Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุและการดูแล - Coggle Diagram
ปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุและการดูแล
ปัญหาสุขภาพทางใจของผู้สูงอายุ
กลัวเป็นภาระ
ซึมเศร้า
ไร้ค่า
สูญเสียคนรัก
วิตกกังวล
ปัญหาสุขภาพทางใจของผู้สูงอายุซึ่งปัจจุบันเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยมากขึ้นโดยปัญหาสุขภาพทางใจคือ
1ผู้สูงอายุมีความวิตกกังวลกลัวว่าจะต้องพึ่งลูกหลานโดยแสดงออกในลักษณะขาดความเชื่อมั่นนอนไม่หลับกลัวถูกทอดทิ้งทำให้เกิดภาวะไม่สบายใจและกายเช่นใจสั่นแน่นหน้าอกหายใจไม่อิ่มทำให้อ่อนเพลียไม่มีแรง โดยแนวทางแก้คือการเปลี่ยนความคิดของตนเองพยายามมองในแง่ความเป็นจริงมากกว่าคิดไปล่วงหน้า
2 การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของผู้สูงอายุผู้สูงอายุบางคนเป็นโรคซึมเศร้าเพราะวัยสูงอายุจะพบความสูญเสียได้บ่อยนอกจากนี้ยังมีอาการหงุดหงิดระแวงเอาแต่ใจตนเอง ดังนั้นลูกหลานจะต้องแก้ไขด้วยการพบปะพูดคุยและเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สูงอายุหางานหรือกิจกรรมให้ผู้สูงอายุทำเพื่อความเพลิดเพลินและเกิดประโยชน์อย่าปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่คนเดียว
3 การเปลี่ยนแปลงทางความคิดผู้สูงอายุมักจะคิดซ้ำซากลังเลระแวงหมกมุ่นเรื่องของตนเองและเรื่องในอดีตและคิดถึงปัจจุบันด้วยความหวาดกลัวกลัวถูกทอดทิ้งกลัวถูกเขารังเกียจ
4 การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมผู้สูงอายุมักเอาแต่ใจตนเองจู้จี้ขี้บ่นอยู่ไม่สุขชอบยุ่งเรื่องคนอื่นหรือมีปัญหาทางเพศในสังคมไทยมักไม่พูดถึงเรื่องเพศ ความเป็นจริงผู้สูงอายุเพศชายมีความต้องการทางเพศอยู่ตลอดเวลาแต่ในเพศหญิงอาจไม่พบว่ามีความต้องการทางเพศทำให้เกิดปัญหาขึ้นระหว่างคู่สมรสแนวทางแก้ไขปัญหาคือการเข้าพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา
5 การเปลี่ยนแปลงของความจำ ผู้สูงอายุมักจำปัจจุบันไม่ค่อยได้และชอบย้ำคำถามซ้ำๆกับคนที่คุยด้วยทำให้เกิดความเบื่อหน่ายบางรายจำผิดพลาดเป็นภาวะที่เรียกว่าสมองเสื่อมแต่ถ้าไม่รบกวนชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุถือว่าไม่ผิดปกติ แต่ในผู้สูงอายุที่มีโรคสมองเสื่อมการสูญเสียความทรงจำจะรุนแรงมากจนมีผลในชีวิตประจำวันต้องพบแพทย์เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาการรักษานอกจากนี้ต้องใช้สมุดบันทึกช่วยจำจดสิ่งของให้เป็นระเบียบและลูกหลานต้องพร้อมเข้าใจและให้ความช่วยเหลือ
สมาชิกในครอบครัวและสังคมพึงปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ
1 เอาใจใส่
2 หากิจกรรมที่ถนัดให้ทำให้รู้สึกมีคุณค่า
3 สนับสนุนสิ่งที่ควรได้อย่างเหมาะสม
4 คอยปลอบใจให้กำลังใจ
สมาชิกในครอบครัวและสังคมพึงปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ
1 ต้องสร้างให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่ามีความสำคัญและมีความหวังในชีวิต
2 ระมัดระวังคำพูดหรือการกระทำที่แสดงออกต่อผู้สูงอายุและพยายามให้ความสัมพันธ์กับผู้สูงอายุด้วยการกล่าวทักทายก่อนเชิญรับประทานอาหารก่อนเป็นต้น
3 ชักชวนพูดคุยและรับฟังถึงส่วนดีหรือเหตุการณ์ประทับใจในอดีตของผู้สูงอายุด้วยความจริงใจเพื่อทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่ายังมีคนชื่นชมในชีวิตของตนอยู่
4 ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมที่สนใจต่างๆตามความเหมาะสม
แนะนำครอบครัวใช้ 5 สุข 5 มอบสร้างเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ
1 สุขกายสบายใจ
2 สุขสนุก
3 สุขสง่า
4 สุขสงบ
5 สุขสว่าง
5 มอบสร้างเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ
1 มอบความรัก
2 มอบความเข้าใจ
3 มอบสัมผัสด้วยกันก่อน
4 มอบเวลา
5 มอบโอกาส
ช่วยกันสังเกตปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุโดยสามารถดูจากชีวิตประจำวันที่ผิดปกติไปจากเดิม 5 เรื่อง
1 กินผิดปกติ
2 การนอน
3 อารมณ์ผิดปกติ
4 มีพฤติกรรมเปลี่ยน
5 มีอาการเจ็บป่วยทางกาย
หากพบผู้สูงอายุที่มีอาการที่กล่าวมาขอให้รีบพูดคุยซึ่งลูกหลานจะช่วยได้ดี
หากยังไม่ดีขึ้นขอให้ปรึกษาเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้านหรือโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 โทรฟรีตลอด 24 ชั่วโมง