Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อมูลกรณีศึกษาผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรัง กรณีศึกษาที่ 2,…
ข้อมูลกรณีศึกษาผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรัง กรณีศึกษาที่ 2
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ได้รับสารอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย
ข้อมูลสนับสนุน
S : "ชอบรับประทานอาหารประเภทผัดทอด "
O :ค่า BMI = 27.89 ซึ่งแปลผลได้ว่าอยู่ในอ้วนระดับที่ 2, รอบเอว 38 นิ้ว
กิจกรรมทางการพยาบาล
1.วางแผนสำหรับมื้ออาหารล่วงหน้ารวมถึงวางแผนการรับประทานอาหาร โดยงดอาหารจำพวกแป้ง ของหวาน อาหารที่ปรุงด้วยวิธีทอด ผัด
ดูแลให้ตระหนักถึงวิธีการปรุงอาหารที่มีผลต่อจำนวนแคลอรี่ และปริมาณไขมัน โดยหลีกเลี่ยงการปรุงอาหารด้วยวิธีการผัด ทอด ควรใช้วิธีการปรุงแบบต้ม นึ่ง ย่าง
แนะนำให้ได้รับแคลอรี่จากผลไม้ ผัก ให้มากที่สุดแทนเนื้อสัตว์ นม เนย และแนะนำให้รับประทานอาหารประเภทเนื้อไก่ ปลา ที่มีไขมัน และแคลลอรี่น้อยกว่าเนื้อแดง
แนะนำให้รับประทานอาหารช้าๆ และเน้นเคี้ยวอย่างละเอียด
กระตุ้นและส่งเสริมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคนิสัยให้ถูกต้อง และสม่ำเสมอ
เกณฑ์การประเมิน
ปรับเปลี่ยนการบริโภคนิสัยได้ถูกต้อง
ดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในเกณฑ์ปกติ = 18.5-24.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
เหตุผลทางวิทยาศาสตร์
1.กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสารอาหารในร่างกายเพื่อนำประโยชน์จากสารอาหารไปใช้ โดยเริ่มจากการย่อย การดูดซึม การใช้ประโยชน์การเก็บสะสมและการขับออกจากร่างกายทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายอยู่ในสภาพที่ทำหน้าที่ต่างๆได้ ทำให้มีการเจริญเติบโตและมีภูมิคุ้มกันจากโรค โดยมีการเลือกรับประทานอาหารให้ถูกสัดส่วนเหมาะสมแก่สภาพร่างกายต่างๆ
(นักสิทธิ์ ปัญโญใหญ่,2560)
2.การรับประทานอาหารที่มีไขมันแต่พอควรต่อร่างกายและการรับประทานอาหารที่สะอาดปรุงสุกใหม่ๆเป็นการป้องกันเชื้อโรคทำให้ปลอดภัยจากการเจ็บป่วย (นักสิทธิ์ ปัญโญใหญ่,2560)
3.การรับประทานพืชผักผลไม้เป็นแหล่งสำคัญของวิตามินและแร่ธาตุ ย่อยง่าย มีกากใยช่วยในระบบขับถ่าย ป้องกันท้องผูก ผู้สูงอายุแนะนำให้ทานบ่อยและมากกว่าอาหารประเภทไขมันหรือโปรตีนเนื้อแดงที่ย่อยยาก การรับประทานเป็นประจำทุกวันจะช่วยส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค(นักสิทธิ์ ปัญโญใหญ่,2560)
4.การเคี้ยวอาหารช้าๆจะไปช่วยกระตุ้นต่อมน้ำลายและมีการหลั่งฮอร์โมนออกมาอย่างสมดุล ส่งผลให้อารมณ์ดีและการทำงานของสมองก็จะดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น(นักสิทธิ์ ปัญโญใหญ่,2560)
กลั้นปัสสาวะไม่ได้ เนื่องจากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานไม่แข็งแรง
ข้อมูลสนันสนุน
S : “กลั้นปัสสาวะไม่ได้บางครั้ง มีปัสสาวะเล็ดเมื่อไอจาม”
O : -
เกณฑ์การประเมิน
ขณะไอจามไม่มีปัสสาวะเล็ด
กิจกรรมการพยาบาล
แนะนำให้ผู้สูงอายุฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะแข็งแรง โดยการขมิบก้นบ่อยๆ โดยเริ่มจากรอบละ 10-20 ครั้ง และเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ
แนะนำให้ผู้สูงอายุลดน้ำหนัก เพื่อลดแรงกดทับกระเพาะปัสสาวะ
3.แนะนำให้ดื่มน้ำในแต่ละวันให้เหมาะสม โดยดื่มปริมาณน้ำวันละ 2000-2500 ml
เหตุผลทางวิทยาศาสตร์
1.การฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเป็นประจำ จะช่วยให้มีความรู้สึกอยากจะกลั้นการขับถ่าย กล้ามเนื้อจะหดตัวได้เองอย่างอัตโนมัติ และสามารถช่วยลดอาการปัสสาวะเล็ดได้ (ยิ่งรัก บุญดำ ช่วยบุญ, 2565)
2.การควบคุมน้ำหนักในผู้สูงอายุ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ การลดน้ำหนักอาจช่วยลดอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้ (ลิวรรณ อภิรักษ์, 2560)
3.การดื่มน้ำในประมาณที่เหมาะสมต่อร่างกายจะช่วยปรับสมดุลและรักษาอุณหภูมิของร่างกาย และยังช่วยชะลอผิวพรรณให้เรียบเนียนไม่เหี่ยวย่นก่อนวัย(นักสิทธิ์ ปัญโญใหญ่,2560)
เสี่ยงต่อการเกิดท้องผูก
ข้อสนับสนุน
S: “อุจจาระเป็นก้อนแข็งบางครั้ง ต้องใช้แรงเบ่งถ่ายอุจจาระแต่ไม่มีเลือดปน ”
O : ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระ 3- 4 ครั้ง/สัปดาห์
ผู้ป่วยมีอายุ 74 ปี มีโรคประจำตัว คือ เบาหวาน ความดันสูงและไขมันในเลือดสูง
เป้าหมายทางการพยาบาล
ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระได้ปกติ ไม่มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง
เกณฑ์การประเมิน
1.อุจจาระมีลักษณะปกติ
2.ขับถ่ายอุจจาระทุกวันหรือทุก 2 วัน
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินการถ่ายอุจจาระทุกวัน
กระตุ้นให้ดื่มน้ำมากๆ 2000 -3000 cc/day
แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีกากใยมาก เช่น ผัก ผลไม้ ฯลฯ
4.กระตุ้นให้มีการทำกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้น
สังเกต บันทึกลักษณะ และระยะเวลาในการขับถ่าย
6.ให้คำแนะนำ และการปฎิบัติเพื่อแก้ไขป้องกันภาวะท้องผูก
เหตุผลทางวิทยาศาสตร์
1.ควรถ่ายอุจจาระในเวลาเดียวกันทุกวันเพื่อสร้างความคุ้นชินกับการทำงานของลำไส้ ช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายอุจจาระควรเป็นหลังรับประทานอาหารเช้า เพราะอาหารที่เข้าไปในกระเพาะอาหารจะกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ทำให้ผู้สูงอายุอยากถ่ายอุจจาระ (มนสภรณ์ วิทรูเมธา, 2560)
การดื่มน้ำในประมาณที่เหมาะสมต่อร่างกายจะช่วยปรับสมดุลและรักษาอุณหภูมิของร่างกาย และยังช่วยชะลอผิวพรรณให้เรียบเนียนไม่เหี่ยวย่นก่อนวัย(นักสิทธิ์ ปัญโญใหญ่,2560)
3.การรับประทานพืชผักผลไม้เป็นแหล่งสำคัญของวิตามินและแร่ธาตุ ย่อยง่าย มีกากใยช่วยในระบบขับถ่าย ป้องกันท้องผูก ผู้สูงอายุแนะนำให้ทานบ่อยและมากกว่าอาหารประเภทไขมันหรือโปรตีนเนื้อแดงที่ย่อยยาก การรับประทานเป็นประจำทุกวันจะช่วยส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค(นักสิทธิ์ ปัญโญใหญ่,2560)
4.การทำกิจวัตรประจำวัน เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว และทำงานได้ดีขึ้น เมื่ออวัยวะต่าง ๆ ทำงานได้ดีขึ้น ก็จะไปส่งผลให้ลำไส้ขยับเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นตามไปด้วย ทำให้อาหารส่งผ่านไปได้สะดวก (ภาณุวัฒ อุ่นพรม, 2563)
