Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, A21770CC-33E2…
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
อากาศ
ผลกระทบ
ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจของมนุษย์และสัตว์
ส่งผลกระทบต่อทัศนวิสัยในการมองเห็น
ทำให้เกิดฝนกรด
แนวทางการแก้ไขปัญหา
ติดตามตรวจสอบการระบายอากาศจากแหล่งต่างๆ
เฝ้าระวังคุณภาพอากาศด้วยการตรวจวัดอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
ระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ทำให้การใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ลดลง ซึ่งช่วยลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์
สาเหตุ
การปล่อยควันเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
การปล่อยควันเสียจากยานพาหนะ
การเผาวัชพืชหรือเศษวัสดุ
เกิดภัยธรรมชาติ
ตามรายงานขององค์การอนามัยโลกระบุว่า ประชากรโลกเสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศเฉลี่ย 6.5-7 ล้านคนต่อปี ใน พ.ศ. 2560 ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงหนึ่งล้านคน ส่วนอินเดียเสียชีวิตกว่าหกแสนคน ขณะที่ประเทศไทยมีอัตราเสียชีวิตอยู่ที่ห้าหมื่นคน โดยข้อมูลระบุว่า 90% ของผู้เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศอยู่ในประเทศที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง
ภูมิอากาศ
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่สำคัญของโลกส่งผลกระทบในวงกว้าง คือ การเกิดช่องโหว้โอโซนในชั้นบรรยากาศ
สาเหตุ
จากการปล่อยสารซีเอฟซี (CFC) หรือสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ แล้วไปทำลายชั้นโอโซน (O) ในชั้นสแตรโทสเฟียร์
ผลกระทบ
ทำให้รังสีเข้าสู่ชั้นบรรยากาศเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
แนวทางการแก้ไขปัญหา
ควบคุมการใช้วัตถุหรือสารเคมีที่ก่อให้เกิดสารซีเอฟซี
ทรัพยากรดิน
ผลกระทบ
การเสื่อมสภาพโครงสร้างดินทางกายภาพ เนื่องจากการถูกนำมาใช้มากเกินไปและขาดการ บำรุงรักษาดินอย่างถูกวิธี ทำให้ดินถูกชะล้างได้ง่าย และมีการพัฒนาชั้นดานในดิน ดินจึงไม่สามารถ ซึมซาบน้ำได้เร็ว จึงเกิดการอิ่มตัวของชั้นดินบนอย่างรวดเร็ว การไหลบ่าบนพื้นผิวหน้าดิน การชะล้าง หน้าดินจึงเกิดได้ง่าย
ผลจากการใช้ดินต่อเนื่องมายาวนานและการชะล้างดินมีมากขึ้น เป็นผลทำให้คุณสมบัติ ทางเคมีของดิน ธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหารรองที่สำคัญถูกชะล้างสูญเสียไปกับดิน จึงทำให้ดินจืด และขาดธาตุอาหารในดิน
แนวทางการแก้ไขปัญหา
ปัญหาโครงสร้างดิน เมื่อดินถูกใช้มายาวนานจำเป็นต้องมีการไถพรวนระดับลึกเพื่อเป็นการ ชั้นดานในดิน เพื่อให้น้ำหน้าดินซึมซาบลงดินได้ตลอดทุกชั้นดิน เป็นการลดการไหลบ่าและลดการ ทำลายโครงสร้างของดิน
ปัญหาดินขาดธาตุอาหาร ควรลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี และหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทาง ไถกลบซากพืชโดยไม่เผาทำลาย เพิ่มปริมาณไนโตรเจนโดยการปลูกพืชตระกูลถั่ว เพิ่มฟอสฟอรัส ปุ๋ยอินทรีย์มูลค้างคาว และมีการเติมสารเคมีทางธรรมชาติ เช่น ใส่ปูนขาวเพื่อเพิ่มแคลเซียม
ปัญหาดินขาดอินทรียวัตถุ ควรปลูกพืชหมุนเวียนประจำปี และปลูกพืชหลากหลายชนิด -สมผสาน ลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เพื่อเพิ่มความชื้นให้กับดิน ให้พืชคลุมดิน และจุลินทรีย์ในดิน อย่างมีประสิทธิภาพ
