Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบโรคหัวใจและหลอดเลือด - Coggle Diagram
ระบบโรคหัวใจและหลอดเลือด
Congestive heart failure
การวินิจฉัย
การซักประวัติ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เช่น การติดเชื้อ การเต้นของหัวใจผิดปกติ ไข้รูมาติค
การตรวจร่างกาย
-การดูลักษณะทั่วไป
-การตรวจบริเวณทรวงอก ท้อ ชีพจร การเต้นของหลอดเลือดดำที่คอ การดู Hepato-jugular reflex
การตรวจการทำงานของหัวใจโดยวัดเสียงสะท้อนของคลื่นเสียงความถี่สูงพร้อมการวัดการไหลของเลือด (Echocardiography with Doppler flow study)
การตรวจผลทางห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินสภาวะของ electrolytes และสารน้ำในร่างกาย
การตรวจเลือดในปัจจุบันมี 2 แบบ คือการตรวจวิเคราะห์ ค่า BNP และค่า NT-proBNP
-ค่า BNP ในเลือดสูงขึ้นภายใน 2 ชม.หลังเกิดอาการหัวใจล้มเหลว
-ค่า NT-proBNP จะมีระดับสูงกว่าปกติในเลือดได้เป็นเวลานา 12-16 ชม.หลังเกิดอาการหัวใจล้มเหลว
5.การติดตามค่าพารามิเตอร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการไหลเวียนเลือดภายในร่างกาย (hemodynamic monitoring) โดยใช้ pulmonary artery catheter เพื่อประเมินถึงสภาวะการ ไหลเวียนของเลือดภายในร่างกาย
การตรวจด้วยกระบวนการอื่นๆ ซึ่งไม่ได้รับการแนะนำให้ทำเป็นประจำ เช่น การตรวจ ECG
การรักษา
1.มุ่งเน้นในการแก้ไขโรคที่เป็นสาเหตุของภาวะนี้ เช่น ถ้าเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ผู้ป่วยก็ควรได้รับการฉีดสีสวนหัวใจ เพื่อพิจารณาแก้ไขหลอดเลือดโดยเร็วที่สุดเพื่อหยุดยั้งการดำเนินโรค
การรักษาโดยการใช้ยาเพื่อชะลอการดำเนินโรคและฟื้นฟูการทำงานของหัวใจ
3.ปรับควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายโดยการคุมอาหาร ปริมาณน้ำที่ดื่มในแต่ละวัน และการปรับยาขับปัสสาวะอย่างเหมาะสม
4.การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจเพื่อช่วยในการบีบตัว (Cardiac resynchronize therapy หรือ CRT) ตลอดจนใส่เครื่องกระตุกหัวใจหัวใจ (Implantable cardioverter defibrillator หรือ ICD) ในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้
การรักษาที่ไม่ใช้ยา (non-pharmacological therapy)
ค้นหาและก้าจัดปัจจัยชักน้า เช่น หยุดยา NSAIDs, corticosteroids, negative inotropic drugs เช่น beta-blockers หรือ calcium channel blockers ถ้าสามารถหยุดยาได้
จำกัดการออกกำลังในช่วงหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันเพื่อลดภาระในการ ทำงานของหัวใจลดการกระตุ้นsympatheticnervoussystem
-ให้ oxygen แก่ผู้ป่วยเพื่อรักษาระดับ oxygen ภายในกระแสเลือดลด อาการหายใจหอบเหนื่อยเพิ่มการส่งออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อ
การรักษาโดยการใช้ยา (pharmacological therapy)
ยาที่มีผลลด preload
Diuretics
Thiazides
Loop diuretics เช่น furosemide,
vasodilators ที่มักใช้ในภาวะ acute heart failure
-ACEIs มีฤทธิ์ลดทั้ง preload และ afterload จากการขยายทั้งหลอดเลือด ดำและแดง
-Sodium nitroprusside มีฤทธิ์ลดทั้ง preload และ afterload จากการ ขยายทั้งหลอดเลือดดำและแดง
-IV nitroglycerin และ Nitrates มีฤทธิ์ ลด preload มากกว่าลด afterload เนื่องจากฤทธิ์ที่หลอดเลือดดำเด่นชัดกว่าที่หลอดเลือดแดง IV nitroglycerin เป็น vasodilator of choice ในผู้ป่วยที่มี intravascular volume overload และความดันโลหิตสูง
