Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลุ่มโรคทางจิตใจหลังคลอด (Postpartum psychiatric disorder) - Coggle Diagram
กลุ่มโรคทางจิตใจหลังคลอด (Postpartum psychiatric disorder)
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum blue)
สาเหตุส่งเสริมที่ทำให้เกิดอารมณ์เศร้าหลังคลอด
การตั้งครรภ์และการคลอด โดยเฉพาะในครรภ์แรก หรือมีภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์ และการคลอดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของร่างกายจากการคลอด การเสียเลือด ความเจ็บปวด ทำให้เกิดภาวะร่างกายอ่อนแอ
การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ จาก progesterone ลดลงอย่างรวดเร็ว ร่วมกับระดับ estradiol cortisol และ prolactin ที่เพิ่มขึ้น
ความเครียดทางจิตใจหลังคลอด ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในบทบาทการเป็นมารดา ภรรยา หรือ ความรู้สึกสูญเสีย ความขัดแย้งในชีวิตประจำวัน การตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการ เป็นต้น
ความเครียดจากสังคมและสิ่งแวดล้อม เกิดจากการตระหนักกับความรู้สึกของคนอื่น เช่น สามี ญาติ ความผิดหวังในเพศบุตร การต้องรับภาระต่างๆ ก่อนวัยอันควร เช่น มารดาวัยรุ่น เป็นต้น
มารดาหลังคลอดที่มีแนวโน้มในการเกิดอารมณ์เศร้าหลังคลอด ได้แก่
5.1 วุฒิภาวะไม่สมบูรณ์ (Immaturity) ได้แก่ มารดาวัยรุ่นหลังคลอด มารดาหลังคลอดที่มีอุนิสัยเหมือนเด็กถึงแม่โตแล้ว ลักษณะนิสัยชอบพึ่งพาผู้อื่น
5.2 มารดาที่มีลักษณะเจ้าระเบียบ (Perfectionist) ต้องทำทุกอย่างให้สมบูรณ์ เมื่อรู้สึกว่าตัวเองทำไม่ได้ จะเกิดความวิตกกังวลสูง และผิดหวังมาก
5.3 มารดาที่มีความวิตกกังวล (The anxious) มีความเครียดสูง ปรับตัวยาก
อาการและอาการแสดง
ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ มีความรู้สึกวิตกกังวลท้อแท้ ตื่นเต้น ความรู้สึกไว เงียบขรึม มีอารมณ์เศร้า เหงา สับสน อารมณ์รุนแรง สีหน้าไม่สุขสบาย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร อาการจะเป็นอยู่ในช่วงเวลาสั้นๆ หลังคลอด อาการจะหายเองหรืออาจรุนแรงขึ้น อาการไม่เกิน 2 สัปดาห์จะหายเป็นปกติ
การรักษามารดาหลังคลอดที่มีอารมณ์เศร้าหลังคลอด
การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลบุตร และตนเองในระยะหลังคลอด เพื่อให้มารดาหลังคลอด สามารถปรับตัวทางด้านจิตใจและอารมณ์ และเผชิญกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ส่งเสริมให้บุคคลในครอบครัว โดยเฉพาะคู่สมรส มารดาของหญิงหลังคลอด ช่วยให้กำลังใจ ประคับประคอง ช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ ในระยะหลังคลอด เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระ ทำให้มารดาหลังคลอด มีเวลาพักผ่อนคลายความเครียดและสามารถปรับตัวได้
คอยสังเกตและบันทึกอาการด้านอารมณ์ของมารดาหลังคลอด เพื่อป้องกันมิให้เกิดอารมณ์ เศร้ารุนแรง
ภาวะจิตหลังคลอด (Postpartum psychosis)
สาเหตุส่งเสริมที่ทำให้เกิดภาวะจิตหลังคลอด
มารดามีประวัติเป็นโรคจิตหลังคลอด
มีประวัติเป็น manic – depression (อาการวิกลจริตสลับอาการซึมเศร้า)
มีภาวะเครียดจากการตั้งครรภ์
4.มารดามีบุคลิกภาพแปรปรวนก่อนการตั้งครรภ์