5.ฝึกถ่ายอุจจาระให้สม่ำเสมอและเป็นเวลา เพื่อให้ร่างกายและลำไส้เคยชินกับการขับถ่าย เวลาขับถ่ายที่ดีที่สุด คือ ตอนเช้าเวลา 5.00 – 7.00 น. หรือหลังอาหารเช้า ถ่ายเวลาเดิม สม่ำเสมอทุกวัน ควรให้เวลากับการถ่ายอุจจาระอย่างเพียงพอ ไม่เร่งรีบ และไม่เบ่งแรง (สุภาพร พงศ์พฤกษ์, 2560)
การให้คำแนะนำที่ถูกต้องช่วยให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง และไม่เกิดปัญหาเดิมตามมา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ที่มีอาการท้องผูกสามารถกลับมาขับถ่ายได้เป็นปกติ รับประทานอาหารเช้าทุกวัน ดื่มน้ำให้มากพอเพื่อให้อุจจาระอ่อนนุ่มถ่ายง่าย ออกกำลังกายและเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ (โสพิศ กองปราบ, 2557)
เสี่ยงต่อการพลักตกหกล้ม
ข้อสนับสนุน
S : "มีอาการชาที่เท้าทั้งสองข้าง เท้าและขาขวาชากว่าเท้าซ้าย"
"อ่านหนังสือต้องสวมแว่นตา"
เคยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมข้างซ้าย เนื่องจากเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
O : ลักษณะการอยู่อาศัย พื้นห้องน้ำเป็นกระเบื้อง ไม่มีราวจับ พื้นห้องน้ำเปียก
แบบประเมิน Time up and go test ได้ 11 วินาที
ผลการตรวจร่างกาย : Cornea : arcus senilis, right cloudy white spot over pupil
: Left Visual acuity 20/30 without glasses
เกณฑ์การประเมิน
-แบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ADL มากกว่าหรือเท่ากับ 12 คะแนน
-การประเมิน TUG ใช้เวลามากกว่าหรือเท่ากับ 12 วินาที
-ผู้สูงอายุไม่มีรอยแผลหรือรอยช้ำจากอุบัติเหตุพลัดตกหกล่ม
กิจกรรมทางการพยาบาล
ให้ความรู้กับผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุตระหนักต่อความเสี่ยง และลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดการพลัดตกหกล้ม
แนะนำผู้สูงอายุให้ลุกนั่งช้าๆ เพื่อป้องกันอาการหน้ามืด และหกล้ม
แนะนำผู้สูงอายุไม่ให้ใส่รองเท้าที่มีพื้นลื่น และแนะนำให้ในห้องน้ำมีราวจับ รวมทั้งทำให้พื้นห้องน้ำแห้งอยู่เสมอเพื่อป้องกันการลื่นล้มบนพื้น
แนะนำให้ผู้สูงอายุให้ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและความแข็งแรง
แนะนำให้ผู้สูงอายุตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อประเมินภาวะสุขภาพ
เป้าทางการพยาบาล
ผู้สูงอายุปลอดภัยจากการพลัดตกหกล้ม
เหตุผลทางวิทยาศาสตร์
1.การเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุมักมีสาเหตุจากความเสื่อมและการถดถอยของร่างกาย อีกทั้งจากโรคภัยไข้เจ็บเป็นผลให้การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ลดลง ห้ความรู้กับผู้สูงอายุจึงมีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้ผู้สูงอายุเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ตระหนักถึงความเสี่ยงที่จะส่งผลต่ออร่างกาย และอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้ (สมจินตนา เอี่ยมสรรพางค์, 2560)
2.การลุกนั่งจากที่นอนอย่างช้าๆ โดยใช้เวลาประมาณ 30 วินาที จากนั้นเมื่อลุกนั่งแล้วก็ให้พลิกตัวหันไปทางซ้ายและขวาเป็นเวลา 30 วินาที ต่อด้วยการนั่งห้อยขาเป็นเวลา 30 วินาที เพื่อให้ระบบโลหิตไหลเวียนได้ดี และทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงหัวใจได้ดี ก็จะช่วยป้องกันการลุกขึ้นยืนหรือนั่งโดยไม่วูบเป็นลมนั่นเอง (พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์, 2562)