-Hydralazineมีฤทธล์ดafterloadมากกว่าpreloadเนื่องจากฤทธิ์ที่หลอด เลือดแดงเด่นชัดกว่าที่หลอดเลือดดำ
ยาที่มีผลเพิ่ม cardiac contractility (positive inotropic)
Digoxin
Catecholaminesยาที่ใช้คือ dopamineและdobutamine
สาเหตุ
แบ่งสาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลวออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
กล้ามเนื้อหัวใจทำหน้าที่ผิดปกติ ได้แก่
กล้ามเนื้อหัวใจตาย
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา ปรสิต และพิษของสารเคมี
โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
ดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลานาน
โรคหลือดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ
โรคหัวใจจากความผิดปกติของการเมตาบอลิซึม
โรคหัวใจจากความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ
ความจำกัดในการคลายตัวรับเลือดของเวนตริเคิล ได้แก่
ลิ้นไมทรัลและไตรคัสปิดตีบ
ภาวะหัวใจถูกกดอย่างรุนแรง
หัวใจอักเสบบีบรัด
ภาวะที่หัวใจต้องรับภาระหนักอย่างผิดปกติ
ลิ้นไมทรัลและไตรคัสปิดรั่ว
ปริมาตรเลือดมากเกิน
ความพิการแต่กำเนิด : มีทางลัดเลือดจากหัวใจซีกซ้ายไปซีกขวา
ความผิดปกติของผนังกั้นของเวนตริเคิล
ความผิดปกติของผนังกั้นเอเตรียม
ความดันโลหิตสูง
ลิ้นเอออร์ติคและลิ้นพุลโมนิคตีบ
ความต้านทานของหลอดเลือด
การพยาบาล
การจัดการพยาบาลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่ได้รับการรักษาด้วยยา คือ การรักษาสมดุลระหว่างการได้รับยาและการใช้ออกซิเจนของหัวใจ เฝ้าระวังการลดลงของปริมาตรเลือดที่หัวใจส่งออกต่อนาที รักษาสมดุลของสารน้ำให้เหมาะสม ลดภาระงานของหัวใจ ติดตามและประเมินผลการรักษาด้วยยาและให้ความรู้กับผู้ป่วย
ติดตามผลการตรวจวิเคราะห์ภายในเลือดเพื่อประเมินภาวะแลกเปลี่ยนก๊าซในปอด
ดูแลให้พ่นยาตามแผนการรักษา
จัดทานอนศีรษะสูง 30-45 องศา
วัดและบันทึกสัญญาณชีพเป็นระยะทุก 1-2 ชม. สังเกตลักษณะการหายใจ สังเกตอาการเขียว
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง โดยการดูดเสมหะ
ดูแลให้ออกซิเจนและเครื่องช่วยหายใจตามความต้องการของร่างกาย
ประเมินอาการของผู้ป่วยเกี่ยวกับภาวะพร่องออกซิเจน
อาการและอาการแสดง
เหนื่อยง่าย
อ่อนเพลีย
หน้ามืด
ไตวาย
ซึ่งเป็นผลจากอวัยวะสำคัญขาดออกซิเจนเรื้อรัง และอาการเหนื่อยจากภาวะน้ำท่วมปอด นอนราบไม่ได้ หน้าบวม ขาบวม ซึ่งเกิดจากกลไกที่มีน้ำคั่งอยู่ในร่างกาย
Pulmonary Embolism
การวินิจฉัย
การซักประวัติและการตรวจร่างกาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจเลือด เพื่อหาค่าดีไดเมอร์ (D-Dimer) ซึ่งเป็นค่าที่บอกถึงการมีลิ่มเลือดในหลอดเลือด แต่ปัจจัยอื่น ๆ ก็อาจส่งผลต่อค่าดีไดเมอร์ได้เช่นกัน รวมถึงตรวจระดับออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด หากก๊าซเหล่านี้ลดต่ำลงแสดงว่าอาจมีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด
การเอกซเรย์ทรวงอก แม้วิธีนี้จะไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ แต่จะแสดงให้เห็นถึงการทำงานของปอดและหัวใจ โดยบางครั้งอาจพบว่าเนื้อปอดบางจุดมีปริมาณหลอดเลือดลดลง
การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจความผิดปกติภายในหลอดเลือดแดงที่ปอด หรือแพทย์อาจวินิจฉัยด้วยวิธี V/Q Scan เพื่อตรวจอากาศและเลือดภายในปอด หากพบว่ามีอากาศแต่ไม่มีเลือดไปเลี้ยงในปอด อาจแสดงว่าผู้ป่วยเป็นโรค Pulmonary Embolism ได้
การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสร้างภาพอวัยวะภายในที่ต้องการตรวจ เหมาะสำหรับการวินิจฉัยโรคในหญิงตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยของทารกในครรภ์
-การอัลตราซาวด์ เพื่อตรวจหาลิ่มเลือดในหลอดเลือดบริเวณขาและหลังหัวเข่า
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ส่วนใหญ่พบว่าผู้ป่วยโรคนี้มีภาวะหัวใจเต้นเร็ว และอาจพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่บ่งชี้ถึงภาวะลิ่มเลื่อดอุดตันได้
การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ วิธีนี้จะแสดงให้เห็นว่าหัวใจห้องล่างขวาโต เบียดผนังกั้นหัวใจห้องล่างไปทางหัวใจห้องล่างซ้าย และอาจมีลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่ว ซึ่งบ่งบอกว่ามีความดันในปอดสูงที่อาจเกิดจากโรคนี้
การฉีดสีดูหลอดเลือดปอด เป็นวิธีการวินิจฉัยที่แม่นยำและชัดเจน แพทย์มักเลือกใช้วิธีการนี้เมื่อไม่สามารถวินิจฉัยด้วยวิธีการอื่น ๆ
การรักษา
การใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาที่นิยมใช้ ได้แก่ ยาเฮพาริน ซึ่งเป็นยาที่ออกฤทธิ์เร็ว โดยแพทย์จะฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดดำหรือใต้ผิวหนัง นิยมใช้คู่กับการรับประทานยาวาร์ฟารินเป็นเวลาหลายวันจนกว่าจะเห็นผล
การใช้ยาสลายลิ่มเลือด แม้ลิ่มเลือดมักสลายไปเองได้ แต่ยาสลายลิ่มเลือดจะเร่งให้ลิ่มเลือดสลายตัวเร็วขึ้น โดยยาสลายลิ่มเลือดอาจทำให้มีเลือดออกมากผิดปกติได้
การสอดท่อเข้าทางหลอดเลือด ในกรณีที่ลิ่มเลือดมีขนาดใหญ่และเป็นอันตรายต่อชีวิต แพทย์จะสอดท่อเข้าทางหลอดเลือดเพื่อกำจัดลิ่มเลือดที่อุดตัน
การใช้ตะแกรงกรองลิ่มเลือด เพื่อกรองลิ่มเลือดไม่ให้ไปอุดกั้นที่ปอด
การผ่าตัด แพทย์จะผ่าตัดกำจัดลิ่มเลือดในกรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน มีอาการช็อก ไม่สามารถใช้ยาละลายลิ่มเลือดได้ หรือรักษาด้วยการใช้ยาอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล
สาเหตุ
อายุ ผู้ที่มีอายุมากเสี่ยงเผชิญโรคนี้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
พันธุกรรม หากสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้หรือมีภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำมาก่อน ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคได้มากขึ้น
อุบัติเหตุ เช่น กระดูกหัก หรือกล้ามเนื้อฉีก อาจทำให้หลอดเลือดเกิดความเสียหายจนเกิดลิ่มเลือดได้
การเจ็บป่วยด้วยโรคบางชนิด เช่น โรคหัวใจ โดยเฉพาะภาวะหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งตับอ่อน โรคมะเร็งรังไข่ โรคมะเร็งปอด และโรคมะเร็งอื่น ๆ ที่มีการแพร่กระจายของเซลล์เนื้อร้าย
การรักษาโรค เช่น การผ่าตัดใหญ่ หรือการทำเคมีบำบัด อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดได้เช่นกัน
ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เช่น การนอนบนเตียงเนื่องจากความเจ็บป่วยหลังการผ่าตัดหรือหลังได้รับอุบัติเหตุ การใส่เฝือก การนั่งโดยสารเครื่องบินหรือรถยนต์เป็นเวลานาน รวมถึงมีอาชีพที่ต้องนั่งเป็นเวลานาน เช่น พนักงานออฟฟิศ เพราะอาจทำให้เลือดไหลเวียนช้าลงและเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือด
การสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่เสี่ยงต่อโรคนี้และเสี่ยงเผชิญปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ร่วมด้วย
ภาวะน้ำหนักตัวเกิน รวมถึงโรคอ้วน อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ได้ โดยเฉพาะผู้หญิงอ้วนหรือมีน้ำหนักเกินที่สูบบุหรี่หรือมีความดันโลหิตสูง