5.มีประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัวเป็นโรคทางจิตเวช
6.มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ตลอดระยะการตั้งครรภ์
อาการและอาการแสดง
อาการเกิดขึ้นรวดเร็วและรุนแรงทันที ได้แก่ กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย สับสน ความจำเสีย ตัดสินใจไม่ได้ หลงผิด และหวาดระแวง ประสาทหลอนถ้าไม่ได้รับการรักษาจะเริ่มมีอาการโรคจิตประเภทใดประเภทหนึ่ง ได้แก่ จิตเภท (Schizophrenia) โรคจิตซึมเศร้า (psychotic depressive reaction)
การรักษามารดาที่มีภาวะโรคจิตหลังคลอด
1.การรักษาโดยการใช้ยา
ยาต้านโรคจิต (Antipsychotic drug) ในปัจจุบัน ยากลุ่มนี้ที่จัดอยู่ใน atypical antipsychotics มีประสิทธิภาพดีและผลข้างเคียงน้อย ทำให้ ปลอดภัยที่จะให้เพื่อบำบัดรักษา ช่วยให้อาการเป็น ปกติได้เร็วขึ้น โดยสามารถใช้ได้ทั้งในรายที่มี อาการทางโรคจิตเภทและอาการแบบอารมณ์ แมนเนีย
ยาลดภาวะซึมเศร้า (Antidepressants) กลุ่มที่ถูก เลือกใช้เป็นอันดับแรกคือกลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor จะใช้ในรายที่มีอาการแบบ อารมณ์ซึมเศร้า
1.3.ยาควบคุมอารมณ์ (Mood stabilizer) ยากลุ่ม นี้มียาลิเทียมเป็นมาตรฐาน แต่ก็สามารถเลือกใช้ยากลุ่มกันชักมารักษาได้ ยากลุ่มนี้จะใช้รักษา ในรายที่มีอาการแบบอารมณ์แมนเนีย
2.การรักษาทางจิต ได้แก่ การทำจิตบำบัด
3.การรักษาโดยการแก้ไขสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การส่งเสริมให้มีการสนับสนุนทางสังคม โดยเฉพาะสามีและญาติช่วยในการดูแลบุตร เพื่อแบ่งเบาภาระแก่มารดาหลังคลอด
ภาวะเครียดหลังคลอด (Postpartum depression)
สาเหตุส่งเสริมที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
มารดาหลังคลอดครรภ์แรก เนื่องจากขาดประสบการณ์การเลี้ยงดูบุตร หรือได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดี
มารดาที่มีประวัติซึมเศร้าหลังคลอด หรือมีภาวะเจ็บป่วยหลังคลอด
ขาดการประคับประคองจากสามี ญาติ หรือสังคม
ขาดสัมพันธภาพกับสามี บิดา มารดา
มีความรู้สึกขาดความพึงพอใจในตัวเอง
มีความเครียดด้านจิตใจ เช่น ปัญหาชีวิตสมรส การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
มีประสบการณ์การคลอดลำบาก เกิดการบาดเจ็บจากการคลอด
มีประสบการณ์จากการคลอดในครรภ์ก่อนไม่ดี เช่น บุตรเสียชีวิต มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงหลังคลอด
อาการและอาการแสดง
1.การแสดงออกทางด้านจิตใจ ได้แก่ มีอารมณ์และความรู้สึกท้อแท้ หดหู่ สิ้นหวัง มองโลกในแง่ร้ายรู้สึกไร้ค่าไม่มีความหมาย ไม่มีคนต้องการ
การแสดงออกทางด้านร่างกาย ได้แก่ ซึมเศร้ารุนแรง ร้องไห้ถี่ นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ ไม่สนใจตัวเองไม่มีความรู้สึกทางเพศ ควบคุมตัวเองไม่ได้ ถ้ารุนแรงมากจะคิดช้า พูดช้า ไม่มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ ซึ่งอาจทำร้ายบุตรได้
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เริ่มจากอาการนำ คือ การนอนไม่หลับ ร้องไห้โดยไม่ทราบสาเหตุ เริ่มซึมเศร้า อาการคงอยู่ 3-4 สัปดาห์ อาจแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 เกิดในระยะแรกหลังคลอด วันที่ 3-10 หลังคลอด มีอาการซึมเศร้า เสียใจ สูญเสีย
