สัปดาห์ละ 2-3วัน
แนะนำให้ผู้สูงอายุร่วมวางแผนสำหรับมื้ออาหาร โดยเลือกชนิดอาหารที่หลากหลายเพื่อจะได้ไม่รู้สึกว่าขาดอาหาร ส่วนใดไป
ดูแลให้รับประทานอาหารประเภทเนื้อไก่ ปลาที่มีไขมันและแคลลอรี่น้อยกว่าเนื้อแดง
หากผู้ป่วยเคยรับประทานของว่าง ควรลดของว่างและงดอาหารจุบจิบให้น้อยลง
แนะนำให้ผู้ป่วยเพิ่มกิจวัตรประจำวันที่ไม่หนักมากและสามารถทำได้เช่น รดน้ำต้นไม้ เลี้ยงหลาน
ไม่ควรเข้านอนทันทีหลังทานอาหาร
แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมเชิงลึกเพื่อจะได้รับมือและแก้ไขได้ทัน
กระตุ้นส่งเลริมร่วมลงมือทำไปพร้อมๆกับผู้สูงอายุ รวมถึงให้กำลังใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอยู่เสมอ
เป้าหมายทางการพยาบาล
ผู้ป่วยมีความสมุลทาโภชนาการ
เกณฑ์การประเมิน
1.ผู้สูงอายุเลือกรับประทานอาหารได้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย
2.ปรับเปลี่ยนนิสัยการบริโภคได้ถูกต้อง
3.ทานอาหารตรงเวลา
4.มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในเกณฑ์ปกติ = 18.5-24.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
แบบแผนการนอนหลับถูกรบกวน
สาเหตุ
การใช้ยา Hydrochlorothiazide เป็นยากลุ่มปัสสาวะ (diuretics) รักษาความดันโลหิตสูง มีผลทำให้ตื่นขึ้นมาถ่ายปัสสาวะกลางดึกได้
โรคความดันโลหิตสูง มีผลต่อการตื่นนอนตอนเช้าเร็วขึ้น
โรคเบาหวาน การควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดีรบกวนการนอนหลับจากการตื่นขึ้นมาถ่ายปัสสาวะมีอุบัติการณ์ของการหยุดหายใจขณะนอนหลับสูงขึ้น
การลดลงของสัญญาณที่ควบคุมการนอนหลับ การลดลงของ melatonin และ core body temperature และการที่ผู้สูงอายุมีโอกาสสัมผัสเเสงน้อยลง จะทำให้เกิดปัญหาของ cornea หรือ retina ทำให้เกิดปัญหาการนอนหลับที่ผิดปกติ เช่น นอนหลับยาก ตื่นเร็วกว่าเวลาปกติ
ข้อสนับสนุน
ตื่นกลางคืนเเล้วหลับยาก
มีอาการอ่อนเพลียบางครั้ง
นอนกลางวันเวลา 13.00-14.00 น.ทุกวัน
เข้านอนตอน20.00-21.00 น. ตื่นกลาง ดึกมาปัสสาวะกลางดึก 1 ครั้ง/คืน
กิจกรรมทางการพยาบาล เเละเเนวทางการช่วยเหลือ
แนะนำให้ผู้สุงอายุเข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลาเป็นประจำทุกวัน และผู้สูงอายุควรนอน 7-8 ชั่วโมง
แนะนำให้ผู้สุงอายุนอนกลางวันได้ แต่ไม่ควรเกิน 30 นาที และไม่ควรงีบหลับหลังบ่ายสามโมง
แนะนำไม่ควรดื่มน้ำมากกว่า 1 แก้วก่อนนอน และเเนะนำให้ปัสสาวะก่อนนอน
แนะนำให้ออกกำลังกายเป็นประจำโดยออกกำลังกายแบบแอโรบิค ในช่วงเวลาเช้า หรือประมาณ 4ชั่วโมงก่อนนอน แต่ไม่ควรออกกำลังกายใกล้เวลานอนภายใน 2 ชั่วโมง
แนะนำให้หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อหนักก่อนนอนอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง เลี่ยงอาหารรสจัดหรือเครื่องดื่มปริมาณมากๆ
แนะนำให้สร้างบรรยากาศห้องนอนให้เหมาะสม โดยมีความเงียบสงบและอุณภูมิที่เหมาะสม
แนะนำระหว่างการนอนไม่ควรดูนาฬิกาเพราะจะทำให้เกิดความวิตกกังวล
แนะนำให้ทำกิจกรรมเบาๆ เมื่อตื่นเเล้ววหลับยาก เช่น ฟังเพลงที่ชื่นชอบ อ่านหนังสือ หรือฟังวิทยุ
เป้าหมายทางการพยาบาล
ผู้สูงอายุนอนหลับได้ง่ายขึ้น
เกณฑ์การประเมิน
ผู้สูงมีการนอนหลับที่ดีขึ้น ไม่ง่วงซึม นอนกลางวันนานเกินไปในระหว่างวัน
