Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ธุรกิจเริ่มต้นด้วย“เงิน” แต่สิ่งสำคัญกว่าเงินคือ“การบริหารคน” - Coggle…
ธุรกิจเริ่มต้นด้วย“เงิน” แต่สิ่งสำคัญกว่าเงินคือ“การบริหารคน”
ท่าน ธนินท์ เจียรวนนท์
ต้องทำอะไรต้องเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประโยชน์ต่อประชาชน แล้วถึงจะนับว่าเป็นประโยชน์ต่อบริษัท
มีนวัตกรรมใหม่ๆที่เป็นประโยชน์อยุ่เสมอ
มี 2 สิ่งที่คนเก่งต้องการ คือ อำนาจคือ ความสามารถแสดงออกได้เต็มที่และเกียรติ
ต้องมีคุณภาพไม่ใช่ว่าเร็วแล้วไม่มีคุณภาพ
แตกบริษัทย่อยๆ โตแล้วแตก แตกแล้วย่อย ทำให้ธุรกิจเติบโตทางการตลาด
ต้องกล้ายอมรับการเปลี่ยนแปลง
คัดเลือกผู้บริหารระดับสูง
ต้องทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย เราต้องบอกคนของเราอยู่เสมอว่า เวลาทำการเปลี่ยนแปลงนั้น ต้องทำอย่างรวดเร็วและยังต้องมีคุณภาพอีกด้วย
ต้องเป็นคนมีคุณธรรมและเป็นคนดี ไม่ใช่ว่าเป็นคนเก่งแล้วสามารถเป็นคนชั่วได้
ท่าน อนันต์ อัศวโภคิน
การที่คุณอนันต์บริหารงานหลากหลายธุรกิจได้ (โรงแรม, ศูนย์การค้า, ธนาคาร, ค้าปลีก, หมู่บ้าน) เพราะเปิดโอกาสให้พนักงานแสดงความคิดเห็น
ต้องให้ลูกน้องกล้าตำหนิหัวหน้าได้ การที่เป็นเจ้านายไม่ได้หมายความว่าเก่งกว่า ขึ้นอยู่กับว่าลูกน้องจะกล้าพูดแค่ไหน ถ้าชักสีหน้าลูกน้องก็จะไม่กล้าพูดอีก
เวลาครึ่งหนึ่งของผู้บริหาร ควรเป็นเวลาในการเอาใจใส่พนักงาน ต้องทำให้เป็นความจำเป็นของบริษัท การส่งไปเรียน ดูงาน เป็นสิ่งที่ต้องทำ หัวหน้ามีหน้าที่ Coaching คน หาคนเก่งในองค์กร
คุยกันไม่ใช่คุยแต่เรื่องตัวเลข งบประมาณ แต่คุยปัญหาในแต่ละฝ่าย ปัญหากระทบกับลูกค้าอย่างไร แล้วมีทางพัฒนาให้ดีขึ้นได้หรือไม่
คนเก่งดูแลไม่ยาก เจ้าของส่วนใหญ่กลัวพนักงานเก่งกว่า รู้สึกไม่ดีที่เก่งสู้ลูกน้องไม่ได้ ต้องส่งไปดูงานจนถึงจุดนึงลูกน้องจะเก่งกว่าเรา
เปิดโอกาสให้ลองผิดลองถูก ต้องยอมรับว่าทุกคนทำผิดได้ ต่อให้แนะนำแนวทางไปก็ยังทำผิดได้ เพราะลูกน้องก็เป็นคนเหมือนกับเรา เวลาเราทำผิด ลูกน้องยังไม่ไล่เราออกเลย
พัฒนาพนักงานโดยไม่กลัวว่าจะลาออก เด็กทุนหลายคนลาออกไปทำงานที่อื่น ต้องไม่โกรธ เพราะทุกคนมีหน้าที่ต้องดูแลครอบครัว ถ้าเราจ่ายน้อยกว่า แล้วเค้าออกก็ขอให้เค้ามีอนาคตที่ดี อย่าไปหวงพนักงานมาก เพราะการหวงวิชาไม่เจริญ ต้องช่วยกันทำให้ประเทศเจริญขึ้น
ต้องกล้ามอบอำนาจให้พนักงานตัดสินใจเอง ไว้ใจให้จ้างคนเอง จัดซื้อเอง เซ็นเช็คเอง เป็นการสอนให้พนักงานรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ เป็นผู้ใหญ่เต็มตัว
บริษัทไม่มีทางก้าวหน้าไปกว่าความรู้ของพนักงานทั้งหมดรวมกัน
ไม่เลือกจาก Functional แต่เลือกจากการเป็น Manager ที่ดี คนที่ใช้คนเป็น มีลูกน้องที่เก่ง โดยจะให้เล่าประสบการณ์ที่เคยเจอ Crisis และการแก้ปัญหา
ถ้าเป็นผู้บริหารที่ช่วยเหลือกันมา แต่แก้นิสัยเดิมไม่ได้ ส่งผลต่อทิศทางการทำงาน ให้ย้ายออกไปตำแหน่งที่ปรึกษา ไม่ให้อยู่ในสายงาน
กระแสเงินสดของบริษัทก่อน คุยกับพนักงานระดับสูงว่าสามารถปรับลดเงินเดือนลง 30-40% ได้หรือไม่ โดยจะไม่แตะพนักงานระดับกลาง-ล่าง ถ้าไม่จำเป็นจะไม่ปลดพนักงานออกเลย
ท่าน บุญคลี ปลั่งศิริ
"ถ้าขึ้นมาเป็นผู้บริหารคนแล้ว คนที่อยู่ข้างตัวไม่ควรเหมือนกัน เพราะถึงจะทำให้ผู้บริหารมีความสุข สบายใจ แต่ไม่รู้ว่าธุรกิจจะสบายใจไปด้วยหรือเปล่า? ต้องรู้จักเรียนรู้ที่จะอยู่ให้ได้กับลูกน้องที่มีความแตกต่างกับตัวเอง เป็นสิ่งที่เรียกกันว่าความเครียด ซึ่งบริษัทได้จ่ายเงินเดือนให้แล้วเป็นค่าตอบแทนที่ต้องมาบริหารความเครียด"
