Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิต เนื่องจากสารเสพติด (Substances…
การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิต เนื่องจากสารเสพติด
(Substances related disorder)
ภาวะการติดสารเสพติด
ภาวะความผิดปกติที่เกิดจาการใช้สารเสพติด (Substances related disorder)
ภาวะการติดสารเสพติด (Substances Dependent)
การวินิจฉัยผู้ป่วยติดสารเสพติด
DSM5 (The Diagnotic and Statistical Manual of Mental Disorders ฉบับที่ 5)
จัดทำโดยสมาคมจิตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา
2 ข้อขึ้นไป วินิจฉัยว่าผู้ป่วยติดสารเสพติด
การใช้สารในปริมาณที่มากหรือนานเกินกว่าที่ตั้งใจ
มีความต้องการที่จะลดหรือหยุดการใช้สารนั้น แต่ไม่สามารถทำได้
ใช้เวลามากในการเตรียมตัว การใช้สาร และการฟื้นตัว
จากการใช้สาร
มีอาการอยากสารเสพติดนั้น
มีการใช้สารเสพติดจนไม่สามารถจัดการกับกิจวัตร
ประจำวัน หรืองานทั้งที่บ้านหรือโรงเรียน
ยังคงมีการใช้สารนั้นอย่างต่อเนื่อง แม้จะเกิดปัญหา
ทางด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น
ต้องยกเลิกนัดหมายสำคัญหรือกิจกรรมที่เคยทำ เพราะ
การใช้สาร
มีการใช้สารเสพติดนั้น แม้ว่าจะทำให้ตนเองตกอยู่ใน
อันตราย
มีการใช้สารเสพติดต่อ แม้จะทราบว่าตนเองเกิดปัญหา
ด้านสุขภาพกายและจิตหรือทำให้ปัญหานั้นรุนแรงขึ้น
ต้องใช้สารเสพติดนั้นในปริมาณที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้ผลที่
ต้องการจากการใช้
มีอาการถอนเมื่อหยุดใช้ และดีขึ้นเมื่อใช้สารนั้นเพิ่มขึ้น
ชนิดของสารเสพติด แบ่งตามการออกฤทธิ์
สารเสพติดประเภทกดประสาท
ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท สารระเหย เครื่องดื่มมึนเมาทุกชนิด เช่น สุราหรือเหล้า
อาการและอาการแสดง:
ร่างกายซูบผอม ผอมเหลือง อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
การออกฤทธิ์ของสารเสพติดประเภทกดประสาท
ยับยั้งการสร้างสารสื่อนำประสาทพวก GABA
ลดการทำงานของ Dopamine และ Norepinephrine ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่กระตุ้นให้คนมีการตื่นตัว
สารเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท
ได้แก่ ยาบ้า ยาไอซ์ กระท่อม โคเคน บุหรี่
อาการและอาการแสดง:
หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสน หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง ทำร้านตนเองหรือผู้อื่น
การออกฤทธิ์ของสารเสพติดประเภทสารเสพติดประเภท
กระตุ้นการสร้างและการหลั่งของ Dopamine และ Norepinephrine ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่กระตุ้นให้คนมีการตื่นตัว
อาการ: กระชุ่มกระชวย สมาธิดี ไม่หิวไม่เหนื่อย กระสับกระส่าย ตื่นตระหนก หัวใจเต้นเร็วมาก อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นมาก หวาดระแวง หูแว่ว หัวใจวาย อาจเสียชีวิต