3.ห้องน้ำเป็นพื้นที่ที่ต้องใช้งานอยู่เป็นประจำทุกวัน ถือว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงของผู้สูงอายุเพราะอาจเกิดอุบัติเหตุโดยเฉพาะการล้มในห้องน้ำจนทำให้มีอาการฟกช้ำ บางครั้งอาจร้ายแรงจนถึงขั้นกระดูกหัก หรือเสียชีวิต ซึ่งการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการลื่นในห้องน้ำถือเป็นการลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุได้ (ยุทธศักดิ์ รัตนยากร, 2560)
4.การออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ช่วยชะลอความเสื่อมของระบบต่าง ๆ ทั้งยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงทนทานให้กับกล้ามเนื้อ ช่วยให้กล้ามเนื้อและข้อต่อยืดหยุ่นดีขึ้น ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ให้มีความสมดุล เพิ่มภูมิต้านทาน ในบางครั้งยังช่วยให้ผู้สูงอายุได้เข้าสังคม (อรวรรณ พิชิตไชยพิทักษ์, 2560)
5.การตรวจสุขภาพ เป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับผู้สูงวัย เพราะนอกจากจะเป็นการประคับประคองสุขภาพให้อยู่ในเกณฑ์ปกติแล้ว ยังเป็นการเฝ้าระวังไม่ให้โรคที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้น ช่วยลดโอกาสการเกิดโรคแทรกซ้อน หรือแม้แต่การพบโรคได้เร็วในระยะเริ่มต้น การรักษาก็จะง่ายและหายได้เร็วกว่า (ยุทธสิทธิ์ ธนพงศ์พิพัฒน์, 2564)
ส่งเสริมให้ทำกิจกรรมต่อเนื่อง เพื่อคงสภาวะทางร่างกายและจิตใจที่ดี
สนับสนุน
S : เคี้ยวอาหารแข็งไม่ค่อยได้พยายามลดการรับประทานขนมหวานและลดการเติมน้ำปลาพริกในอาหาร
ตอนเช้าเดินเร็วรอบบ้านวันละประมาณ 10-15 นาที
O : ผลการตรวจร่างกาย : Mouth and Teeth - Mild gingival recession , 3 cavities, 3 teethloss
กิจกรรมทางการพยาบาล
1.แนะนำให้มีการดูแลด้านอาหาร ควรมีความอ่อน และนุ่ม เพื่อที่จะให้ผู้สูงอายุเคี้ยวได้ง่ายขึ้น และควรมีสารอาหารที่เพียงพอ สะอาดและถูกสุขลักษณะ
2.แนะนำให้มีกิจกรรมการออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจ และนันทนาการตามความเหมาะสม
3.แนะนำให้ผู้สูงอายุตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
ให้คำแนะนำ คำปรึกษาให้ผู้สูงอายุได้ระบายความรู้สึกความเครียด ความวิตกกังวล และทำให้เข้าใจถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น
5.แนะนำให้ผู้สูงอายุมีสังคม มีพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เช่นเข้าร่วมกิจกรรม อาสาสมัคร
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยไม่กินขนมหวานและพริกน้ำปลาออกกำลังกายได้ต่อเนื่องวันละ 30นาที
เป้าหมายทางการพยาบาล
ผู้ป่วยทำกิจกรรมต่อเนื่องและมีสุขภาพที่ดี
เหตุผลทางวิทยาศาสตร์
ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายซึ่งมีความเสื่อมโทรมมากกว่าการเสริมสร้าง การดูแลการรับประทานอาหารจึงมีความสำคัญและเหมาะสมกับร่างกายและความต้องการ(นักสิทธิ์ ปัญโญใหญ่,2560)