สิ่งที่บุญคลีมองก็คือ ความสำเร็จต้องสามารถปรับสไตล์ไปมาได้ระหว่างสายวิทย์กับสายศิลป์ เหมือนกับการเลี้ยงบอลไปมาอยู่กลางสนามไม่ยอมเตะเข้าประตู แต่พอถึงเวลาต้องเตะเข้าประตูก็สามารถทำได้อย่างแม่นยำ
บุญคลีกล่าวว่า การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงานถือเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องให้เกิดความสมดุลระหว่างกระบวนการต่างๆ และต้องพร้อมรับทุกสถานการณ์
ถ้าเราเข้าไปทำงานผู้บริหารอย่าพึ่งทำงานสร้างความไว้วางใจให้ได้ก่อน ให้ผู้บริหารไว้วางใจเราก่อน
เขาย้ำว่า CEO ควรเป็นผู้ที่รู้กว้าง รู้รอบและลึกในทุกๆ ด้าน หากรู้และลึกเพียงด้านใดด้านหนึ่งจะไม่สามารถเป็นผู้บริหารได้ คงเป็นได้เพียงแค่ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นเอง
ในเมื่อคนประกอบกันเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ความยากง่ายของการบริหารองค์กรก็ควรมองใน 2 เรื่องใหญ่คือ ขนาดขององค์กร และ ปริมาณของคนในองค์กร
การบริหารที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไป ในทิศทางที่ดีขององค์การนอกจากจะใช้ในเรื่อง Hard Skill แล้ว ยังต้องคำนึงถึงในเรื่อง Soft Skill ด้วย รวมถึงการคำนึงถึงการใช้ Sense of Human สร้างให้เกิดขึ้นเป็นวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์ของคนในองค์การ ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และความสุขในการทำงาน
วิธีการบริหารของเขา สิ่งสำคัญที่สุดคือความไว้วางใจ
ประโยชน์ที่ได้รับจากคลิปนี้
ช่วยให้การจัดวางตัวบุคคลให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามความรู้ความสามารถได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะทำให้บุคคลได้มีโอกาสทำงานตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ เป็นการใช้คนให้เหมาะกับงานสร้างแรงจูงใจให้แก่บุคคล
ช่วยให้การบริหารค่าจ้างเงินเดือนและสวัสดิการมีความเหมาะสม เนื่องจากการวางแผนควบคุมจำนวนบุคลากรให้อยู่สัดส่วนที่เหมาะสมกับปริมาณงาน
วยให้การวางแผนจัดฝึกอบรมและพัฒนาบุคคลสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และเป้าหมายหลักขององค์การ
วยให้การจ้างพนักงานใหม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์เป็นงานที่มีความสำคัญในองค์การทุกประเภท
ช่วยให้การวางแผนการสรรหาคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานสามารถดำเนินการได้ตรงตามความต้องการอย่างแท้จริง
เป็นแนวทางสำหรับองค์การที่มีหน้าที่ผลิตจะได้ผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน
ช่วยให้การจ้างพนักงานใหม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ส่งเสริมและพัฒนาโอกาสความเท่าเทียมกันของพนักงานในหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์การ
ช่วยให้องค์การสามารถวางแผนพัฒนาการใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การปรับตัวและการอยู่รอดการพัฒนาศักยภาพของบุคคล
พนักงานเกิดความพอใจและมีการพัฒนาที่ดี
วางแผนพัฒนาความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน การบริหารค่าตอบแทนและผลประโยชน์
เพื่อสรรหา และคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานในองค์การ