Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - Coggle Diagram
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรดิน
ผลกระทบ
ผลจากการใช้ดินต่อเนื่องมายาวนานและการชะล้างดินมีมากขึ้น
แนวทางแก้ไข
1.)ควรลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีและหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทางธรรมชาติไถกลบซากพืชโดยไม่เผาทำลาย
2.)บริหารจัดการการใช้ที่ดินอย่างเป็นระบบโดยลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว หันมาทำเกษตรแบบผสมผสาน บริหารจัดการน้ำให้เพียงพอและทั่วถึง
3.)เพิ่มปริมาณไนโตรเจนโดยการปลูกพืชตระกูลถั่ว เพิ่มฟอสฟอรัสโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์มูลค้างคาว และมีการเติมสารเคมีทางธรรมชาติเช่นใส่ปูนขาวเพื่อเพิ่มแคลเซียม
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงดิน
การสูญเสียโครงสร้างหน้าดินและอินทรีย์วัตถุ เช่น กานชะล้างหน้าดินที่เกิดจากน้ำไหลหรือการเพาะปลูก การเหยียบย่ำจากสัตว์หรือเครื่องจักร
สาเหตุ
สาเหตุจากการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่เหมาะสม
ทรัพยากรน้ำ
สาเหตุ
การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในประเทศต่างๆทำให้ความต้องการน้ำเพิ่มขึ้น
สถานการณ์การขาดแคลนน้ำ
ผลกระทบ
เมืองใหญ่หลายแห่งทั่วโลกประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่มและน้ำอุปโภคจากปริมาณน้ำที่ไม่เพียงพอและมีสารปนเปื้อน
ผลผลิตอาหารจากภาคเกษตรกรรมทั้งพืชอาหารและสัตว์เลี้ยงเพื่อการบริโภคลดลงจนไม่เพียงพอต่อประชากรโลก
แนวทางแก้ไข
1.)วางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การทำเกษตรที่ใช้น้ำน้อย แต่ให้ผลผลิตสูงด้วยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย
2.)สร้างและจัดหาพื้นที่กักเก็บน้ำผิวดินที่ได้จากฝน เช่น อ่างเก็บน้ำรูปแบบต่างๆเพื่อสำรองน้ำจืดไว้ใช้ในช่วงที่ฝนไม่ตก
3.)จัดการและอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้บริเวณต้นน้ำ เพื่อให้มีปริมาณฝนที่เป็นน้ำต้นทุนในปรมาณที่เพียงพอต่อการใช้
สถานการณ์มลพิษทางน้ำ
ผลกระทบ
เป็นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อโรค เช่น อหิวาตกโรค บิด และท้องเสีย
ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของสัตว์น้ำ โดยสารพิษที่อยู่ในแหล่งน้ำทำให้สัตว์น้ำและพืชน้ำตาย ความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำลดลง
แนวทางแก้ไข
1.)สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการรักษาคุณภาพของแหล่งน้ำและการอนุรักษ์น้ำ
2.)ลดปริมาณการใช้น้ำ และลดปริมาณขยะในครัวเรือน
3.)ไม่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล หรือสารพิษลงในแหล่งน้ำต่างๆ
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงคุณภาพอากาศ
ผลกระทบ
ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจของมนุษย์และสัตว์
ส่งผลกระทบต่อทัศนวิสัยการมองเห็นเส้นทางของผู้ขับขี่ยานพาหนะ และอาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ
แนวทางแก้ไข
1.)ติดตามสรวจสอบการระบายอากาศจากแหล่งกำเนิดต่างๆ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้าถ่านหินให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพอากาศเสียตามที่กำหนด
2.)เฝ้าระวังคุณภาพอากาศด้วยการตรวจวัดอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
3.)ควบคุมมลพิษทางอากาศ เช่น ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ด้วยการสร้างและพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ที่สะดวก และครอบคลุมการให้บริการในทุกเส้นทาง
