Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สภาวะซึมเศร้า - Coggle Diagram
สภาวะซึมเศร้า
วิธีการรักษา
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ (2563) กล่าวว่า โรคซึมเศร้า สามารถรักษาให้หายถ้าหากอาการไม่รุนแรกมาก และยังพอที่จะสามารถควบคุมจิตใจตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งยา เพียงแค่เราปรับพฤติกรรม ความคิด และ อารมณ์ ของเราให้คงที่ละว่างในชีวิตประจำวัน โดยมีวิธีดูแลตัวเองจากโรคซึมเศร้า 6 ข้อ ดังนี้
- ทำสมาธิ เพราะการทำสมาธิแม้แค่วันละไม่กี่นาที่ สามารถช่วยให้เข้าสู่ความเงียบสงบ ปรับสมดุลชีวิต ผ่อนคลายความเครียด
- ออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยเพิ่มสารเอ็นโดรฟินในร่างกาย ส่งเสริมพลังงาน ยกระดับอารมณ์ให้สูงขึ้น และยังเพิ่มความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง
- มีกลุ่มเพื่อนที่ไว้ใจได้ ที่คอยดูแลรับฟัง ช่วยเหลือกัน และกัน เพราะว่าการที่คนเรามีกลุ่มเพื่อนที่ไว้ใจได้ จะทำให้คนเราสามารถรับมือกับความเครียด และความเจ็บป่วยทางใจได้
- หางานอดิเรกทำ งานอดิเรกมักเป็นสิ่งที่เรารัก ที่จะทำช่วยดึงความสนใจจากอารมณ์ด้านลบได้ ดังนั้นถ้ารู้สึกเครียด หรือซึมเศร้า ควรหางานอดิเรกที่ทำแล้วจะมีสมาธิจดจ่อกับมัน
- รับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ ในบางครั้งเราอาจจะพบเจอเรื่องราวที่ทำให้เราไม่สามารถควบคุม อารมณ์ และความคิดของเราได้จริงๆ เราจึงจำเป็นต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำแนะนำ และวินิจฉัยอาการของเราได้แม่นยำ ซึ่งจะค่อยช่วยเหลือเราให้ผ่อนคลายอารมณ์จนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ
- จงรักตัวเอง การรักตัวเองเป็นหนึ่งในวิธีที่ได้ผลดีที่สุด แต่ไม่ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย การรักตัวเองหาไม่ใช่ความเห็นแก่ตัว แต่คือการเมตตา และปรารถนาดีต่อตัวเราเอง
การรักษาด้วยยา การใช้ยาแก้เศร้า เนื่องจากโรคซึมเศร้าสาเหตุที่พบเกี่ยวข้องกับสารเคมีในสมอง ดังนั้นการให้ยาแก้เศร้าเพื่อไปปรับสมดุลสารเคมีในสมองซึ่งช่วยบรรเทาอาการเศร้า ทานยาจนรู้สึกดีขึ้น และเมื่อดีขึ้นแล้วควรทานยาต่อไปอีก 6-12 เดือน เพื่อป้องกันอาการกลับมาเป็นซ้ำอีก ดังนั้นแม้จะ รู้สึกสบายดีก็ยังต้องกินยาตามแพทย์สั่งอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
ผลกระทบของ
จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูล ผลกระทบของ สภาวะซึมเศร้า มีผู้กล่าวถึงไว้ดังนี้
ในบทความของ Neuro Balance (2563) ได้กล่าวว่า ภาวะซึมเศร้านั้นถือเป็นภาวะทางด้านจิตเวชที่พบมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ภาวะซึมเศร้าล้วนมีผลกระทบทั้งด้านร่างกาย ความคิด และจิตใจ โดยสามารถแบ่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ดังนี้
- ความรู้สึกเศร้าหรือวิตกกังวล ความรู้สึกผิด หรืออาจอธิบายได้ว่าเป็นความรู้สึกว่างเปล่าหรือสิ้นหวัง บางคนอาจรู้สึกยากที่จะอธิบายความรู้สึกเหล่านี้มาเป็นคำพูด อาการซึมเศร้าส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของตัวบุคคล และ คนรอบข้างได้ด้วย
- สูญเสียความทรงจำ และการตอบสนองในระหว่างการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน มากไปกว่านั้นยังไม่มีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ด้วย
