Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หนวยย่อยที่ ๓.๕ การใช้แบบคัดกรองบุค…
หนวยย่อยที่ ๓.๕
การใช้แบบคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
หมายถึง บุคคลที่มีความผิดปกติในการทำงานของสมองบางส่วนที่แสดงถึงความบกพร่องในกระบวนการเรียนรู้
ลักษณะของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
๑ .ลักษณะความบกพร่องด้านการอ่าน
๑) อ่านช้าอ่านข้าม อ่านไม่หมด
๒) จำคำศัพท์คำเดิมไม่ได้ ทั้งๆ ที่เคยผ่านสายตามาแล้วหลายครั้ง
๓) อ่านเพิ่มคำ ซ้ำคำ อ่านผิดตำแหน่ง
๔) อ่านสลับตัวอักษรหรือออกเสียงสลับกัน เช่น บก อ่านเป็น กบ
๕) สับสนในพยัญชนะคล้ายกันเช่น ก ภ ถ, ฦ ฎ ฏ, ด ต ค
๖) จำศัพท์ใหม่ไม่ค่อยได้
๒ ลักษณะความบกพร่องด้านการเขียน
๑) ไม่ชอบและหลีกเลี่ยงการเขียนหรือการลอกคำ
๒) เขียนไม่สวยไม่เรียบร้อย สกปรก ขีดทิ้ง ลบทิ้ง
๓) เขียนตัวอักษรและคำที่คล้ายๆ กันผิด
๔) ลอกคำบนกระดานผิด (ลอกไม่ครบตกหล่น)
๕) เรียงลำดับตัวอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
๓ ลักษณะความบกพร่องทางคณิตศาสตร์
๑) นับเลขเรียงลำดับ นับเพิ่ม นับลดไม่ได้
๒) ยากลำบากในการบวก ลบจำนวนจริง
๓) ยากลำบากในการใช้เทคนิคการนับจำนวนเพิ่มทีละ ๒, ๕, ๑๐, ๑๐๐
๔) ยากลำบากในการประมาณจำนวนค่า
๕) ยากลำบากในการเปรียบเทียบ มากกว่า น้อยกว่า
๔. ลักษณะความบกพร่องทางพฤติกรรม
๑) ไม่ทำตามคำสั่ง ทำงานไม่เสร็จ
๒) มีความยากลำบากในการจัดระบบงาน
๓) ทำของหายบ่อยๆ เป็นประจำ เช่น ของเล่น ดินสอ หนังสือ อุปกรณ์การเรียน
๔) ลืมทำกิจกรรมที่เป็นกิจวัตรประจำวัน
๕) สับสนด้านซ้าย ขวา
๖) วางสิ่งของเครื่องใช้ไม่เป็นระเบียบ
.๕ ความบกพร่องทางกระบวนการการคิด
๑) ไม่สามารถบอกความแตกต่าง ของสิ่งที่มองเห็นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อวัตถุ ๒ อย่างหรือมากกว่า
๒) ไม่สามารถบอกความแตกต่าง ของเสียงที่ได้ยินได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสียงที่คล้ายคลึงกัน หรือหาก
๓) ไม่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยกับส่วนใหญ่
๔) มีความจำไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นความจำระยะสั้น หรือความจำระยะยาว
๖. ความบกพร่องด้านอื่น ๆ
๖.๑ ความบกพร่องเกี่ยวกับสมาธิ
๑) มักทำงานไม่เสร็จ ทำงานหลายอย่างค้างไว้
๒) ไม่ฟังครู เวลาครูพูด
๓) เสียสมาธิง่าย