สารเสพติดประเภทหลอนประสาท
ได้แก่ แอลเอสดี และเห็ดขี้ควาย
อาการและอาการแสดง:
ประสาทหลอน ฝันเฟื่อง เห็นแสงสีวิจิตรพิสดาร หูแว่ว ได้ยินเสียงประหลาดหรือเห็นภาพหลอน ควบคุมตัวเองไม่ได้ เจ็บป่วยทางจิต โรคจิต
สารเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน
ได้แก่ กัญชา
อาการและอาการแสดง:
หวาดระแวง สับสน เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตัวเองไม่ได้ และเจ็บป่วยทางจิต
การตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ
ยาบ้า (Amphetamine)
ระยะเวลาที่ตรวจพบ 2-4 วัน
ยานอนหลับ (Benzodiazepine)
ระยะเวลาที่ตรวจพบ 3-30 วัน
โคเคน
ระยะเวลาที่ตรวจพบ 1-3 วัน หรือ 7-12 วัน
โคเดอีน
ระยะเวลาที่ตรวจพบ 1-3 วัน
เฮโรอีน หรืออนุพันธ์จากฝิ่น
ระยะเวลาที่ตรวจพบ 1-3 วัน
เมธาโดน
ระยะเวลาที่ตรวจพบ 2-4 วัน
กัญชา
ระยะเวลาที่ตรวจพบ 1-3 วัน กรณีใช้มานานอาจตรวจพบ 30 วัน
ยาเค
ระยะเวลาที่ตรวจพบ 8 วัน
สาเหตุการใช้สารเสพติด
ปัจจัยทางชีวภาพ (Biological factors)
ปัจจัยด้านพันธุกรรม (Genetic factors)
Family Studies
Twin Studies
ด้านสารสื่อประสาทสมอง (Brain transmitters)
Neurotransmitter Receptor Reward Circuit Brain reward circuit (mesolimbic dopamine system)
เกี่ยวข้องกับ reinforcement rewarding system ในระบบประสาทส่วนกลาง (Limbic area) มีส่วนที่ทำหน้าที่รับรู้เกี่ยวกับอารมณ์และความรู้สึกเป็นสุข ซึ่งทำให้ผู้เสพเกิดความพึงพอใจ
เป็นผลให้มีการหลั่งสารสื่อประสาท dgpamine เพิ่มขึ้น ด้วยการสร้าง กระตุ้นการหลั่ง ยับยั้งการดูดกลับหรือการย่อยสลาย
ด้านพื้นฐานทางอารมณ์และบุคลิกภาพ
การควบคุมอารมณ์บกพร่อง
Impulsivity
Dependency need สูง
กลุ่มอาการ ADHD
บุคลิกภาพแบบ Anti-social
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environment factors)
ครอบครัว
โรงเรียน
เพื่อน
ค่านิยมทางสังคม
การชักชวน
ชุมชน
ปัจจัยด้านการเรียนรู้ และสิ่งเร้า (Learning and Condition)
สิ่งเร้าภายนอก
อุปกรณ์การเสพ
สถานที่เสพ
เพื่อนที่เสพ
แหล่งขาย ผู้ค้า ผู้ซื้อยา
สถานบันเทิง งานเลี้ยง
วัน เวลาที่เคยเสพ
สิ่งเร้าภายใน
อารมณ์เป็นทุกข์ เช่น เหงา เบื่อ เซ็ง โกรธ หงุดหงิด ซึมเศร้า เหนื่อยล้า
อารมณ์เป็นสุข
อารมณ์ทางเพศ
เหตุผลหรือแรงจูงใจของคนในการเริ่มทดลองใช้สารเสพติด
ต้องการความสนุกเคลิบเคลิ้ม ตื่นเต้น (sensation seeking)
ต้องการเข้าหมู่พวก (peer pressure)
ต้องการคลายทุกข์ (relief pain, relax, sedate, forget, self-medication)
ความคุ้นเคย เคยชิน (habituation)
ต้องการเพิ่มสมรรถนะ สมาธิ และทนทาน (increased performance)
ต้องการเรียนรู้ประสบการณ์แปลกๆ (alter perceptual experience)
กระบวนการพยาบาลผู้ติดยาเสพติด
