Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Acute Decompensated Heart Failure, Beta - Cell ตับอ่อน มีการสร้างเเละหลั่ง…
Acute Decompensated Heart Failure
สาเหตุ
โรคประจำตัว
จากกรณีศึกษา
มีโรคประจำตัว คือ
โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)
โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
โรคไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia)
โรคไขมันในเลือดสูง Dyslipidemia
เป็นภาวะที่ร่างกายมีไขมันในเลือดมากกว่าปกติ
ไขมันที่สูงนั้นอาจเป็นโคเลสเตอรอล (Cholesterol) หรือ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง
เมื่อใดที่ร่างกายมีไขมันมากเกินไป
ไขมันจะไปเกาะตามผนังด้านในของหลอดเลือด
ทำให้ผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้นและหลอดเลือดตีบแคบลง
เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ไหลเวียนน้อยลง
1 more item...
Left-sided failure
เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวลดลงทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวลดลงจะทำให้ปริมาตรเลือดที่ออกจากหัวใจลดลง
จะส่งผลให้เลือดเหลือค้างในหัวใจห้องล่างซ้ายมากขึ้นความดันเลือดในหัวใจห้องล่างซ้ายจึงสูงขึ้น ดังนั้นหัวใจห้องบนซ้ายจึงบีบเลือดส่งมายังหัวใจห้องล่างซ้าย น้อยลงปริมาตรเลือดและความดันเลือดในหัวใจห้องบนซ้ายจึงสูงขึ้นเรื่อย ๆ เลือดจากปอดที่ฟอกแล้วก็จะไหลเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้ายได้น้อยลงเป็นผลให้ความดันเลือดในหลอดเลือดฝอยที่ปอดสูงขึ้นทำให้ของเหลวออกจากหลอดเลือดฝอยที่ปอดเข้าสู่ถุงลม
ทำให้มีภาวะน้ำท่วมปอด
Right- sided failure
โดยทั่วไปเมื่อเกิด Left-sided failure จะชักนำให้เกิด Right- sided failure ตามมาได้จากการที่ Right Ventricle ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปฟอกที่ปอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมักเกิดจากแรงดันในหลอดเลือดฝอยที่ปอดสูงขึ้นและกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างขวาตายเมื่อหัวใจห้องล่างขวาบีบตัวลดลง ทำให้ปริมาตรเลือดค้างในหัวใจห้องล่างขวามากขึ้นส่งผลให้แรงดันเลือดดำทั่วร่างกายสูงขึ้นเกิดการคั่งของเลือดและน้ำในและนอกหลอดเลือดทั่วร่างกาย
ทำให้ผู้ป่วยร่างกายบวม หรือ ปัญหาน้ำเกิน ตับและม้ามโต ลำไส้บวมจนมีอาการจุกแน่นได้ชายโครง มีอาการเบื่ออาหาร ท้องมาน หลอดเลือดดำที่คอโป่งพอง และปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน (Noctuna)
Backward failure
เมื่อหัวใจห้องล่างทำงานลดลง เป็นผลให้มีปริมาตรเลือดค้างอยู่ในห้องหัวใจมากขึ้น ปริมาตรเลือดภายหลังหัวใจบีบตัว (end systolic volume: ESV เพิ่มขึ้น จากนั้นเลือดจะเติมเข้าสู่หัวใจห้องล่าง ทำให้หัวใจมี EDV เพิ่มขึ้น ความดันในห้องหัวใจสูงขึ้น ความดันที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลให้ความดันในระบบหลอดเลือด pulmonary เพิ่มขึ้น (pulmonary hypertension) และเกิดการกรองผ่านหลอดเลือดฝอย pulmonary เพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) น้ำคั่งอยู่ในปอด ปอดทำงานเพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซได้ไม่ดี ผู้ป่วยจึงเกิดอาการหายใจลำบากทั้งในขณะนั่งและนอนราบ ไอ (cough)มีเสียงในปอด (crepitation) จากนั้นภาวะความดันโลหิตสูงในหลอดเลือดแดง pulmonary
ส่งผลให้หัวใจห้องล่างขวาทำงานหนักขึ้น เนื่องจาก afterload ของหัวใจห้องล่างขวาเพิ่มขึ้น และทำให้เกิดหัวใจห้องล่างขวาล้มเหลวตามมา เมื่อหัวใจห้องล่างขวาทำงานล้มเหลวจะทำให้เลือดคั่งอยู่ในห้องหัวใจเพิ่มขึ้นความดันในห้องหัวใจด้านขวาสูงขึ้นทำให้ความดันเลือดในหลอดเลือดดำสูงขึ้นตามไปด้วย เราจะสังเกตเห็นการโป่งออกของหลอดเลือดดำ jugular และมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่น ตับโต และการทำงานของตับผิดปกติ เนื่องจากมีเลือดไปคั่งที่ตับมากขึ้น เกิดการบวมน้ำได้ทั่วร่างกายเนื่องจากความดันใน หลอดเลือดฝอยทั่วร่างกายสูงขึ้นทำให้เกิดการกรองน้ำที่หลอดเลือดฝอยเพิ่มขึ้น อาการแสดงที่สำคัญของ backward failureได้แก่ อาการหายใจขัด หรือหายใจลำบาก ตับโต ท้องมาน บวมน้ำ ริดสีดวงทวาร เป็นต้น