2.ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม การจัดให้มีกิจกรรมออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจและนันทนาการตามความเหมาะสม เพื่อส่งเสริมความมั่งคงของอารมณ์ และการปรับตัวเข้ากับสังคมสิ่งแวดล้อมได้ง่าย(วรรณี ตปนียากร, 2552)
3.การตรวจสุขภาพประจำทุกปีเพื่อหาความผิกปกติและเสี่ยงต่อการเกิดโรค ในผู้สูงอายุจำเป็นต้องมีการตรวจสุขภาพทุกปีเนื่องจากมีการเสื่อมโทรมของร่างกาย(นักสิทธิ์ ปัญโญใหญ่,2560)
4.ในการให้คำแนะนำ คำปรึกษาแก่ผู้สูงอายุเป็นการรับฟังข้อมูลทั้งความทุกข์และความสุข การตั้งใจรับฟังเป็นการช่วยให้ระบายความรู้สึกบางอย่างแม้ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาได้แต่สามารถช่วยลดภาวะความเครียดลง
5.กิจกรรมทางสังคมจะทำให้ผู้สูงอายุได้พบปะกับผู้อื่นในวัยใกล้เคียงกัน จึงไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ปรับตัวและยอมรับตัวเองได้ง่ายขึ้น
5.มีความพร้อมรับการส่งเสริมการบริหารจัดการภาวะสุขภาพ
ข้อสนันสนุน
S : โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน “รับรู้เกี่ยวกับโรค พยายามลดการรับประทานอาหาร ขนมหวานและลดการเติมน้ำปลาพริกในอาหาร แต่ยังชอบรับประทานอาหารทอด และอาหารรสจัด”
กิจกรรมการพยาบาล
1.แนะการดูแลด้วยหลัก 3 อ. 2 ส. 1 ฟ. 3 อ. คือ อาหาร : ลด หวาน มัน เค็ม อารมณ์ดี : พักผ่ออนให้เพียงพอ รู้จักคลายเครียด หางานอดิเรกทำ ออกกำลังกาย : สัปดาห์ละ 4-5 วัน ครั้งละ 30 นาที 2 ส. คือ งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา และ 1 ฟ. คือ รักษาฟันให้สะอาด
2.เน้นย้ำให้เข้าใจถึงอันตรายที่มีต่อร่างกายจากผลของพฤติกรรมเสี่ยง
3.พูดคุยปรึกษาผลที่อาจเกิดขึ้นกับบุคคลที่สำคัญต่อผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคประจำตัว
เหตุผลทางวิทยาศาสตร์
1.สร้างพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ และ 2 ส. ไม่สูบบุหรี่ เลี่ยงการดื่มสุรา จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิด 5 โรคเรื้อรังอันตราย ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง (ภานุวัฒน์ ปานเกตุ, 2563)
2.การเน้นย้ำนี้อาจกระตุ้นให้ผู้รับบริการปฏิบัติอย่างถูก และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง โดยชี้ให้เห็นถึงอันตรายของพฤติกรรมเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนของโรคได้ (วรรณี ตปนียากร, 2552)
3.การปรึกษาเรื่องเหล่านี้อาจช่วยสนับสนุนให้ผู้ป่วยเลิกพฤติกรรมเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อน โดยเน้นให้เห็นแนวโน้มของผลกระทบจากโรคประจำตัวของผู้ป่วย (วรรณี ตปนียากร, 2552)
เกณฑ์การประเมิน
1.ผู้ป่วยปฏิบัติตัวและดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
2.ผู้ป่วยสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
เป้าหมายทางการพยาบาล
ผู้ป่วยมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองอย่างถูกต้อง
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตสังคม (Psychosocial theory of aging)
ทฤษฎีนี้เสนอโดย Neugarten อธิบาย ว่าผู้สูงอายุอาจจะ มีความสุขในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพและแบบแผนการ ดำเนินชีวิตที่มีมาในอดีตที่ แต่ละคนเคยปฏิบัติมาก่อน และบุคลิกภาพเป็นผลมาจากความพึงพอใจในชีวิตต่อการมีบทบาทในกิจกรรมนั้นๆ
