Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบโรคหัวใจและหลอดเลือด - Coggle Diagram
ระบบโรคหัวใจและหลอดเลือด
-
-
-
โรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease, IHD) หรือ โรคหลอดเลือดแดง โคโรนารี (Coronary artery disease, CAD)
การวินิจฉัย
- การตรวจเลือด แพทย์อาจใช้การตรวจเลือดเพื่อวัดระดับเอนไซม์ในหัวใจ (Cardiac Enzyme Test) ในการตรวจสอบความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจ
- การเอกซเรย์ทรวงอก ใช้ตรวจดูสาเหตุและอาการต่าง ๆ ที่เกิดขี้นบริเวณหัวใจ ปอดและผนังทรวงอก
- การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) แพทย์จะฉีดสารทึบแสงเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยเพื่อสร้างภาพอวัยวะและวัดปริมาณแคลเซียมสะสมที่ผนังหลอดเลือดได้
- การสร้างภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ช่วยในการสร้างภาพหัวใจ
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG/Elektrokardiogram: EKG)
- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram)
- การสวนหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiogram หรือ Angiography/Cardiac Catheterization)
- การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise stress test: EST)
การรักษา
การรักษาด้วยตนเอง
- งดสูบบุหรี่
- ลดน้ำหนักส่วนเกิน
- ควบคุมความเครียด
- หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีไขมันต่ำหรือน้ำตาลน้อยเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การรักษาด้วยการใช้ยา
- กลุ่มยาคอเลสเตอรอล ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด
- ยาต้านเกล็ดเลือด
- ยากลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ ใช้รักษาความดันโลหิตสูงและป้องกันอาการเจ็บหน้าอก โดยการปิดกั้นฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต ฟื้นฟูการไหลเวียนของเลือด และลดความเสี่ยงของภาวะหัวใจวายเช่นกัน
- ยาขยายหลอดเลือด มีทั้งในรูปแบบเม็ด สเปรย์ หรือแผ่นสำหรับติดบริเวณผิวหนัง ยาประเภทนี้ทำหน้าที่ลดความดันโลหิตและอาการปวดบริเวณหัวใจ แต่อาจทำให้ปวดหัวและมึนงงได้
- ยาช่วยลดความดันโลหิตและยังช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ยาปิดกั้นแคลเซียม ใช้ในการลดความดันโลหิตโดยการสร้างความผ่อนคลายให้กับกล้ามเนื้อของผนังหลอดเลือด จึงทำให้หลอดเลือดกว้างขึ้น แต่อาจทำให้เกิดอาการปวดหัว
- ยาขับปัสสาวะ ช่วยขับน้ำและเกลือส่วนเกินออกจากร่างกายผ่านปัสสาวะ
การรักษาด้วยการผ่าตัดและกระบวนการทางการแพทย์
- การทำบอลลูนหัวใจ เป็นกระบวนการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกหรือใช้ในการรักษาอาการฉุกเฉิน ผู้ป่วยต้องได้รับการสวนหลอดเลือดหัวใจก่อนการรักษาด้วยการทำบอลลูน เพื่อประเมินความจำเป็นในการผ่าตัด การรักษาประเภทนี้มักเกิดขึ้นในผู้มีภาวะหัวใจวายฉุกเฉิน ซึ่งใช้การสอดท่อพร้อมบอลลูนเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ จากนั้นจึงทำการสูบลมให้บอลลูนพองตัวขึ้นเพื่อช่วยผลักไขมันที่อุดตันออกจากหลอดเลือดหัวใจ
- การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจหรือการทำบายพาสหัวใจ การผ่าตัดชนิดนี้มักใช้กับภาวะหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน ซึ่งไม่สามารถรักษาได้ หรือการทำบอลลูนไม่สามารถช่วยรักษาได้ ผู้ป่วยต้องได้รับการสวนหลอดเลือดหัวใจก่อนเพื่อทราบถึงความจำเป็นในการรักษา
- การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ใช้สำหรับกรณีที่รุนแรงและไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา หรือหัวใจไม่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ผู้ป่วยต้องเข้าพบแพทย์หลังการผ่าตัดเพื่อตรวจสอบการทำงานของหัวใจและผลข้างเคียง
สาเหตุ
โรคหลอดเลือดหัวใจมีสาเหตุจากการรวมตัวกันของไขมันที่ผนังภายในหลอดเลือดหัวใจ โดยก้อนไขมันนี้เกิดจากคอเลสเตอรอลและของเสียอื่น ๆ และมีชื่อว่าอเธอโรมา (Atheroma) การเกาะตัวกันของก้อนไขมันทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัวหรือกระบวนการที่เรียกว่าอะเทอโรสเคลอโรซิส (Atherosclerosis) รวมถึงการขัดขวางทางเดินของเลือด ร่างกายจึงไม่สามารถส่งเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดกระบวนการเหล่านี้ ได้แก่
- คอเลสเตอรอล ไขมันอิ่มตัวในอาหารที่มีความจำเป็นต่อเซลล์ในร่างกาย แต่คอเลสเตอรอลในกระแสเลือดที่มากเกินไปอาจก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ คอเลสเตอรอลแบ่งออกเป็นหลายประเภท แต่มี 2 ประเภทที่สำคัญ คือ
LDL หรือ “ไขมันร้าย”
HDL หรือ “ไขมันดี”
- โรคความดันโลหิตสูง
- การสูบบุหรี่
- โรคเบาหวาน
- ภาวะหลอดเลือดอุดตัน (Thrombosis)
การพยาบาล
การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันต้องครอบคลุมทั้ง 4 ระยะคือการดูแลในระยะฉุกเฉิน (Emergency care) การดูแลในระยะแรก (Early care)
การดูแลในภายหลังจากระยะแรก (Subsequent care) และ การดูแลในระยะการก่อนออกจากโรงพยาบาล มีเป้าหมายที่สําคัญคือการลดหรือจํากัดกล้ามเนื้อหัวใจที่ขาด เลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายให้น้อยที่สุด การประเมินและบรรเทาอาการเจ็บแน่นหน้าอก การป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและร่างกายให้เร็วที่สุด และการให้ความรู้เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ โดยการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม การประเมินสภาพผู้ป่วย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยที่รวดเร็วและได้รับการรักษาที่ถูกต้องสามารถบรรเทาอาการต่างๆได้อย่างรวดเร็ว โดยการ ซักประวัติเกี่ยวกับอาการเจ็บแน่นหน้าอก
อาการแสดง
- หายใจลำบากหรือหายใจไม่ออก ซึ่งมักเกิดขึ้นฉับพลันและอาการมักแย่ลงเมื่อผู้ป่วยออกแรงหรืออกกำลังกาย
- เจ็บหน้าอก หรือ แน่นหน้าอก
- ผู้ป่วยอาจมีอาการแย่ลงในขณะที่หายใจเข้าลึก ๆ เมื่อไอ
- รับประทานอาหาร ตอนที่โค้งหรืองอตัว
อีกทั้ง อาการจะแย่ลงเมื่อมีการออกแรง
และอาการเจ็บหน้าอกจะไม่หายไปแม้นั่งพักแล้วก็ตาม
- ผู้ป่วยอาจไอแล้วมีเลือดปนมากับเสมหะ หรือไอเป็นเลือด
-
-