การตั้งครรภ์ น้ำหนักของทารกในครรภ์อาจไปกดทับเส้นเลือดดำบริเวณกระดูกเชิงกราน ทำให้เลือดไหวเวียนได้ช้าลงจนเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือด
การใช้ฮอร์โมนเสริม ความเสี่ยงในการเกิดเลือดแข็งตัวจนเป็นลิ่มเลือดอาจเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่ได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือเทสโทสเตอโรน ซึ่งอาจมาจากการใช้ยาคุมกำเนิดหรือการใช้ฮอร์โมนทดแทน และความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหากเป็นผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินหรือสูบบุหรี่
การพยาบาล
ให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อไม่ให้เกิดลิ่มเลือด
ไม่ให้ผู้ป่วยนั่งหรือยืนท่าเดิมนานๆ
วัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เฝ้าระวังความดัน
ใส่ถุงน่องแบบรัดเพื่อช่วยการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบริเวณขาให้ดีขึ้นและป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
ดูภาวะแรกซ้อน
เมื่อเกิดโรค Pulmonary Embolism หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อผลักดันให้เลือดไหลเวียนเข้าสู่หลอดเลือดที่มีลิ่มเลือดอุดตันอยู่ จึงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน คือ ความดันเลือดในปอดหรือหัวใจห้องซ้ายสูง ซึ่งส่งผลให้หัวใจอ่อนกำลังลงได้ และเมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะความดันในปอดสูงเรื้อรัง ซึ่งภาวะเหล่านี้อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
อาการและอาการแสดง
หายใจลำบาก
เจ็บหน้าอก
หัวใจเต้นเร็ว ไม่สม่ำเสมอ
ไอ
วิเวียนศีรษะ
Coronary artery disease หรือ IHD
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกายเบื้องต้นด้วยการซักประวัติ ตรวจระดับน้ำตาลเพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมัน ตรวจการทำงานของไต การเอ็กเรย์ปอดและหัวใจ
การซักประวัติ
ตำแหน่งที่เจ็บ
ลักษณะของการเจ็บ
เจ็บร้าว
ทำอะไรจึงเจ็บอก
ระยะเวลาที่เจ็บอก
ทำอย่างไรถึงหายเจ็บอก
อาการร่วม เช่น เหนื่อยหอบ ใจสั่น เหงื่อออก เวียนหัว เป็นลมหน้ามืด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG
การทดสอบสมรรถภาพหัวใจด้วยการให้เดินสายพานบนลู่วิ่ง (Exercise Stress Test หรือ EST)
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography หรือ Echo)
การตรวจวินิจฉัยโรคของหลอดเลือดหัวใจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Scan)
การสวนหัวใจหรือการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ
การรักษา
ให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น เลิกสูบบุหรี่ ควบคุมอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กำจัดความเครียด
การรักษาด้วยยา เช่น
-ยาต้านเกล็ดเลือด ที่นิยมใช้คือแอสไพริน ไดไพริดาโมล
-ยาต้านการแข็งตัวของลิ่มเลือด ที่สำคัญคือเฮฟพาริน ส่วนวาร์ฟารินเป็นชนิดรับประทาน
-ยาขยายหลอดเลือด
-ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ
-ยาลดไขมัน
-ยาควบคุมความดันโลหิต เป็นต้น
การทำบอลลูนเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ (Balloon Angioplasty) เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมเพราะว่าปลอดภัยและไม่ต้องผ่าตัด โดยเป็นการดันคราบไขมันที่อุดตันหลอดเลือดให้กลับไปติดผนังหลอดเลือด โดยการสอดฝังขดลวดค้ำยันผนังหลอดเลือดผ่านสายสวน ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกขึ้น
การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ หรือที่เรียกกันว่า “การทำบายพาสหัวใจ” เป็นการเย็บต่อเส้นเลือดเพื่อนำเลือดแดงจากเส้นเลือดแดงใหญ่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่ขาดเลือด โดยข้ามผ่านเส้นเลือดส่วนที่ตีบ สำหรับการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจด้วยวิธีนี้ ส่วนใหญ่แพทย์จะตัดสินใจทำในผู้ที่มีหลอดเลือดหัวใจอุดตันไปแล้วกว่า 70%
สาเหตุ
ส่วนใหญ่เกิดจากไขมันและเนื้อเยื่อสะสมอยู่ในผนังของหลอดเลือด ทำให้เยื่อบุด้านในของผนังหลอดเลือดส่วนนั้นหนา ตีบ
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดไขมันสะสมในผนังหลอดเลือดแดงที่หัวใจ คือ
ไขมันในเลือดผิดปกติ
สูบบุหรี่หรือคนใกล้ชิดสูบบุหรี่
ความดันโลหิตสูง
เบาหวาน
อายุ ผู้ชาย > 45 ปี ผู้หญิง > 55 ปี ผู้ชายจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบมากกว่าผู้หญิง
ครอบครัวมีประวัติโรคหลอดเลือดแดงที่หัวใจตีบก่อนวัยอันควร
ปัจจัยอื่นๆ เช่น การอักเสบที่เหงือกและฟัน การติดเชื้อ การแข็งตัวของเลือด โรคอ้วน และการขาดการออกกำลังกาย
การพยาบาล
ดูแลให้ NTG อมใต้ลิ้นและตามด้วย NTG IV drip ถ้ายังมีอาการเจ็บหน้าอกหรือมีอาการหัวใจวาย
ติดตาม EKG monitor และประเมิน V/S
ดูแลให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
จัดท่านอนศีรษะสูง
ดูแลให้สารน้ำตามแผนการรักษา
ให้ยาแก้เจ็บแน่นหน้าอก Morphine 2-3 mg.IV dilute 10 ml.
เปิดเส้นให้ I’ve fluid และบริหารยาลด afterload vasodilate
ให้ออกซิเจน2 ลิตร/นาที keep sat o2 >92%
ให้แอสไพริน (160-350 mg.) เคี้ยวแล้วกลืนทันที clopidogrel (75mg) sig 4 tabs oral stat
อาการและอาการแสดง
Stable angina
อาการเจ็บหน้าอกคงที่ ปวดเค้นคล้ายมีอะไรกดทับหรือจุกแน่นตรงกลางอก,อาการเจ็บหน้าอก
ผู้ป่วยอาจมีอาการใจสั่น เนื่อยหอบ เหงื่อออก เวียนศีรษะ คลื่นไส้ร่วมด้วย
Acute coronary
2.1 เจ็บอกแบบ Angina pectoris หรือ เจ็บขณะพักผ่อน
สาเหตุ เกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงหัวใจลดลงกล้าเนื้อหัวใจได้รับออกซิเจนลดลง
2.2 การตรวจร่างกายส่วนมากไม่พบความผิดปกติ ถ้ามีก็จะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย แต่อาจตรวจพบอาการแสดงอื่นๆที่ผิดปกติ เช่น
-ฟังได้ Heart sound gallop หรือ murmur
-คลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจพบมี ST เปลี่ยนแปลง จากพยาธิสภาพของหัวใจที่เป็นสาเหตุการเจ็บหน้าอก เป็นต้น
Pericarditis
การรักษา
จุดประสงค์ของการรักษาคือการลดความเจ็บปวด ลดการอักเสบ และลดความเสี่ยงที่จะกลับมาเกิดอาการซ้ำในภายหลัง โดยวิธีการรักษาเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ โดยประกอบด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้
การดูแลตนเอง
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงอาจใช้วิธีพักผ่อน รับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำ และหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงหนักเนื่องจากอาจกระตุ้นให้เกิดอาการ
การรักษาด้วยการใช้ยา
แพทย์จะจ่ายยาเพื่อช่วยลดอาการบวมและบรรเทาการอักเสบ โดยยาที่มักใช้รักษาเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ได้แก่