ผู้สูงอายุสามารถบอกวิธีการปฏิบัติตัวก่อนนอนอย่างน้อย 3 ข้อ อย่างถูกต้อง เช่น
-สามารถบอกการงดรับประทานอาหารหนักก่อนนอน
-บอกเวลาที่ควรนอนไม่เกิน 30 นาทีได้
-บอกวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมได้ เช่น การเต้นแอโรบิค
Sleep hygiene education
การใช้สุขบัญญัติในการนอนหลับ
คือ การให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวในเรื่องการส่งเสริมการนอนหลับ เพื่อลดปัจจัยด้านตัวบุคคลและสิ่งแวดล้อม
การปรับอุณหภูมิของห้องนอนให้เหมาะสมแก่การเข้านอน
ไม่ควรนอนหลับช่วงกลางวัน หรือถ้านอนช่วงกลางวันควรจำกัดการนอนแต่ละครั้งไม่เกิน 30 นาทีต่อวันและห้ามนอนเกินช่วงเวลาบ่าย
งดดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่หลังรับประทานอาหารกลางวัน
ควรอาบน้ำอุ่นก่อนเข้านอน
เกณฑ์การประเมินผล
ส่งเสริมการใช้ยาของผู้สูงอายุ
สาเหตุ
ผู้สูงอายุมีสภาพร่างกายที่เสื่อมไปตามวัย ทั้งการเคลื่อนไหว สายตา และความจำ ดังนั้นจึงอาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับยาเกินขนาดความจำเป็น เกิดผลข้างเคียงหรืออันตรายจากยา รวมไปถึงอันตรายปฏิกิริยาระหว่างยา
ผู้สูงอายุรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ แต่ยังขาดความรู้ในเรื่องการเก็บ ตรวจสอบยาก่อนรับประทานได้อย่างถูกต้อง จึงควรให้ความรู้ แนะนำความรู้ที่เหมาะสม จดจำง่ายแก่ผู้สูงอายุ
ข้อสนับสนุน
โรคเบาหวาน
โรคความดันโลหิตสูง
โรคไขมันในเลือดสูง
รับประทานยาสม่ำเสมอ ไปรับยารักษาโรคตามนัดทุกครั้งที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตับล
เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี ปีละ 1 ครั้ง
กิจกรรมทางการพยาบาล เเละเเนวทางการช่วยเหลือ
แนะนำวิธีการตรวจสอบก่อนกินยาให้ครบ 5 ถูก ก่อนทุกครั้ง คือ ถูกคน ถูกโรค ถูกขนาด ถูกวิธี และถูกเวลา
แนะนำให้เก็บยาในที่แสงแดดส่องถึง ไม่เก็บในที่อับชื้น
ให้ความรู้ผลข้างเคียงของยาที่รับประทาน
แนะนำให้มีภาชนะสำหรับบรรจุยาประจำวัน เพื่อให้ได้รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอทุกวัน หรือ มีการตั้งนาฬิกาปลุกเพื่อแจ้งเตือนเมื่อถึงเวลารับประทานยา
ห้าม กินยาทุกชนิดในที่แสงสว่างน้อย เพราะอาจหยิบยาผิดและรับประทานผิดขนาดได้ ถ้าหากจะรับประทานควรหาที่นั่งในที่เเสงสว่างเพียงพอและจัดเตรียมน้ำให้พร้อม
เป้าหมายทางการพยาบาล
ผู้สูงอายุรู้จักวิธีการบริหารการใช้ยาได้อย่างถูกต้อง
เกณฑ์การประเมิน
ผู้สูงอายุสามารถบอกวิธีการใช้ยา อย่างน้อย 2 ข้อได้อย่างถูกต้อง เช่น
-บอกวิธีการเก็บในที่ๆมีเเสงแดดส่องถึง ไม่เก็บในที่อับชื้น
-บอกวิธีการตรวจสอบยา 5 วิธี คือ ถูกคน ถูกโรค ถูกขนาด ถูกวิธี ถูกเวลา
wellness
มีความพร้อมรับการส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณ
สาเหตุ
จิตวิญญาณคือ ความหวัง กำลังใจ เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ที่จะสามารถก้าวผ่านปัญหา อุปสรรค เป็นเเกนหลักของชีวิตที่ทำหน้าที่เชื่อมประสานการทำงานของร่างกาย จิตใจ สังคม เเละความผาสุขในชีวิต
ข้อมูลสนับสนุน
นับถือศาสนาพุทธ เชื่อเรื่องบาป บุญคุณโทษ ใครทําดีได้ดี
มีเป้าหมายในชีวิตคือต้องการใช้ชีวิตกับคนในครอบครัวอย่างมีความสุข
