Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ ๓.๓ บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา, 823 นางสาวรอกีเย๊าะ…
หน่วยที่ ๓.๓ บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
คำจำกัดความของภาวะบกพร่องทางสติปัญญาหรือภาวะปัญญาอ่อน คือ บุคคลบกพร่องทางสติปัญญามักมีพัฒนาการด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ ภาษาและสติปัญญาล่าช้ากว่บุคคลทั่วไป
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาหรือภาวะปัญญาอ่อน
1.ระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย 70
2.พฤติกรรมการปรับตนบกพร่องตั้งแต่ 2 ด้านขึ้นไป จากทั้งหมด 10 ด้าน
การสื่อความหมาย (Communication)
การดูแลตนเอง (Self-care)
การดำรงชีวิตภายในบ้าน (Home living)
การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม (Social and Interpersonal Skills)
การใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน (Use of Community Resources)
การควบคุมตนเอง (Self- direction)
การนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน (Functional Academic Skills)
การใช้เวลาว่าง (Leisure)
การทำงาน (Work)
การมีสุขอนามัยและความปลอดภัยเบื้องต้น (Health and Safety)
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาแบ่งตามระดับได้ 4 ดังนี้
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับรุนแรงมาก
พัฒนาการล่าช้าชัดเจนตั้งแต่เล็กๆทั้งในด้านประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว อาจจะฝึกการช่วยเหลือตนเองได้บ้าง แต่ต้องอาศัยการฝึกอย่างมาก ส่วนใหญ่พบว่ามีพยาธิสภาพ ต้องการการดูแลตลอดเวลา ตลอดชีวิต แม้จะเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ตาม
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับรุนแรง
พบความผิดปกติของพัฒนาการตั้งแต่ขวบปีแรก มักมีพัฒนาการล่าช้าทุกด้าน โดยเฉพาะพัฒนาการด้านภาษา สื่อความหมายได้เพียงเล็กน้อยหรือพูดไม่ได้เลย บางรายเริ่มพูดได้เมื่อเข้าสู่วัยเรียน มีปัญหาในการเคลื่อนไหว ในบางรายพบพยาธิสภาพมากกว่า 1 อย่าง มีทักษะการป้องกันตนเองน้อย มีความจำกัดในการดูแลตนเอง ทำงานง่ายๆได้ ส่วนใหญ่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดหรือต้องช่วยในทุกๆด้านอย่างมาก ตลอดชีวิต
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง
มักได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่วัยก่อนเรียน เมื่ออายุประมาณ 2-3 ปี โดยพบว่าอาจมีความแตกต่างของระดับความสามารถในด้านต่างๆ เช่น กลุ่มอาการดาวน์ล่าช้าในด้านการใช้ภาษา กลุ่มอาการวิลเลี่ยม (Williams syndrome) บกพร่องในทักษะการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับมิติสัมพันธ์ (visuo-spatial processing skills) และบางรายมีความสามารถทางภาษาเด่น ในบางรายพบพยาธิสภาพชัดเจน สามารถเรียนได้ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-3 ในวัยเรียนมักต้องการการจัดการศึกษาพิเศษ สามารถเรียนรู้การเดินทางตามลำพังได้ในสถานที่ที่คุ้นเคย ใช้ชีวิตในชุมชนได้ดีทั้งการดำรงชีวิตและการงาน แต่ต้องการความช่วยเหลือปานกลาง ตลอดชีวิต ประมาณร้อยละ 20 ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเอง
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อย
มักได้รับการวินิจฉัยเมื่อเด็กเข้าสู่วัยเรียนแล้ว เนื่องจากในวัยก่อนเรียนพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อความหมายได้เพียงพอ ส่วนใหญ่เรียนได้ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือสูงกว่า เมื่อเป็นผู้ใหญ่สามารถทำงาน แต่งงาน ดูแลครอบครัวได้ แต่อาจต้องการความช่วยเหลือบ้างเป็นครั้งคราวเมื่อมีปัญหาชีวิตหรือหน้าที่การงาน มักไม่พบสาเหตุทางพยาธิสภาพ ส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับปัจจัยทางสังคมและเศรษฐสถานะยากจนหรือด้อยโอกาส ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
823 นางสาวรอกีเย๊าะ เจ๊ะอาแซ