บริหารจัดการการใช้ที่ดินอย่างเป็นระบบโดยลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว หันมาทำการเกษตร สมผสาน ลดการใช้ปุ๋ยเคมี บริหารจัดการน้ำให้เพียงพอและทั่วถึง เพราะความชื้นในดินมีผลต่อ นาการใช้ประโยชน์จากธาตุอาหารและพัฒนาจุลชีพในดิน
น้ำ
แนวทางการแก้ไขปัญหา
1.สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการรักษาคุณภาพของแหล่งน้ำและการอนุรักษ์น้ำ
รณรงค์ให้หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ มีการบำบัดและขจัดสารพิษก่อนที่จะปล่อยลงสู่น้ำ
ลดปริมาณการใช้น้ำ และลดปริมาณขยะในครัวเรือน
ไม่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล หรือสารพิษลงในแหล่งน้ำต่าง ๆ ปัญหาน้ำเน่าเสียหรือการเกิดมลพิษทางน้ำ ส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ดังนั้น จึงควรตระหนักถึงผลเสียและป้องกันปัญหาน้ำเน่าเสียอย่างถูกต้อง เพื่อเป็นการแก้ปัญหามลพิษ ย่างถูกวิธีและได้ผลอย่างยั่งยืน
ผลกระทบ
ส่งผลกระทบต่อวงจรชีวิตของสัตว์น้ำ โดยสารพิษที่อยู่ในแหล่งน้ำทำให้สัตว์น้ำและ พืชน้ำตาย ความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำลดลง
เป็นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อโรค เช่น อหิวาตกโรค บิด และท้องเสีย
ส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูก เพราะน้ำเสียที่มีความเป็นกรดและด่างไม่เหมาะสำหรับ ท้าการเกษตร น้ำเน่าเสีย มีกลิ่นเหม็นรบกวน และมีผลกระทบต่อทัศนียภาพ เพราะความสวยงามของ
แหล่งน้ำสามารถใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ หรือจัดกิจกรรมทางน้ำเพื่อความบันเทิงได้
ป่าไม้
ผลกระทบ
การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ ทำให้ปริมาณและชนิดสัตว์ป่าและพืชพรรณลดลง
พื้นที่ป่าไม้ลดลง ทำให้เกิดความแห้งแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล สภาพอาก เปลี่ยนแปลง เช่น เกิดลมพายุที่รุนแรงมากขึ้น
เมื่อฝนตกหนักและไม่มีต้นไม้ยึดเกาะหน้าดิน ทำให้เกิดดินถล่มบริเวณเขตภูมิประเทศ ลาดชันลงมาทับบ้านเรือน และทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน
ป่าไม้ลดลง ทำให้ระบบอุทกวิทยาในพื้นที่เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยปกติพื้นที่ป่าไม้ จะมีน้ำไหลรินอยู่ในพื้นที่ป่าตลอดเวลา แต่เมื่อป่าไม้ถูกทำลาย ระบบลำห้วย ลำคลอง แม่น้ำเกิดการ ขาดแคลนน้ำ ความชื้นในดินมีการระเหยมากขึ้น
เมื่อป่าไม้ลดลง ทำให้สูญเสียที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตทั้งสัตว์และมนุษย์
แนวทางการแก้ไขปัญหา
ลดปริมาณการตัดไม้ทำลายป่า โดยทุกประเทศจะต้องมีมาตรการและแนวทางในการ ป้องกันการตัดไม้ทําลายป่าอย่างเคร่งครัด เพื่อรักษาทรัพยากรป่าไม้ให้คงสภาพเดิม
ป้องกันการสูญเสียป่าไม้ที่เกิดจากไฟป่าในทุกประเทศ เช่น สร้างแนวกันไฟรอบพื้นที่ หลีกเลี่ยงการประกอบกิจกรรมที่เป็นเหตุให้เกิดไฟป่า
การฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ เช่น การปิดป่า การประกาศเป็นเขตอนุรักษ์
การเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ด้วยการปลูกป่าทดแทนป่าไม้ที่ถูกทำลาย
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรแร่และพลังงาน
ผลกระทบ
ทรัพยากรแร่และพลังงานเมื่อนำมาใช้ในปริมาณมากจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น มลพิษ อากาศ มลพิษทางน้ำ จึงจำเป็นต้องนำมาใช้อย่างถูกวิธี และให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทั้งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางพลังงานของชาติ ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศมากขึ้น
แนวทางการแก้ไขปัญหา
การจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรแร่และพลังงานในหลายประเทศใช้แนวทางพลังงานทางเลือก แทนทรัพยากรเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีจำกัด ซึ่งสามารถผลิตและนำมาหมุนเวียนใช้ได้อีก รวมทั้งเป็น งานสะอาดที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานความร้อน ภพ พลังงานชีวมวล พลังงานน้ำ ในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกามีการใช้พลังงาน จากความร้อนใต้พิภพ สัดส่วนประมาณร้อยละ 50 ของทั่วโลก
ความหลากหลายทางชีวภาพ
ผลกระทบ
นำไปสู่ภาวะโฮโมโซโกซิตี คือ ภาวะพันธุ์แท้ ที่ประชากรสัตว์มีการผสมตัวเองมากขึ้น ก่อให้เกิดพันธุ์แท้ ซึ่งอาจมียีนที่เป็นอันตรายต่อการอยู่รอดของประชากรสัตว์
การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้ระบบนิเวศในแต่ละระบบขาดตอน เช่น การถ่ายทอดทางพันธุกรรมอาจขาดตอน ห่วงโซ่อาหารขาดตอน การพึ่งพาอาศัยกันขาดตอน และนำไปสู่ การสูญเสียสายพันธุ์ชีวิตทั้งระบบ
ทำให้สูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต เพราะในระบบชีวนิเวศนั้นต้องพึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกัน ไม้เล็กพึ่งไม้ใหญ่ ไม้เลื้อยพึ่งไม้ยืนต้น สัตว์ต่าง ๆ อาศัยป่าเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่ง อาหาร การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพย่อมเป็นการสูญเสียที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต
แนวทางการแก้ไขปัญหา
ดำเนินการภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ อันเป็นข้อตกลงเพื่อให้ประเทศต่าง ๆ ยอมรับวิธีการอนุรักษ์ความหลากหลายของชนิดพันธุ์สิ่งมีชีวิต เพื่อให้เกิดการแบ่งปันผลตอบแทนอย่างเป็นธรรมและเสมอภาค จากการใช้ประโยชน์ของความหลากหลาย ทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
ป่าไม้
ผลกระทบ
การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ ทำให้ปริมาณและชนิดสัตว์ป่าและพืชพรรณลดลง
พื้นที่ป่าไม้ลดลง ทำให้เกิดความแห้งแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล สภาพอากาศ เปลี่ยนแปลง เช่น เกิดลมพายุที่รุนแรงมากขึ้น
เมื่อฝนตกหนักและไม่มีต้นไม้ยึดเกาะหน้าดิน ทำให้เกิดดินถล่มบริเวณเขตภูมิประเทศ ลาดชันลงมาทับบ้านเรือน และทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน
ป่าไม้ลดลง ทำให้ระบบอุทกวิทยาในพื้นที่เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยปกติพื้นที่ป่าไม้ จะมีน้ำไหลรินอยู่ในพื้นที่ป่าตลอดเวลา แต่เมื่อป่าไม้ถูกทำลาย ระบบลำห้วย ลำคลอง แม่น้ำเกิดการ ขาดแคลนน้ำ ความชื้นในดินมีการระเหยมากขึ้น
เมื่อป่าไม้ลดลง ทำให้สูญเสียที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตทั้งสัตว์และมนุษย์
แนวทางการแก้ไขปัญหา
ลดปริมาณการตัดไม้ทำลายป่า โดยทุกประเทศจะต้องมีมาตรการและแนวทางในการ ป้องกันการตัดไม้ทําลายป่าอย่างเคร่งครัด เพื่อรักษาทรัพยากรป่าไม้ให้คงสภาพเดิม
ป้องกันการสูญเสียป่าไม้ที่เกิดจากไฟป่าในทุกประเทศ เช่น สร้างแนวกันไฟรอบพื้นที่ หลีกเลี่ยงการประกอบกิจกรรมที่เป็นเหตุให้เกิดไฟป่า
การฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ เช่น การปิดป่า การประกาศเป็นเขตอนุรักษ์
การเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ด้วยการปลูกป่าทดแทนป่าไม้ที่ถูกทำลาย