หัวใจสูญเสียการทํางานที่เกี่ยวข้องกับการบีบตัวของหัวใจห้องล่าง (inotropic function)
มาจาก 2 ปัจจัย
Preload
หัวใจต้องแบกรับในการนำส่งเลือดออกจากห้องหัวใจ ซึ่งก็คือ แรงดันที่กระทำต่อผนังของห้องหัวใจก่อนที่หัวใจเริ่มบีบตัว ขึ้นกับปริมาตรในห้องหัวใจก่อนการบีบตัว หรือ enddiastolic volume (EDV โดยทั่วไปเมื่อหัวใจมี preload เพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจจะหดตัวด้วยแรงที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ปริมาตรของเลือดที่ถูกบีบออกจากหัวใจห้องล่างในการบีบของหัวใจหนึ่งครั้ง (stroke volume, SV) เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
ทำให้เกิดการลดลงของปริมาณเลือดที่หัวใจบีบออกแต่ละครั้ง
Afterload
แรงดันที่ต้านการทำงานของหัวใจหรือแรงดันที่ต้านการไหลของเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงร่างกาย โดยทั่วไปเมื่อ afterload ของหัวใจเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจจะหดตัวด้วยแรงที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ปริมาตรของเลือดที่ถูกบีบออกจากหัวใจห้องล่างในการบีบของหัวใจหนึ่งครั้ง ( stroke volume, SV) จะลดลง
Forward failure
เมื่อหัวใจสูบฉีดเลือดได้ลดลง เลือดที่บีบออกไปแต่ละครั้ง (stroke volume) จะลดลง ส่งผลให้ cardiac output (CO) ลดลง ความดันโลหิตในหลอดเลือดแดงลดลง (hypotension) ผู้ป่วยจะรู้สึกอ่อนแรง (fatigue) เหนื่อยง่าย ภาวะความดันโลหิตต่ำจะกระตุ้น baroreceptor และเพิ่มการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติก ทำให้เกิดหัวใจเต้นเร็ว (tachycardia) และอาจไม่สม่ำเสมอ หลอดเลือดแดงทั่วไปหดตัว (vasoconstriction) จากการกระตุ้น (-receptor ที่หลอดเลือด นอกจากนี้ระบบประสาทซิมพาเทติกยังไปกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนต่างๆ เช่น กระตุ้นการหลั่ง renin ทำให้ระบu renin-angiotensin-aldosterone (RAAS) ถูกกระตุ้น โดย angiotensin
มีผลทำให้หลอดเลือดหดตัว ซึ่งจะทำให้ภาวะหัวใจล้มเหลวแย่ลง เนื่องจากจะยิ่งไปเพิ่ม afterload ของหัวใจ นอกจากนี้ angiotensin ยังกระตุ้นการหลั่ง aldosterone จากต่อมหมวกไตทำให้มีการดูดกลับโซเดียมที่ท่อไต เกิดการคั่งของน้ำและเกลือ ส่งผลให้เกิดการบวมน้ำได้มากขึ้นด้วย
วินิฉัย
อาการเเละอาการเเสดง
ภาวะน้ำท่วมปอด
ร่างกายบวมจากน้ำเกิน
พยาธิสภาพ
Beta - Cell ตับอ่อน มีการสร้างเเละหลั่งอินซูลินลดลง
โรคเบาหวาน Diabetes Mellitus
ทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง
เลือดหนืด
ทำให้หัวใจบีบตัวเเรงขึ้น
ผนังหลอดเลือดมีความแข็งเเละหนาตัวตัว
หลอดเลือดตีบเเคบ
เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ดีไม่เพียงพอ
ออกซิเจนจับกับน้ำตาล
ไม่สามารถออกจากเซลล์ได้
ออกซิเจนต่ำ
เข้ามาเลี้ยงเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอ
เกิดร่วมกับการสะสมของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและไขมันในผนังหลอดเลือด
ความดันโลหิตสูง Hypertension
ผนังหลอดเลือดมีความแข็งตัวมากขึ้น
หลอดเลือดหนาตัว แข็งตัว ไม่ยืดหยุ่น
การบีบตัวของหลอดเลือดมากขึ้นและขนาดของหลอดเลือดใหญ่ขึ้น
Stroke volume , Haert rate เเละ Cadiac output เพิ่มขึ้นความต้านทานในหลอดเลือดสูงขึ้น
หัวใจต้องทํางานมากขึ้น จากการเกิดแรงต้านการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
ผนังหัวใจหนาตัว
ผนังหัวใจจะยืดออกและเสียหน้าที่ เกิดหัวใจโต