ยาบรรเทาปวด ใช้รักษาอาการปวดที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและลดการอักเสบ เช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และยาแอสไพริน ซึ่งสามารถหาซื้อได้ทั่วไป ในกรณีที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจสั่งจ่ายยาแก้ปวดที่รุนแรงขึ้นให้ผู้ป่วยแทน
ยาโคลชิซิน (Colchicine) ใช้เพื่อรักษาอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันหรืออาการรุนแรงนานกว่า 2 สัปดาห์ และใช้รักษาเมื่อผู้ป่วยกลับมาเกิดอาการซ้ำ โดยยาจะช่วยลดอาการอักเสบและป้องกันอาการเกิดขึ้นซ้ำได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ โรคไต หรือมีโรคประจำตัวบางโรค โดยแพทย์จะตรวจประวัติสุขภาพก่อนสั่งจ่ายยาให้ผู้ป่วย
ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) อย่างยาเพรดนิโซน (Prednisone) มักใช้เฉพาะกรณีที่อาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้นหลังได้รับยาแก้ปวดหรือยาโคลชิซิน หรืออาจใช้ในกรณีที่มีอาการของโรคซ้ำอีก
ยาขับปัสสาวะ (Duretics Drugs) ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับยาแก้ปวดหรือยาโคลชิซินติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี เพื่อช่วยระบายของเหลวส่วนเกินในร่างกายออกเนื่องจากภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบและหดตัว
ยาปฏิชีวนะและยาต้านเชื้อรา เพื่อใช้รักษาอาการที่เกิดจากการติดเชื้อ
ยาอื่น ๆ เช่น ยาอะซาไธโอพรีน (Azathioprine) การฉีดอิมมูโนโกลบูลิน (IV Human Immunoglobulins) หรือยาอะนาคินรา (Anakinra) เป็นต้น
การรักษาตัวในโรงพยาบาล
ในกรณีที่แพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง อย่างภาวะบีบรัดหัวใจ (Cardiac Tamponade) ซึ่งเป็นภาวะที่มีของเหลวปริมาณมากอยู่เยื่อหุ้มหัวใจ แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาด้วยวิธีต่อไปนี้
การเจาะถุงหุ้มหัวใจ (Pericardiocentesis)
แพทย์จะใช้เข็มเจาะและใส่สายสวนดูดระบายของเหลวภายในเยื่อหุ้มหัวใจออก โดยส่วนมากมักใส่สายสวนไว้เป็นเวลา 2–3 วัน ในตำแหน่งที่ดูดระบายของเหลวออก เพื่อป้องกันการกลับมาสะสมของน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจได้อีก ซึ่งแพทย์อาจใช้เครื่องมือช่วยเข้ามาช่วย เพื่อให้เห็นภาพหัวใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เครื่องตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram) หรือเครื่องอัลตราซาวด์ (Ultrasound) เป็นต้น
การผ่าตัดเยื่อหุ้มหัวใจ (Pericardiectomy)
เนื่องจากเยื่อหุ้มหัวใจที่เสียหายทำให้ประสิทธิภาพการสูบฉีดเลือดของหัวใจลดลง แพทย์จึงจำเป็นต้องผ่าตัดเยื่อหุ้มหัวใจที่เสียหายออกไป โดยแพทย์จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบและหดตัว หรือใช้เมื่อผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ
การรักษาเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
Acute pericarditis ใช้ยากลุ่มที่ช่วยลดการอักเสบ เช่น
NSAID หรือ corticosteroid
Chronic pericarditis
-แนะนำให้ผ่าตัดเยื่อหุ้มหัวใจ
-หากไม่สามารถผ่าได้ สามารถรักษาด้วยการรับประทานยาเช่นเดียวกับ acute pericarditis
การพยาบาล
ให้ผู้ป่วยอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ร้อนเกินไป
ประเมินอาการเจ็บหน้าอก ให้ยาแก้ปวด Analgesics ตามแผนการรักษาของแพทย์
ให้มีกิจกรรมบนเตียง นอนศีรษะสูง
แนะนำให้นั่งก้มหน้าไปข้างหน้า อาการจะดีขึ้น
มุ่งเน้นในการบรรเทาอาการเจ็บหน้าอกโดยการอักเสบ
ฟังเสียงหัวใจอย่างน้องทุก 2 ชม. ในระยะเฉียบพลัน
วัด V/S ทุก4 ชม.
