Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการยุติธรรม - Coggle Diagram
กระบวนการยุติธรรม
ประวัติความเป็นมาของกระบวนการยุติธรรมของไทย
กระบวนการยุติธรรมในสมัยสุโขทัย ไม่มีระบบที่ชัดเจน แต่เมื่อราษฎรมีข้อพิพาทกัน
สามารถไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้ที่หน้าประตู เพื่อให้พระมหากษัตริย์มาสอบสวนและตัดสินคดีความได
กระบวนการยุติธรรมในสมัยอยุธยา เป็นระบบและชัดเจนกว่าสมัยสุโขทัย มีการจัดตั้งศาล เพื่อพิจารณาคดีต่างๆ ซึ่งกระจายอยู่ตามตัวกระทรวงต่างๆ ซึ่งในสมัยอยุธยามีทั้งกฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติใช้โดยในการบัญญัติกฎหมายได้รับเอาคัมภีร์พระธรรมศาสตร์มาเป็นหลักใน การบัญญัติกฎหมาย
กระบวนการยุติธรรมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีกฎหมายตราสามดวง ซึ่งชําระขึ้นใน สมัยรัชกาลที่1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ส่วนใหญ่เป็นกฎหมายที่รวบรวมมาจากกฎหมายสมัยอยุธยา ซึ่งแยกออกเป็นลักษณะต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความในศาล ได้แก่ ลักษณะพระธรรมนูญ ลักษณะรับฟ้อง ลักษณะพยาน ลักษณะพิสูจน์ดําน้ํา ลุยเพลิง ลักษณะตระลาการ และลักษณะอุทธรณ
กระบวนการยุติธรรมหลังการปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลในสมัยรัชกาลที่ 5 ระบบการศาลไทยก่อนยุคปฏิรูปการศาลในสมัยรัชกาลที่ 5 ศาลเป็นหน่วยงานที่ขึ้นอยู่กับกรมต่างๆ มีตุลาการทําหน้าที่พิจารณาคดีตามที่กรมที่ตนสังกัดอยู่ มอบหมายให้มีลูกขุน ณ ศาลหลวงทําหน้าที่ พิพากษาคดีและมีผู้ทําหน้าที่ปรับบทความผิดและวางบทลงโทษผู้กระทําผิดให้เหมาะสมแก่ความผิด เป็นระบบศาลเดี่ยว โดยระบบศาลไม่ต้องสังกัดอยู่กับกรมต่างๆ อีกต่อไป มีศาลยุติธรรมเป็นองค์กรเดียว ที่ใช้อํานาจตุลาการทําหน้าที่พิจารณาพิพากษาอรรถคดีโดยเฉพาะ
ปัจจุบันประเทศไทยใช้ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law) และระบบศาลเป็นระบบศาลคู่คือ มีศาลที่มีความรู้ความชํานาญและประสบการณ์ในคดีเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะทําหน้าที่คู่เคียงไปกับศาล ยุติธรรม และมีการจัดแบ่งโครงสร้างของศาลเป็นตามลําดับชั้นและประเภทของคดี
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศจัดตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2434 (รศ. 110)
ความสำคัญของกระบวนการยุติธรรม
มีผลกระทบต่อ ประชาชนในประเทศ
เป็นกระบวนการวินิจฉัยข้อขัดแย้งของบุคคลในสังคมให้ได้รับความเป็นธรรม และก่อให้เกิดความสงบสุขแก่สังคม
เป็นสาระสําคัญของการปกครองในระบบประชาธิปไตย ภายใต้หลักนิติธรรม
ระบบกระบวนการยุติธรรมของไทย
การไต่สวนมูลฟ้อง
การพิจารณาคดีอาญา
การพิพากษาคดี
การขอให้ศาลรอการลงโทษจำคุก
การอำนวยอุทธรณ์ฎีกา
การอภัยโทษ
การรื้อฟื้นคดีอาญาความยุติธรรม
องค์กรและบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมของไทย
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
บุคลากร
พนักงานสอบสวนหรือตำรวจ
ประชาชน
พนักงานอัยการ
ทนายความ
ศาล
องค์กร
ศาลชั้นต้น
ศาลอุทธรณ์
ศาลฎีกา