การรวบรวมข้อมูล
อาการและอาการแสดงในภาวะฉุกเฉิน
ข้อมูลตามแผนสุขภาพ
เป้าหมายในการพยาบาลผู้ติดสารเสพติด
เป้าหมายระยะสั้น (Short-term objectives)
เป้าหมายระยะกลาง (Intermediate objectives)
เป้าหมายระยะยาว (Long-term objectives)
แนวทางการบำบัดรักษา
ระยะถอนพิษ (Detoxication)
รักษาด้วยยาตามอาการ เพื่อให้ผู้ป่วยสุขสบายมากขึ้น
ยาเมทาโดน
เป็นยาในกลุ่มเดียวกันที่นำมาใช้ทดแทนอาการจากการขาดยาโอปิออยด์ชนิดอื่นๆ ในประเทศไทยทางกฎหมาย ยาน้ำเมทาโดนถูกกำหนดให้ใช้เป็นยาที่ใช้ในการรักษาภาวะขาดยาโอปีออยด์ในระยะสั้น รวมไปถึงเป็นยาที่ใช้ทดูแทนโอปีออยด์ในระยะยาว โดยสถานพยาบาลที่จะจ่ายยาชนิดนี้ได้จะต้องรับการขึ้นทะเบียนอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น
ระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitation)
Individual psychotherapy
Group psychotherapy
Family intervention
Self-help group
Therapeutic community
Mindfulness practice
การประเมินผล
ผู้ป่วยปลอดภัย
มีแรงจูงใจในการเลิกใช้สารเสพติด
สามารถควบคุมตนเองได้
สามารถเลิกใช้สารเสพติดได้
ไม่กลับไปใช้สารเสพติดซ้ำ
สามารถดูแลตนเองได้
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการหยุดใช้สารเสพติด
เสี่ยงต่อก้าวร้าววุ่นวาย เนื่องจากบกพร่องในการควบคุมตนเอง
เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น เนื่องจากมีอาการหลงผิด ประสาทหลอนและอาการหวาดระแวง
เสี่ยงต่ออันตรายจากการได้รับยาจิตเวช
เสี่ยงต่อการหลบหนีเนื่องจากปฏิเสธการเจ็บป่วย
เสี่ยงต่อทำร้ายตนเองเนื่องจากซึมเศร้า
มีแนวโน้มกลับมารักษาซ้ำเนื่องจากขาดความรู้ในการดูแลตนเองเมื่อออกจากโรงพยาบาลและขาดทักษะการปฏิเสธ
แอลกอฮอล์ (Alcohol)
การดูแลผู้ติดแอลกอฮอล์
ระยะ Intoxication
จัดให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สงบ
ระวังการทำร้ายตนเองและผู้อื่น
กูรณีที่วุ่นวายมาก อาจพิจารณาให้ยาตามความเหมาะสม
ทั้งนี้ต้องระวังการเสริมฤทธิ์ของแอลกอฮอล์
ให้สารน้ำ ให้กลูโคส ร่วมกับ Thiamine 100 mg ฉีดเข้า
หลอดเลือดดำ
ส่วนใหญ่จะรอให้อาการค่อยๆสงบลง โดยการติดตาม
อาการอย่างใกล้ชิด
ในกรณีที่รุนแรงมากอาจถึงชีวิตได้ ควรใส่ท่อเพื่อช่วย
หายใจ อีกทั้งยังป้องกันการกลืนสำลักด้วย
ระยะ withdrawal
ผู้ที่มีประวัติการติดแอลกอฮอล์ไม่รุนแรงจะเริ่มมีอาการประมาณ 6 ชั่วโมง หลังหยุดดื่ม โดยมีอาการเล็กน้อย เช่น หงุดหงิด กระสับกระส่ายมือสั่น
ผู้ที่มีประวัติดื่มหนักและต่อเนื่อง อาจเกิดอาการรุนแรงถึงขั้นสับสน มีประสาทหลอน หรือชักได้
ติดตามประเมินอาการ withdrawal โดยใช้เครื่องมือ The Clinical Institute Withdrawal Assessment (CIWA)
ให้ยากลุ่ม benzodiazepine ตามอาการ
ให้สารน้ำ
ให้ Thiamine
Monitor v/s
ระวังอุบัติเหตุหกล้ม