Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
รู้จักอาเซียน (Introduction to ASEAN) - Coggle Diagram
รู้จักอาเซียน (Introduction to ASEAN)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาเซียนและประเทศสมาชิกอาเซียน
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations) ชื่อย่อ ASEAN ได้กําเนิดขึ้น โดยปฏิญญากรุงเทพ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยมี สมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย
โดยมีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง คือ
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ
เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
ประเทศในภูมิภาคอาเซียนหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน
กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเขตภาคพื้นทวีป (Mainland Southeast Asia) ประกอบไปด้วย ประเทศไทย ลาว กัมพูชา เมียนมา และเวียดนาม และได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรม ความ เชื่อ รวมถึงภาษาและวรรณกรรม
กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเขตคาบสมุทร (Maritime Southeast Asia) ไปด้วยอินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซียสิงคโปร์ และบรูไน เป็นกลุ่มประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาอิสลาม แต่ก็มีประชากรส่วนหนึ่งนับถือศาสนาพุทธ คริสต์ และฮินดู
ภาษาและวัฒนธรรม
ภาษาและวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียนมีพัฒนาการมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน สิ่งที่มีลักษณะ ละม้ายคล้ายคลึงกันก็คือ การผสมผสมระหว่างภาษาและวัฒนธรรมดั้งเดิมเช่น การค้า การศาสนา และการเมืองการปกครอง เป็นต้น
วัฒนธรรมรากร่วมอาเซียน
วรรณคดีที่ประเทศอาเซียนมีรากร่วมเดียวกันเพราะได้รับมรดกทางวรรณคดีจากอินเดียซึ่งเป็น มหากาพย์ทั้งเรื่องรามายณะและมหาภารตะ โดยเฉพาะเรื่องรามายณะ ได้รับการยกย่องและเป็นที่นิยม มาก
ศิลปะการแสดง โดยเฉพาะหนังตะลุงหรือวายัง (Wayang) เป็นศิลปะการเชิดหนังหรือหุ่นเป็น สิ่งที่แสดงถึงวัฒนธรรมร่วมของประเทศในภูมิภาคอาเซียน เช่น ไทย อินโดนีเซีย หนังตะลุงมีต้นกําเนิด มาจากเกาะชวา อินโดนีเซีย แล้วแพร่หลายไปที่อื่นๆ
สภาพภูมิศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือกลุ่มประเทศอาเซียน
กลุ่มประเทศอาเซียน มีชื่อเรียกที่หลากหลาย ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดียและบังคลาเทศ ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย
ทรัพยากรและการประกอบอาชีพ
ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการเพาะปลูกเป็นอาชีพหลัก เชื่อกันว่าการทํานาดําเป็นเทคนิควิทยาเฉพาะที่เกิดขึ้นในดินแดนนี้ก่อน แล้วแผ่ขยายไป ยังดินแดนอื่น พืชเฉพาะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ กล้วย ส้ม มะนาว มะพร้าว เป็นต้น
การเมือง
ในอดีตดินแดนแห่งนี้เป็นแหล่งยุทธศาสตร์ที่สําคัญโดยเฉพาะช่องแคบมะละกา เป็น เส้นทางการค้าทางทะเลที่เรือชาติต่างๆต้องแล่นผ่านและแวะจอดที่เมืองมะละกา ซึ่งเป็นเมืองท่าริมฝั่งของ เส้นทางไปมาค้าขายระหว่างจีนและอินเดีย
กลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เชื้อสายประชากรและภาษาที่ใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยก่อนประวัติศาสตร์คือ พวกที่มี เชื้อสายออสตราลอยด์ (Australoids) ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณแหลมมลายู หมู่เกาะอินโดนีเซีย นิวกีนี จนถึง ทวีปออสเตรเลีย อีกพวกคือ เมลานีลอยด์ (Melaneloids)
กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศภาคพื้นทวีป
ประเทศไทยประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ ตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ตาม ภูมิภาคต่างๆ ใน 77 จังหวัด ราว 60-70 กลุ่ม ตามลักษณะการตั้งถิ่นฐานและการกระจายของภาษาในตระกูลภาษา ลักษณะการตั้ง ถิ่นฐานได้ 4 ลักษณะ คือกลุ่มตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่สูงหรือชาวเขา กลุ่มตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่ราบ กลุ่มชาวเล และกลุ่มอาศัยในป่า
กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศคาบสมุทรมาลายูและประเทศหมู่เกาะ
กลุ่มประเทศบริเวณคาบสมุทรมาลายูและประเทศหมู่เกาะมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์สูงมาก ไม่ว่าจะเป็นประเทศอินโดนีเซียที่มีชนเผ่ากว่าสามร้อยชนเผ่า เป็นต้น
ชาวเซอนอย (Senoi) เป็นกลุ่มชนที่เป็นนักล่าสัตว์ ตั้งถิ่นฐานอยู่ในรัฐเปรัค รัฐกลันตันและรัฐปาหัง แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยอีกหลายกลุ่ม เช่น เผ่าเตอร์เมีย
ชาวมลายูโปรโต (Melayu Proto) เป็นกลุ่มชนชาวมลายูดั้งเดิมอีกกลุ่มหนึ่ง แบ่ง ออกเป็นกลุ่มย่อยอีก 6 กลุ่ม
ชาวเซมัง (Serang) เป็นกลุ่มชนที่มีผิวค่อนข้างดํา ผมหยิก ร่างกายเล็ก
ตระกูลภาษาในอาเซียน
ภาษาที่ที่ใช้ในกลุ่มประเทศอาเซียนนั้นมีหลากหลายภาษา บางภาษายังมีลักษณะที่ไม่สามารถ แยกออกจากกันได้ชัดมากเท่าใดนัก จึงทําให้เกิดข้อสงสัยภาษาที่มีลักษณะเหมือนกัน อยู่ถิ่นที่มีความ สัมพันธ์กัน น่าจะเกิดมาจากที่เดียวกันหรือเป็นภาษาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน
ตระกูลภาษาไท-กะได (Tai-Kadai) ภาษาในกลุ่มนี้ ได้แก่ ภาษาไทย ซึ่งมีใช้เป็นภาษา ราชการของประเทศไทย และภาษาลาว ซึ่งมีใช้เป็นภาษาราชการของประเทศลาว
ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน (Austronesian) ภาษาในกลุ่มนี้ ได้แก่ ภาษามาเลย์หรือภาษา มลายู ต่อมามีการปรับเปลี่ยนเพื่อใช้เป็นภาษาราชการของตนเองเรียกชื่อแตกต่างกันไป คือ ภาษามาเลย์
3.ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic) ภาษากลุ่มนี้ ได้แก่ ภาษาเวียดนาม ซึ่งเป็น
ภาษาราชการของประเทศเวียดนาม
4) ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต (Sino-Tibetan) ภาษาที่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ภาษาเมียนมา เป็นภาษาราชการของประเทศเมียนมา ภาษาจีน เป็นภาษาราชการของประเทศสิงคโปร์
5) อินโดยูโรเปียน (Indo-European) ภาษาที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ
ภาษาที่ใช้เป็นราชการในอาเชียน
1) เนการาบรูไนดารุสซาลาม ภาษาราชการคือ ภาษามลายู หรือภาษามาเลย์
2) ราชอาณาจักรกัมพูชา ภาษาราชการ คือ ภาษาเขมร
3) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ภาษาราชการ คือ ภาษาอินโดนีเซีย
4) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภาษาราชการ คือ ภาษาลาว
5) สหพันธรัฐมาเลเซีย ภาษาราชการ คือ ภาษามลายูหรือภาษามาเลย์
6) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ภาษาราชการ คือ ภาษาพม่า
7) สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ภาษาราชการ คือ ภาษาฟิลิปิโน (Filipino) และภาษาอังกฤษ
การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมในอาเซียน (Cross Cultural Communication)
การรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนและการร่วมกิจกรรมระหว่างประเทศในอาเซียน สิ่งที่ต้อง คํานึงถึงอันดับแรกก็คือความหลากหลายและความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม
1) วัฒนธรรมเกี่ยวกับชื่อ วัฒนธรรมการเรียกชื่อในแต่ละประเทศแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ชื่อ คนไทย ชื่อแรกเป็นชื่อ ชื่อที่สองเป็นนามสกุล
2) วัฒนธรรมการแต่งกาย การแต่งกายต้องให้เหมาะสมกับโอกาสและสถานที่ การนุ่งกางเกง ของผู้หญิงเข้าไปในบางพื้นที่อาจไม่เป็นที่ยอมรับ เช่น ลาวไม่อนุญาตให้ผู้หญิงนุ่งกางเกงไปในสถานที่ ราชการ
3) วัฒนธรรมการใช้นิ้ว นิ้วที่ไม่ควรยกแสดงนิ้วเดียวก็คือ นิ้วกลาง เพราะว่าคนทั่วไปในทุก วัฒนธรรมไม่นิยมให้ยกนิ้วกลางแสดงต่อหน้าคนอื่น