จากกรณีศึกษา พบว่ายังมีคงบทบาทเป็นมารดาในการอบรมสั่งสอนลูก ๆ หลาน ๆ ในครอบครัว ยังเป็นคนดูแลทุกคนในครอบครัว ดูแลหลานสาว ไม่มีความคับข้องใจในหน้าที่ และสามารถที่จะปฏิบัติตามบทบาทได้ดี และยังสามารถที่จะไปวัดทำบุญทุกเช้า และเมื่อมีงานหรือกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา
ความรู้สึกของผู้สูงอายุขึ้นอยู่กับงานที่มีทําอยู่ผู้สูงอายุจะรู้สึกภาคภูมิใจและเห็นว่าตนเองมีคุณค่าแต่เมื่อเกษียณอายุแล้วความรู้สึกนี้จะลดลง ฉะนั้นบางคนจะสร้างความพึงพอใจต่อไปโดยการหางานอื่นทําแทน เช่น ปลูกต้นไม้
ผู้สูงอายุยอมรับว่าเมื่ออายุมากขึ้น สมรรถภาพของร่างกายเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ ร่างกายมีความแข็งแรงลดลง ชีวิตจะมีความสุข ถ้าสามารถยอมรับและปรับความรู้สึกนี้ได้ จากกรณีศึกษา พบว่ากรณีศึกษาเชื่อว่าภาวะสุขภาพของตนเองเป็นไปตามอายุ ร่างกายต้องเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ ยอมรับเรื่อง ความตายโดยไม่รู้สึกกลัว จากกรณีศึกษา พบว่ากรณีศึกษาภูมิใจในตนเองที่สามารถอยู่ได้ถึงขนาดนี้และสามารถช่วยเหลือตนได้
Havighurst อธิบายว่า การที่ผู้สูงอายุจะประสบความสำเร็จได้ (Successful aging) ผู้สูงอายุต้องมีการทำกิจกรรมอยู่เสมอ ไม่ถอนตัวออกจากสังคมและสิ่งแวดล้อม ผู้สูงอายุจะมีความพึงพอใจในชีวิต ถ้ายังคงมีกิจกรรมในสังคมซึ่งการทำกิจกรรมจะช่วยส่งเสริมผู้สูงอายุให้มีอัตโนทัศน์ที่ดี ทำให้รู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขได้ อย่างไรก็ตามในการจัดกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุ ควรจะเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุแต่ละคน
ผู้สูงอายุยังมีบทบาทเป็นมารดาคอยอบรมสั่งสอนลูกๆหลานๆ ในครอบครัว มีสัมพันธภาพที่ดีกับคนในหมู่บ้าน มีการพูดคุยทักทายกันอยู่เสมอ และยังคงไปทำบุญที่วัดทุกเช้าเสมอ ซึ่งทำให้กรณีศึกษายังรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขได้
สาเหตุและการป้องกันปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ
ปัญหาที่ 1 ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวเกิน มีค่า BMI = 27.89 อยู่ในอ้วนระดับ 2
การป้องกัน
ควรรับประทานอาหารในปริมาณน้อยลง โดยเน้นอาหารเพื่อสุขภาพ ได้แก่ เนื้อปลา, ไข่ต้ม, เต้าหู้, นมสดพร่องมันเนย, ผักต้ม, มะละกอสุก, ส้ม, กล้วยสุก เป็นต้น
2.หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที โดยควรให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายแบบเบาๆ เช่น เดิน, แกว่งแขน
ควรให้ผู้สูงอายุลดน้ำหนัก พยายามอย่าให้น้ำหนักสูงเกินกว่าเกณฑ์ส่วนสูงของผู้สูงอายุ
ควรลดการดื่มแอลกอฮอล์
สาเหตุ
ภาวะน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วน เกิดจากความไม่สมดุลกันระหว่างพลังงานที่ได้รับจากการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น ไขมันจากอาหารผัดทอด คาร์โบไฮเดรต ของหวาน ซึ่งผู้สูงอายุกรณีศึกษาชอบรับประทานอาหารประเภทผัด และทอด และในแต่ละมื้อจะกินข้าวสวยมื้อละ 2 ทัพพี และผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวคือไขมันในเลือดสูง เบาหวาน และความดันโลหิตสูง