ระยะที่ 2 เกิดในช่วง 1-3 เดือนหลัง มารดาหลังคลอดต้องมีการปรับตัวในบทบาทมารดา การเลี้ยงบุตร พยายามรวมทารกเข้าเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของครอบครัว และในขณะที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงในระยะหลังคลอด มีอาการอ่อนเพลีย ทำให้อาจเกิดอาการหงุดหงิดอย่างมาก
ระยะที่ 3 เกิดได้ในระยะเวลา 1 ปีหลังคลอด เกิดจากการที่มารดาหลังคลอด ได้พยายามปรับตัวแล้ว แต่ยังรู้สึกสองฝักสองฝ่ายต่อการเป็นมารดา อยากทำหน้าที่ให้ดีที่สุดแต่ยังมีความอ่อนหล้า ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนไม่คงที่ มีความรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับการเอาใจใส่ดูแล จากคนในครอบครัว ทำให้เกิดความรู้สึกน้อยใจอย่างมาก
การรักษามารดาที่มีภาวะเครียดหลังคลอด/ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
1.การรักษาด้วยการให้ยา
โดยใช้ยารักษาโรคภาวะ ซึมเศร้าในกลุ่ม Selective serotonin reuptake inhibitor เป็นอันดับแรก การเลือกยาต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพ การรักษาที่ต้องการและผลข้างเคียงที่อาจ มีต่อลูกที่ยังเลี้ยงดูด้วยนมมารดาอยู่เช่น Isocarboxazind (Marplan), Phenelzine (Nardil) เป็นต้น
2.การรักษาทางจิต
แบบรายกลุ่ม หรือรายบุคคล เป้าหมายหลักในการรักษาทางจิต- จิตบำบัด คือ ลดความขัดแย้งในจิตใจที่มีอยู่ ช่วยทำให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกและ เข้าใจถึงอารมณ์ความรู้สึกตนเองมากขึ้น
3.การใช้กลุ่มช่วยในการรักษา หรือให้คู่สมรส ครอบครัวมีส่วนร่วม
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เพื่อให้มารดาหลังคลอดได้เรียนรู้เกี่ยวกับการลดความเครียด
สนับสนุนและสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองแก่มารดาหลังคลอด
การพยาบาล
การพยาบาลมารดาที่มีภาวะเครียดหลังคลอด/ภาวะซึมเศร้าหลัง
คลอด
ให้โอกาสมารดาหลังคลอดได้ซักถามและมีส่วนร่วมในการเตรียมตัวเพื่อเป็นมารดาที่สมบูรณ์และการเลี้ยงบุตรที่สมบูรณ์
ดูแลให้มารดาหลังคลอดได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
ให้มารดาได้รับความสุขสบายด้านร่างกาย บรรเทาอาการเจ็บปวด
อธิบายให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจหลังคลอด รวมทั้งสาเหตุความไม่สุขสบายและความแปรปรวนของอารมณ์ และจิตใจในระยะหลังคลอด และแนะนำการปฏิบัติเพื่อให้ปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว
ดูแลช่วยเหลือและให้คำแนะนำการปฏิบัติตนในระยะหลังคลอด และการเลี้ยงบุตรเมื่อพบว่ามารดามีความยุ่งยากในการเลี้ยงดูทารก และให้มารดามีส่วนร่วมด้วยให้คำชมเชยเมื่อมารดาสามารถปฏิบัติหรือดูแลทารกได้ถูกต้อง เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจ
แนะนำสามี และญาติ ให้กำลังใจแก่มารดา ให้ความสนใจ
เอาใจใส่ประคับประคองเพื่อให้มารดารู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญ ไม่ทอดทิ้ง
จัดกลุ่มสอนเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรหลังคลอด บทบาทการเป็นบิดามารดา การเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตในระยะหลังคลอดตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์