- ความเสี่ยงของหัวใจวาย ภาวะซึมเศร้าและความเครียดมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการปล่อยฮอร์โมนที่ไม่ดีต่อร่างกาย ฮอร์โมนเหล่านี้จะเร่งอัตราการเต้นของหัวใจ เมื่อเวลาผ่านไปสิ่งนี้สามารถนำไปสู่โรคหัวใจ ซึ่งคนที่มีสภาวะหดหู่มากมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากอาการหัวใจวาย
- ความผันผวนของน้ำหนัก มีผล คือ สามารถนำไปสู่การเพิ่มน้ำหนักและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน หรือคุณอาจสูญเสียความอยากอาหารทั้งหมดโดยไม่ทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม
- ความอ่อนล้า ซึ่งความเหนื่อยล้าอาจเกิดจากการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอในเวลากลางคืนระบบภูมิคุ้มบกพร่อง อาการซึมเศร้าและความเครียดอาจส่งผลเสียต่อระบบภูมิคุ้มกันทำให้คุณเสี่ยงต่อการติดเชื้อและโรคต่างๆ ภาวะซึมเศร้าทำให้ภูมิต้านทานในการต่อสู้กับโรคอ่อนแอลง ซึ่งรวมถึงโรคไข้หวัดและโรคร้ายแรงในระยะยาว เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด
- หลอดเลือดตีบตัน ภาวะซึมเศร้า และความเครียดทำให้เส้นเลือดหดตัวซึ่งอาจเกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดสมอง
- ความรู้สึกทางเพศลดน้อยลง การรู้สึกหดหู่ทำให้ไม่สนใจกิจกรรมที่ชอบรวมถึงเรื่องเพศด้วย
อาการ
จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูล อาการของ สภาวซึมเศร้า มีผู้กล่าวถึงไว้ดังนี้อาการของโรคซึมเศร้ามีอาการดังต่อไปนี้โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์ (2563) ได้กล่าวว่า ทุกคนควรหมั่นสังเกตตัวเองและคนใกล้ชิดว่ามีพฤติกรรมใดบ่งชี้ว่าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ โดยเริ่มจากสังเกต ภาวะอารมณ์หรือความคิดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างผิดปกติ โดยสามารถสำรวจง่ายๆ ตาม 9 ข้อ ดังนี้
- มักมีอารมณ์เชิงลบ มีอารมณ์เศร้า ท้อแท้ หดหู่ สิ้นหวังอย่างต่อเนื่อง ร้องไห้โดยไม่ทราบสาเหตุ มีความกังวลหรือหงุดหงิดมากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงานและความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้าง
- เบื่อหน่ายสิ่งรอบตัว เก็บตัว ไม่อยากพบไม่อยากคุยกับใคร เลิกสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบทำ
- พฤติกรรมการกินผิดปกติ เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น กินน้อยไป กินมากไปทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงผิดปกติ
- มีปัญหาในการนอน นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท หรือนอนมากจนเกินไป
- กระวนกระวาย หรือเฉื่อยชา มีอาการกระสับกระส่าย กระวนกระวายมากเกินไป หรือมีอาการตรงกันข้าม คือ เฉื่อยชา เคลื่อนไหวช้าลง
- อ่อนเพลียง่าย มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีเรี่ยวแรงที่จะทำอะไรทั้งสิ้น
- สมาธิสั้น ความจำแย่ลง สมาธิในการทำสิ่งต่างๆ และความสามารถในการคิดและการตัดสินใจลดลง
- สูญเสียความมั่นใจ รู้สึกตนเองไร้ค่า คิดว่าตนเองเป็นภาระ สูญเสียความมั่นใจในตนเอง รู้สึกผิดและโทษตนเองอยู่ตลอดเวลาในทุกๆ เรื่อง
- ไม่อยากมีชีวิตอยู่ คิดเรื่องความตายหรือการฆ่าตัวตายอยู่บ่อยครั้ง