ปัญหาที่ 2 เคี้ยวอาหารแข็งไม่ค่อยได้ การตรวจร่างกายพบว่า เหงือกร่น ฟันผุ 3 ซี่ ฟันหัก 3 ซี่
สาเหตุ
1.ถ้าปล่อยให้มีเศษอาหารตกค้างติดอยู่ตามซอกฟันอยู่เสมอเป็นเวลานาน จะเกิดฟันผุได้ เพราะเชื้อแบคทีเรียในช่องปากจะทำปฏิกิริยากับคราบเศษอาหาร แล้วก่อให้เกิดสารที่เป็นกรด กัดกร่อนทำลายผิวฟันให้เป็นรู ถ้ารูผุลึกมาก การถอนฟัน เป็นการขจัดอาการปวดได้เป็นอย่างดี แต่ทำให้เสียอวัยวะที่ต้องใช้การบดเคี้ยวไป ถ้าไม่ใส่ฟันปลอม จะทำให้เกิดฟันล้ม ฟันบิด เก และฟันห่าง
อุบัติเหตุจากการใช้งาน ผ่านงานมาแยอะ ย่อมเกิดการสึกกร่อนของผิวฟันและเนื้อฟันด้านที่ใช้บดเคี้ยวจะสึกได้มาก ทำให้มองเห็นตัวฟันนั้นๆ และค่อนข้างแบน ด้านข้างของตัวฟันมักจะมีรอยสีดำเกิดเพราะแปรงฟันด้วยแปรงที่มีขนแข็งมากเกินไป ผิวฟันกร่อนหายไป มองเห็นตัวฟันนอกหรือทำให้เกิดหักได้ อุบัติเหตุที่ทำให้ฟันหัก แตกบิ่น มักจะเกิดจากการเคี้ยวอาหารแข็งๆ โดยไม่ตั้งใจ
การป้องกัน
แปรงฟันให้สะอาดด้วยแปรงชนิดขนแปรงนิ่มร่วมกับยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
ควรเลือกแปรงที่มีด้ามจับถนัดมือ ขนนิ่ม หรือดัดแปรงด้ามจับให้เข้ากับมือผู้สูงอายุ
พยายามแปรงฟันทุกซี่ ทุกด้าน เพื่อกำจัดคราบอาหารและคราบแบคทีเรีย
แปรงฟันให้ถูกวิธีร่วมกับใช้ไหมขัดฟันหลังรับประทานอาหาร บ้วนปาก นวดเหงือก เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ทำให้เหงือกแข็งแรง หลีกเลี่ยงการใช้ไม้จิ้มฟัน งดสูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินดี เพื่อช่วยบำรุงเหงือกและฟัน
ปัญหาที่ 3 ผู้สูงอายุเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม 1 ปีก่อนเคยได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้านซ้าย
สาเหตุ
การเปลี่ยนแปลงทางชีวกลศาสตร์ของข้อเข่า ได้แก่ภาวะความผิดรูปของข้อเข่า หรือการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ภาวะความผิดรูปของข้อเข่าทั้งแบบขาโก่ง (Varus deformity) หรือขาฉิ่ง (valgus deformity)
การเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาขององค์ประกอบของข้อเข่า ได้แก่ อายุ และพันธุกรรม อายุเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นอย่างมาก
ความผิดปกติของแรงที่มากระทำต่อข้อเข่า เช่นโรคอ้วน และการบาดเจ็บของข้อเข่า
ป้องกัน
รับประทานอาหารที่มีส่วนในการช่วย บำรุงกระดูก ได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส โบรอน เช่น เช่น นม หรือ ผลิตภัณฑ์จากนม ถั่วเหลือง
ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากจนเกินไป เพราะจะทำให้ข้อเข่ารับน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
ปัญหาที่ 5 กลั้นปัสสาวะไม่ได้บางครั้ง มีปัสสาวะเล็ดเมื่อไอจาม
สาเหตุ
1.Stress incomtinence จากการที่ตัวหูรูดท่อปัสสาวะหดรัดตัวได้ไม่ดี เมื่อมีการเพิ่มความดันในช่องท้องกะทันหัน ทำให้ความดันในกระเพาะสูงขึ้นจนหูรูดท่อปัสสาวะไม่สามารถควบคุมการไหลของปัสสาวะได้
Urge incontinence เกิดจากกล้ามเนื้อเรียบของกระเพาะปัสสาวะ (detrusor muscle) มีการบีบตัวที่รุนแรงกว่าปกติ
Overflow incontinence เกิดจากกล้ามเนื้อเรียบของกระเพาะปัสสาวะสูญเสียความสามารถในการบีบตัว
