Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลผู้สูงอายุระยะสุดท้าย - Coggle Diagram
การดูแลผู้สูงอายุระยะสุดท้าย
ผู้ป่วยระยะสุดท้าย
หมายถึงผู้ป่วยที่มีอาการของโรคลุกลามไม่ตอบสนองต่อการรักษาผู้ป่วยจะมีอาการทรุดลงไปเรื่อยๆจนกระทั่งเสียชีวิตในที่สุด
การดูแลแบบยื้อชีวิต
การดูแลรักษาแบบประคับประคอง
เป้าหมายการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
การดูแลไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ตัวโรคแต่มุ่งเน้นการดูแลแบบประคับประคองให้ผู้ป่วยสุขสบายปราศจากความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานต่างๆทั้งทางร่างกายและจิตใจปล่อยวางทุกสิ่งให้เป็นไปตามธรรมชาติให้ผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างสงบและสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
คือการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมที่ควบคุมทั้งร่างกายจิตใจสังคมและจิตวิญญาณบนกระบวนการทำความเข้าใจและร่วมตัดสินใจในแนวทางการรักษาระหว่างญาติผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์เพื่อให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้คลายความวิตกกังวลแต่ท่านสามารถจากไปอย่างสงบและเป็นธรรมชาติรวมถึงดูแลสภาพจิตใจของญาติภายหลังจากที่ผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้ว
การดูแลแบบองค์รวม
คือการดูแลผู้รับบริการแบบมองให้ครบทุกด้านของความเป็นมนุษย์ได้แก่
ด้านร่างกาย
การดูแลทางด้านร่างกายปัญหาทางกายที่พบบ่อยและต้องการดูแลในระยะท้ายของชีวิตได้แก่ความปวดหายใจลำบากอ่อนเพลียเบื่ออาหารคลื่นไส้อาเจียนท้องผูกนอนไม่หลับและอาการสับสนผู้ป่วยบางคนอาจมีปัญหาทางกายหลายอย่างรวมกัน
ปัญหาความปวด
เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุด
ประเมินความปวด pain score
การจัดการความปวดโดยไม่ใช้ยาเช่นการนวดการกดจุดการใช้ความร้อนความเย็นประคบการเบี่ยงเบนความสนใจการทำสมาธิการจัดท่าให้สุขสบาย
ปัญหาเรื่องหายใจลำบาก
การใช้พัดลมเป่าเบาๆที่ใบหน้า
ดูแลให้ออกซิเจน
จัดเตียงให้ผู้ป่วยอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก
จัดท่านอนศีรษะสูงและนอนตะแคง
การหายใจโดยการเป่าปาก
ดูแลดูดเสมหะให้เมื่อจำเป็นและควรทำด้วยความนิ่มนวล
ปัญหาคลื่นไส้อาเจียน
จัดอาหารแต่ละมื้อให้น้อยลงแต่บ่อยขึ้น
ดื่มเครื่องดื่มช้าๆบ่อยๆในสิ่งที่ผู้ป่วยชอบ
หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สอาหารมันหวานจัดและอาหารที่มีกลิ่นแรง
ทำความสะอาดปากและฟัน
จัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศสดชื่น
กดลงไปยังจุดเด่นกวนที่แขนทั้งสองข้างกดลงด้วยความแรงปานกลางค้างไว้ประมาณ 5 นาทีจากนั้นทำสลับข้าง
ปัญหาผิวหนังและแผลกดทับ
ควรพลิกตัวเปลี่ยนท่านอนทุกๆ 2 ชั่วโมง
ควรใช้ผ้าขวางเตียงช่วยในการพลิกตัวไม่ลากตัวผู้ป่วย
ควรจัดให้มีที่นอนลม เจลให้ผู้ป่วยหมอนหรืออุปกรณ์ที่มีลักษณะนุ่มลองกลุ่มกระดูก
จัดผ้าปูที่นอนให้เรียบตึงไม่ยับย่น