สาเหตุ
การปล่อยควันเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
การปล่อยควันเสียจากยานพาหนะ
เกิดภัยธรรมชาติ เช่น ไฟป่า ภูเขาไฟปะทุ
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
สาเหตุ
การปล่อยสารซีเอฟซี(CFC)หรือสารคลอโรฟลูอโรคาร์บอนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ แล้วไปทำลายโอโซนในชั้นสแตรโทสเฟียร์
ผลกระทบ
ทำให้รังสีอัลตราไวโอเลตผ่านลงมายังพื้นผิวโลกมากขึ้น โดยสถานการณ์นี้รุนแรงมากในทวีปแอนตาร์กติกาในขั้วโลกใต้ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆรวมทั้งมนุษย์ที่เจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งผิวหนัง
แนวทางแก้ไข
ช่องโหว่โอโซน คือ ควบคุมการใช้วัตถุหรือสารเคมีที่ก่อให้เกิดสารซีเอฟซี เช่น กระป๋องสเปรย์ สารทำความเย็น
สถานการณ์ทรัพยากรป่าไม้
สาเหตุ
การกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่ากระทำไม่ชัดเจนหรือไม่กระทำเลยในหลาย ๆ พื้นที่
การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า การเผาป่า การบุกรุก ทำลายป่า
ผลกระทบ
การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ ทำให้ปริมาณและชนิดสัตว์ป่าและพืชพรรณลดลง
เมื่อป่าไม้ลดลงทำให้สูญเสียที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตทั้งสัตว์และมนุษย์
แนวทางแก้ไข
1.)การฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ เช่น การปิดป่า การประกาศเป็นเขตอนุรักษ์
2.)การเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ด้วยการปลูกป่าทดแทนป่าไม้ที่ถูกทำลาย
3.)ป้องกันการสูญเสียป่าไม้ที่เกิดจากไฟป่าในทุกประเทศ เช่น สร้างแนวกันไฟรอบพื้นที่ หลีกเลี่ยงการประกอบกิจกรรมที่เป็นเหตุให้เกิดไฟป่า
สถานการณ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
สาเหตุ
การทำลายป่าเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ไม่เฉพาะปต่การถูกคุกคามโดยมนุษย์เท่านั้น แต่ยังเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่รวดเร็ว เช่น อุณหภูมิของอากาศที่สูงขึ้น ไฟป่า แผ่นดินไหว
ผลกระทบ
นำไปสู่ภาวะโฮโมโซโกซิตี คือ ภาวะพันธุ์แท้ ที่ประชากรสัตว์มีการผสมตัวเองมากขึ้นก่อให้เกิดพันธ์ุแท้.ซึ่งอาจมียีนที่เป็นอันตรายต่อการอยู่รอดของประชากรสัตว์
ทำให้สูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต
แนวทางแก้ไข
ลดการทำลายป่าไม้และสิ่งแวดล้อม
ออกมาตรการทางกฎหมายคุ้มครองป่า ชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ป่า และปฏิบัติใช้อย่างเข้มงวด
จัดระบบนิเวศให้ใกล้เคียงตามธรรมชาติ โดยฟื้นฟูหรือพัฒนาพื้นที่เสื่อมโทรมให้คงความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุด
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรแร่และพลังงาน
สาเหตุ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมบริเวณที่ทำเหมืองแร่แล้วทำให้สภาพดินไม่อุดมสมบูรณ์ สกปรกพื้นที่ขรุขระมีหลุมบ่อมากมายจึงถูกปล่อยทิ้งใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่
การใช้แร่ธาตุบางประเภทเป็นจำนวนมาก
ผลกระทบ
เมื่อนำมาใช้ในปริมาณมากจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ รวมทั้งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางพลังงานของชาติ ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศมากขึ้น
แนวทางแก้ไข
ใช้แนวทางพลังงานทางเลือกทดแทนทรัพยากรเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีจำกัดซึ่งสามารถผลิตและนำมาหมุนเวียนใช้ได้อีก รวมทั้งเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม