Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการพยาบาลของไนติงเกล (Nightingale’s Environmental Theory),…
ทฤษฎีการพยาบาลของไนติงเกล
(Nightingale’s Environmental Theory)
มโนมติหลัก/อภิกระบวนการ
บุคคล(Person):ผู้ป่วยที่มารับการรักษาด้วยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับบุคคล ทำให้มีศักยภาพหรือพลังในตนเองที่จะฟื้นหายหรือซ่อมแซมสุขภาพและฟื้นคืนสภาพได้ดี
สุขภาพ(Health):เป็นกระบวนการซ่อมแซมที่ร่างกายพยายามที่จะสร้างความสมดุล
สิ่งแวดล้อมEnvironment:ปัจจัยภายนอกทั้งหมดที่มีอิทธิพลต่อชีวิตและพัฒนาการ
การพยาบาลNursing:เป็นการจัดสิ่งเอื้ออำนวยให้เกิดกระบวนการหายด้วยสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด
ทฤษฎีสิ่งแวดล้อมของไนติงเกล
การพยาบาลเป็นการช่วยเหลือให้บุคคลสามารถต่อสู้กับโรคและความเจ็บป่วย
โดยอาศัยการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
การพยาบาลคือการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ป่วยเพื่อให้ธรรมชาติเยียวยารักษาผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่
เป็นทฤษฎีที่มีจุดเน้นหลักเกี่ยวกับความต้องการเพื่อความปลอดภัยและการป้องกันสิ่งแวดล้อม
ทฤษฎีการพยาบาลของไนติงเกลสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยได้
โดยการประยุกต์ใช้ตามแนวคิดกระบวนการพยาบาลที่สามารถใช้ได้ตั้งแต่ขั้นประเมินสภาพ
การวินิจฉัยทางการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูล มองเห็นความต้องการของผู้ป่วย
การวางแผนการพยาบาล ช่วยบรรเทาทุกขให้ผู้ป่วยหายจากโรคและปฏิบัติตามกระบวนรักษาโรค
การประเมินสุขภาพอนามัยของบุคคล สังเกตผู้ป่วยทั้งร่างกาย จิตใจ และความสัมพันธ์ต่างๆ
ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพความเจ็บป่วยของผู้ป่วย
การปฏิบัติการพยาบาล จัดการสิ่งแวดล้อมร่วมกับแพทย์ เพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้ป่วย
ช่วยเหลือผู้ป่วย จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม
การประเมินผลการพยาบาล จะเป็นการประเมินสถานการณ์ที่เป็นจริง
ทั้งในด้านผู้ป่วยสภาพแวดล้อมและการพยาบาลช่วยเหลือ
ประวัติมิสฟลอเรนซ์ไนติงเกล
เกิด 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1820
เป็นผู้นำคนแรกของการพยาบาล
เริ่มชีวิตการเป็นพยาบาลที่ไคซ์เวิร์ธ ประเทศเยอรมันนี
ปี ค.ศ. 1851
ประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยและทหารบาดเจ็บในสงครามไครเมีย
เขียนหนังสือ Notes on nursing ปี 1859
ท่านให้ความสำคัญต่อสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ
และความเจ็บป่วยเป็นอย่างมาก
ทฤษฎีการพยาบาลของไนติงเกลกับกระบวนการพยาบาล
2.วินิจฉัยทางการพยาบาล
(Diagnosis)
เน้นไปที่ความต้องการของผู้ป่วย และระดับพลังชีวิตที่ได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม
ผู้ป่วยต้องการความอบอุ่น การถ่ายเทอากาศ การพักผ่อนนอนหลับ และอาหารอย่างเพียงพอ เหมาะสม
ผู้ป่วยรู้สึกอ่อนเพลียเนื่องจากได้อาหารไม่เพียงพอ
1.การประเมินผลทางการพยาบาล(Assessment)
1.1 สภาพและผลของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพต่อผู้ป่วย
-มีเสียงดังรบกวนเกินไป ทำให้ผู้ป่วยพักผ่อนไม่ได้หรือไม่
การสังเกตการจัดกลุ่มข้อมูล
-การถ่ายเทอากาศเป็นอย่างไร
1.2 อาหารและเครื่องดื่ม
-อาหารที่จัดเตรียมให้ผู้ป่วยเหมาะสมกับสภาพผู้ป่วยหรือไม่
-อาหารนั้นมีคุณค่าอาหารเพียงพอเหมาะสมหรือไหม
-ผู้ป่วยชอบอาหารแบบไหน
1.3 ระดับความวิตกกังวล หรือความตื่นกลัว
-ญาติหรือผู้ที่มาเยี่ยมมีความคาดหวังอย่างไร
-พยาบาลตอบสนองต่ออาการวิตกกังวลต่างๆ
ของผู้ป่วยอย่างไร
-ผู้ป่วยแสดงออกถึงความวิตกกังวลอย่างไร
1.4 ผลของความเจ็บป่วยต่อภาวะจิตใจ
-พฤติกรรมเป็นอย่างไร เมื่อมีไข้
ผู้ป่วยมีปฏิกิริยาต่อความเจ็บปวดอย่างไร
3.การวางแผนการพยาบาล
(Planning )
ยึดหลักการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย และการสื่อสารกับผู้ป่วยเพื่อวางแผนร่วมกัน
-วางแผนให้ผู้ป่วยได้รับแสงแดดทุกวัน
-ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สบาย และให้มีกิจกรรมเหมาะสมเพื่อเป็นการรักษาระดับของพลังชีวิต
-พยายามลดเครื่องดื่ม เช่นกาแฟ ที่มีผลต่อการพักผ่อนนอนหลับ
-พยายามลดสิ่งรบกวนที่จะทำให้ผู้ป่วยต่น
4.การปฏิบัติการพยาบาล
(Implementation)
การปรับเปลี่ยนกิจกรรมการพยาบาล
และสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วย
-จัดอาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
-ย้ายผู้ป่วยไปห้องอื่น เพื่อความแปลกใหม่
และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพยาบาล
-ปรึกษาหารือกับครอบครัวญาติผู้ป่วย
เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วย
5.การประเมินผล
(Evaluation)
ใช้หลักสังเกต ประเมินจากผลที่เกิดขึ้นในตัวผู้ป่วยที่สืบเนื่องจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
การพยาบาลเน้นการจัดสิ่งแวดล้อม
1.การระบายอากาศ (Ventilation)
2.การรักษาอุณหภูมิ (Temperature)
3.การควบคุมเสียง (Noise)
4.แสงสว่าง (Light)
5.การจัดกลิ่น (Odor)
6.สุขลักษณะที่อยู่อาศัย (Health of Houses)
นางสาววรัญญา ปราบวิชิต รหัสนักศึกษา 65040200119 คณะพยาบาลศาสตร์