การวินิจฉัย
การซักประวัติ: ประวัติการเจ็บป่วยทั้งในอดีตและปัจจุบัน
อาการและอาการแสดง : เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบอย่างเฉียบพลันจะมีอาการและอาการแสดง 3 อย่างที่สำคัญ คือ
อาการเจ็บหน้าอก
เสียงเสียดสีระหว่างเยื่อหุ้มหัวใจทั้งสองข้างในขณะที่หัวใจเคลื่อนไหว
หายใจลำบาก
อาการอื่นๆที่พบ ได้แก่ ไข้ หนาวสั่น เหงื่อออก ไอ ปวดตามข้อ เบื่ออาหารและน้ำหนักลด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ: CBC พบ WBC มีค่าสูงขึ้น และ ESR มีค่าสูงขึ้น เมื่อมีการอักเสบหรือติดเชื้อ และการตรวจเลือดหาสาเหตุของการเกิดโรค
การตรวจพิเศษอื่นๆ
-ECG/EHG : ST wave และ T wave เปลี่ยนแปลง QRS complex ลดลงจาก มีน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ อาจพบ sinus tachycardia หรือ flutter
-Chest x-ray : ถ้ามีน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจมากกว่า 500 ml. ขึ้นไป ขนาด ของหัวใจจะโตขึ้นแต่หลอดเลือดพันโมนารีปกติ
-การเจาะน้ำจากเยื่อหุ้มหัวใจเพื่อรักษาภาวะหัวใจถูกกดและนำน้ำออกมาตรวจเพื่อวินิจฉัย
สาเหตุ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
ไม่ติดเชื้อ
กล้ามเนื้อหัวใจตายอย่างเฉียบพลัน
ภยันตราย
ยูรีเมีย
โลหิตจางอย่างรุนแรง
ได้รับรังสีบริเวณทรวงอก
Myxedema
หลอดเลือดเอออร์ติค โป่งพอง
มะเร็ง
ออโตอิมมูน
ภายหลังกล้ามเนื้อหัวใจตาย 1-4 สัปดาห์ (Dressler’s Syndrome)
โรครูมาติค
โรค SLE
ยาต่างๆ เช่น Procainamide, Hydralazine และ Phenytoin
การติดเชื้อ
ไวรัส
แบคทีเรีย
วัณโรค
เชื้อรา
พยาธิ
อาการและอาการแสดง
เจ็บแปลบในช่องอกบริเวณใต้ต่อกระดูกอกร่วมกับปวดไหล่ด้านในด้านหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้าง
มีไข้ อ่อนเพลีย และเวียนศีรษะ เบื่ออาหาร
ใจสั่น
ความดันโลหิตต่ำ
หายใจลำบาก ไอแห้งๆ
-เสียงการเดินหัวใจผิดปกติ
หากมีอาการรุนแรง ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บหน้าอกมากถึงระดับเหมือนโดนมีดแทง และเป็นอาการปวดที่คล้ายกับอาการปวดจากภาวะหัวใจวาย (Heart Attack) หรือหัวใจล้มเหลว ภาวะนี้ถือว่ามีความอันตรายอย่างสูงมาก และมีโอกาสทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้