ยึดถือคุณธรรมความดีในการดําเนินชีวิต เชื่อว่าภาวะสุขภาพของตนเองเป็นไปตามอายุ
กิจกรรมทางการพยาบาล เเละเเนวทางการช่วยเหลือ
กระตุ้นส่งเสริมความทรงจำให้เล่าถึงประสบการณ์ หรือความทรงจำ
ที่เกี่ยวกับชีวิตส่วนตัว หรือครอบครัว เช่นความสำเร็จ ความภาคภูมิใจ ความยากลำบาก เเละความสามารถในการเผชิญปัญหาเเละอุปสรรรคในชีวิต
รับฟัง เเละช่วยสะท้อนความคิด ความรู้สึก เพื่อให้รู้สึกว่าตนเองไม่ได้เผชิญปัญหาความทุกข์อยู่เพียงลำพัง
จัดเตรียมสิ่งเเวดล้อมให้เป็นส่วนตัว ตามความเหมาะสม ไว้ใช้ในการสวดมนต์ ฟังธรรมมะ
ให้ปลอดโปล่งโล่งสบาย
ใช้สื่อต่างๆ มาเปิดเสียงธรรมมะให้ฟังในเวลาว่าง หรือตอนก่อนนอน เช่น เทป วิทยุ ช่องทางยูทูป
เเสดงความเคารพในสิ่งที่ผู้ป่วยเคารพนับถือ
การสนทนาเรื่องศาสนา การนำสวดมนต์ การอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับศาสนาให้ฟัง
เกณฑ์การประเมินผล
มีเป้าหมายในชีวิต
ดำเนินชีวิตอยู่ในหลัก
ศีลธรรมทางศาสนา
เป้าหมายทางการพยาบาล
ผู้สูงอายุใช้ชีวิตอย่างมีเป้าหมาย เเละมีความผาสุกในการดำเนินชีวิต
มีความพร้อมรับการส่งเสริมให้รู้เท่าทันภาวะสุขภาพ
สาเหตุ
การช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยการช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจข้อมูลสุขภาพ จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเอง ลดภาวะพึ่งพิงผู้อื่นและสามารถดำเนินชีวิตต่อไปตามศักยภาพของตน
ข้อสนับสนุน
รับรู้เรื่องการแพร่ระบาดของโรค COVID-19
หลีกเลี่ยงการนั่งงอเข่า
รับรู้ว่าตนเองป่วยเป็นโรคเข่าเสื่อม
พยายามลดการรับประทานขนมหวานและลดการเติมน้ำปลาพริกในอาหาร
รับยารักษาโรคประจำตัวตามนัดที่โรงพยาบาลชุมชน
กิจกรรมทางการพยาบาล เเละเเนวทางการช่วยเหลือ
ประเมินความรู้และความพร้อมของผู้สูงอายุทั้งร่างกายและจิตใจ
ให้ข้อมูลกับผู้สูงอายุทีละน้อย พร้อมประเมินความเข้าใจเพื่อนช่วยให้การเรียนรู้ดีขึ้น
แนะนำแหล่งให้ความรู้อื่นๆ แก่ผู้สูงอายุหรือญาติ
ประเมินความรู้การปฏิบัติตัวอย่างต่อเนื่องที่บ้าน
เป้าหมายทางการพยาบาล
ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มมากขึ้น
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้สูงอายุบอกวิธีการดูแลตัวเองได้มากกว่า3ข้อ
มีความพร้อมรับการส่งเสริมความรู้
สาเหตุ
วัยสูงอายุจะมีประสิทธิภาพของสมองและระบบประสาทอัตโนมัติลดลง มีการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ ความคิด ความจำ และการตัดสินใจต่างๆเสื่อมลง ขณะที่ความทรงจำในอดีตจะยังจำได้ดี
กิจกรรมทางการพยาบาล เเละเเนวทางการช่วยเหลือ
กิจกรรมส่งเสริมการรับรู้วันเวลาสถานที่ เช่น ถามผู้สูงอายุว่า วันนี้วันเดือนปีอะไร การเขียนกิจกรรมใน1วัน เป็นต้น
กิจกรรมส่งเสริมความจำ เช่น การต่อเพลง จำภาพผลไม้ จำตัวเลข เป็นต้น
กิจกรรมส่งเสริมการแก้ไขปัญหา เช่น การจัดกลุ่มภาพ หมากรุก
ข้อสนับสนุน
ประเมินการได้ยิน Finger rub test ผลการได้ยินปกติ
แบบประเมิน TMSE ได้ 30 คะแนน จาก 30 คะแนน
แบบประเมิน Pain assessment เท่ากับ 0/10 คะแนน
เป้าหมายทางการพยาบาล
ผู้สูงอายุมีความพร้อมรับการส่งเสริมความรู้
เกณฑ์การประเมินผล
แบบประเมินTMSE ได้30 คะแนน