อธิบายให้ทราบถึงอาการแสดงของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เพื่อให้มารดาหลังคลอดได้ประเมินตนเองและปรึกษาแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเมื่อมีอาการมากขึ้น
สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ในรายที่มีอาการรุนแรงเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายจากการทำร้ายบุตรโดยสนใจคำพูดอย่างของมารดาที่แดสงออก เช่น การอำลา การฝากทารกซึ่งเป็นอาการนำก่อนการฆ่าตัวตายไม่ทิ้งมารดาอยู่ตามลำพัง
รายงานแพทย์เพื่อส่งต่อเมื่อมีอาการแสดงรุนแรง ได้แก่ ปฏิเสธบุตรตัวเอง ก้าวร้าวกับบุตร ไม่สนใจบุตร
การพยาบาลมารดาที่มีภาวะโรคจิตหลังคลอด
ดูแลให้ได้รับความต้องการพื้นฐานประจำวัน ได้แก่ สุขภาพอนามัย ความสะอาด ให้ได้รับอาหารเพียงพอโดยส่งเสริมกระตุ้นให้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเอง
ให้ความเป็นกันเอง ความใกล้ชิด เพื่อให้มารดาเกิดความไว้วางใจ อบอุ่น ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว
รับฟังมารดาหลังคลอดระบายความรู้สึก และปัญหาที่มีเพื่อประเมินความรู้สึกที่เป็นจริงและให้ความเห็นอกเห็นใจ
ส่งเสริมและกระตุ้นให้เข้ากลุ่มจิตบำบัด เมื่อมีความพร้อม
อธิบายให้สามีและญาติเข้าใจและทราบถึงวิธีการรักษา ตลอดจนให้คำแนะนำถึง การปฏิบัติต่อมารดาเพื่อขอความร่วมมือ
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
สังเกตอาการที่อาจรุนแรงมากขึ้น ให้ความสนใจทุกกิจกรรมและคำพูด เพื่อป้องกันการทำร้ายตัวเองรวมทั้งจัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย เก็บอุปกรณ์ที่อาจทำให้เกิดอันตราย เช่น ของมีคมต่างๆ
ในรายที่มีประวัติซึมเศร้า หรือภาวะโรคจิตหลังคลอด หรือมีอาการรุนแรงควรส่งต่อเพื่อให้คำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ทางสุขภาพจิต และติดตามเยี่ยมทุก 2-6 สัปดาห์เพื่อประเมินอาการของโรค
การดุแลต่อที่บ้าน สามีของหญิงตั้งครรภ์เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากภาวะนี้เพราะต้องรับหน้าที่ดูแลทั้งภรรยาและทารกแรกเกิด รวมทั้งงานประจำของตนเองดังนั้นพยาบาลควรให้ความช่วยเหลือประคับประคองด้านจิตใจ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะของโรค การรักษา
และเป็นที่ปรึกษาในการดูแลทารก
แนะนำแหล่งให้ความช่วยเหลือ ได้แก่ สถานบริการสาธารณสุขในชุมชน
ติดตามเยี่ยมหลังคลอด ตามความต้องการของมารดาหลังคลอด
รับฟังมารดาระบายความรู้สึกเกี่ยวกับการทำหน้าที่บทบาทการเป็นมารดาที่ไม่เหมาะสมและขาดผู้ช่วยเหลือสนับสนุน เพื่อประเมินความรู้สึกที่เป็นจริงและให้ความเห็นอกเห็นใจ
ให้ความรู้และสาธิตเกี่ยวกับการดูแลบุตร ได้แก่ การอาบน้ำ การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาการส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก สังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ของทารก
กล่าวคำชมเชย และให้กำลังใจ เมื่อมารดาสามารถเลี้ยงดูบุตรได้อย่างถูกต้องเพื่อเพิ่มความมั่นใจ
ให้คำแนะนำแก่ครอบครัวในการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระ การเลี้ยงดูบุตร และการปฏิบัติตัวหลังคลอด