การป้องกัน
ปรับพฤติกรรม โดยการปรับการดื่มน้ำ ควรดื่มน้ำ 30 - 50 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พยายามฝึกควบคุมการขับถ่าย โดยยืดระยะเวลาระหว่างการเข้าห้องน้ำแต่ละครั้งให้นานออกไป พยายามกลั้นปัสสาวะให้นานขึ้นอีกเล็กน้อยก่อนที่จะไปถ่ายปัสสาวะ การบริหารกล้ามเนื้อหูรูดให้แข็งแรงโดยฝึกขมิบกล้ามเนื้อหูรูด
ปัญหาที่ 4 ผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว คือ เบาหวาน ความดันสูงและไขมันในเลืดสูง
สาเหตุ
มีหลายปัจจัยร่วมกันทั้งปัจจัยทางพันธุกรรม (genetic factor) และปัจจัยสิ่งแวดล้อม (environmental factor) ได้แก่ 1)กรรมพันธุ์ 2)น้ำหนักเกิน ความอ้วน ขาดการเคลื่อนไหว 3)อายุที่มากขึ้น 4)โรคของตับอ่อน 5)การติดเชื้อไวรัสบางชนิด 6)ความเครียดเรื้อรัง 7)การได้รับยาบางชนิด 8)การตั้งครรภ์
การป้องกัน
1.เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
2.ระมัดระวังการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต อาหารไขมันสูง ขนม หรือเครื่องดื่มที่มีความหวาน ลดอาหารเค็ม ควรเลือกอาหารที่ใส่เกลือ ลดอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง เช่น ข้าวขาหมู
3.เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อขาวที่ไม่ติดมัน
ควรแบ่งมื้ออาหารหลักออกเป็นมื้อย่อย ๆ
5.หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย
ปัญหาที่ 6 อุจจาระเป็นก้อนแข็งบางครั้ง ต้องใช้แรงเบ่งถ่ายอุจจาระแต่ไม่มีเลือดปน
สาเหตุ
การอุดตันของลำไส้ เนื้องอก การเคลื่อนไหวของ ลำไส้ผิดปกติ ไม่เคลื่อนไหวร่างกาย กล้ามเนื้ออ่อนแรง รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ดื่มน้ำน้อย กลั้นอุจจาระ ถ่ายอุจจาระไม่เป็นเวลา ความผิดปกติแต่กำเนิดทำให้การบีบตัวของลำไส้มากกว่าปกติ
การป้องกัน
รับประทานผักและผลไม้ที่มีกากมากๆ เช่น คะน้า ผักกาด มะระ มะละกอสุก กล้วย ส้มทั้งกาก เป็นต้น ดื่มน้ำผลไม้ เช่น น้ำลูกพรุน น้ำมะนาว น้ำส้ม เป็นต้น ดื่มน้ำให้เพียงพอ วันละ 2-3 ลิตร ออกกำลังกาย ไม่กลั้นอุจจาระ ขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา
ปัญหาที่7มีกระจกตาเสื่อม ไขมันสะสมบริเวณขอบกระจกตาขาวที่ตาข้างซ้ายและมีจุดขาวขุ่นด้านขวาเหนือรูม่านตาที่ตาข้างขวา
สาเหตุ
เข้าสู่วัยสูงอายุเซลล์ ที่กระจกตาลดจำนวนลงเนื่องจากไม่มีการสร้างขึ้นมาทดแทนเซลล์เก่าที่สูญเสียไป รีเฟล็กซ์ที่กระจกตาจะลดลง อาจเกิดการบาดเจ็บต่อกระจกตาได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้จะเกิดการสะสมของไขมันแทรกตามชั้นต่าง ๆ ของกระจกตา ทำให้มองเห็นเป็นวงขาว ๆ หรือเหลืองรอบบริเวณขอบกระจกตาเรียกว่า arcus senilis
ป้องกัน
สวมแว่นตากันแดดเวลาอยู่ในที่แสงจ้า และหลีกเลี่ยงใช้สายตาในที่มืด
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
งดการสูบบุหรี่
5.หมั่นตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี หรือมีประวัติบุคคลในครอบครัวมีภาวะจอประสาทตาเสื่อม
เลือกรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ ผักใบเขียว และผลไม้
ทฤษฎีความต่อเนื่อง
(Continuity Theory)
ทฤษฎีของเพค (Peck’s theory)
ทฤษฎีการมีกิจกรรมร่วมกัน (The Activity theory)