หลังเช็ดตัวต้องซับผิวหนังให้แห้งโดยใช้ผ้าขนหนูไม่ถูแรงทาครีมเพื่อให้เกิดความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง
การนวดเบาๆรอบๆปุ่มกระดูก
ปัญหาการสับสน
จัดสภาพแวดล้อมของผู้ป่วยให้ปลอดภัยและไม่มืดจนเกินไป
มีเสียงดนตรีหรือเสียงสวดมนต์หรือเงียบสงบแล้วแต่ลักษณะที่ผู้ป่วยชอบ
จัดให้มีนาฬิกาปฏิทินหรือสิ่งที่ผู้ป่วยคุ้นเคยอยู่รอบๆห้อง
ไม่ผูกมัดผู้ป่วยติดเตียง
ถ้าผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการตกเตียงสูง เช่นนอนดิ้นมากสับสนวุ่นวายมากอาจพิจารณาให้นอนบนฟูกที่ไม่สูงเกินไป
ด้านจิตใจ
การดูแลทางจิตใจ
ประเมินด้านจิตใจภาวะซึมเศร้า
แสดงความเห็นอก เห็นใจ
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้พูดคุยระบายความรู้สึก
สัมผัสอย่างอ่อนโยนพูดคุยให้กำลังใจและผู้สื่อข้อความดีๆที่อยากบอกกับผู้ป่วยได้แม้ผู้ป่วยจะไม่สามารถพูดได้แต่ผู้ป่วยยังสามารถได้ยินและรับรู้ได้เนื่องจากหูและประสาทสัมผัสจะเป็นอวัยวะสุดท้ายที่ผู้ป่วยจะสูญเสียการทำงานไป
ด้านสังคม
การดูแลทางสังคม
ครอบครัวบทบาทของผู้ป่วยความสัมพันธ์ภายในครอบครัว
ผู้ดูแลผู้ดูแลหลัก
เครือข่ายทางสังคมและการสนับสนุนทางสังคมเพื่อนบ้านเพื่อนร่วมงานหน่วยงานหรือองค์กรหรือกลุ่มทางศาสนา
ด้านจิตวิญญาณ
การดูแลทางจิตวิญญาณ
การจัดสิ่งแวดล้อม
ประเมินความต้องการทางด้านจิตวิญญาณ
การสนับสนุนพิธีกรรมทางจิตวิญญาณตามความต้องการของผู้ป่วย
การให้ครอบครัวที่ผู้ป่วยรักมีส่วนในการดูแล
การจัดกิจกรรมทำ family meeting เพื่อให้บุคคลในครอบครัวได้อโหสิกรรมการให้อภัยผู้ป่วยได้การปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาใจ
วิธีการดูแลญาติและครอบครัวหลังจากที่ผู้ป่วยเสียชีวิต
แสดงท่าทีเป็นมิตรเข้าใจพฤติกรรมที่แสดงออกต่อการสูญเสียของแต่ละบุคคล
เปิดโอกาสให้ครอบครัวระบายความรู้สึก รับฟังอย่างตั้งใจ
ให้ญาติใช้เวลากับผู้ป่วยอย่างเต็มที่ หลังจากผู้ป่วยเสียชีวิต
ช่วยประสานงาน ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจากการติดเชื้อ COVID-19
จัดสถานที่เป็นสัดส่วนและสงบ
เปิดอากาสให้ญาติได้พูดคุยกล่าวคำอำลาเยี่ยมทาง Video call
ประเมินอาการเป็นระยะทุก2-3ชั่วโมง
ในระยะใกล้เสียชีวิตจะพลิกตัวเฉพาะเมื่อจำเป็น
ㆍEye care, Mouth care ด้วยความระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการดูด
เสมหะ
ตอบสนองความต้องการด้านจิตวิญญาณ
การจัดการอาการในผู้ป่วย COVID
อาการหายใจไม่อิ่ม
1.จัดท่าที่สบาย นั่ง/นอนเอนตัวไปข้างหน้า
2.ใช้เทคนิคการผ่อนคลาย
3.ลดอุณหภูมิหน้า ลดอุณหภูมิใบหน้าด้วยผ้าชุบน้ำเย็น
4.ดูแลให้ออกซิเจน
5.หลีกเลี่ยงการใช้พัดลมเป่าใบหน้าเนื่องจากอาจทำให้เชื้อฟุ้งกระจาย
อาการไอ
1.จัดท่านั่ง/นอนศีรษะสูง
2.จิบน้ำอุ่นหรือน้ำผึ้งผสมมะนาวบ่อยๆ
3.อมยาอมแก้ไอ หรือลูกอมที่มีรสเปรี้ยว
4..ใช้กระดาษทิชชู่ปิดปากและจมูกทุกครั้งเมื่อไอหรือจาม
5.หลีกเลี้ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีฝุ่นควัน